งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา

2 สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 149
สัญญา คืออะไร สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 149 ให้ความหมายไว้ว่า “การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

3 การเกิดสัญญาระหว่างภาครัฐกับเอกชน
คำเชิญชวน ใบเสนอราคา ประกาศ ซื้อจ้าง สัญญา คำเสนอ คำสนอง การพิจารณา รับราคาของ ภาครัฐ เอกสาร ส่วนที่ 1,2

4 สาระสำคัญของใบเสนอราคา
เมื่อ “ใบเสนอราคา” เป็น “คำเสนอ” จึงมีผลทางกฎหมาย ดังนี้ ใบเสนอราคาต้องมีความชัดแจ้ง ** กล่าวคือ ต้องเสนอเพียงราคาเดียว จะเสนอราคาเผื่อเลือก หรือ เสนอราคา 2 ราคา ไม่ได้ ** หากเสนอราคาในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการผิดเงื่อนไข ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ส่วนราชการไม่มีสิทธิพิจารณา รับราคา

5 สาระสำคัญของใบเสนอราคา
กรณีมีการลดราคา มีแนวทางในการพิจารณาตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 307 ลว. 30 ก.ย. 46 - ต้องมีข้อความว่า “ยินดีลดราคา” หรือข้อความทำนองเดียวกัน และ - ต้องมีตัวเลขและตัวอักษรตรงกัน หรือต้องมีข้อความว่า ยินดีลดราคาลงกี่เปอร์เซ็นต์หรือร้อยละเท่าไร และ - ผู้เสนอราคาต้องลงชื่อพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) ตรงข้อความยินดี ลดราคา ** ต้องยื่นพร้อมกับซองใบเสนอราคา ไม่ว่าข้อความจะอยู่ใน ใบเสนอราคา หรือ จัดทำขึ้นมาอีกใบหนึ่งก็ตาม **

6 สาระสำคัญของใบเสนอราคา
2. ต้องกรอกรายละเอียดที่สำคัญให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขในประกาศฯ เช่น 2.1 ราคาที่เสนอ เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) รวมค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว 2.2 กำหนดยืนราคา 2.3 กำหนดส่งมอบสิ่งของ หรือ งานจ้าง 2.4 กรณีมีขูด ลบ ตก เติม 3. ต้องลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน ใบเสนอ ราคา

7 สาระสำคัญของใบเสนอราคา
4. ซองใบเสนอราคา ต้องปิดผนึกซองเรียบร้อย จ่าหน้าซองถึง 4.1 สอบราคา ประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา 4.2 ประกวดราคา - ประธานคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ระบุหน้าซองว่า ใบเสนอราคาตามเอกสารสอบ/ประกวดราคา เลขที่ 5. ผู้เสนอราคาต้องรับผิดชอบราคาที่ตนได้เสนอไว้ และจะถอนการเสนอราคาไม่ได้ หากถอนการเสนอราคาก่อนครบกำหนดยืนราคา จะถูกยึดหลักประกันซอง

8 รูปแบบของสัญญา 1. เต็มรูป (ข้อ 132)
1.1 ทำสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด 1.2 มีข้อความแตกต่าง เสียเปรียบ/ไม่รัดกุม 1.3 ร่างใหม่ 2. ลดรูป (ข้อ 133) ข้อตกลงเป็นหนังสือ (ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง) 2.1 ตกลงราคา ส่งของภายใน 5 วันทำการ 2.3 กรณีพิเศษ การซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ (บางกรณี) 3. ไม่มีรูป (ข้อ 133 วรรคท้าย) 3.1 ไม่เกิน 10,000 บาท 3.2 ตกลงราคา กรณีเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ส่ง สนง.อัยการสูงสุดพิจารณา

9 ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง
ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง สัญญา หัวหน้าส่วนราชการ (ข้อ 132) ใบสั่งซื้อ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ใบสั่งจ้าง (ในวิธีตกลงราคา ข้อ 39 วรรคแรก)

10 ตัวอย่างสัญญาต่าง ๆ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์ สัญญาจ้างบริการบำรุงและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์ สัญญาเช่าคอมพิวเตอร์ สัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลหรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา สัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน สัญญาเช่ารถยนต์

11 แบบสัญญา ตามตัวอย่างที่เคยผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด
- สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัย - สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร ฯลฯ

12 สัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
ต้องมีการประกาศในเอกสารประกวดราคางานก่อสร้าง (เฉพาะงานก่อสร้างประเภทที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด) ต้องกำหนดในสัญญา ให้สอดคล้องกับประกาศ ประกาศไม่ได้กำหนด ในสัญญากำหนดไม่ได้

13 การทำสัญญา (ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด)
การทำสัญญา (ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด) การกำหนดเงื่อนไข การกำหนดข้อความหรือรายการที่แตกต่าง จากตัวอย่างของ กวพ. การร่างสัญญาใหม่ การทำสัญญาเช่า ที่ต้องผ่าน สนง. อัยการ

14 เงื่อนไขที่สำคัญของสัญญา
1. ข้อตกลงเรื่องรูปแบบ ปริมาณ จำนวน ราคา 2. การจ่ายเงิน (งวดเงิน) 3. การจ่ายเงินล่วงหน้า (ข้อ 68) 4. หลักประกัน 5. การส่งมอบ การตรวจรับ 6. การขยายเวลา งดหรือลดค่าปรับ 7. การปรับ 8. การประกันความชำรุดบกพร่อง

15 หลัก ทำเป็นบันทึกข้อตกลงได้ กรณีดังนี้
กรณีทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (ข้อ133) หลัก ทำเป็นบันทึกข้อตกลงได้ กรณีดังนี้ ซื้อ / จ้าง แลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา หรือ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท คู่สัญญาส่งของได้ครบถ้วน ภายใน 5 วันทำการ นับจากทำข้อตกลง การซื้อ / จ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ 23 (1)-(5) หรือ 24 (1)-(5) การเช่าที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากการเช่า ข้อยกเว้น การจัดหาวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ การซื้อ/จ้าง โดยวิธีตกลงราคากรณีจำเป็นเร่งด่วน ตามข้อ 39 วรรคสอง

