งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce))

2 บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น การติดสื่อสารในลักษณะนี้เรียกว่าการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน ทำให้เราสามารถทำธุรกิจได้ในหลาย ๆ รูปแบบ ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก

3 ความหมายและความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) เกิดจากการผสมกันระหว่างคำว่า “International” และ “Network”หมายถึง เครือข่ายขนาดใหญ่ของคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือ เซิร์ฟเวอร์ (Server) ทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันด้วยเคเบิ้ลสื่อสารความเร็วสูง ข้อมูลทั้งหมดในอินเทอร์เน็ตจะเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เมื่อจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต จะต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายก็จะสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในเครือข่ายได้ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อาจเรียกได้อีกว่า การออนไลน์ (On-line) หรือ Dialing up

4 การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตเป็นการสื่อสารแบบไร้มิติ หรือเรียกว่า ไซเบอร์เสปซ (Cyberspace) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ผู้ใดจะเชื่อมต่อก็ได้หากมีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้มาตรฐานเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่ง TCP จะทำหน้าที่ตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ และ IP มีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลและตรวจทานที่อยู่ของผู้รับ ผู้ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจะสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้มากมาย

5 โลกของอินเทอร์เน็ตกับบทบาททางธุรกิจ
ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทกับวงการธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เพราะเพิ่มความสะดวกสบายและลดค่าใช้จ่ายมาก นอกจากจะใช้เพื่อการอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารภายใน หรือระหว่างองค์กรธุรกิจ เช่น การใช้งานอีเมลล์, การใช้ ICQ และอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลทางธุรกิจ และเป็นการแสดงถึงการปรับตัวขององค์กร การที่องค์กรธุรกิจมีการจัดสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ถือเป็นการส่งเสริม หรือเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรธุรกิจได้อีกด้วย เช่น

6 เป็นการประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลรายละเอียดขององค์กร รายละเอียดของธุรกิจ หรือใช้ในการประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวการรับสมัครงาน การแนะนำสินค้าใหม่ เป็นต้น รวมทั้งการนำเสนอรายละเอียดของสินค้าและบริการขององค์กรในลักษณะคล้ายโบรชัวร์ เช่น รายละเอียดของสินค้า ราคา รายการสินค้าใหม่ ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาติดต่อ หรือ สนใจสินค้าและบริการขององค์กร สามารถได้ข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นการลดภาระและต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ขององค์กร และเป็นการประหยัดเวลาได้อย่างมาก

7 เป็นการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว
องค์กรธุรกิจมีการประยุกต์ใช้กับงานและบริการเดิมที่องค์กรได้ทำอยู่แล้ว แต่เป็นการอำนวยความสะดวกและง่ายกว่าเดิม เช่น บริการรายงานความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น บริการจองตั๋วด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นการเพิ่มบริการในด้านสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว หรือ การซื้อหนังสือด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ลูกค้าลดเวลาในการเดินทาง และสามารถเลือกหนังสือที่ต้องการได้ตามใจชอบ วิธีการนี้ถือเป็นการดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้หันมาสนใจเข้าใช้บริการขององค์กรมากขึ้น หรืออาจเป็นช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่งได้ด้วย

8 ทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
อินเทอร์เน็ตเป็นอีกทางเลือกที่องค์กรธุรกิจ เลือกเพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย เนื่องจากเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และลูกค้าสามารถติดต่อธุรกิจโดยตรง นอกจากนี้การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถสร้าง ข้อได้เปรียบทางการค้าจากรูปแบบเดิม เช่น เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติทำให้ลดภาระเรื่องแรงงาน, สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก, สะดวกรวดเร็ว, ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่โดยไม่ต้องมาที่ร้าน และร้านค้าทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในขณะนี้

9 ประวัติและความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

10 นิยามของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้ กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยมีการแลกเปลี่ยน เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล์ และอื่น ๆ (Hill, 1997) การใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น EDI การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมอื่น ๆ โทรทัศน์และการใช้อินเทอร์เน็ต (Palmer, 1997) E-Commerce หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (World Trade Organization: WTO, 1998)

11 ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอ หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP, 1998) การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand} 1999) E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้า บริการ และสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต (Turban et al, 2000)

12 สรุป พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกิจการค้าทุกประเภทที่กระทำโดยผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การการซื้อ-ขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งการทำธุรกิจแบบนี้จะสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก โดยไม่ต้องออกจากบ้าน หรืออาจเรียกว่า Home Delivery ซึ่งสามารถพัฒนาธุรกิจให้เข้ากับยุคเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) อย่างสมบูรณ์

13 ข้อดี และข้อจำกัดของ E-Commerce
1 สามารถเปิดดำเนินการได้ 24 ชั่วโมง 2 ตัดปัญหาการต่อรองราคา หรือปัญหาเรื่องนายหน้า 3 ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร 4 ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสมากขึ้น 5 โอกาสทางธุรกิจเท่าเทียมกัน 6 การประชาสัมพันธ์ทำได้ง่ายขึ้น

14 ข้อดี และข้อจำกัดของ E-Commerce
ข้อเสีย 1 ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล 2 ความเสี่ยงในการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต 3 ขาดความรู้ด้านกฎหมายการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4 ขาดความรู้เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต

15 ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce และ E-Business
BI=Business Intelligence EC=E-Commerce CRM=Customer Relationship Management SCM=Supply Chain Management ERP=Enterprise Resource Planning

16 กระแส E-Fever E-service E-ticket E-learning E-Procurement E-Card
E-Banking E-Fever E-book E-Government E-Auction E-Citizen E-Education E-Industrial E-Passport E-Society

