งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องมือทางภูมิศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
แผนที่ และ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

2 เห็นความสำคัญของแผนที่และ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เห็นความสำคัญของแผนที่และ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

3 สาระการเรียนรู้ ความหมายของแผนที่ ความเป็นมาแผนที่ ประเภทของแผนที่
องค์ประกอบของแผนที่ การคำนวณหาระยะทางในแผนที่ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน

4 ความหมายของแผนที่ แผนที่ (MAP) หมายถึง การเขียนหรือแสดงลักษณะของ ผิวโลกลงบนพื้นราบด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามที่ต้องการ เช่น 1.1 สิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกโดยธรรมชาติ เช่น เทือกเขา ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ 1.2 สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน ทางรถไฟ เขื่อน เมือง ฯลฯ

5 ความเป็นมาของแผนที่ แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก และมีอยู่ในปัจจุบันทำขึ้นจากดินเหนียวโดยชาวสุเมเรียน เมื่อประมาณ 4,000 ปีเศษ เพื่อแสดงการครอบครองที่ดิน และต่อมาประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธกาล ชาวอียิปต์ได้เขียนแผนที่แสดงอาณาเขตที่ดินขึ้นเพื่อใช้เก็บภาษี

6 การเขียนแผนที่ที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาขึ้นในสมัยกรีก
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยนี้มีนักเขียนแผนที่ชาวกรีกหลายคน ที่มีชื่อเสียงมาก คือ คลอดิอุส โตเลมี (Claudius Ptolemy) ได้อธิบายหลักการเบื้องต้นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเส้นโครงแผนที่ ละติจูด ลองจิจูด และเขียนแผนที่ที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่สำรวจพบไว้อย่างถูกต้องอีกจำนวนหนึ่ง

7 แผนที่โลกของโตเลมี

8 แผนที่ที่จัดทำขึ้นในยุโรปในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่ดำเนินการโดย ศาสนจักร จึงมักแสดงปาเลสไตน์ซึ่งเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ตรงกลางของแผนที่โลก ยุคแห่งการสำรวจดินแดนระหว่าง พ.ศ – เป็นช่วงที่มนุษย์มีความรู้เรื่องโลกมากกว่าสมัยก่อน การแสดงเรื่องราวของโลกในสมัยนี้จึงได้รับการพัฒนาไปด้วย เช่น มาร์ติน เบไฮม์ (Martin Behaim) พ่อค้าและนักเดินเรือชาวเยอรมันได้สร้างลูกโลกลูกแรกขึ้น และอีก 15 ปีต่อมา ชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง คือ มาร์ติน วัลด์ซีมึลเลอร์ (Martin Waldseemuller) ได้เขียนแผนที่โลกแสดงดินแดนอเมริกาไว้เป็น ครั้งแรก

9 ต่อมาใน พ.ศ.2138 เจอฮาร์ดัส เมอร์เคเตอร์
นักภูมิศาสตร์ชาวเบลเยียม ได้รวบรวมแผนที่ประเภทต่าง ๆ ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันเป็นครั้งแรก เรียกว่า แอตลาส (Atlas)

10 น่ารู้ แอตลาส เป็นชื่อเทพเจ้าในนิยายกรีก
แอตลาส เป็นชื่อเทพเจ้าในนิยายกรีก แอตลาส (Atlas) เป็นหนังสือที่รวบรวมแผนที่ชนิดต่าง ๆ ไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่รัฐกิจ แผนที่เศรษฐกิจ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น คำว่า แอตลาส ตามนิยายกรีกเป็นเทพเจ้าร่างยักษ์ผู้ทรงพลัง ถูกเทพเจ้าซูส (Zeus) ลงโทษให้ออกศึกเพื่อปราบเทพเจ้ายูเรนัส (Uranus) โดยให้แยกจักรวาลไว้ตลอดกาล

