งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ฉบับทบทวน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ฉบับทบทวน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ฉบับทบทวน
แนวทางการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ฉบับทบทวน และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

2 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
แนวทางการกำหนดทิศทางการพัฒนา มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและอาชีพ ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด และแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัด โดยเลือกจากศักยภาพของจังหวัด ซึ่งได้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง 1. วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาและโอกาสการพัฒนาที่สอดคล้องกับการประเมินผลการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาที่ผ่านมา 2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์พัฒนา (Position) ของจังหวัด 3. กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในเชิงปริมาณและหรือคุณภาพที่ชัดเจน อยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน 4. แผนงาน/โครงการที่มีลักษณะเป็น Project Ides ควรให้ความสำคัญกับแผนงาน/โครงการที่ตอบสนองกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและมีความเชื่อมโยงในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

3 แนวทางการจัดทำแผนและโครงการของจังหวัด
ความสอดคล้องเชื่อมโยง คุณภาพของแผน ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาภาค Thailand 4.0 นโยบาย ก.น.จ. ฯลฯ กับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ ผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย มีความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้อง เชื่อมโยงตั้งแต่ วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ

4 กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ “มั่นคง” ความมั่นคง 1 2 3 4 5 6 การสร้าง ความสามา รถ ในการ แข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม การสร้าง การเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ “ยั่งยืน” “มั่งคั่ง”

5 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ในภาครัฐและธรรมาภิบาลในสังคมไทย 1 6 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม 2 7 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 3 8 ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 8 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ 4 9 ยุทธศาสตร์ที่ 10 การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคง 10 5

6 แนวทางการพัฒนาภาคเหนือ
พัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและ ความยั่งยืน มีธุรกิจบริการต่อเนื่อง กับการท่องเที่ยวบริการสุขภาพและ การศึกษาที่ได้มาตรฐาน รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่สร้าง มูลค่าเพิ่มสูง พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทาง การเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้แนวคิดเกษตรปลอดภัยและ เกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้มีความ หลากหลายสอดคล้องกับความ ต้องการของตลาด ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมให้คืนความอุดมสมบูรณ์ สร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศ เพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุรองรับ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของภาคเหนือที่เร็วกว่าระดับประเทศ 10 ปี

7 ตัวชี้วัดจังหวัดตาก ยุทธศาสตร์จังหวัดตาก
จังหวัดตาก : การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ระดับชาติกับยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ (แผนฯ 12 ปี 60 – 64) ประเทศไทย 4.0 SDGs นโยบายรัฐบาล นโยบาย ก.น.จ. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์ กลุ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเครื่องกลอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อ กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการ ที่มีมูลค่าสูง ยุติความยากจน ทุกรูปแบบในทุกที สร้างหลักประกันว่า คนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพ สำหรับทุกคนในทุกวัน ยุติความหิวโหย บรรลุ ความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน สร้างหลักประกันว่าทุกคนมี การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต บรรลุความเสมอภาค ระหว่างเพศและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ และมีการบริหารจัดการน้ำและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน สร้างหลักประกันให้ทุกคน เข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่ย่อมเยา เชื่อถือได้และยั่งยืน ส่งเสริมการเติบโตทาง ศก. ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่า สำหรับทุกคน สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและส่งเสริมนวัตกรรม ลดความไม่เสมอภาค ภายในและระหว่างประเทศ ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐาน ของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยังยืน ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ สร้างหลักประกันให้มี รูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน การต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งการเสื่อมโทรมของที่ดิน และฟื้นฟูสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมส่งคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิด รับชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไก ดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ปกป้องสถาบันฯ รักษาความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สาธารณสุข เพิ่มศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมบทบาทในประชาคมอาเซียน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติฯ ธรรมาภิบาล พัฒนาการเกษตร โซนนิ่งภาคการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ ความมั่นคง เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน การปรองดองสมานฉันท์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ 1พัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและความยั่งยืน มีธุรกิจบริการต่อเนื่องกับการท่องเที่ยวบริการสุขภาพและการศึกษาที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง 2. ฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเกษตร แปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง 3. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนความอุดมสมบูรณ์สร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของภาคเหนือที่เร็วกว่าระดับประเทศ 10 ปี ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 1.พัฒนากระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การตลาดสินค้าทางการเกษตรและสินค้าชุมชน 2.พัฒนาโครงข่ายการค้า การลงทุน การบริการ เครือข่ายคมนาคมขนส่งสี่แยกอินโดจีนและอาเซียน 3.พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อารยธรรม สังคม กีฬา และสุขภาพ 4.บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์จังหวัดตาก 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และแก้ไขปัญหาความยากจน 2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร 4. การส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และการค้าชายแดน 5. การบริหารจัดการภาครัฐ และการรักษาความมั่นคงชายแดนและความสงบเรียบร้อย ตัวชี้วัดจังหวัดตาก ร้อยละของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลงไม่น้อยกว่า (%) ขนาดเศรษฐกิจภาคเกษตรเพิ่มขึ้น (%) รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (%) สัดส่วนมูลค่าการค้าชายแดนต่อ GPP (%) อัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น (%) จำนวนร้อยละเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ลดลง (%)