17 กลยุทธ ตามนโยบาย IT2010 มาตรการและแนวทาง
ยกระดับประสิทธิภาพในการ ผลิตโดยใช้ไอที ขยายฐานการตลาดโดยใช้ไอที ใช้ไอทีเพื่อเพิ่มผลผลิตทาง ด้านการเกษตร เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม ไอทีที่มีศักยภาพ จัดให้มี Thailand Exchange ส่งเสริมการใช้ไอทีใน ภาคการผลิต จัดให้มีข้อมูลทางด้าน การตลาด ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาใน ภาคเอกชน ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรใน ภาคการผลิตให้มีและ แลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอที เพื่อลดการนำเข้าและ เพื่อการส่งออก ส่งเสริมการใช้ไอทีใน ภาคการเกษตร จัดทำแผนแม่บท จัดให้มีหน่วยงานติดตาม และสนับสนุน ปรับปรุงระบบงานและการ จัดระบบข้อมูลทั้งในส่วน กลางและองค์กรท้องถิ่น พัฒนาข้าราชการให้มี ทักษะ ปรับกฎหมายและกฎ ระเบียบให้เอื้ออำนวย จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศและส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสนเทศของ ไทย สร้างความตระหนักและ ความเชี่อมั่นของประชาชน พัฒนาประสิทธิภาพ ภายในองค์กร (Back Office) พัฒนาระบบบริการ ประชาชน (Front Office) ปรับปรุงระบบบริหาร ราชการเพื่อนำไปสู่ Good Governance ลดความเหลื่อมล้ำของการ เข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (Digital Divide) เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ ประชาชน (Quality of Life) ส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning Society) สร้างโอกาสในการเข้าถึง สารสนเทศและความรู้ ส่งเสริมชุมชนและองค์กร แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะของประชาชนในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้ไอทีเพื่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิต สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อวัฒนธรรมและความเอื้ออาทรในสังคม ส่งเสริมการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เหมาะ สมและสนับสนุนอุตสาหกรรมไอทีของไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุปกรณ์ ที่มีอยู่แล้ว (Value-added) ลดความเหลื่อมล้ำโดยลงทุน อย่างเหมาะสม (Equity) วางแผนก้าวกระโดดในระยะ ยาว(Quantum-jump) ยกระดับครูให้มีทักษะด้าน ไอที (Teachers’ Training) เร่งผลิตฐานความรู้ (Content Development) สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี (Networking) สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อยกระดับความสามารถทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศและส่งเสริม อุตสาหกรรมไอทีของไทย ส่งเสริมการส่งออก ส่งเสริมการค้าบริการ ส่งเสริมการบริโภคจากผู้ประกอบการภายใน ประเทศ กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัย สร้างความตระหนักแล ะความเข้าใจ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและย่อม สร้างตลาดให้ภาคเอกชนผ่าน e-Procurement ของภาครัฐ พัฒนาบุคลากร จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่เหมาะสม และส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีของไทย กลยุทธ ตามนโยบาย IT2010 eCommerce eIndustry eGovernment eSociety eEducation มาตรการและแนวทาง

18 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
การขายตรง การซื้อขายหุ้น การหางาน ธนาคารออนไลน์ การจัดหาและการซื้อสินค้า

19 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
การประมูล การท่องเที่ยว การบริการลูกค้า การพิมพ์งานออนไลน์ (Online publishing) การติดต่อธุรกรรมระหว่างหน่วยงาน ห้างสรรพสินค้า

20 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
รัฐบาล เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทำธุรกิจ ผู้ใช้บริการ

21 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ตัวกลาง (Intermediary) คือ หน่วยงานกลางที่ออกใบรับรอง (Certificate) ในระบบการชำระเงิน และรับรองผู้ซื้อและผู้ขายว่าเป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ สถาบันการเงิน อำนวยความสะดวกในการชำระเงิน

22 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
ภาษี กฎหมายและระเบียบต่างๆ มาตรฐานด้านเทคนิค

23 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
การบริหารกลยุทธ์การตลาดและการโฆษณา การวิจัยทางการตลาด การส่งเสริมการขาย เนื้อหาในเว็ป พันธมิตรทางการค้า ลอจิสติกส์ หุ้นส่วนทางการค้า

24 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
โครงสร้างพื้นฐานในการบริการ แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (E-Catalogue) การชำระเงิน การจัดส่งสินค้า การบริการหลังการขาย การรักษาความปลอดภัย การบริการอื่น ๆ

25 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
การกระจายสารสนเทศ EDI Hypertext Transfer Protocol Chat room

26 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
เนื้อหามัลติมีเดียส์/การออกแบบ/การนำเสนอ HTML JAVA WWW VRML (Virtual Reality Modeling Language )

27 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
โครงสร้างเครือข่าย เคเบิ้ลทีวี อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต โทรศัพท์มือถือ

28 กรอบแนวคิดของ E-Commerce
โครงสร้างอินเตอร์เฟซ (Interface) การออกแบบเว็บเพจ ฐานข้อมูล แอพพลิเคชั่น

29 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การจำแนกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกตามลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินงานระหว่าง องค์การและบุคคลได้หลายประเภท จำแนกได้เป็น 5 ประเภทหลักดังนี้ 1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B to B , B2B เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นการทำธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ-ขายสูง รูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านธนาคาร ตลาดกลางทางอิเลกทรอนิกส์ของอุตสาหกรรมอาหาร

30 ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Business (B2B)

31 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Custom : B to C , B2C เป็นธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีก หรือเหมาโหล มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง ระบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านบัตรเครดิต สินค้าอาจเป็นแบบจับต้องได้ เช่นหนังสือ,ดอกไม้ หรือจับต้องไม่ได้ เข่น เพลง,ซอฟต์แวร์ ตัวอย่าง B2C เช่น

32 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government : B to G , B2G เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ (e-auxtion) การจัดซื้อจัดจ้าง (e-procument) เช่น หรือการจดทะเบียนการค้าและการนำสินค้า เข้าออกผ่านกรมศุลกากร

33 ตัวอย่างเว็บไซต์ Business-to-Government (B2G)

34 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer : C to C , C2C เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้านั้น อาจทำผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้าซึ่งผู้ค้าแต่ละคนจะนำมาฝากขายไว้กับเว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น

35 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer : G to C , G2C กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เน้นการให้บริการกับ ประชาชน โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล เช่น การคำนวณและชำระภาษี ออนไลน์ของกรมสรรพากร และงานบริการด้านจดทะเบียนของกระทรวงมหาดไทย

36 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
B EDI B E-Government E-Retailing EDI G G C C E-Government E-Government E-Community

37 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สามารถจำแนกรูปแบบการค้าได้ 8 แบบดังนี้ 1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัท และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย

38 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailer or E-Retailing) มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