11 เมื่อเจอฮาร์ดัส เมอร์เคเตอร์ (Gerhardus Mercator)
ชาวเบลเยียม ปราชญ์ทางภูมิศาสตร์และการเขียนแผนที่สมัยใหม่ใน ระยะแรกของโลก ได้รวบรวมแผนที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และจัดพิมพ์ขึ้น เป็นเล่ม ที่หน้าปกของหนังสือเล่มนี้ได้เขียนรูปเทพเจ้าแอตลาสกำลัง ถือโลกไว้ด้วยมือทั้งสอง ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการเรียกหนังสือที่รวบรวม แผนที่ไว้เป็นเล่มในลักษณะเดียวกันนี้ว่า แอตลาส

12 แผนที่ตามลักษณะการใช้
ประเภทของแผนที่ แผนที่ตามลักษณะการใช้ 1.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) 1.2 แผนที่รัฐกิจ (Political Map) 1.3 แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) 2. แผนที่ตามมาตราส่วน 2.1 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ (large-scale map) 2.2 แผนที่มาตราส่วนปานกลาง (medium-scale map) 2.3 แผนที่มาตราส่วนเล็ก (small-scale map)

13 1. แผนที่ตามลักษณะการใช้
1.1) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงความสูงต่ำของพื้นที่ผิวโลกทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ประเทศ ทวีปหรือโลกก็ได้ การแสดงความสูงต่ำของผิวโลก (relief) ในแผนที่อาจใช้เส้นชั้นความสูง (contour line) เส้นลายขวานสับ (hachure) หรือ สี (coloring) ก็ได้ สิ่งที่ปรากฏบนพื้นโลกที่นำมาใช้แสดง แผนที่ภูมิประเทศ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ทะเลสาบ ที่ราบ ที่ราบสูง ภูเขา ทะเลทราย อ่าว ช่องแคบ เกาะ ทวีป มหาสมุทร และสิ่งก่อสร้าง บางชนิด เช่น เขื่อน ทางรถยนต์ ทางรถไฟ เป็นต้น

14 แผนที่ภูมิประเทศของทวีปอเมริกาใต้

15 1.2) แผนที่รัฐกิจ (Political Map)
เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางการเมืองการปกครอง ของรัฐต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีชื่อและที่ตั้งกำกับสิ่งที่แสดง ไว้ในแผนที่ระวางนั้น เช่น ประเทศ เมืองหลวง เมืองใหญ่ เมืองท่า เมืองยุทธศาสตร์ เป็นต้น และมีสัญลักษณ์เพื่อ อธิบายสิ่งที่แสดงขึ้น

16 แผนที่โลก (แผนที่รัฐกิจ)

17 1.3) แผ่นที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map)
เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เช่น แผนที่แสดงแหล่งแร่ แผนที่แสดงเขตภูมิประเทศ แผนที่แสดงผลผลิต แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคมขนส่ง แผนที่แสดงแหล่งอารยธรรมโบราณของโลก แผนที่แสดง ความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น

18 แผนที่แสดงผลผลิตทางการเกษตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

19 2. แผนที่ตามมาตราส่วน แผนที่อาจแบ่งตามขนาดของมาตราส่วนที่ใช้ได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 2.1) แผนที่มาตราส่วนใหญ่ (large-scale map) 2.2) แผนที่มาตราส่วนปานกลาง (medium-scale map) 2.3) แผนที่มาตราส่วนเล็ก (small-scale map)

20 2.1 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ (large-scale map)
ได้แก่ แผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่กว่า 1 : 250,000 ใช้สำหรับเขียนแผนที่ของพื้นที่ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถ บรรจุรายละเอียดที่ปรากฏในภูมิประเทศลงในแผนที่ได้มาก ตามต้องการ ตัวอย่างของแผนที่มาตราส่วนใหญ่ เช่น แผนที่ตัวเมือง แผนที่ยุทธวิธี แผนที่ตำบล เป็นต้น

21 ตัวอย่างแผนที่บริเวณเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ตัวอย่างแผนที่บริเวณเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดในแผนที่ได้มาก เช่น ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หมู่บ้านอุโมงค์ วัดป่าแดง และถนนสายสำคัญ ๆ เป็นต้น แผนที่ตัวเมืองเชียงใหม่เป็นแผนที่มาตราส่วนใหญ่