8 ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด
เดิม ทบทวน วิสัยทัศน์ เมืองน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และแก้ไขปัญหาความยากจน 2.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร 4.การส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และการค้าชายแดน 5. การบริหารจัดการภาครัฐและการรักษาความมั่นคงชายแดนและความสงบเรียบร้อย Positioning 1.การท่องเที่ยว (เชิงประวัติศาสตร์,วัฒนธรรมประเพณี) 2.การเกษตร (เกษตรพื้นที่สูง) 3.การค้าชายแดน และการลงทุน

9 การทบทวนโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
หัวข้อ แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ – 2564) (พ.ศ – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2562 วิสัยทัศน์ เมืองน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน เป้าประสงค์รวม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ผู้ด้อยโอกาสให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และส่งเสริมการค้า การลงทุน ในพื้นที่การค้าชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐและการบริหารจัดการเพื่อป้องกันรักษาความมั่นคงชายแดน การรักษาความสงบเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ

10 การทบทวนโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
หัวข้อ แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ – 2564) (พ.ศ – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2562 ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และแก้ไขปัญหาความยากจน 2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร 4. การส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และการค้าชายแดน 5. การบริหารจัดการภาครัฐและการรักษาความมั่นคงชายแดนและความสงบเรียบร้อย

11 การทบทวนโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
หัวข้อ แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ – 2560) (พ.ศ – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2562 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบสุขภาพ การศึกษา การเรียนรู้ การทำงาน รายได้ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว ชุมชน และการเข้าถึงบริการภาครัฐส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า ประปา ให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และบริหารจัดการขยะ น้ำเสียอย่างยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

12 การทบทวนโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
หัวข้อ แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ – 2564) (พ.ศ – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2562 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ส่งเสริมการค้าชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างขีดความสามารถในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน พัฒนาระบบการให้บริการ สิ่งอำนวยความสะดวกประชาชน และข้าราชการ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐ

13 จุดเน้นการพัฒนาจังหวัดตาก Positioning
ข้อมูลสนับสนุน 1.การท่องเที่ยว (เชิงนิเวศน์,ประวัติศาสตร์) 1.การท่องเที่ยว (เชิงประวัติศาสตร์,วัฒนธรรมประเพณี) จังหวัดตากมีศักยภาพด้านพื้นที่ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเมียนมา สภาพพื้นที่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ มีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นกลาง ทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป จึงมีความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม เช่นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น 2.การเกษตร (ข้าว แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร) 2. การเกษตร (เกษตรพื้นที่สูง) ด้วยสภาพพื้นที่ และสภาพอากาศของจังหวัดมีความเหมาะสมในการทำการเกษตรพื้นที่สูง เช่น อะโวคาโด กาแฟ มะคาเดเมีย พลับเป็นต้น ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น จึงสนับสนุนและส่งเสริมการผลิต การแปรรูป และเพิ่มช่องทางการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 3.การค้าชายแดน อุตสาหกรรม และLogistics 3. การค้าชายแดน และการลงทุน จังหวัดตากมีชายแดนติดกับสภาพเมียนมาจำนวน 5 อำเภอ ระยะทาง 540 กม. เป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางเส้น East – West Economic Corridor (EWEC) และ LIMEC เปรียบเสมือนประตูสู่อาเซียนมีเส้นทางถนนเชี่ยมโยงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากจังหวัดตากเข้าสู่จังหวัดเมียวดี เชื่อมเข้าสู่จีนตอนใต้และอินเดีย และรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 3 อำเภอ