39 2.3 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ต้องอาศัยเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งให้แก่เว็บไซต์ การประมูล มี 2 ลักษณะ คือ 3.1 ผู้ขายเสนอขายก่อน โดยผู้ซื้อแข่งกันเสนอราคา 3.2 ผู้ซื้อเสนอซื้อก่อน โดยผู้ขายแข่งกันเสนอราคา อาจเรียกว่า Reverse Auction หรือการประมูลแบบย้อนกลับ

40 3.4 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. การประกาศซื้อ-ขายสินค้า (Web Board) เวบไซต์ประเภทชุมชน เป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มุ่งเน้นการโฆษณาเป็นสำคัญ อาจเรียกว่าการโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ “E-Advertisement”

41 2.3 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) การตั้งตลาดกลางเพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่องขึ้นมา เช่น เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตรในประเทศไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เหล่านี้ก่อนใช้บริการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาด

42 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) สำหรับองค์กรที่นำมาใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) การชำระเงินทางออนไลน์ (Online Bill-Payment) ตลาดแรงงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Job Market) เป็นต้น

43 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
7. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีแก่หน่วยงานราชการด้วย

44 รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
8. โมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce) พัฒนาการรูปแบบใหม่ของการนำE-Commerce มาประยุกต์ใช้ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communication) เนื่องจากสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้

45 ข้อจำกัดเกี่ยวกับ E-Commerce
ข้อจำกัดด้านเทคนิค ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด ซอร์ฟแวร์ยังกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่าง Internet และซอร์ฟแวร์ของ E-commerce กับแอพพลิเคชั่น ข้อจำกัดด้านกฎหมาย กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ ปัญหาเกิดจากการทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

46 ข้อจำกัดด้านธุรกิจ วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงทำได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก

47 ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตเสียอีก สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบการจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spam ไปรบกวนได้ E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไร

48 บทที่ 2 การทำธุรกิจด้วยระบบ E-Commerce

49 ภาวะการค้าในยุคโลกาภิวัตน์
การประกอบธุรกิจการค้านั้น แต่เดิมได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารโทรคมนาคมนำสมัย มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่านเทเล็กซ์ การขายตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนการใช้โทรสารในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสาร ทางการค้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรืออีดีไอ (Electronic Data Interchange) ในการนำเข้า และส่งออกสินค้าระหว่างประเทศที่ทำให้สามารถลดกระดาษและลดขั้นตอนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าได้พลิกผันวิธีการดำเนินธุรกิจไปอย่างมากมายทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และเวลา ทั่วโลก เริ่มตระหนักถึงบทบาทของอินเทอร์เน็ตทางด้านการค้าที่ทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้เป็นเท่าตัว บริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม สามารถโฆษณา ทำการตลาด และขายสินค้าและบริการ ได้ทั่วโลกด้วยวิธีการง่ายๆ ตลอดจนปัจเจกบุคคลที่มีทรัพย์สินทางปัญญาหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการเริ่มธุรกิจได้อย่าง รวดเร็ว นักเป็นโอกาสทางการค้าที่ทุกๆ ประเทศทั่วโลกพยายามช่วงชิงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาวการณ์แข่งขันทางการค้าสากลที่นับวันจะทวีความเข้มข้นขึ้น

50 ความเคลื่อนไหวระหว่างประเทศ
ท่ามกลางความตื่นตัวและกระแสการทำธุรกิจโดยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั่วโลกได้มีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพราะตระหนักถึงโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าทั้งระดับประเทศและระดับโลก คาดกันว่าจากมูลค่านับแสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอีกทวีคูณในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะในประเทศที่มีความพร้อม ในขณะเดียวกัน องค์กรระหว่างประเทศได้มีกิจกรรมในด้านต่างๆ ที่จะมีส่วนสำคัญในการจัดระเบียบ การค้าใหม่อันเนื่องมาจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) ได้จัดทำปฏิญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Declaration) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิก ละเว้นจากการกำหนดภาษีศุลกากรประเภทใหม่ๆ เพื่อรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ และจะมีการเจรจาใน รายละเอียดในปลายปี พ.ศ องค์การสหประชาชาติโดยหน่วยงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (United Nations Commission on International Trade Law) ได้ยกร่างกฎหมายต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce) และกำลังยกร่างกฎหมายต้นแบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signa- ture) เพื่อเป็นแบบอย่างการสร้างกฎเกณฑ์ในการส่งเสริมการใช้พาณิชย์-อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ในขณะเดียวกันกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคต่างๆ

51 ประเทศไทยกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับประเทศไทยแล้ว พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทั้งโอกาสและการตั้งรับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและการพัฒนาขีดความสามารถของเอกชนในเวทีการค้าโลก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ของธุรกิจ และของภาครัฐ ในส่วนที่ให้บริการแก่ภาคเอกชน ประสิทธิภาพดังกล่าวรวมถึงความรวดเร็ว ความสะดวก ความถูกต้องแม่นยำ การลดต้นทุน และการขยายโอกาสทางการตลาด ในสภาพการผลิตและการให้บริการที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐาน หากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศมีการพัฒนาแล้วก็ย่อม ทำให้ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายปลีก การขายส่ง วงจร การผลิตและการจัดจำหน่าย (Supply Chain) รวมถึงการจัดการในภาคการผลิตและบริการรายสาขา มีความพร้อมในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม นักการเงิน ผู้ให้บริการ ตลอดจนนักการตลาดของประเทศไทยสามารถแข่งขันเชิงรุกในเวทีสากลได้ โดยใช้ความเป็นสากลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

52 กรอบนโยบาย - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งจะต้องบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ 10 และมีแผนระดับชาติที่จะรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเริ่มตั้งแต่กลางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นต้นไปที่สามารถปรับให้คล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ได้ในระยะที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง - ภาครัฐจะสนับสนุนและดำเนินการในมาตรการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคเอกชนและผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก และสร้าง ความมั่นใจให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลจะให้ความสำคัญในลำดับต้นสำหรับการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อกระบวนการ ส่งเสริมการพัฒนา

53 - ภาครัฐจะลดเลิกและหลีกเลี่ยงจากการกำหนดระเบียบราชการ และกฎเกณฑ์ที่จะกีดขวางต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันจะดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ - ภาครัฐจะส่งเสริมกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค และจะเร่งปฏิรูประบบราชการ โดยใช้สื่อและระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารรัฐกิจและให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นการสร้างตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับภาคเอกชนในรูปของธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ - ภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนจะจัดระบบฐานข้อมูล และศึกษานโยบายและแนวทางการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในเวทีเจรจาและความร่วมมือทางการค้า ระดับภูมิภาค ตลอดจน ระดับทวิและพหุภาคีในเชิงรุก