22 2.2) แผนที่มาตราส่วนปานกลาง (medium-scale map)
ได้แก่ แผนที่ที่มีมาตราส่วนตั้งแต่ 1 : 250,000 ถึง 1 : 1,000,000 ได้เขียนแผนที่ ของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้น เพื่อแสดงเฉพาะรายละเอียด ที่สำคัญ ตัวอย่างของแผนที่มาตราส่วนปานกลาง เช่น แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ แผนที่จังหวัดอื่น ๆ ของ ประเทศไทย แผนที่ประเทศบรูไน เป็นต้น

23 ตัวอย่างแผนที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาขึ้น
ตัวอย่างแผนที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาขึ้น จึงไม่สามารถบรรจุรายละเอียดเหมือนแผนที่มาตราส่วนใหญ่ได้ แผนที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแผนที่มาตราส่วนปานกลาง

24 2.3) แผนที่มาตราส่วนเล็ก (small-scale map)
ได้แก่ แผนที่ที่มีมาตราส่วนเล็กกว่า 1 : 1,000,000 มาตราส่วนเล็กใช้เขียนแผนที่ของบริเวณที่มีอาณาเขต กว้างใหญ่ จึงสามารถแสดงได้เฉพาะลักษณะที่สำคัญเท่านั้น ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่ปรากฏในภูมิประเทศ ย่อมไม่สามารถ เขียนลงในแผนที่ชนิดนี้ได้หมด ตัวอย่างของแผนที่มาตราส่วน เช่น แผนที่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แผนที่ประเทศไทย แผนที่ทวีปเอเชีย แผนที่โลก เป็นต้น

25 แผนที่ภาคเหนือของประเทศไทย

26 องค์ประกอบของแผนที่ การใช้แผนที่ให้ปฏิบัติงานได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจ เรื่องแผนที่เสียก่อน ทั้งนี้เพราะแผนที่แต่ละชนิดจะมี รายละเอียดไม่เหมือนกัน ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้แผนที่ ผู้ใช้จำเป็นต้องตรวจดูรายละเอียดให้เข้าใจเสียก่อน แผนที่ที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

27 1. ขอบระวางแผนที่ (border)
แผนที่ทั่วไปมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีเส้นกั้นรูปสี่เหลี่ยมนั้นเป็นกรอบ เรียกว่า ขอบระวางแผนที่ แผนที่บางแผ่นอาจมีการเขียน ขอบระวาง 2 ชั้น เพื่อความสวยงาม โดยที่ ขอบระวางแผนที่จะมีตัวเลขแสดงค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ไว้เป็นค่าละติจูดและลองจิจูด

28 องค์ประกอบของแผนที่

29 2. ชื่อแผ่นที่ (map name)
ชื่อแผนที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่จะบอกว่า แผนที่นั้นเป็นแผนที่ชนิดใด เช่น แผนที่ท่องเที่ยว จังหวัดปัตตานี เป็นแผนที่แสดงถนนสายสำคัญ แหล่งท่องเที่ยว ศาสนสถาน ขอบเขตการปกครองย่อย แผนที่ป่าอนุรักษ์ประเทศไทย เป็นแผนที่แสดง ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ขอบเขตจังหวัด ขอบเขตประเทศ เป็นต้น

30 3. พิกัดแผนที่ (coordinate)
เป็นตัวกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ บนแผนที่ โดยทั่วไปนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ - พิกัดทางภูมิศาสตร์ (geographic coordinate) เป็นการกำหนดตำแหน่งบนผิวโลกโดยใช้ค่าละติจูด และลองจิจูด คือ การบอกระยะที่ตำแหน่งนั้นอยู่ห่าง จากเส้นศูนย์สูตรไปทางทิศเหนือหรือใต้กี่องศา และ อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียน เริ่มแรกกี่องศา

31 พิกัดกริด (grid coordinate)
เป็นการกำหนดตำแหน่งบนผิวโลกโดยเส้นตรงที่ตัดกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ การบอกระยะที่ตำแหน่งนั้น อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สมมติทางทิศเหนือหรือได้กี่เมตร และอยู่ห่างไปทางตะวันออกหรือตะวันออกหรือตะวันตก ของเส้นศูนย์สมมติกี่เมตร