16 ผลของสัญญา หลักการ สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา
สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา ยกเว้น คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขกันไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น

17 สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างต่อเนื่อง มีผลย้อนหลัง ?
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 351 ลงวันที่ 9 กันยายน 2548 อนุมัติยกเว้นเฉพาะสัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างที่จำเป็นต้องเช่า/จ้างต่อเนื่องไปในปี งปม.ใหม่ ภายหลังจากสัญญาเดิมสิ้นสุดลง แต่ส่วนราชการไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทันภายในวันที่ 1 ตุลาคม เนื่องจาก 1. พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ยังไม่มีผลใช้บังคับ หรือ 2. ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ

18 สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างต่อเนื่อง มีผลย้อนหลัง ? (ต่อ)
ผล ให้สัญญามีผลย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ หรือวันที่มีการเช่าหรือจ้างจริง โดยมีเงื่อนไขว่า:- 1. ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดหาไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ และรู้ตัวผู้ให้เช่า หรือผู้รับจ้างที่จะลงนามเป็นคู่สัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรายเดิม หรือรายใหม่ ก็ตาม 2. ผู้มีอำนาจอนุมัติ ได้อนุมัติให้เช่า หรือจ้างจากรายที่ได้จัดหา ไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพียงแต่อยู่ในขั้นตอนไม่อาจ ลงนามในสัญญาได้ทันในวันที่ 1 ตุลาคม เท่านั้น

19 การจ่ายเงินล่วงหน้าต้องวางหลักประกัน (ข้อ 70)
การจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีสอบราคา/ประกวดราคา/วิธีพิเศษ  ต้องวางหลักประกันการจ่ายล่วงหน้าเป็น - พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ - หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ยกเว้น การจ่ายเงินล่วงหน้าค่าซื้อพัสดุ จากต่างประเทศ ค่าบอกรับวารสารฯ ไม่ต้องเรียกหลักประกัน

20  ซื้อ/จ้าง จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ 50 %
การจ่ายเงินล่วงหน้าที่กำหนดในสัญญา (ข้อ 68)  ซื้อ/จ้าง จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ 50 %  ซื้อจากต่างประเทศ จ่ายตามที่ผู้ขายกำหนด  การบอกรับวารสาร,/สั่งจองหนังสือ/ จ่ายเท่าที่จ่ายจริง ซื้อข้อมูล E /บอกรับสมาชิกInternet  ซื้อ/จ้าง วิธีสอบราคา/ประกวดราคา จ่ายได้ 15% (ต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศด้วย)  ซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษ จ่ายได้ 15%

21 การแบ่งงวดงานและงวดเงิน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้งานที่จ้างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตามหลักวิชาการของการก่อสร้าง และการแบ่งจ่ายเงินเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานในแต่ละงวด เพื่อให้ผู้รับจ้างเกิดสภาพคล่องทางการเงิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการก่อสร้าง การกำหนดจ่ายเงินเป็นงวดนั้น จึงต้องกำหนดให้สัมพันธ์กันระหว่างงวดงานกับงวดเงิน กรณีที่มีการแบ่งงวดงานและงวดเงินแล้ว โดยหลัก ผู้ว่าจ้างไม่อาจรับ มอบงานและจ่ายเงินข้ามงวดได้ เว้นแต่ ตามข้อเท็จจริงของหลักวิชาการ ของการก่อสร้าง งานที่ส่งมอบนั้น เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับงานในงวด ก่อนหน้านั้น และมีการกำหนดไว้ในสัญญาว่า สามารถส่งมอบงาน ข้ามงวดได้

22 สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบไม่ตรงงวดงาน ในสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดสัญญา จึงปรับระหว่างงวดงานไม่ได้ สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า “หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างนับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา” คำวินิจฉัย การแบ่งงวดงานแต่ละงวดในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาตกลงแบ่งงวดงาน เพื่อประโยชน์ในการ จ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว มิใช่เป็นการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญา ►เมื่อผู้รับจ้างส่งงานไม่เป็นไปตามงวด จึงไม่อาจนำมาคิดค่าปรับตามสัญญาได้

23 ค่าจ้างและการจ่ายเงิน
สัญญาซื้อขาย/สัญญาจ้างทั่วไป จ่ายตามวงเงินที่กำหนดในสัญญา สัญญาจ้างก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย จ่ายตามเนื้องานที่ทำเสร็จจริง ราคาเหมารวม

24 หลักประกันสัญญา หลักประกันที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ที่เป็นคู่สัญญากับ ส่วนราชการนำมาวางขณะทำสัญญา เพื่อประกันความเสียหายจากการผิดเงื่อนไข ตามข้อกำหนดในสัญญา ใช้เป็นหลักประกันจนกว่าจะสิ้นสุดข้อผูกพัน ตามสัญญา

25 หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา
ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. เงินสด 2. เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย 3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศ 4. หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน 5. พันธบัตรรัฐบาลไทย

26 มูลค่าหลักประกัน ร้อยละ 5 ของวงเงิน / ราคาพัสดุ ที่จัดหาในครั้งนั้น
เว้นแต่ การจัดหาที่สำคัญพิเศษ กำหนดสูงกว่า ร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 * กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา / ผู้เสนอราคา ไม่ต้องวางหลักประกัน (ข้อ 143)

27 การนำหลักประกันซองมากกว่า 1 อย่าง มารวมกันเพื่อใช้เป็นหลักประกันซอง ในงานจ้างเหมาเดียวกัน ได้หรือไม่
กวพ. วินิจฉัย * ตามระเบียบฯ ข้อ 141 กำหนดว่า “หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาให้ใช้ หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด” เจตนารมณ์ตามระเบียบฯ ให้เลือกหลักประกันอย่างใดก็ได้ ดังนั้น หากใช้หลักประกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 141 รวมกัน ก็ย่อมกระทำได้

