งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ

2 เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
เทคโนโลยีช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพนั้น กล่าวกันว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ (Demand management) ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่หน่วยที่เป็นต้นทางวัตถุดิบถึงขั้นสุดท้ายของกระบวนการจัดการระบบซัพพลายเชน การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

3 และความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาดและที่สำคัญไปกว่านั้น คือการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์แวร์ และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชนได้แก่

4 ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

5 ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าลดลง ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ ฯลฯ ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

6 การใช้บาร์โค้ด (Barcode)
บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เลขหมายเรียงลำดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตำแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุม

7 การหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สำคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการทำงาน ปัจจุบันรหัสสากร (EAN Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันที่ควบคุม ดูแลและส่งเสริมการใช้ระบบมาตรฐาน ECC : UCC (ย่อมาจาก European Article Number : Uniform Code Council)

8 ในประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานสากลที่ทุกอุตสาหกรรมของนานาประเทศนิยมใช้กัน โดยหมายเลขบาร์โค้ดจะไม่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้สามารถอ้างอิงกลับมายังสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

9 Barcode

10 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (Telecommuni- cation Network) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน

11 ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถเข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ข้อมูลการสั่งซื้อออกมาเป็นเอกสาร ทำให้ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ลดปัญหาการสูญหายและความผิดพลาดเนื่องจากมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

12 การใช้ซอฟแวร์ Application SCM
การนำซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด

13 Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

14 อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไกให้มีการร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (cross-functional team) ที่จะประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผนหาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้รวดเร็วและเป็นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่องวัฒนธรรม แนวความคิด ขนาดองค์กร

15 แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มีการปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้นตามลำดับ เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าเรานั่นเอง

16 การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
Supply chain management : SCM การบริหารวัตถุดิบ ข้อมูล และการเงิน นับตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ถึงผู้ผลิต ถึงผู้กระจายสินค้า ถึงตัวแทนจำหน่าย และถึงผู้บริโภคในขั้นตอนสุดท้าย การบริหารห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นการประสานกลยุทธ์การทำงานของหน่วยธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลัง และเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงสุด

17 กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์
Supply chain management : SCM จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า Internet ลูกค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลสั่งซื้อสินค้า จดหมายแจ้งการจัดส่งสินค้า สินค้า สินค้า

18 กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์
Supply chain management : SCM จุดเด่น เข้าถึงผู้บริโภคสินค้าโดยตรง เปลี่ยนจากห่วงโซ่อุปทานแบบอนุกรมเป็นห่วงโซ่อุปทานแบบไดนามิก(Dynamic Network Supply Chain) เปลี่ยนจากการมุ่งประสิทธิภาพไปสู่การสร้างความต้องการ ช่วยในการตัดสินใจชนิด ปริมาณ และระยะเวลา ในการผลิต การเก็บรักษา และการเคลื่อนย้ายสินค้า สามารถจัดการรายการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถติดตามสถานะของรายการสั่งซื้อสินค้าได้

19 กระบวนการห่วงโซ่อุปทานแบบอิเล็กทรอนิกส์
Supply chain management : SCM จุดเด่น สามารถตรวจสอบความพร้อมของคลังเก็บสินค้า และตรวจสอบระดับปริมาณสินค้าในคลัง สามารถติดตามการนำส่งสินค้า วางแผนการผลิตจากปริมาณความต้องการสินค้าที่แท้จริงได้ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าได้อย่างรวดเร็ว นำเสนอรายการข้อกำหนดของสินค้าได้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน และสินค้าที่ถูกส่งคืนได้

20 ปัญหาของระบบงานองค์กรแบบเดิม
องค์กรขนาดใหญ่มักจะมีระบบสารสนเทศอยู่หลายชนิดที่สนับสนุนการทำงานของหลายฝ่ายในหลายระดับ และหลายกระบวนการทางธุรกิจ ระบบงานส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ผู้บริหารก็จะมีความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการสำหรับนำมาใช้เป็นข้อมูลสรุปสำหรับการพิจารณาภาพการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์กร เช่น พนักงานฝ่ายขายไม่ทราบว่าสินค้านั้นมีอยู่มากน้อยเท่าใดในคลังสินค้า หรือลูกค้าไม่สามารถติดตามรายการสินค้าที่สั่งได้ เป็นต้น

21 ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร
ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ โครงสร้างองค์กร :  สามารถทำการเชื่อมโยงสำนักงานสาขาต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันได้  สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  มีวิธีการดำเนินธุรกิจเป็นระบบเดียวกัน โดยมีการประสานหน้าที่ การทำงานของฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้

22 ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร
ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ กระบวนการบริหาร :  สามารถจัดการการทำงานแบบอัตโนมัติให้แก่กระบวนการทำงานทั้งหลายได้  สามารถปรับปรุงข้อมูลสำหรับการบริหาร และการตัดสินใจได้  ข้อมูลที่นำเสนอ โดยมีโครงสร้างของการผสมผสานระหว่างการทำงาน ของฝ่ายต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

23 ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร
ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ เทคโนโลยีพื้นฐาน :  สามารถประสานการทำงานระหว่างกันได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน ทั่วทั้งองค์กร  ข้อมูลเก็บรวมกันเพียงแห่งเดียว  มีมาตรฐานเดียวกัน  สามารถนำข้อมูลไปใช้กับระบบสารสนเทศในทุกส่วนขององค์กรได้

24 ผลประโยชน์ของระบบงานองค์กร
ระบบงานองค์กรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อวิธีการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน คือ ความสามารถทางธุรกิจ :  การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถช่วยให้เกิดระบบงานพื้นฐานที่มีลูกค้าหรือความต้องการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นกระบวนการทำงานให้เกิดขึ้น  สามารถรวบรวมกระบวนการทำงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน  สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี  ด้านฝ่ายการผลิตมีข้อมูลที่ดีขึ้น ในการที่จะทำการผลิตเฉพาะสินค้าที่ ลูกค้าสั่งซื้อ  สามารถจัดซื้อวัสดุในปริมาณที่พอดีกับความต้องการในการผลิตสินค้า  ช่วยลดระยะเวลาที่สินค้าถูกเก็บไว้ในคลังสินค้า

25 ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยีสารสนเทศในห่วงโซ่อุปทาน ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google