32 พิกัดกริด พิกัดทางภูมิศาสตร์

33 4. ทิศทาง (direction) แผนที่ทุกระวางต้องกำหนดทิศทางไว้ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏใน แผนที่นั้นได้อย่างถูกต้อง แผนที่ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปกำหนด ให้ส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือเสมอ ดังนั้นทางขวาของ แผนที่จึงเป็นทิศตะวันออก ทางซ้ายเป็นทิศตะวันตก และ ส่วนล่างของแผนที่เป็นทิศใต้ หากแผนที่ระวางใดแสดงทิศทาง ที่แตกต่างออกไปจะต้องแสดงเครื่องหมายบอกทิศทางไว้ด้วย

34 เครื่องหมายบอกทิศทางในแผนที่

35 5. มาตราส่วน (map scale) หมายถึง สิ่งที่แสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลก เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็น ต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ที่ทราบว่า มาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นที่โลก มากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้

36 5.1) มาตราส่วนกราฟิก คือ มาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นตรงที่มีเลขกำกับไว้ เพื่อบอกความยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นโลก โดยมีหน่วยความยาวที่นิยมใช้ คือ กิโลเมตรและไมล์ ซึ่งผู้ใช้แผนที่สามารถหาระยะทางจริงได้โดยใช้ไม้บรรทัด วัดระยะต่าง ๆ ที่ต้องการทราบ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ มาตรส่วนกราฟิกที่กำหนดไว้ในแผนที่นั้น เช่น

37 รูปแบบมาตราส่วนกราฟิก
ตามตัวอย่างนี้ ถ้าวัดระยะทางในแผนที่เท่ากับระยะทางที่กำหนด ในมาตรากราฟิก 1 ช่อง จะเท่ากับระยะทางจริง บนพื้นโลก 50 กิโลเมตร หรือถ้าวัดได้ยาว 2 ช่อง ก็เท่ากับระยะทางจริงบนพื้นโลก กิโลเมตร รูปแบบมาตราส่วนกราฟิก

38 5.2) มาตราส่วนตัวเลข คือ มาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน เช่น 1 ต่อ 50,000 หรือ 1 : 50,000 หรือ หมายความว่าระยะทาง 1 หน่วยในแผนที่เท่ากับ ระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลก

39 6. ชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographic name)
คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญ ในแผนที่รูปแบบชื่อทางภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้กันในแผนที่ทั่วไป มีดังนี้ 6.1) ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ และคาบสมุทร นิยมใช้ตัวตรงและตัวพิมพ์ใหญ่ใหญ่ทั้งหมด เช่น ASIA, THAILAND, SUMATRA, MALAY PENINSULA เป็นต้น

40 6.2) เมืองหลวง เมืองใหญ่ นิยมใช้ตัวตรงตัวแรกเป็น
6.2) เมืองหลวง เมืองใหญ่ นิยมใช้ตัวตรงตัวแรกเป็น ตัวพิมพ์ใหญ่ตามด้วยตัวตัวพิมพ์เล็ก เช่น Bangkok, Banda Seri Begawan, Banjamasin เป็นต้น 6.3) มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง นิยมใช้ตัวเอน ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น PACIFIC OCEAN, GULF OF THAILAND, SOUTH CHINA SEA, LAKE MICHIGAN, ARAKAN YOMA, GRAN CHACO, SAHARA, KHORAT PLATEAU เป็นต้น

41 6.4) แม่น้ำ ลาธาร อ่าวขนาดเล็ก เกาะ ช่องแคบ
ทะเลทรายขนาดเล็ก โอเอซิส ที่ลุ่ม นิยมใช้ตัวเอน ตัวหน้าตัวพิมพ์ใหญ่ต่อด้วยตัวตาม เช่น Chao Praya River, Nan River, Ao Bandon, Koh Samui, Strait of Malacca, Karakum, Kharga Oasis, Everglades เป็นต้น