54 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
โทรคมนาคม ผลักดันให้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยกิจการด้านโทรคมนาคมโดยเร็ว เพื่อเอื้ออำนวยให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกันตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 78 โดยตระหนักว่าการสร้าง เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่ทั่วถึง เข้าถึงได้ และมีราคาเหมาะสมเท่านั้น ที่จะเป็นการกระจาความเจริญและกระจายโอกาสให้นักธุรกิจระดับใหญ่ กลาง เล็ก ลงไปถึงประชาชน สามารถเข้ามา มีส่วนร่วมในการประกอบการ และบริโภคในระบบพาณิชย์-อิเล็กทรอนิกส์ได้ อินเทอร์เน็ต ส่งเสริมให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคการศึกษา และ การพาณิชย์ ทั้งนี้โดยการลดเลิกการผูกขาดทางด้านโทรคมนาคม จัดระเบียบอินเทอร์เน็ตในส่วนที่เป็นการเรียกร้องจากภาคเอกชนและผู้บริโภค และคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพของระบบอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของประเทศเป็นสำคัญ

55 องค์กรรับรองความถูกต้อง สนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรรับรองความถูกต้อง (Certification Authority) ของข้อมูลและเจ้าของข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการรับรองความถูกต้องระหว่างประเทศ โดยยึดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการค้าของประเทศเป็นหลัก พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มที่ โดยการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนากำลังคนในสาขาต่างๆ ทั้งทางภาคการศึกษา และการเสริมทักษะให้กับแรงงานในตลาดปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดมาตรการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบ ที่มีประสิทธิผล เช่น มาตรการแรงจูงใจทางการเงินและภาษี และการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานและพัฒนาบุคลากรด้าน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

56 โครงการระดับชาติ สนับสนุนโครงการที่จะเป็นกำลังขับเคลื่อนชิ้นส่วนต่างๆ ของการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นโครงการทางกายภาพ เช่น อุทยานซอฟต์แวร์ เขตการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เขตอุตสาหกรรมมัลติมีเดีย เขตอุตสาหกรรมบันเทิงดิจิทัล เขตอุตสาหกรรมสำนักข่าวอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือโครงการที่มีเครือข่ายเป็นสถานที่ตั้ง เช่น ตลาดพืชผลเสมือน (Virtual Agro-Product Trading Market) ศูนย์อุตสาหกรรมสิ่งทอบนเครือข่าย (Garment Industry Portal) เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม การวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อสนับสนุนภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นการสร้างมาตรฐาน การคิดค้นนวัตกรรม การสร้างต้นแบบตัวอย่าง โครงการสาธิต โครงการนำร่องทั้งการวิจัยด้านเทคนิค ด้านธุรกิจ และด้านนโยบาย โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้วพัฒนาโครงการ ต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางเพื่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หากมีความเหมาะสมและจำเป็น

57 ฐานข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลและเครือข่ายของฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผน เพื่อให้บริการแก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และเพื่อผู้บริโภค มาตรฐาน สนับสนุนให้มีมาตรฐานทางเทคนิคและระบบที่จำเป็นต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการชำระเงิน (Smart Card) มาตรฐานเทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Cryptography) รวมไปจนถึงการส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการโดยทั่วไปที่จะเป็นจุดขายที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทย

58 ด้านการต่างประเทศ - ร่วมมือกับประเทศ กลุ่มประเทศ ภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศใน การผลักดันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สากล - กิจกรรมระหว่างประเทศ ดำเนินกิจกรรมระหว่างประเทศในอันที่จะผลักดันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อขบวนการพัฒนาของประเทศไทยภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว เช่น การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเอเปคในประเทศไทย

59

60 โมเดลแสดงความสัมพันธ์ของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธนาคาร ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือ ตรวจสอบและอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และบริการ ทาง อินเทอร์เน็ตผ่านระบบธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า หรือบริการนั้นเข้าบัญชีร้านค้าสมาชิก TPSP - TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER คือ องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลการชำระ ค่าสินค้าหรือบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ตให้กับร้านค้า หรือ ISP ต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSP สามารถเชื่อมต่อระบบ ให้กับทุก ๆ ร้านค้า หรื ทุก ๆ ISP และทำการ อินเทอร์เน็ตระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร ลูกค้า ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ด้วย บัตรเครดิต บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)

61 ร้านค้า ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเปิด Home page บน Web site ของตนเอง หรือฝาก Home page ไว้กับ Web site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคารก่อน ISP – INTERNET SERVICE PROVIDER องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home page มาฝากเพื่อขายสินค้า

62 เทคโนโลยีกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) การส่งผ่านเอกสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางผู้ส่งและผู้รับจะติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันทางธุรกิจ โดยมีแบบที่เป็นมาตรฐานที่กำหนดร่วมกัน ตัวอย่างเช่น มาตรฐานของ UN/EDIFACT รหัสแท่ง (Bar Codes) การใช้ระบบอัตโนมัติของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดเลขทะเบียนสินค้าให้มีโค้ดที่แตกต่างกันในแต่ละสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำให้สะท้อนได้ไวต่อแสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการตรวจเช็คสินค้า-สต๊อกสินค้า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การส่งข้อความสำหรับบุคคลต่อบุคคลจากผู้ส่งข่าวสารให้แก่ผู้รับผ่านอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) การแพร่กระจายของเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างบุคคลและธุรกิจ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งมีผู้ใช้มากขึ้นก็ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีประโยชน์มากขึ้น

63 World Wide Web การสะสมรวบรวมเอกสารและรหัสไว้ด้วยภาษา Hypertext Markup Language (HTML) โดยชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของซอฟต์แวร์ เรียกว่า บราวเซอร์ (browser) สามารถรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายทั้งเนื้อหาสาระ รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง และเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก เป็นอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้ Product Data Exchange หมายถึง ข้อมูลของสินค้าที่ถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างละเอียดไม่ว่าในรูปแบบของกราฟ รูปภาพ ตัวหนังสือ และตัวเลข การใส่ข้อมูลต่าง ๆ เช่น เกี่ยวกับวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และผลการทดสอบ เป็นต้น Electronic Forms คือ การใช้รูปแบบการกรอกข้อความ แบบฟอร์มต่าง ๆ ในแผ่นกระดาษธรรมดามาใช้ในการกรอกข้อความลงบนจอคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