28 การนำหลักประกันซองมาเป็นหลักประกันสัญญา
หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 130 ลว. 20 ต.ค ให้เฉพาะหลักประกันซอง - เงินสด และ - เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย 2. ผู้เสนอราคาที่ได้รับคัดเลือกให้ทำสัญญาประสงค์จะนำใช้หลักประกัน ตามข้อ 1 มาเป็นหลักประกันสัญญา 3. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการทำหลักฐาน การคืนหลักประกันซอง – การวางหลักประกันสัญญา ให้เสร็จภายในวันเดียวกันกับวันทำสัญญา 4. คู่สัญญาต้องนำหลักประกันซอง (เพิ่ม-ลด) มาวางให้เท่ากับวงเงินหลักประกันสัญญา นำเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเงินนอกฯ แล้ว

29 การคืนหลักประกัน (ข้อ 144)
หลักประกันซอง  คืนภายใน 15 วัน นับแต่วันพิจารณา เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว หลักประกันสัญญา  คืนโดยเร็ว / อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นข้อผูกพันแล้ว

30 วิธีปฏิบัติในการคืนหลักประกันสัญญา
หนังสือที่ นร (กวพ) 1002/ว 42 ลงวันที่ 15 ก.ย 1. ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุ รับผิดชอบดูแล บำรุงรักษา และตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของพัสดุ 2. ในกรณีที่ปรากฎความชำรุดบกพร่อง ให้ผู้มีหน้าที่ตามข้อ รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง แก้ไขซ่อมแซมทันที 3. ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการประกันความชำรุดบกพร่อง > ภายใน 15 วัน สำหรับหลักประกันอายุไม่เกิน 6 เดือน > ภายใน 30 วัน สำหรับหลักประกันอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบความชำรุดบกพร่อง

31 การคืนหลักประกันสัญญา
ให้คืนหลักประกันสัญญาโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่ วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว หนังสือที่ นร (กวพ) 1305/ว ลงวันที่ 5 ต.ค. 2544 ไม่ต้องรอให้มีการร้องขอคืนจากคู่สัญญาก่อน คู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนด ให้ปฏิบัติตามข้อ 144 วรรคท้าย พร้อมกับให้มีหนังสือรับรองให้ผู้ค้ำประกันไปด้วยว่า หลักประกัน สัญญาดังกล่าว หมดระยะเวลาการค้ำประกันแล้ว

32 ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย
ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) ค่าเสียหาย ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) เป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย ค่าเสียหาย เป็นสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ต้องพิสูจน์ความเสียหาย

33 การกำหนดอัตราค่าปรับในสัญญา (ข้อ134)
กรณีซื้อ /จ้าง  ไม่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน อัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ 0.01 – ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ กรณีงานจ้างก่อสร้าง  ที่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน ค่าปรับรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว อัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้าง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท  จ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ปรับรายวันในอัตรา อัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้าง

34 สัญญา/ข้อตกลงเป็นหนังสือ มูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาท ขึ้นไป ต้องส่งสำเนาให้ สตง. และกรมสรรพากร (ข้อ 135)
- สัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่มีมูลค่าตั้งแต่ ล้านบาทขึ้นไป - ส่งสำเนา ให้ สตง. หรือ สตง.ภูมิภาค และ กรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือข้อตกลง

35 การคิดค่าปรับตามสัญญา
เมื่อครบกำหนดสัญญา /ข้อตกลง ยังไม่มีการส่งมอบต้องแจ้งการเรียก ค่าปรับตามสัญญา เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ(ส่งมอบของ/งานจ้าง) ให้แจ้งสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย การนับวันปรับ ให้นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา/ข้อตกลง จนถึงวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน หรือจนถึงวันที่ บอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง (หักด้วยระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับใช้ไปในการตรวจรับออกจากจำนวนวันที่ต้องถูกปรับด้วย) เงื่อนไขสัญญาซื้อเป็นชุด ให้ปรับทั้งชุด สิ่งของราคารวมติดตั้ง/ทดลอง ให้ปรับตามราคาของทั้งหมด

36 Ex. ปรับตามราคาของทั้งหมด
ส่วนราชการได้ทำสัญญาซื้อขายโครงการส่วนขยายระบบงาน GFMIS เพื่อรองรับข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ โดยเงื่อนไขของสัญญากำหนดการส่งมอบงานแบ่งเป็น 5 งวด ผู้ขายได้ส่งมอบงานล่าช้าระหว่างงวด ล่าช้าไป 3 วัน ส่วนราชการจะสามารถปรับผู้ขายได้หรือไม่ ?

37 Ex. ปรับตามราคาของทั้งหมด (ต่อ)
แนววินิจฉัย  กรณีนี้เป็นการตกลงซื้อขายและติดตั้งคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ การประมวลผล ให้พร้อมที่จะใช้งานได้ให้แก่ผู้ซื้อ โดยการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ระบบเครือข่ายทั้งระบบ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งตามสัญญาข้อ 6 กำหนดเรื่องการตรวจรับว่า ถ้าผู้ขายส่งมอบไม่ตรงตามสัญญา หรือคุณสมบัติไม่ถูกต้อง หรือใช้งานได้ไม่ครบถ้วน ผู้ซื้อทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับคอมพิวเตอร์นั้น

38 Ex. ปรับตามราคาของทั้งหมด (ต่อ)
และตามสัญญาข้อ 14 การบอกเลิกสัญญากำหนดว่า กรณีผู้ขาย ไม่ติดตั้งและส่งมอบคอมพิวเตอร์บางรายการหรือทั้งหมดภายในกำหนดเวลา หรือส่งมอบไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบภายในกำหนด แต่ใช้งานไม่ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ย่อมแสดงว่าผู้ซื้อต้องการซื้อและติดตั้งทั้งระบบจนใช้งานได้ และข้อ 15 กำหนดเรื่องค่าปรับไว้ว่า ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่ตกลงซื้อขายเป็นระบบ ถ้าผู้ขายส่งมอบเพียงบางส่วน หรือส่งมอบทั้งหมดแต่ใช้งานไม่ได้ถูกต้องครบถ้วน ให้ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบเลย และคิดค่าปรับจากราคาของทั้งระบบ