14 การทบทวนโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
หัวข้อ แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ – 2560) (พ.ศ – 2564) ทบทวนปี พ.ศ.2562 ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ร้อยละของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลงไม่น้อยกว่า (5%) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 อัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น (5%) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ขนาดเศรษฐกิจภาคเกษตรเพิ่มขึ้น (5%) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 1. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (%) 2. สัดส่วนมูลค่าการค้าชายแดนต่อ GPP (%) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 1. จำนวนร้อยละเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ลดลง (%) 2. ความสามารถในการเบิกจ่ายงบจังหวัดไม่น้อยกว่า (%)

15 แนวทางการประสานแผนพัฒนาในพื้นที่
- ยุทธศาสตร์ประเทศ - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - ทิศทางนโยบายรัฐบาล - กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัดตาก/แผนปฏิบัติราชการจังหวัด จัดประชุมเพื่อพิจารณา บูรณาการโครงการ จังหวัด ก.บ.จ. ก.บ.จ. แผนความต้องการระดับอำเภอ - ทิศทาง นโยบายรัฐบาล - กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด กบอ. อำเภอ จัดประชุมเพื่อพิจารณา บูรณาการโครงการ แผนพัฒนาอำเภอ กบอ. กบอ. ตำบล/หมู่บ้าน - กรอบแผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาท้องถิ่น พช. อปท. ทบทวนแผนชุมชน/หมู่บ้าน จัดประชุมประชาคมท้องถิ่น กม. อปท.

16 ลักษณะโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
1. ก.น.จ. จะให้ความสำคัญและพิจารณาเห็นชอบโครงการที่จังหวัดจัดทำเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ 2. โครงการมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยแผนงาน/โครงการต้องมีความเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตของจังหวัด 3. โครงการจะต้องมีความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อช่วยพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย 4. โครงการจะต้องมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ทั้ง ด้านเทคนิค (วิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินการ) ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ดำเนินงาน บุคลากร การบริหารความเสี่ยง และการบริหารจัดการ) ด้านงบประมาณ (ความสมเหตุสมผลของวงเงินกับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ) ด้านระยะเวลา ที่จะต้องดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 5. โครงการจะต้องมีความคุ้มค่าผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง อาทิ จำนวนประชากร จำนวนเกสรกร พื้นที่เพาปลูก รายได้ ฯลฯ 6. โครงการจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วนตามแบบฟอร์ม ก.น.จ. กำหนด โดยกรณีที่เป็นโครงการก่อสร้างจะต้องระบุความพร้อมของพื้นที่ดำเนินงานรวมทั้งรูปแบบรายการโดยสังเขป

17 ลักษณะโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด
7. โครงการจะต้องมีรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายที่สามารถพิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายได้ หากโครงการใดไม่มีรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่าย โครงการ นั้นจะไม่ได้รับการพิจารณา 8. โครงการจะต้องแสดงถึงหน่วยงานที่พร้อมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป รวมทั้งต้องมีร่างบันทึกข้อตกลงระหว่างจังหวัดกับหน่วยงานดังกล่าวในการขอตั้งงบประมาณ 9. โครงการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากกว่าหนึ่งปี ควรมีการเตรียมล่วงหน้า ก่อนที่จะเสนอคำขอโครงการ เช่น การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA)การศึกษา/ออกแบบสำหรับการจัดทำโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น เขียนแบบก่อสร้าง เป็นต้น 10. โครงการจะต้องไม่เป็นการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด 11. โครงการจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และกลุ่มเป้าหมายต้องไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ ด้านความมั่นคง และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่) 12. โครงการจะต้องไม่เป็นลักษณะของกิจกรรมย่อย 13. โครงการต้องไม่เป็นการเดินทางไปราชการต่างประเทศ 14. โครงการต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารสถานที่ของส่วนราชการ