64 ตัวอย่างของกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การค้าขายสินค้าและบริการโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trading of Goods and Services) การจัดส่งข้อมูลทุกประเภทและสาระความรู้ใด ๆ ในรูปสัญญาณดิจิทอล โดยผ่านเครือข่ายออนไลน์ การโฆษณาสัมพันธ์และการกำหนดการตลาด แสวงหาลูกค้า โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และอื่น ๆ

65 ข้อแตกต่างระหว่างตลาดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และตลาดทั่วไป
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบและผู้มีส่วนร่วมที่คล้ายกับตลาดทั่วไป แต่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น จะเป็นการรวบรวมเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับเทคโนโลยีทางการสื่อสารและขั้นตอนต่าง ๆ ในทางการค้าไว้ด้วยกัน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทำให้ตลาดมีความใกล้เคียงกับตลาดที่สมบูรณ์ (Perfect Market) ซึ่งผู้ซื้อผู้ขายสามารถที่จะได้มีโอกาสเปรียบเทียบและตรวจเช็คข้อมูล ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ทั้งในด้านราคา คุณภาพ และบริการ ก่อนการตัดสินใจซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก ซึ่งสามารถทำให้อัตราค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปให้กับร้านค้าส่งและปลีกลดลง

66 การเริ่มต้นการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตได้ดังนี้
พิจารณาความพร้อมของบริษัท เลือกสินค้าที่จะจำหน่าย การรับและบริหารการสั่งซื้อ ดำเนินการทางด้านภาษีให้ถูกต้อง (ที่มา กรมสรรพากร) โฆษณาเผยแพร่ ต้องมีการปรับปรุงติดตามผลหลังจากการขายสินค้า หรือบริการ และเก็บเงินแล้ว

67 แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ
     (1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม      (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท      (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

68 โอกาสในการทำอีคอมเมิร์ซ
ในปัจจุบันนี้หัวข้อที่นักธุรกิจพูดถึงในการทำธุรกิจมากที่สุดคืออะไร ถึงแม้ว่าผู้ประกอบธุรกิจมากมายเร่งรีบในการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นเพื่อที่จะเพิ่มยอดขายและบริการ ในการทำธุรกิจไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม สองสิ่งที่นักธุรกิจต้องนึกถึงอยู่ตลอดเวลานั่นก็คือ การบริการที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และความไว้วางใจที่ลูกค้ามีให้กับธุรกิจของเรา มีปัจจัยหลายประการที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จอย่างเช่น - การให้คุณค่าแก่เว็บไซต์ (provide value) - การเสนอคุณภาพ - ต้องมีเอกลักษณ์ - การสร้างแบรนด์เนม

69 ลักษณะเด่นของ E-Commerce
1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที 2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น 3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด 4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก 5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า 6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ

70 อุปสรรคของการทำ E-Commerce

71 6. ไม่แน่ใจผู้ขายเป็นผู้ประกอบการที่ปฏิบัติธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และน่าเชื่อถือเพียงใด 7. ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ 8. ผู้ขายยังไม่มั่นใจว่าตัวตนจริงของลูกค้าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ นั่นคือผู้ขายไม่มั่นใจว่า ผู้ซื้อมีความสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่

72 การสร้างเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งสำคัญที่กล่าวถึงอยู่เสมอคือ การจัดทำเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 วิธี 1. การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า in-house เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีทีมงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ร้านค้าในการ ปรับแต่งและแก้ไขเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงได้ตลอดเวลา แต่จะมีค่าใช้จ่ายกับ ทีมงานค่อนข้างสูง 2. การพัฒนาเว็บไซต์โดยการจ้างทีมงานด้านไอทีมืออาชีพ หรือที่เรียกว่า Outsourcing เป็นการพัฒนาเว็บไซต์ตามความต้องการของเจ้าของกิจการ วิธีนี้เหมาะสำหรับองค์การที่ไม่มีทีมงานด้านไอที แต่ต้องการรายละเอียดของเว็บไซต์ตามความต้องการ ซึ่งอาจจะยุ่งยากเมื่อมีการปรับปรุงเว็บไซต์ในภายหลัง 3. ใช้โปรแกรมสร้างเว็บเพจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป เป็นการสร้างเว็บไซต์จากต้นแบบหรือเท็มเพลต(template) ที่บริษัทผลิตขึ้นมา เช่น tarad.com การทำเว็บไซต์โดย วิธีนี้ ร้านค้าไม่จำเป็นต้องทำหรือจ้างบริษัทเพื่อสร้างเว็บไซต์ เพียงลงทะเบียนกับบริษัทที่ให้บริการเท็มเพลต ดังกล่าว ก็จะได้เว็บไซต์ที่มีรูปแบบหน้าร้านสำเร็จรูปในทันที อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย โดยจะเสีย ค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ไม่ยุ่งยากในการหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อฝากเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ร้านค้าที่สร้างจาก เว็บเพจสำเร็จรูปจะเป็นร้านค้าย่อยๆในเว็บไซต์ประเภท shopping mall ของบริษัทที่ลงทะเบียน ซึ่งเป็นแหล่ง รวมร้านค้าต่างๆ แต่มีข้อจำกัดคือร้านค้าไม่สามารถปรับแต่รายละเอียดหน้าร้านได้มากขึ้น

73 การสร้างเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

74 การสร้างเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

75 การสร้างเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรณีศึกษาขอพื้นที่ทำฟรี e-commerce ที่ ลักษณะ บริการโดยคนไทย ภาษาไทย คุยกันรู้เรื่อง ทำตามขึ้นตอนแค่ 5 ข้อ ก็เปิดร้านได้แล้ว เร็วมาก คำขอสั่งซื้อ(PO) จะถูกส่งไปทาง รายชื่อร้านจะอยู่หน้าแรกของ jjshop.com มีคนสั่งแล้ว ส่ง mail บอกทั้งผู้สั่ง และคนขาย ไม่รับบัตรเครดิต มีบริการจด dotcom ใช้ภาษาไทย หรือเงินบาทไม่ได้ อธิบายเรื่องธุรกิจ e-commerce กับบัตรเครดิต

