งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา

2 วัตถุประสงค์ เพื่อให้รู้จักความหมายของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพการในแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาในแต่ละระดับ (ตนเอง ชุมชน อุตสาหกรรม และประเทศ) เพื่อให้ตระหนักว่าการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม บนฐานของความรู้ ความเข้าใจจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสินค้า เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ทราบว่าการพัฒนาจะสัมฤทธิผลต้องการเอกภาพของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์

3 กรณีศึกษา : บริษัท ไทยศิลป์อาคเนย์ อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต จำกัด
‘ปี 2550 ค่าเงินบาทแข็งตัว’ 'ไทยศิลป์'เจ๊ง สั่งปิดรง.วันนี้ ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฐานเศรษฐกิจ และเนชั่น

4 วันที่ 11 กรกฎาคม 2550 พวกเขาถูกเลิกจ้าง!
‘พนักงานกว่า 6 พันชีวิตเป็นเหยื่อบาทแข็ง’ พนักงานกว่า 6 พันคน ที่เคยตื่นเช้า เข้าโรงงานเพื่อทำงานทุกวัน เป็นอย่างนี้มานานนับ 10 ปีที่โรงงานไทยศิลป์ แต่สำหรับตั้งแต่เช้า วันที่ 11 กรกฎาคม 2550 พวกเขาถูกเลิกจ้าง! เจ้าของโรงงานไทยศิลป์ฯ ออกมาแถลงพร้อมน้ำตาถึงภาระที่รับไม่ไหว กับการรับออเดอร์ผลิตชุดกีฬาให้กับ ”ไนกี้ และอาดิดาส” ทั้งที่ผลิตให้ นานนับสิบปี แต่นานเกือบปีแล้วที่สู้ต้นทุนไม่ได้กับคู่แข่ง และปัญหา “ค่าเงินบาทแข็ง” ทำให้ยิ่งขาดทุนหนักยิ่งขึ้น จนปิดกิจการอย่าง เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 พนักงานมี ชีวิตที่เคว้งคว้าง ไร้งานทำมา จนกระทั่งต้องปิดถนนประท้วง และต่อรองกับนายจ้างเพื่อจ่ายค่าชดเชย ที่มา: สุกรี แมนชัยนิมิต Positioning Magazine. ฉบับเดือนกันยายน 2550.

5 ‘หาทางรอดยังไง กับปัญหาค่าเงินบาท’
‘นวัตกรรม และความสร้างสรรค์ คือ บทสรุปที่หลายธุรกิจ ต้องมีเป็นอาวุธสู้รบกับตลาดโลก’ (บัณฑูร ล่ำซำ, ซีอีโอ ธนาคารกสิกรไทย) ‘3 กรณีศึกษาในธุรกิจสิ่งทอ ที่สามารถสร้างตัวเองประสบความสำเร็จ ในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็น จิม ทอมป์สัน ฟลายนาว หรือ พาสายา จากความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างจุดต่างของสินค้า ในตลาดต่างประเทศ’ ‘การเริ่มต้น ณ เวลานี้ในการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจตัวเองอาจ ไม่ทันการกับปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่หากยังไม่เริ่มที่จะนำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา ประเทศไทย อาจไม่มีที่ยืนบนแผนที่โลกก็เป็นได้’ ที่มา: สุกรี แมนชัยนิมิต Positioning Magazine. ฉบับเดือนกันยายน 2550.

6 กรณีศึกษา: บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) - ซีพี
ซีพี เป็นผู้นำอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันระดับสากล ซีพีมีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งสู่การเป็น ‘ครัวของผู้บริโภคทั่วโลก’ (Kitchen of the World) ด้วยการให้ความสำคัญและทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนาในทุกๆ ขั้นตอนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ที่มา: บทสัมภาษณ์ของทีมเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. [Online]. Available: October 2007.

7 ‘ความสำเร็จของ ซีพี เกิดจากอะไร’ (1)
ทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี การบริหารจัดการ ที่มา: บทสัมภาษณ์ของทีมเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. [Online]. Available: October 2007.