18 โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2561 กิจกรรมหลักของโครงการ
ความเชื่อมโยงของตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2561 กิจกรรมหลักของโครงการ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และแก้ไขปัญหาความยากจน 1. โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลโครงการพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดตาก เพิ่มศักยภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดตาก ก่อสร้าง/ปรับปรุง ขยายเขตระบบประปาเพื่ออุปโภคบริโภค ของจังหวัดตาก ก่อสร้าง/ปรับปรุง ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดตาก 1.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.การบริหารจัดการภาครัฐและการรักษาความมั่นคงชายแดนและความสงบเรียบร้อย 2. โครงการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความมั่นในพื้นที่จังหวัดตาก สนับสนุนส่งเสริมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดตาก ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดตาก ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และการบริหารจัดการขยะ บำบัดน้ำเสียของจังหวัดตาก ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการป้องกันรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดตาก 1.การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตร 3. โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทางการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก ส่งเสริมพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่จังหวัดตาก เพิ่มศักยภาพการแปรรูป นวัตกรรมสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก เพิ่มช่องทางการตลาด จำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก 1.การส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และการค้าชายแดน 4.โครงการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว การลงทุนและการค้าชายแดน แบบบูรณาการ ส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตาก ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดตาก ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตาก ส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP / สินค้าวิสาหกิจชุมชน / สินค้าพื้นเมืองของจังหวัดตาก ส่งเสริมการค้าชายแดน และการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก 1.การบริหารจัดการภาครัฐและการรักษาความมั่นคงชายแดนและความสงบเรียบร้อย 5. โครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐในพื้นที่จังหวัดตาก

19 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัดตาก
ร่างโครงการ project Idea ตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2564) ทบทวน ปี พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ ของจังหวัดตาก Value Chain ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การขยายผลสู่ภาคการปฏิบัติ พัฒนาต่อเนื่อง โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เป้าประสงค์) พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ผู้ด้อยโอกาสให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมย่อย : 1. สนับสนุนโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2.ขับเคลื่อนแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมหลัก : ขยายผลโครงการพระราชดำริในพื้นที่ กิจกรรมย่อย : 1.ขยายผลการเรียนรู้แนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ขยายผลโครงการพระราชดำริ สร้างป่า สร้างรายได้ 3.ขยายผลโครงการอาหารกลางวันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมย่อย : 1. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชุมชน 2. โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้พอเพียง กิจกรรมหลัก : พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต กิจกรรมย่อย : 1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค (ระบบประปา) 2. ปรับปรุง/ซ่อมแซมถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา 3. ขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล

20 โครงการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว การลงทุนและการค้าชายแดนแบบบูรณาการ
ร่างโครงการ project Idea ตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2564) ทบทวน ปี พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ ของจังหวัดตาก Value Chain ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง วางยุทธ์ศาสตร์/ แผนการท่องเที่ยว พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยว ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน พัฒนารูปแบบ/กิจกรรมการท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพมัคคุเทศก์/บุคลากรด้านการท่องเที่ยวและการค้า ส่งเสริมธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว ส่งเสริมด้านการตลาด/ประชาสัมพันธ์ โครงการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว การลงทุนและการค้าชายแดนแบบบูรณาการ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เป้าประสงค์) พัฒนาการท่องเที่ยว สินค้า OTOP และส่งเสริมการค้า การลงทุนในพื้นที่การค้าชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตัวชี้วัด : 1.อัตราการขยายตัวรายได้ท่องเที่ยว ร้อยละ 5 2.อัตราการขยายตัวมูลค่าการค้าชายแดน ร้อยละ 2 กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมย่อย : 1. พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน กิจกรรมย่อย : 1. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี 3.พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมการค้า การลงทุน กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาการตลาด การค้าและการท่องเที่ยว กิจกรรมย่อย : 1. ส่งเสริมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 2. เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ การจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว 3.พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Geo informatics /E – commerce) เพื่อพัฒนาจังหวัดเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมการลงทุน การค้าชายแดนและการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กิจกรรมย่อย : 1. ปรับปรุง/ซ่อมแซมถนนเชื่อมโยงการค้าชายแดนและในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2. พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมและชุมชนสู่อุตสาหกรรมสีเขียวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 3. ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการค้า การลงทุน ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