76 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โครงสร้างหลักของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เกิดการค้าขายบนเว็บไซต์ 1. หน้าร้าน (Storefront) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับแสดงข้อมูลสินค้า ทั้งหมดของร้านค้ารวมถึงระบบค้นหาข้อมูลสินค้า นโยบายการค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ซึ่งส่วนหน้าร้านนี้จะต้องมีการออกแบบให้ดีให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

77 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) เป็นระบบที่ต่อเนื่องจากหน้าร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า โดยคลิกที่ข้อความ “สั่งซื้อ” หรือ สัญลักษณ์รูปตะกร้า หรือรถเข็นก็จะปรากฏรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการในหน้าตะกร้า พร้อมกับ คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าหรือปริมาณที่สั่งได้ หากลูกค้า ตัดสินใจเลือกสินค้าที่ต้องการแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินต่อไป

78 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ระบบการชำระเงิน (Payment System) การค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์มีวิธีการชำระเงินหลายรูปแบบเช่น การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การชำระด้วย บัตรเครดิต การส่งธนาณัติ เป็นต้น ซึ่งผู้ขายจะต้องมีทางเลือกให้ลูกค้าหลายทางเลือก เพื่อความสะดวก ของลูกค้า เช่นชำระโดยบัตรเครดิตนิยมในกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างประเทศ ถ้ากลุ่มเป้าหมายหลักเป็นลูกค้าชาว ต่างประเทศ ก็ควรมีวิธีชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเป็นทางเลือก ซึ่งการชำระเงินด้วยบัตรเครดิจร้านค้าต้อง ติดต่อกับธนาคารเพื่อขอเป็นร้านค้ารับบัตรเครดิต หากมีลูกค้าซื้อสินค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิตจะมีการ ส่งข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตไปตรวจสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคารแห่งนั้น โดยการส่งข้อมูล บัตรเครดิตจะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้ารหัสข้อมูลบัตรเครดิตที่ไม่สามารถมีผู้อื่นมาขโมยไปใช้ได้ วิธีที่นิยมในปัจจุบันจะใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Secure Socket Layer(SSL)

79 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

80 ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบตัดบัตรเครดิต
เป็นระบบตัดบัตรเครดิตแบบง่ายๆ โดยจะมีเว็บเพจสำหรับกรอกหมายเลขบัตรเครดิต ให้ร้านค้าเชื่อมต่อ โดยตรง โดยร้านค้าจะมีหน้าที่ส่งค่าตัวแปรต่างๆ อย่างเช่น มูลค่าสินค้า หมายเลขประจำตัวร้านค้า มาให้ ดำเนินการเท่านั้น ร้านค้าซึ่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินค้าและฐานข้อมูลลูกค้าเรียบร้อยแล้วสามารถ เข้ามา ใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับ EPAYLINK ได้ทันที

81 กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนคือ 1. การค้นหาข้อมูล ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ แล้วนำข้อมูลสินค้าแต่ละร้านค้า มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยเครื่องมือที่ลูกค้าใช้ในการค้นหาเว็บไซต์ที่นิยม คือ Search engine เช่น www. Google.com, yahoo.com เป็นต้น ดังนั้นประเด็นที่สำคัญสำหรับร้านค้าคือ การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจโฆษณาโดยใช้แบเนอร์ การแลกเปลี่ยนลิงค์ และการลงทะเบียนกับ Search engine 2. การสั่งซื้อสินค้า เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการสินค้าที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจะมีการ คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้ 3. การชำระเงิน เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะเป็นการกำหนดวิธีการชำระเงินขึ้นอยู่กับความ สะดวกของลูกค้าว่าจะเลือกวิธีไหน

82 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. ระบบสมัครสมาชิก (Member System) เป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้าที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสาร รวมถึงลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า เพื่อ ประโยชน์ในการจัดส่งข้อมูลและสินค้าได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ร้านค้ายังสามารถนำข้อมูลลูกค้า ไปใช้ประโยชน์ในระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management :CRM) 5. ระบบขนส่ง (Transportation System) เป็นระบบการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีทางเลือกหลายทางให้กับลูกค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับลูกค้า ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละวิธีจะไม่เท่ากัน อาจใช้ EMS, DHL, FedEx, UPS จัดการให้ ซึ่งร้านค้า ต้องมีการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บริษัทขนส่ง เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย 6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ (Order Tracking System) เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยเมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ลูกค้าจะได้หมายเลขคำสั่งซื้อ (order number) หากลูกค้าต้องการทราบว่าสินค้าที่สั่งซื้ออยู่ในขั้นตอนใดก็สามารถใช้หมายเลข ดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบสถานะของสินค้าได้และจะมีรายงานผลสถานะการรับสินค้าแล้ว เป็นต้น โดยระบบนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือและมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าอย่างแน่นอน

83 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. การส่งมอบสินค้า เมื่อลูกค้ากำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่การเลือกวิธีขนส่งสินค้า ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจ จัดส่งให้กับลูกค้าโดยตรง การใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าหรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข่น การดาวน์โหลด เพลง การให้หมายเลขเพื่อไปรับสินค้าหรือบริการปลายทาง เป็นต้น 5. การให้บริการหลักการขาย หลังจากเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องการมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะมีการ ติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล เว็บบอร์ด

84 หัวข้อที่ส่งผลให้การทำ e-commerce สำเร็จ
สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินตนเองคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart ไว้อย่างไร เพื่อติดตั้งระบบ และแผนธุรกิจโดยรวม เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน จ่ายเงิน (Payment) :: มีแผนการรับชำระเงินไว้อย่างไร เช่น Credit card อื่น ๆ ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร สินค้า (Product) :: ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่ ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่ สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร เพราะในโลก internet มีช่องทางมากมายที่จะซื้อโฆษณา สินค้าคงคลัง (Stock) :: ถ้าสั่งแล้วกี่วันได้ หรือเตรียมสินค้าไว้แล้ว รับปากได้ไหม

85 หัวข้อที่ส่งผลให้การทำ e-commerce สำเร็จ
เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงินเป็นอย่างไร ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ เช็คเด้ง ส่งของไม่ทัน สินค้าไม่ได้มาตรฐาน จะทำอย่างไร สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง เพื่อให้ระบบสมบูรณ์ หีบห่อ (Package) :: มีแผนเรื่องหีบห่ออย่างไร เพราะการสั่งซื้อ จะมาพร้อมแบบของหีบห่อ เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่