42 6.5) เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อแก๊ส แหล่งอารยธรรมโบราณ
และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นิยมใช้ตัวเอนขนาดเล็ก ตัวหน้าตัวพิมพ์ใหญ่ และ ต่อด้วยตัวตาม เช่น Sirikit Dam, Asian Highway, Magrib Line, Babylonia เป็นต้น

43 7. คำอธิบายสัญลักษณ์ (legend)
เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลกและ นำมาแสดงไว้บนแผนที่ ไม่สามารถที่แสดงได้ เหมือนจริงได้ จึงต้องใช้สัญลักษณ์มาแสดง และ ต้องมีคำอธิบายประกอบสัญลักษณ์นั้นไว้ด้วย

44 7.1) สัญลักษณ์ (symbol) คือ
สิ่งที่กำหนดขึ้นในแผนที่เพื่อใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏ ในพื้นที่จริงสัญลักษณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 7.1.1 สัญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง เป็นต้น ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปทรงเลขาคณิต หรือรูปร่าง ต่าง ๆ ก็ได้

45 7.1.2 สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol)
เป็นสัญลักษณ์ที่แทนสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง เป็นต้น ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมี ขนาด รูปร่าง และ สีต่างกันก็ได้ 7.1.3 สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (area symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม เป็นต้น ลักษณะพื้นที่ อาจแสดงให้มีรูปร่างและสีที่แตกต่างกันออกไปก็ได้

46 7.2) สีที่ใช้ในแผนที่ (color)
สีที่ใช้เป็นมาตรฐานที่มี 5 สี คือ 7.2.1 สีดำ ใช้แทน สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัดโรงเรียน หมู่บ้าน เป็นต้น นอกจากนั้น สีดำยังใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด 7.2.2 สีแดง ใช้แทน ถนน และรายละเอียดพิเศษอื่น ๆ 7.2.3 สีน้ำเงิน ใช้แทน บริเวณที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มหาสมุทร เป็นต้น

47 7.2.4 สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง
เลขกำกับเส้นชั้นความสูง เป็นต้น 7.2.5 สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร เป็นต้น 7.2.6 สีอื่น ๆ ใช้แทนรายละเอียดพิเศษต่าง ๆ บางอย่าง ซึ่งจะอธิบายไว้ในคำอธิบายสัญลักษณ์

48 สัญลักษณ์และคำอธิบายสัญลักษณ์
ทางรถไฟ อุโมงค์ ธารน้ำ/แม่น้ำ แอ่งน้ำ ทะเลสาบ ที่ชื้นแฉะ เมืองใหญ่ เมืองหลวง เมืองเล็ก ท่าอากาศยาน โรงเรียน ทางสายหลัก ทางสายรอง ทางคนเดิน ทางลูกรัง ช่องเขา สะพาน เส้นกั้นอาณาเขต

49 การคำนวณหาระยะทางในแผนที่
การคำนวณระยะทาง คือ การใช้มาตราส่วนในแผนที่ มาหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ หรือหาระยะทางในแผนที่ ดังนี้

50 1. การคำนวณหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ
มีสูตร คือ ระยะทางในแผนที่ ระยะทางจริงในภูมิประเทศ การคำนวณ แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ถ้าวัดระยะทางในแผนที่ได้ 5 เซนติเมตร อยากทราบว่าระยะทางจริงในภูมิประเทศเป็นเท่าใด

51 วิธีทำ สูตร มาตราส่วน = ระยะทางในแผนที่ แทนค่าสูตร =
สูตร มาตราส่วน = แทนค่าสูตร = ระยะทางจริงในภูมิประเทศ = 5  50, = 250,00 ซม. ทำเป็นเมตร = 250, = 2,500 ม. 100 ทำเป็นกิโลเมตร = 2,500 1,000 ระยะทางจริงในภูมิประเทศ = ก.ม. ระยะทางในแผนที่ ระยะทางจริงในภูมิประเทศ 1 50,000 5 ระยะทางจริงในภูมิประเทศ

52 2. การคำนวณหาระยะทางในแผนที่
ถ้าวัดระยะทางจริงในภูมิประเทศได้ 2.5 ก.ม. ระยะทางในแผนที่จะเป็นเท่าใด ถ้าแผนที่มีมาตราส่วน 1 : 50,000