21 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัดตาก
ร่างโครงการ project Idea ตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2564) ทบทวน ปี พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ ของจังหวัดตาก Value Chain ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง การพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มผลผลิต พัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาการแปรรูปและสร้างมูลค่า ส่งเสริมด้านการตลาด/ประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เป้าประสงค์) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ตัวชี้วัด : ขนาดเศรษฐกิจภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่ กิจกรรมย่อย : 1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตไม้ผลเมืองหนาว 2. ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรพื้นที่สูงสู่การพืชเศรษฐกิจ 3. ส่งเสริมการปลูกพืชที่สูงทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนพื้นที่สูง 4. ส่งเสริมการเกษตรแบบอินทรีย์ 5. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบใช้น้ำน้อยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 6. เพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อ 7. ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำลดต้นทุนด้านการเกษตร (แบบเคลื่อนที่) กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่ กิจกรรมย่อย : 1.ก่อสร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 2. ส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าพืชไม้ผลเมืองหนาว 3.ปรับปรุง/ซ่อมแซมถนนเพื่อการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่ กิจกรรมย่อย : 1. ก่อสร้างตลาดกลางรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร 2.ปรับปรุงตลาดชุมชน 3. ปรับปรุงตลาดสินค้าการเกษตร ตลาดมูเซอ 4. เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร กิจกรรมหลัก : พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร กิจกรรมย่อย : ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำ

22 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัดตาก
ร่างโครงการ project Idea ตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2564) ทบทวน ปี พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ ของจังหวัดตาก Value Chain ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน การขยายผลสู่ภาคการปฏิบัติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โครงการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดตาก ตัวชี้วัด : 1.ระดับของความสำเร็จการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 1 2.จำนวนการเกิดจุดพิกัดความร้อน (Hotspot)ในจังหวัดลดลง ร้อยละ 1 3.ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกหลักวิชาการ ร้อยละ 1 เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เป้าประสงค์) เพื่อป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหลัก : สนับสนุนและส่งเสริมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมย่อย : 1. ฟื้นฟูและเพิ่มความชุ่มชื้นพื้นที่ป่าต้นน้ำ 2. การป้องกันรักษาป่าในพื้นที่ล่อแหลม 3. ก่อสร้างฝายชะลอน้ำเสริมระบบนิเวศ กิจกรรมหลัก : ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ กิจกรรมย่อย : 1. ฝีกอบรมงานดับไฟป่า 2. ก่อสร้างเขื่อน/พนังกั้นดิน ป้องกันตลิ่ง กิจกรรมหลัก : พัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมย่อย : 1. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม 2. อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และการบริหารจัดการขยะ บำบัดน้ำเสีย กิจกรรมย่อย : 1. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานเพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดโลกร้อน 2. ส่งเสริมการใช้แก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3. ปรับปรุง/ซ่อมแซมระบบโซล่าเซลล์ 4. ส่งเสริมชุมชนบริหารจัดการขยะมูลฝอย 5. ก่อสร้างเตาเผาขยะชุมชน

23 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัดตาก
ร่างโครงการ project Idea ตามแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ – 2564) ทบทวน ปี พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ ของจังหวัดตาก Value Chain ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง พัฒนาบุคลากรภาครัฐ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การประชาสัมพันธ์ ติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการภาครัฐ โครงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ตัวชี้วัด : 1.ความพึงพอใจในการให้บริการภาครัฐ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เป้าประสงค์) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ กิจกรรมหลัก : ส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐในพื้นที่จังหวัดตาก กิจกรรมย่อย : 1. เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาจังหวัดไทยแลนด์ 4.0

24 จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2561 – 2564) ฉบับทบทวน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google