86 e-commerce ทำอย่างไร ท่านจะใช้บริการตั้งร้านบน net แบบไหน
จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา จาก free hosting ที่บริการ e-commerce พร้อม shopping cart พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่อง ทางกว้างขึ้น

87 ก่อนทำ e-commerce เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-commerce ขายอะไร
ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server จด dotcom ไหม จดกับใคร 1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th หรือ .com.th จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่ ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการ ครบวงจร

88 ก่อนทำ e-commerce การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด) ความปลอดภัย (ถ้ารับเรื่องบัตรเครดิต) SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะ จากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้ SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอ จากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการ สั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยัง สูงอยู่) เลือกรูปแบบของธุรกิจอย่างไร B to B , B to C, C to C

89 ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-commerce
ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Search engines) ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and development) ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install) ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion) ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintainance) ลักษณะพิเศษของการทำการค้าบนเว็บ : ไม่มีพรมแดน, ตัวต่อตัว, ตัดสินใจจากข้อมูล, กิจกรรมผสม, ไปถึงคนทั่วโลก, โต้ตอบทันควัน, ทำได้ 24 ชั่วโมง

90 ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-commerce
ขั้นตอน 1 แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแล ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกน หลัก ขั้นตอน 2 วิจัยตลาดโดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด ขั้นตอน 3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน ขั้นตอน 4 วางกลยุทธ์ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธิ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้ คณะทำงานอีคอมเมอร์ซที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ

91 ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-commerce
ขั้นตอน 5 ทำการพัฒนาเว็บเพจตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการ ตัดสินใจซื้อ ขั้นตอน 6 ติดตั้งระบบอีคอมเมิร์ซ เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม ขั้นตอน 7 จดทะเบียนชื่อโดเมน และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บ เซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น ขั้นตอน 8 ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอน 9 เฝ้าดูแล และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน

92 สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต
หน้าร้าน และพื้นที่ของร้าน ยิ่งกว้างยิ่งดี (Amount) ต้องมีตะกร้า ซื้อและคำนวณเงินได้ ก่อนจ่ายจริง (Shopping cart) อีเมล์ตอบรับ เมื่อมีผู้สนใจสั่งสินค้า ควรสั่งให้ทั้งลูกค้า และตัวคุณ( response) รับชำระด้วยบัตรเครดิต หลังจากทุกอย่างลงตัว (Credit card accepted) สถิติ และรายงาน เห็นความก้าวหน้าของเว็บ (Statistic) เทมเพลตการออกแบบ ช่วยให้ออกแบบหน้าร้านได้ง่ายขึ้น (Template) การประชาสัมพันธ์ ต้องถึงกลุ่มลูกค้า (Advertising)

93 กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้าน online
สินค้าต้องน่าสนใจ และมีจำนวนมากพอ เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกเห็นความหลายหลาย และเข้ามาที่ร้านอีก รายละเอียดสินค้าครบถ้วน ตรงตามความจริง ไม่คุยสรรพคุณเกินจริง หรือแอบใส่ไข่ เป็นอันขาด สินค้ามีอยู่จริง และต้องหาให้ลูกค้าได้ทันทีที่สั่งซื้อ การออกแบบเว็บต้องดี น่าดู น่าสนใจ มีลูกเล่นที่ดี การประชาสัมพันธ์ต้องเยี่ยม มีการส่งจดหมายข่าว หรือโฆษณาผ่าน banner exchange ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย(eservice) ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารเอเชีย (ฝ่ายผลิตภัฒณฑ์บัตรเครดิต) ต่อ

94 การพิจารณาอนุมัติการให้มีการตัดบัตรเครดิต
จะต้องมีทะเบียนนิติบุคคล เช่น สามัญนิติบุคคล (ร้านค้า) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัท จำกัด ทุนจดทะเบียน จะไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท (ตัวเลขนี้ เปลี่ยนแปลงตามสถาบันการเงิน บางแห่ง อาจต้องการ ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท) ระยะเวลาในการประกอบการ จนถึงวันพิจารณา จะไม่น้อยกว่า 3 ปี (ตัวเลขนี้ เป็นปัญหากับผู้ประกอบการ ขนาดเล็ก หรือ ผู้ที่ริเริ่มเข้ามาประกอบธุรกิจ ซึ่งอาจมีการลดหย่อน ภายในปีนี้) จะต้องมีเงินมัดจำ 3-5 หมื่นบาท เป็นเงินฝากประจำ ถอนไม่ได้ เป็นเงินสดค้ำประกันบัญชี ในบางกรณี ทางสถาบันการเงิน จะจัดเจ้าหน้าที่เข้าเยี่ยมเยียน สถานประกอบการของท่าน เพื่อดูความเสี่ยง ในการประกอบธุรกิจ ต่อสถาบันการเงินนั้น ด้วยกฏเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ในปัจจุบัน จะพบได้ว่า จะมีเพียง ผู้ประกอบการขนาดกลางที่มั่นคง เท่านั้น ที่อาจจะผ่านกฏเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าว แต่โอกาสแทบจะไม่มี ของผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือบุคคลธรรมดา ที่อยากเริ่มประกอบธุรกิจ โดยอาศัยการบริการตัดบัตรเครดิต จะได้รับการพิจารณาจากสถาบันการเงินในประเทศไทย

95 ปัญหาของ e-commerce ในไทย
1. คนไทยค่าครองชีพต่ำทำให้อำนาจซื้อที่จะไปซื้อของผ่านเว็บยังน้อย 2. คนไทยน้อยคนมากที่จะใช้บัตรเครดิต และยิ่งน้อยเข้าไปอีกที่จะนำไปซื้อของ ผ่าน internet อันมีเหตุผลมา จากความเชื่อถือในความปลอดภัย 3. คนไทยน้อยคนที่สนใจ ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อจับจ่ายซื้อของ ส่วนใหญ่จะใช้ทำงานและเพื่อการศึกษา และเล่นเกมส์ สังเกตุว่า ร้านขาย cd เกือบทุกร้านจะมีแผ่น cd เกมส์กันเกือบครึ่งร้านและผู้ไปซื้อ คอมพิวเตอร์กว่าครึ่งหนึ่งจะถามว่า คอมพิวเตอร์มีเกมส์อะไรบ้าง 4. เมื่อ demand น้อย ทำให้ supply น้อยไปด้วยทำให้เกิดการแข่งขัน และความพยายามที่จะพัฒนาระบบน้อย เนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน 5. คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้เงินสดและได้เลือกสินค้าก่อนซื้อ มิใช่เห็นแต่ในภาพ