53 วิธีทำ สูตร มาตราส่วน = ระยะทางในแผนที่ แทนค่าสูตร =
สูตร มาตราส่วน = แทนค่าสูตร = ระยะทางในแผนที่ = ทำเป็นเซนติเมตร = 1,000  100 ระยะทางในแผนที่ = ซม. ระยะทางในแผนที่ ระยะทางจริงในภูมิประเทศ 2.5 50,000

54 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ นอกจากจะมีแผนที่แล้วยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ ลูกโลก แผนภาพ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

55 1. ข้อมูลสถิติ ข้อมูลสถิติ เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐาน ในการอ้างอิงข้อมูลที่รวบรวมไว้ มีทั้งที่เป็นข้อความ และตัวเลข ในทางภูมิศาสตร์นิยมแสดงข้อมูลสถิติไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ตารางสถิติ และกราฟ

56 ตารางสถิติหมวดสินค้าขาข้าวของไทยใน พ.ศ. 2543 – 2544
1.1) ตารางสถิติ คือ แผนภูมิที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติอุณหภูมิหรือปริมาณฝนของบริเวณใด บริเวณหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

57 ตารางสถิติหมวดสินค้าขาข้าวของไทยใน พ.ศ. 2543 – 2544
ที่ หมวดสินค้า พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 มูลค่า (ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ คิดเป็น ร้อยละ 1 สินค้าทุน 1,154,379 46.3 1,300,147 47.2 2 วัตถุดิบน้ำมัน 730,363 29.3 791,637 28.7 3 เชื้อเพลิง 303,482 12.2 318,322 11.5 4 สินค้าอุปโภคบริโภค 199,614 8.0 224,879 8.2 5 ยานพาหนะ 80,791 3.2 90,642 3.3 6 สินค้าอื่น ๆ 25,530 1.1 31,029 รวมมูลค่าทั้งหมด 2,494,159 100.00 2,756,656 ที่มา : Feb 2002.

58 กราฟแท่งแสดงประเทศที่มีจำนวนประชากรเกิน 100 ล้านคน (พ.ศ. 2543)

59 กราฟรูปภาพแสดงการจับปลาของ กราฟแท่งแสดงประเทศที่มีจำนวนประชากร
ประเทศในทวีปเอเชีย กราฟแท่งแสดงประเทศที่มีจำนวนประชากร เกิน 100 ล้านคน (พ.ศ. 2543)

60 2. ลูกโลก ลูกโลก (globe) คือ สิ่งจำลองของโลกที่มีขนาดเล็ก
เพื่อให้สามารถแสดงบริเวณสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้อย่าง สมบูรณ์ ถึงแม้ลูกโลกจะได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งจำลองโลก ที่ดีกว่าสิ่งจำลองอื่น ๆ แต่ก็มีข้อบกพร่องอยู่บางประการ เช่น ไม่สามารถมองได้รอบทิศทางในเวลาเดียวกัน ไม่สะดวกใน การพกพาหรือนำไปใช้นอกสถานที่ และไม่สามารถให้ข้อมูล รายละเอียดของโลกได้มาก เพราะถ้าหากบรรจุรายละเอียด ที่ผิวโลกไว้มากจะต้องใช้ลูกโลกขนาดใหญ่มาก

61 ลูกโลก

62 3. แผนภาพ (diagram) คือ รูปที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเรื่องราว ทางภูมิศาสตร์บางอย่างเกิดขึ้นในอดีต เช่น การเกิดที่ราบ การทับถมของหินชั้น และปรากฏการณ์บางอย่างที่มองไม่เห็น เช่น วัฏจักรของน้ำ การเกิดลมบก – ลมทะเล เป็นต้น การใช้แผนภาพอธิบายจะทำให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

63 แผนภาพวัฏจักรของน้ำ

64 4. ภาพถ่ายทางอากาศ การภาพถ่ายทางอากาศ (aerial photography) คือ การถ่ายภาพจากที่สูงในอากาศเหนือพื้นโลกโดยใช้เครื่องบิน หรือบอลลูนที่มีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพแล้วบินเหนือบริเวณที่ ต้องการภาพถ่าย เมื่อกล้องถ่ายภาพบันทึกภาพนั้นไว้แล้ว จึงนำมาเรียงต่อกันก็จะเห็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่จริงบนผิวโลก