39 Ex. ปรับตามราคาของทั้งหมด (ต่อ)
 กรณีนี้คู่สัญญามีเจตนาซื้อขายและติดตั้งเพื่อพร้อมใช้งานได้ทั้งระบบ การคิดค่าปรับจึงต้องถือเอาระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลัก เป็นเกณฑ์ในการเริ่มต้นการปรับ และเมื่อผู้ขายส่งมอบงานระหว่างงวดล่าช้า แต่หากไม่เกินกำหนดส่งมอบงานทั้งหมดตามสัญญาหลัก ส่วนราชการก็ไม่อาจปรับผู้ขายได้

40 การรับมอบและการปรับ 1. ....................... กำหนดส่ง 17 ม.ค. 2.
กำหนดส่ง 17 ม.ค. 2. ส่ง 14 ม.ค. รับ 20 ม.ค. 1 แจ้งให้แก้ไข ส่ง รับ 2 2 24 ม.ค ม.ค. ปรับ ลดปรับ

41 การรับมอบและการปรับ (ต่อ)
ข้อ 71(4) “ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งถูกต้องตั้งแต่วันที่ได้นำพัสดุมาส่ง” ......ปรับ ? วัน ครบกำหนด 17 ม.ค. ส่งถูกต้อง 24 ม.ค. ตามสัญญา จะต้องถูกปรับ 18 ม.ค ม.ค. = X วัน *กรรมการล่าช้า (เป็นเหตุพิจารณาลดค่าปรับตามระเบียบฯ ข้อ 139) 15 ม.ค. – 20 ม.ค. = Y วัน ผู้ขาย / ผู้รับจ้าง ถูกปรับ X – Y = ? วัน

42 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136)
หลัก ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อยกเว้น กรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ กรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

43 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (136)
อำนาจอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา หัวหน้าส่วนราชการ ** หลักการแก้ไขฯ ** การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญา ก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ได้ทำการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างไว้ใช้

44 ปัญหาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
แก้ไขเพื่อความจำเป็น ไม่ทำให้ทางราชการประโยชน์ หรือเพื่อ ประโยชน์ราชการ หากมีการเพิ่มเนื้องาน และมีระยะเวลาเพิ่ม ต้องตกลงไปพร้อมกัน แม้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะไม่คิดเงินเพิ่ม จะต้องลงนามพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย แก้ไขก่อนตรวจรับงานงวดสุดท้าย เว้นแต่เป็นการแก้ไขเรื่องหลักประกัน กรณีเปลี่ยนแปลงรุ่น/ยี่ห้อ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ต้องกำหนดเวลา ส่งมอบใหม่ไว้ด้วย มิฉะนั้น จะปรับไม่ได้

45 EX. การเปลี่ยนหลักประกันสัญญา
ข้อเท็จจริง ห้างฯ ขอเปลี่ยนหลักประกันสัญญา ซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เนื่องจากหนังสือค้ำประกันฉบับแรกใช้เงินฝากประจำค้ำประกัน ส่วนฉบับหลังใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน คำวินิจฉัย หากการขอเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ทำให้ ทางราชการต้องเสียประโยชน์ ก็ย่อมเป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ 45

46 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) อำนาจอนุมัติ หัวหน้าส่วนราชการ สาเหตุ (1) เหตุเกิดจากความผิด ความบกพร่อง ของราชการ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้อง รับผิดตามกฎหมาย

47 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139)
การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา (ข้อ 139) วิธีการ - คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากไม่แจ้งตามที่กำหนด จะยก มากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขยายเวลามิได้ เว้นแต่กรณีความผิดความบกพร่องของส่วนราชการ ซึ่งมี หลักฐานชัดแจ้งหรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น - พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

48 การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา
1. การพิจารณางดหรือลดค่าปรับ จะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ในเวลาที่ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาของสัญญาหรือข้อตกลงไปแล้ว และเป็นกรณีที่มีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว 2. การพิจารณาขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาอนุมัติให้ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญา และค่าปรับยังไม่เกิด

49 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 139
กวพ. แจ้งเวียนซ้อมความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 139 ตามหนังสือ ที่ กค (กวพ) /ว 268 ลว. 16 กค.55 ประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการพิจารณางดหรือ ลดค่าปรับให้กับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง กรณีผู้ขายหรือผู้รับจ้างของด หรือลดค่าปรับ อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นภายหลังจาก ครบกำหนดระยะเวลาทำการตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการ จะพิจารณางดหรือลดค่าปรับตามที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างร้องขอ ตามระเบียบฯ ข้อ 139 (2) เหตุสุดวิสัยได้หรือไม่

50 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 139
กวพ. ซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติฯ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ถือปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ในการพิจารณางดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญาด้วยเหตุตามระเบียบฯ ข้อ 139 (1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด ตามกฎหมาย

51 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 139
ซึ่งเหตุดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงที่ทำให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของหรืองานจ้างตามสัญญาซื้อขายหรือสัญญาจ้าง แล้วแต่กรณี ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มี เหตุเกิดขึ้นจริง

52 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 139
โดยส่วนราชการจะต้องพิจารณาว่า คู่สัญญาได้ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงให้กับทางราชการเป็นไปอย่างปกติตลอดมา และต้องไม่มีพฤติการณ์ที่จะทิ้งงานของทางราชการ หากมีเหตุผลอันสมควรที่จะพิจารณางดหรือลดค่าปรับตามสัญญา แม้ได้ดำเนินการล่วงเลยกำหนดระยะเวลาส่งมอบหรือแล้วเสร็จตามสัญญาหรือข้อตกลงจนมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ต้องยังมิได้ มีการตรวจรับงานงวดสุดท้าย