96 ข้อสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ
ข้อสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ 1.รูปแบบของการทำธุรกิจ E-commerec มีกี่ประเภท จงอธิบาย 2.ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3.เพราะเหตุใดจึงต้องมีการยกต่างกฎหมายขึ้นมาควบคุมพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ 4. อธิบายขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต 5. สินค้ามีกี่รูปแบบและวิธีการจัดส่งสินค้าเป็นอย่างไรจงอธิบาย

97 ข้อสอบปรนัย 1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) หมายถึง
ก. การทำธุรกิจระหว่างกัน ข. การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ค. การทำธุรกรรมผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ง. การทำธุรกรรมผ่านทางจดหมาย 2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ชนิดใดที่เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกทั้งหมด ก. จดหมาย, เครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องทอผ้า ข.จักรเย็บผ้า, โทรศัพท์,เครื่องสักผ้า ค. โทรศัพท์,โทรทัศน์, วิทยุ ง. เครื่องพิมพ์ดีด, จักรเย็บผ้า, วิทยุ

98 ข้อสอบปรนัย 3. ตัวกลาง (Intermediary) คือ
ก. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ข. หน่วยงานกลางที่ออกใบรับรอง ในระบบการชำระเงิน และรับรองผู้ซื้อและ ผู้ขายว่าเป็น บุคคลหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ค. อำนวยความสะดวกในการชำระเงิน ง. อำนวยความสะดวกในด้านการตลาด

99 ข้อสอบปรนัย 4.โครงสร้างอินเตอร์เฟซ (Interface) ประกอบด้วย
ก.การออกแบบเว็บเพจ, ฐานข้อมูล, แอพพลิเคชั่น ข.อินเตอร์เน็ต, โทรศัพท์บ้าน, เคเบิ้ลทีวี ค. www , html, people ง. mouse, ram, cpu

100 ข้อสอบปรนัย 5. E-Commerce มีกี่ประเภท ก. 5 ข. 3 ค. 4 ค. ไม่มีข้อถูก
ก ข. 3 ค ค. ไม่มีข้อถูก 6. B2B คือ ก. ธุรกิจกับธุรกิจ ข. ธุรกิจและลูกค้า ค. ธุรกิจกับรัฐบาล ง. ลูกค้ากับลูกค้า

101 ข้อสอบปรนัย 7. B2G คือ ก. ธุรกิจกับธุรกิจ ข. ธุรกิจและลูกค้า
ก. ธุรกิจกับธุรกิจ ข. ธุรกิจและลูกค้า ค. ธุรกิจกับรัฐบาล ง. ลูกค้ากับลูกค้า

102 ข้อสอบปรนัย 8.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government) คือ
ก. รัฐบาลช่วยเหลือประชาชนในด้านการทำงาน ข. เป็นการประยุกต์แนวคิดของ E-Commerce โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการรับ-ส่ง ค.การใช้เครื่องจักรในการช่วยเหลือประชาชน ง. ไม่มีข้อถูก

103 ข้อสอบปรนัย 9. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government) มีกี่รูปแบบ ก ข. 2 ค ง .3 10. รัฐบาลกับประชาชน (G2C) คือ ก. การประมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ข. การใช้บริการของรัฐไปยัง ประชาชน ค. ไม่มีข้อถูก ง.ข้อ ก ถูก

104 ข้อสอบปรนัย 11. รัฐบาลกับธุรกิจ(G2B) คือ
ก. เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับรัฐ ในกระทรวงหรือระหว่างกระทรวงก็ได้ ข. การเสียภาษี ค. เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือ suppliers เพื่อดำเนินธุรกิจ ง. ข้อ ก,ข ถูก

105 ข้อสอบปรนัย 12. รัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) คือ
ก. เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับรัฐ ในกระทรวงหรือระหว่างกระทรวง ข. การประมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ค. การขายตรง ง. ถูกทุกข้อ

106 ข้อสอบปรนัย 13. ประโยชน์ของ E-Commerce ต่อบุคคลมี
ก. มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย ข. ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ค.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ง. ถูกทุกข้อ

107 ข้อสอบปรนัย 14. ข้อใดคือประโยชน์ของ E-Commerce ต่อองค์การธุรกิจ
ก. ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ข. ไม่มีข้อถูก ค. ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก ง. ข้อ ก ถูก

108 ข้อสอบปรนัย 15. ประโยชน์ของ E-Commerce ต่อสังคม
ก. ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก ข. ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ค. ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทาง ง. ข้อ ก,ข ถูก

109 ข้อสอบปรนัย 16. ข้อใดกล่าวผิด ก.รัฐบาลกับประชาชน (G2C)
ข. รัฐบาลกับธุรกิจ(G2B) ค. รัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) ง.ประชาชนกับธุรกิจ (C2B)

110 ข้อสอบปรนัย 17. ข้อใดคือประโยชน์ของ E-Commerce ต่อระบบเศรษฐกิจ
ก. ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ ข. มีทางเลือกมากขึ้น ค.มีทางเลือกน้อยลง ง. มีหลายทางเลือก

111 ข้อสอบปรนัย 18. ข้อจำกัดเกี่ยวกับ E-Commerce มีกี่ด้าน ก. 2 ข. 3 ค. 4
ง. 5

112 ข้อสอบปรนัย 19. ข้อจำกัดของ E-Commerce มีอะไรบ้าง
ก. ข้อจำกัดด้าน กฏหมาย, เทคนิค, เศรษฐกิจ, อื่นๆ ข.ข้อจำกัดด้าน แรงงาน,อากาศ ค. ข้อจำกัดด้าน เพศ, วัย, ฐานะ ง. ผิดทุกข้อ

113 ข้อสอบปรนัย 20. การซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตมีกี่ขั้นตอน ก. 5 ข. 4 ค. 3
ง. 2


ดาวน์โหลด ppt บทนำ การทำธุรกิจในปัจจุบันมีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกคนในโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google