65 ภาพถ่ายทางอากาศแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

66 5. ภาพถ่ายจากดาวเทียม การภาพถ่ายจากดาวเทียม (satellite imagery) คือ
การถ่ายภาพและบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขจากดาวเทียมที่ติดตั้ง อุปกรณ์ที่อาศัยกระบวนการบันทึกพลังงานที่สะท้อนหรือส่งผ่าน ของวัตถุแล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นมายังสถานีรับภาคพื้นดิน ภาพถ่าย ที่ได้อาศัยคุณสมบัติที่ว่าวัตถุแต่ละชนิดสะท้อนแสงไม่เท่ากัน ภาพที่ปรากฏจึงไม่สามารถแปลความหมายได้ง่ายเหมือน ภาพถ่ายจากอวกาศ แต่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือใน การช่วยแปลความหมาย ปัจจุบันเทคโนโลยีการภาพถ่ายจาก ดาวเทียมได้พัฒนาไปมาก จนสามารถถ่ายภาพได้รายละเอียด และชัดเจนเท่าภาพถ่ายจากอากาศ เช่น ภาพถ่ายจากดาวเทียมไอโคนอส (IKONOS) ดาวเทียมควิกเบิร์ด (QUICKBIRD) เป็นต้น

67 ภาพถ่ายดาวเทียม

68 6. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System - GPS) คือ การนำคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมบอกตำแหน่งมาบอกค่าพิกัดของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นโลก ระบบดังกล่าวจากการส่งดาวเทียม จำนวน 24 ดวง ขึ้นสู่ห้วง อวกาศ ที่ระดับความสูงประมาณ 20,220 กิโลเมตร โดยดาวเทียมทั้งหมดจะ ถูกแบ่งออกเป็นวงโคจร 6 วง แต่ละวงโคจรมีดาวเทียมประจำการอยู่จำนวน 4 ดวง เพื่อทำหน้าที่ส่งคลื่นสัญญาณบอกตำแหน่งการโคจรมายังสถานีควบคุม ดาวเทียมภาคพื้นดินและเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม โดยเครื่องรับสัญญาณ จากดาวเทียมจะนำสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง มาคำนวณหา ค่าพิกัด ละติจูด และลองจิจูด ของตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งที่อยู่บนโลกและ เหนือพื้นผิวโลกขึ้นไป ระบบนี้จึงมีประโยชน์ต่อการบอกตำแหน่งและทิศทาง การเดินทางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

69 การทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

70 7. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System – GIS) คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยในการจัดเก็บ จัดการ จัดทำ วิเคราะห์ ทำแบบจำลองและการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ ดังนี้

71 องค์ประกอบสารสนเทศภูมิศาสตร์

72 7.1) ข้อมูล หมายถึง รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม การเดินสำรวจ เป็นต้น มีการแบ่งข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

73 7.1.1 ข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นข้อมูลที่สามารถอ้างอิงกับตำแหน่งภูมิศาสตร์
ทางภาคพื้นดิน ข้อมูลเชิงพื้นที่ สามารถแสดงสัญลักษณ์ได้ 3 รูปแบบ คือ 1) จุด (point) ได้แก่ ที่ตั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โรงเรียน เป็นต้น 2) เส้น (line) ได้แก่ ถนน แม่น้ำ เป็นต้น 3) พื้นที่หรือรูปหลายเหลี่ยม (area or polygons) ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ป่า ขอบเขต อำเภอ ขอบเขตจังหวัด เป็นต้น

74 7.1.2 ข้อมูลที่ไม่ใช่พื้นที่
ได้แก่ ข้อมูลการถือครองที่ดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลรายชื่อป่าสงวนแห่งชาติ เป็นต้น