53 Ex. ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง
หน่วยงานแห่งหนึ่ง ได้ทำสัญญาจ้างพิมพ์หนังสือ จำนวน 2,000 เล่ม กับห้างฯ วงเงิน 373,000 บาท ครบกำหนดตามสัญญาภายในวันที่ 20 มกราคม 2554 และมีการขยายเวลาการส่งมอบงาน ซึ่งตามข้อเท็จจริง ผู้รับจ้างขอขยายเวลาการส่งมอบงานจำนวน วัน แต่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานจ้างของส่วนราชการ ได้ให้เหตุผลการขยายเวลาตามระเบียบฯ ข้อ 139 (1) โดยคำนวณวัน ตามเหตุที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องจริง จำนวน 107 วัน ซึ่งมากกว่าจำนวนวันที่ผู้รับจ้างขอขยายเวลา ส่วนราชการจึงหารือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้

54 Ex. ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (ต่อ)
1. การที่ผู้รับจ้างขอขยายเวลาส่งมอบงานจำนวน 60 วัน แม้ว่าเมื่อคำนวณ ตามความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ เป็นจำนวน 107 วัน ซึ่งมีจำนวนวันมากกว่าที่ผู้รับจ้างขอมา หน่วยงานจึงได้อนุมัติให้ขยายเวลา การส่งมอบงานให้เพียง 60 วัน เท่าที่ผู้รับจ้างขอมาเท่านั้น การปฏิบัติของ หน่วยงานถูกต้องตามระเบียบฯ แล้วหรือไม่ อย่างไร หากไม่ถูกต้อง ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร 2. หากการอนุมัติให้ขยายเวลาตามจำนวนวันที่ผู้รับจ้างตามข้อ 1 ถูกต้องแล้ว ผู้รับจ้างจะขอขยายเวลาส่งมอบงานเพิ่มเติมจากเหตุเดิมอีก โดยอ้างว่า จำนวนวันตามความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ มีมากกว่า จำนวนวันที่เคยขอมา ได้หรือไม่ อย่างไร

55 Ex. ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (ต่อ)
แนววินิจฉัย กวพ. ตามระเบียบฯ ข้อ 139 วรรคแรก กำหนดว่า “การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญาหรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง ด้วยเหตุ 3 เหตุ คือ 1. เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของ ส่วนราชการ 2. เหตุสุดวิสัย 3. เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย วรรคสอง กำหนดว่า ให้ส่วนราชการระบุไว้ในสัญญา กำหนดให้คู่สัญญา ต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้น ได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้าง เพื่อขอลดหรืองดค่าปรับหรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณี ตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น

56 Ex. ข้อหารือการขยายเวลาส่งมอบงานตามสัญญาจ้าง (ต่อ)
แนววินิจฉัย กวพ. กรณีตามที่หารือ 1 และ 2 หากหน่วยงานได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่า เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการตามนัยระเบียบฯ ข้อ 139 (1) เป็นจำนวน 107 วัน แต่คู่สัญญาได้ขอขยายระยะเวลาตามเหตุดังกล่าวเพียง 60 วัน และหน่วยงานได้พิจารณาขยายระยะเวลา ให้แก่คู่สัญญาเพียง 60 วัน เท่าที่ผู้รับจ้างขอมาเท่านั้น การปฏิบัติของหน่วยงาน จึงถูกต้องตามระเบียบฯ แล้ว ต่อมา หากคู่สัญญาได้อ้างเหตุดังกล่าว เพื่อขอขยายระยะเวลาตามสัญญาออกไปอีก หน่วยงานยังสามารถพิจารณาขยายระยะเวลาให้แก่คู่สัญญาเพิ่มเติมได้ตามคำขอ ทั้งนี้ เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ได้ขยายให้ไปแล้ว ต้องไม่เกินตามจำนวนวัน ที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

57 การบอกเลิก / ตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
หลัก 1) มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในเวลาที่กำหนด (137 วรรคหนึ่ง) 2) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลง และค่าปรับจะเกิน 10 % ของวงเงินทั้งสัญญา เว้นแต่ จะยินยอมเสียค่าปรับ ก็ให้ผ่อนปรนได้เท่าที่จำเป็น (138) การตกลงเลิกสัญญาต่อกัน ทำได้เฉพาะเป็นประโยชน์ /หรือเพื่อแก้ไข ข้อเสียเปรียบของราชการหากปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลงต่อไป (137 วรรคสอง)

58 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 138
กวพ. ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 138 ตามหนังสือ ที่ กค (กวพ) /ว 267 ลว. 16 กค. 55 ดังนี้ 1. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของหรืองานจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญา และได้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจนมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจำนวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะเกินกว่าร้อยละสิบของวงเงิน ค่าพัสดุหรือค่าจ้างตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการมีหนังสือแจ้งบอกกล่าวกับคู่สัญญาว่าจำนวนค่าปรับที่เกิดขึ้น จะเกินกว่า ร้อยละสิบแล้ว และจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาต่อไป เว้นแต่คู่สัญญาจะได้มีหนังสือแจ้งภายในเวลาที่กำหนด โดยจะยินยอม เสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

59 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 138
2. กรณีที่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ภายในเวลาที่กำหนด ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้ เท่าที่จำเป็น โดยส่วนราชการต้องประเมินความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญาของคู่สัญญาว่า การผ่อนปรนดังกล่าวจะทำให้คู่สัญญาดำเนินการแล้วเสร็จหรือไม่ หรือจะต้องใช้ดุลพินิจว่า จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

60 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 138
2.1 ในกรณีที่เห็นว่า ควรผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ให้ส่วนราชการแจ้งคู่สัญญาให้รับทราบและดำเนินการตามสัญญา โดยเร็ว โดยคู่สัญญาจะต้องกำหนดแผนและเวลาการดำเนินการ แล้วเสร็จให้ชัดเจน 2.2 ในกรณีที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ให้ส่วนราชการแจ้ง การบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาโดยเร็ว ทั้งนี้ การแจ้งบอกเลิก สัญญา จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับแจ้งการปรับ และ ริบหลักประกันสัญญา (ถ้ามี)

61 ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 138
3. กรณีที่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยมีเงื่อนไข หรือกรณีคู่สัญญา ไม่มีหนังสือแจ้งความยินยอมดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ส่วนราชการแจ้ง การบอกเลิกสัญญาไปยังคู่สัญญาโดยเร็ว ทั้งนี้ การแจ้งบอกเลิกสัญญาจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับแจ้งการปรับ และริบหลักประกันสัญญา (ถ้ามี)

62 Ex. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา
จังหวัดได้ว่าจ้างบริษัท ดำเนินการก่อสร้างโครงการฝายพร้อมระบบส่งน้ำ ตามสัญญาลงวันที่ 19 มกราคม 2554 วงเงิน 46,290,000 บาท ครบกำหนดวันที่ 22 สิงหาคม 2554 จังหวัดได้บอกเลิกสัญญาจ้างดังกล่าว เนื่องจากจำนวนเงินค่าปรับเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้าง โดยมีหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 แจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างต่อผู้รับจ้าง ต่อมา ภายหลังบริษัทฯ ได้ขอให้พิจารณาทบทวนการบอกเลิกสัญญา เนื่องจากบริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ตามสัญญา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 และได้ดำเนินการส่งมอบงานงวดสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 คณะกรรมการตรวจการจ้างได้รายงานตรวจการจ้างครั้งที่ 3 งวดที่ 6-12 (งวดสุดท้าย) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ทราบ เพื่อจะได้เบิกจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างต่อไป

63 Ex. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
จังหวัดจึงหารือแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบฯว่า ในกรณีดังกล่าว จังหวัดฯ จะยกเลิกการบอกเลิกสัญญาจ้างได้หรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะถูกต้องตามระเบียบฯ หากการปฏิบัติดังกล่าวไม่ถูกต้องตามระเบียบฯ จังหวัดฯ ก็ขออนุมัติผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างต่อไป เนื่องจากผู้รับจ้าง ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จตามรูปแบบรายการตามสัญญาเดิม และ คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจการจ้างแล้ว

64 Ex. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
แนววินิจฉัยของ กวพ. โดยหลักการตามระเบียบฯ ข้อ 138 กำหนดว่า ในกรณีที่คู่สัญญา ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกิน ร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสีย ค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้า ส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ซึ่งการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาดังกล่าวไม่สามารถถอนคืน การแสดงเจตนาได้

65 EX. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) ประกอบกับ ปพพ.มาตรา 391 บัญญัติว่า ภายหลังจากบอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะ ดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ และหากมีงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำให้ และผู้ว่าจ้างยินยอมรับไว้ ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้เงินคืน ตามควรค่าแห่งงานนั้น

66 EX. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) กรณีข้อหารือ เมื่อค่าปรับตามสัญญาจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้าง กรมฯ ในฐานะผู้ว่าจ้างได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างเร่งปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาและยินยอมชำระค่าปรับ แต่ผู้รับจ้างไม่ยินยอมชำระค่าปรับและปฏิบัติตามสัญญา กรมฯ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีหนังสือ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 บอกเลิกสัญญาและขอสงวนสิทธิตามสัญญากับบริษัทฯ กรณีดังกล่าวคู่สัญญาจึงกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งหากมีงานที่ผู้ว่าจ้างได้รับไว้และใช้ประโยชน์ในราชการได้ตามสัญญาแล้ว ผู้ว่าจ้างจะต้องมีการชดใช้ราคาให้แก่ผู้รับจ้าง โดยจะต้องมีการหักค่าปรับและค่าเสียหายอื่นๆ (ถ้ามี) ออกก่อนด้วย

67 EX. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) เว้นแต่ งานที่รับไว้หากผู้ว่าจ้างไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในราชการ ตามสัญญาได้ จึงต้องถือว่างานนั้นไม่ควรค่าแห่งการชดใช้เงินคืน ตามนัย ปพพ. มาตรา 391 โดยผู้ว่าจ้างไม่สามารถยกเลิกการบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ส่วนประเด็นในเรื่องการตรวจรับงานจ้างที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายหลัง การบอกเลิกสัญญา เนื่องจากตามหลักการระเบียบฯ คณะกรรมการตรวจ การจ้างจะต้องตรวจรับงานจ้างให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา เมื่อผู้ว่าจ้าง ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนที่ผู้รับจ้างจะส่งมอบงานตามที่กำหนดไว้ ในสัญญา จึงถือว่าคู่สัญญามิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเดิม ผู้ว่าจ้างจึงไม่สามารถตรวจรับงานจ้างตามหลักการดังกล่าวได้

68 EX. ข้อหารือการบอกเลิกสัญญา (ต่อ)
แนววินิจฉัยของ กวพ. (ต่อ) ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการตรวจการจ้าง ได้ดำเนินการตรวจรับงานจ้างงวดสุดท้ายในวันที่ 30 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นการตรวจรับภายหลังการบอกเลิกสัญญา จึงถือเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ

69 (EX.) การตกลงเลิกสัญญา
หน่วยงานทำสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร กำหนดให้เริ่มทำงาน ภายในวันที่ 30 ต.ค. 46 ครบกำหนดสัญญา 22 พ.ค. 48 กรมฯ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เนื่องจากมีอาคารและสิ่งก่อสร้างของ ผู้บุกรุก เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ไม่อาจทราบได้ว่า ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และสามารถมอบพื้นที่ให้ได้เมื่อใด เมื่อผู้รับจ้าง มีหนังสือขอเลิกสัญญา และกรมฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ราชการโดยตรง ยิ่งกว่าให้สัญญามีผลต่อไป หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการตามข้อ 137 วรรคสอง ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อตกลงเลิกสัญญากันแล้ว ผู้รับจ้างย่อมพ้นข้อผูกพันตามสัญญา กรมฯ ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้าง ตามสัญญาข้อ 3 วรรคสอง ประกอบระเบียบฯ ข้อ 144 (2)