75 7.2) บุคลากร หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่คัดเลือกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการทำงาน และใช้โปรแกรมคำสั่ง ในระบบคอมพิวเตอร์จัดการกับข้อมูลเหล่านั้น เช่น นำข้อมูลเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ปรับปรุงแก้ไข วิเคราะห์ และแสดงข้อมูลในรูปของแผนที่ ตาราง กราฟ ภาพสามมิติ เป็นต้น

76 7.3) เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการทำงานของ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ สายไฟ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 7.4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น โปรแกรม MS Office โปรแกรม Arc/Info โปรแกรม Arc view โปรแกรม Map Info เป็นต้น

77 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง
ที่ช่วยในการวิเคราะห์ คำนวณ และแสดงผลในรูปของตาราง กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ และแผนที่ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้วางแผน และวิเคราะห์งานด้านต่าง ๆ เช่น กรมป่าไม้ได้นำระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์มาใช้ในการวางแผนปลูกป่าและจำแนกประเภทของป่า กรมพัฒนาที่ดินได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการวางแผน ด้านการเกษตร เป็นต้น

78 แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
1. ข้อใดให้ความหมายของแผนที่ได้ถูกต้องที่สุด ก. ส่วนย่อของโลก ข. อุปกรณ์การศึกษาประเภทหนึ่ง ค. สิ่งแสดงทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์และธรณีวิทยา ง. สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลกลงบนพื้นราบด้วยการย่อส่วนให้เล็กลง โดยใช้มาตรส่วนและสัญลักษณ์ 2. ชนชาติใดที่ประดิษฐ์แผนที่ขึ้นใช้เป็นชาติแรกของโลก ก. ฟินิเชียน ข. สุเมเรียน ค. อัสซีเรียน ง. อัคคาเดียน 3. ถ้านักเรียนต้องการศึกษาลักษณะของกายภาพของโลก ควรศึกษาจากแผนที่ชนิดใด ก. แผนที่รัฐกิจ ข. แผนที่ภูมิอากาศ ค. แผนที่เศรษฐกิจ ง. แผนที่ภูมิประเทศ

79 4. ถ้าต้องการหาว่าประเทศกรีก ซึ่งเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
ปี อยู่ตรงส่วนใดของแผนที่โลก นักเรียนควรศึกษาจาก องค์ประกอบใดของแผนที่ ก. ทิศทาง ข. สัญลักษณ์ ค. เส้นโครงแผนที่ ง. พิกัดภูมิศาสตร์ 5. ในแผนที่ สัญลักษณ์นี้ใช้แทนสิ่งใด ก. ทางรถไฟ ข. ทางคนเดิน ค. ทางสายรอง ง. ทางสายหลัก 6. แผนที่มาตราส่วน 1 : 150,000 หมายความว่าระยะทางที่วัดใน แผนที่ 1 ซม. จะเป็นระยะทางจริงบนพื้นโลกเท่าไร ก. 1.5 ก.ม ข. 2.5 ก.ม ค ก.ม ง ก.ม.

80 7. ถ้าวัดระยะทางจริงในภูมิประเทศ 10 ก.ม. จะเป็นระยะทางในแผนที่เท่าใด
ถ้าแผนที่มีมาตรส่วน 1 : 250,000 ก. 2 ซม ข. 2.5 ซม ค. 4 ซม ง. 5 ซม. 8. ถ้านักเรียนต้องการทราบว่าเกาะกรีนแลนด์ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่าทวีปอเมริกาเหนือ นักเรียนควรใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใด ก. กราฟ ข. ลูกโลก ค. ภาพถ่ายทางอากาศ ง. ภาพถ่ายดาวเทียม 9. ข้อใดคือประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก. ประหยัดเวลาและงบประมาณ ข. ช่วยในการปรับปรุงแผนที่ให้ทันสมัย ค. ช่วยให้มองเห็นภาพจำลองลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ชัดเจนขึ้น ง. ถูกทุกข้อ 10. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก. ข้อมูล ข. แผนที่ ค. เครื่องคอมพิวเตอร์ ง บุคลากร

81 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
1. ง 2. ข 3. ง 4. ง 5. ง 6. ก 7. ค 8. ข 9. ง 10. ข


ดาวน์โหลด ppt เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google