70 การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้าง
และผู้ควบคุมงาน

71 หลักเกณฑ์การตรวจรับ/ตรวจการจ้าง
หลักการ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ยกเว้น กรณีซื้อหรือจ้าง ไม่เกิน 10,000 บาท แต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ซึ่งไม่ใช่ผู้จัดซื้อจัดจ้างหนึ่งคน เป็น “ผู้ตรวจรับ” “การตกลงราคา” กรณีจำเป็นและเร่งด่วน ใช้ “รายงานขอความเห็นชอบ” เป็น “หลักฐานการตรวจรับ” โดยอนุโลม

72 การตรวจรับพัสดุ  ระเบียบฯ พัสดุ ปี 35 ข้อ 71
หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ สถานที่ตรวจรับ :- ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง * ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน

73 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) หลักเกณฑ์การตรวจรับ :-
ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ กรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือ ทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ มาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ กรณี จำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมด ได้ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ

74 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ)
ระยะเวลาตรวจรับ โดยปกติ ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด กรณีตรวจรับถูกต้องครบถ้วน รับพัสดุไว้ และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ได้ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน ตั้งแต่วันที่นำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำใบตรวจรับอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน (มอบแก่ผู้ขาย 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงิน ) รายงานผลให้ หัวหน้าส่วนราชการทราบ

75 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ)
กรณีตรวจรับไม่ถูกต้อง ส่งมอบไม่ถูกต้องในรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา/ข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี กรณีถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน/ หรือครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด * ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้รับตรวจรับไว้เฉพาะ จำนวนที่ถูกต้อง เมื่อตรวจถูกต้องแล้ว ให้รับพัสดุไว้ แล้วมอบของให้เจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมกับทำใบตรวจรับ 2 ฉบับ ส่งผู้ขาย & จนท.พัสดุ โดยปกติให้รีบรายงาน หน.ส่วนราชการ เพื่อแจ้งผู้ขาย/ ผู้รับจ้างทราบภายใน วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ ไม่ตัดสิทธิ์ที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้องนั้น

76 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) กรณีพัสดุเป็นชุด / หน่วย
ให้ดูว่า ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง จะใช้การไม่ได้อย่างสมบูรณ์ * ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบ * รีบรายงาน หัวหน้าส่วนราชการทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่ตรวจพบ

77 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ)
กรรมการตรวจรับบางคนไม่ยอมรับพัสดุ ให้ทำความเห็นแย้งไว้ เสนอ หน.ส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการ สั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ * ให้ดำเนินการออกใบตรวจรับให้ผู้ขาย/ ผู้รับจ้าง และ จนท.พัสดุ

78 การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง
 ระเบียบฯ พัสดุ ปี 35 ข้อ 72 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจสอบรายงานของผู้ควบคุมงาน ดูการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ทุกสัปดาห์ รับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงาน รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ

79 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ต่อ)
กรณีมีข้อสงสัยเห็นว่าไม่น่าจะเป็นตามหลักวิชาการช่าง ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา/ข้อตกลง ให้มีอำนาจ - สั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่าง เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบ - ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันประธานกรรรมการรับทราบการส่งมอบงาน - ตรวจให้เสร็จโดยเร็วที่สุด (มติคณะรัฐมนตรี 3 วันทำการ, 5 วันทำการ)

80 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ต่อ) กรณีตรวจพบว่าไม่ถูกต้อง
กรณีตรวจถูกต้อง ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานมอบให้ผู้รับจ้าง , จนท.พัสดุ รายงาน หส.ราชการ ผู้ว่าจ้างทราบ กรณีตรวจพบว่าไม่ถูกต้อง ผลงานที่ส่งมอบทั้งหมด / เฉพาะงวดใด ไม่เป็นไปตามแบบรูปฯ ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการทราบ ผ่าน หน.จนท.พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี หากกรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน ให้ทำ ความเห็นแย้งไว้แล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างไว้ ออกใบตรวจรับให้ผู้รับจ้าง และ จนท.พัสดุ

81 ผู้ควบคุมงาน ระเบียบฯ ข้อ 37
ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้าง จากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่นตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้นแล้ว กวพ.อนุมัติผ่อนผันให้ สรก. แต่งตั้งพนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ ที่มีความรู้ความสามารถในการควบคุมได้ เป็นผู้ควบคุมงานได้ (ตามหนังสือ ที่ กค (กวพ) /ว 341 ลว. 20 กย.2553)

82 คุณวุฒิของผู้ควบคุมงานตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ
ผู้ควบคุมงาน (ต่อ) ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ คุณวุฒิของผู้ควบคุมงานตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ โดยปกติ คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ให้ถือปฏิบัติตามหมวด 2 ส่วนที่ 3 หรือส่วนที่ 4 แล้วแต่กรณี

83 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง
 ระเบียบฯ พัสดุ ปี 35 ข้อ 73 ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา ตรวจให้เป็นไปตามรูปแบบ รายการละเอียด ข้อตกลงในสัญญา ทุกวัน ผู้ควบคุมงานมีอำนาจ - สั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่ เห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาและหลักวิชาการช่าง ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ทำตาม - ให้สั่งหยุดงานเฉพาะส่วน /ทั้งหมดไว้ก่อนจนกว่าผู้รับจ้าง จะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง - รีบรายงานคณะกรรมการตรวจงานจ้างทันที

84 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ)
หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) กรณีเห็นว่า รูปแบบ รายการละเอียด ข้อกำหนดสัญญา มีข้อความขัดกัน คาดหมายว่าแม้เป็นไปตามรูปแบบฯ ก็จะไม่มั่นคง แข็งแรง ไม่ปลอดภัย ไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย - สั่งพักงานไว้ก่อน - รายงาน คกก. ตรวจงานจ้างโดยเร็ว

85 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ)
หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) จดบันทึกเป็นรายวัน ดังนี้ สภาพการปฏิบัติงาน / เหตุการณ์แวดล้อม ผลการปฏิบัติงาน /การหยุดงาน/ สาเหตุหยุดงาน บันทึกให้ระบุรายละเอียดการปฏิบัติงานและวัสดุที่ผู้รับจ้างใช้ โดยต้องทำบันทึกอย่างน้อย 2 ฉบับ - รายงาน คกก. ตรวจงานจ้างทุกสัปดาห์ - เก็บรายงานไว้ เพื่อมอบให้ จนท.พัสดุ เมื่อเสร็จงาน แต่ละงวด - ถือเป็นเอกสารสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

86 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ)
หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) เมื่อถึงวันกำหนดลงมือทำงานของผู้รับจ้าง หรือวันกำหนด ส่งมอบงานแต่ละงวด - ให้รายงานผลการทำงานของผู้รับจ้าง ว่าเป็นไปตามสัญญา หรือไม่ (ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ)

87 กำหนดระยะเวลาในการตรวจรับ/ตรวจการจ้าง
นร (กวพ) 1002/ว 9 ลว. 4 เม.ย.33 - ให้ หน.ส่วนราชการหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานทุกครั้ง - ให้ คกก.ตรวจรับ / ตรวจการจ้าง รายงานภายในกำหนด + ถ้าล้าช้า ให้ขอขยาย นร 1305/ว 5855 ลว. 11 ก.ค สร 1001/ว 35 ลว. 30 ธ.ค. 25 ระยะเวลาตรวจรับพัสดุ ระยะเวลาเริ่มตรวจ ระยะเวลาการตรวจ วันที่ส่งมอบ ให้เสร็จสิ้น โดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ ระยะเวลาตรวจการจ้าง ระยะเวลาเริ่มตรวจ ระยะเวลาการตรวจ ภายใน 3 วันทำการ ตารางถัดไป

88 กำหนดระยะเวลาในการตรวจรับ/ตรวจการจ้าง
ราคาค่างาน ทุกราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง งวดงาน งวดสุดท้าย 3 วัน 5 วัน งานจ้างก่อสร้างแบบราคาเหมารวม (Lump Sum) วันทำการ ไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่เกิน 60 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ราคาค่างาน งานจ้างก่อสร้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Cost) ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง รายงวด ครั้งสุดท้าย 8 วัน 12 วัน 16 วัน 20 วัน 4 วัน 3 วัน 5 วัน วันทำการ ** ทำไม่เสร็จภายในกำหนด ให้รายงาน หน.ส่วนราชการ + สำเนาแจ้งคู่สัญญาทราบ **

89 Ex. ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียดในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน ข้อเท็จจริง กรม ก. ได้ทำสัญญาจ้างก่อสร้าง กับบริษัท เป็นเงินทั้งสิ้น 631,037,000 บาท ซึ่งเป็นสัญญาแบบถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ ต่อมา กรมฯ ได้ตรวจสอบพบว่า เนื้องานตามแบบรูปรายการกับบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน เนื่องจากตามแบบรูปรายการไม่ปรากฏมุ้งลวดและเหล็กดัด แต่ผู้รับจ้างเสนอรายละเอียดและ คิดค่างานติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) แนบท้ายสัญญาภายในวงเงินที่ผู้รับจ้างได้เสนอราคาไว้ กรมฯ จึงหารือว่า ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดตามที่ผู้รับจ้างได้เสนอไว้ให้กรมฯ หรือไม่อย่างไร เพื่อเป็นแนวทาง และหลักการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจการจ้างต่อไป

90 Ex. ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียดในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน แนววินิจฉัย ตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่กรมฯ ได้ทำไว้กับบริษัทฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ข้อ 2 วรรคท้าย กำหนดว่า “ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญญา ที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญานี้ ให้ใช้ข้อความในสัญญานี้บังคับ และ ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาหรือแบบรูปรายการขัดแย้งกันเอง ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง” ซึ่งโดยหลักการ เมื่อผู้รับจ้างเสนอเงื่อนไขอย่างไรแล้ว ย่อมต้องผูกพันตามคำเสนอของตน โดยไม่อาจถอนได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) ของผู้รับจ้างมีข้อเสนอโดยระบุรายละเอียดและค่างานติดตั้ง มุ้งลวดและเหล็กดัดไว้ และกรมฯ ได้สนองรับราคาและมีการทำสัญญาแล้ว

91 Ex. ข้อหารือกรณีเนื้องานตามแบบรูปรายการกับรายละเอียดในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ไม่ตรงกัน แนววินิจฉัย (ต่อ) ดังนั้น ผู้รับจ้างจึงต้องผูกพันตามเงื่อนไขที่ตนเสนอ อีกทั้ง แบบรูปและรายการละเอียดและใบยื่นข้อเสนอบัญชีแสดง ปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ที่ผู้รับจ้างได้เสนอเป็นเอกสารแนบท้าย สัญญาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่องานติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดนั้น ปรากฏในใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) ของผู้รับจ้าง กรมฯ ก็ต้องยึดถือ บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้าง (BOQ) ดังกล่าว เป็นหลักในการวินิจฉัยให้ผู้รับจ้างปฏิบัติงานดังกล่าวต่อไป

92 ใคร ? เป็นผู้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อ แก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลง การงด ลดค่าปรับ/ขยายเวลาสัญญา/ข้อตกลง หนังสือแจ้งเวียนของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว ลว. 13 ธันวาคม กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ :- “คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอความเห็นในแต่ละครั้งด้วย”

93 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
มือถือ


ดาวน์โหลด ppt สัญญา หลักประกันและ การบริหารสัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google