8 ‘ความสำเร็จของ ซีพี เกิดจากอะไร’ (2)
ปรัชญาการดำเนินธุรกิจของ ‘เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์’ ‘เราต้องรู้ว่าโลกต้องการอะไร เราต้องเลือกธุรกิจที่สังคมต้องการ อีกทั้งต้องเป็นธุรกิจที่เหมาะสมกับระยะเวลาของเวลาและโอกาส เจริญเติบโต ธุรกิจที่ทำต้องมีเทคโนโลยีใหม่ เราจะต้อง มีการไปเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในธุรกิจของเรา ตลอดเวลา เช่น ธุรกิจการเลี้ยงไก่ ธุรกิจอาหารสัตว์ของ ซี.พี. ถือเป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาก ผมพูดได้ว่า ขณะนี้ พวกไก่ได้กินอาหารที่มีความถูกต้องและคุณภาพดีกว่ามนุษย์ทั้งโลก เพราะเราได้มีการวิจัยและพัฒนามาเป็น 20 ปีแล้ว’ แหล่งที่มา : บทสัมภาษณ์ของทีมเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

9 ประเด็นอภิปราย เหตุ-ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวของโรงงานไทยศิลป์อาคเนย์ อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต จำกัด ศาสตร์ใดบ้างที่บริษัท ซี.พี. ใช้บริหารจัดการองค์กรจนประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบัน สมมติว่าท่านเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านจะใช้แนวทางใดในการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการของประเทศไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

10 ความหมายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนา
ความหมายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนา การพัฒนา : เป็นกระบวนการที่นำสู่ความก้าวหน้า หรือความเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น วิทยาศาสตร์ : เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติทุกอย่างตั้งแต่ระดับควอนตัมไปจนถึงจักรวาลอันไพศาลไม่มีขอบเขต ความรู้วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ การศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเป็นการปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความคิดที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ วิธีการวิจัยหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี : เป็นการประดิษฐ์คิดค้นและการสร้างสรรค์ที่มนุษย์คิด เพื่อให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นและทำงานยากๆได้สำเร็จ เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนาลุล่วงไปด้วยดี ส่วนหนึ่งจากคำบรรยายของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในงานสัมมนา “Globalization: Challenges and Opportunities for Science and Technology” “การทำงานพัฒนาไม่ได้เป็นเรื่องการเสียสละเพียงอย่างเดียว เป็นการทำเพื่อตนเองด้วย เพราะมนุษย์ เป็นสัตว์สังคม ต้องอยู่ด้วยกัน เราอยู่อย่างสุขสบาย ในขณะที่คนอื่นทุกข์ยาก เราย่อมอยู่ไม่ได้”

11 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาชุมชน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

12 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ
การพัฒนาชุมชน

13 การพัฒนาชุมชน ชุมชน หมายถึง การที่คนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความพยายามทำอะไรร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการกระทำ ซึ่งรวมถึงการติดต่อสื่อสาร (Communication) กันด้วย คำว่า “ชุมชน” ใช้กับกลุ่มคนขนาดเล็กไม่กี่คนไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่ หรือทั้งโลก เช่น ชุมชนโลก (World Community) ที่เราใช้กันหลวมๆ ก็คือชุมชน ใช้กับขนาดค่อนข้างเล็ก (ศ.นพ.ประเวศ วะสี, 2541)

14 การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาชุมชน (1)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงกล่าวถึงการใช้ ว และ ท ในการพัฒนาชุมชน ดังนี้ การศึกษา : การศึกษาจะประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัยวัตถุเครื่องใช้ต่างๆ ในทาง ว และ ท เช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ IT งานและการจ้างงาน : ความรู้ด้าน ว และ ท จะช่วยให้มีผลิตผลทางการเกษตรที่เพียงพอ และผู้มีความรู้ในด้านดังกล่าวยังสามารถทำงานด้านเทคนิคในภาคอุตสาหกรรมและบริการได้ด้วย การเกษตร : ความรู้ ว และ ท ช่วยให้การเกษตรได้ผลดีขึ้น โดยรักษาสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้ทรัพยากรมากเกินไป เช่น การชลประทานและควบคุมแก้ไขภาวะน้ำท่วม เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การเลี้ยงสัตว์

15 การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาชุมชน (2)
การประมง : การนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาใช้ทำเรือประมง เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบเรือ และการเลือกเครื่องยนต์ที่เหมาะสม รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน อุตสาหกรรมเกษตร : การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ การฆ่าเชื้อโรค และการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย สุขภาพ : ความรู้ ว และ ท ทางสาธารณสุขสามารถรักษาโรคร้ายและป้องกันโรคได้หลายอย่าง โภชนาการ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปรุงรสให้ใกล้เคียงกับรสนิยมและไม่ขัดหลักความเชื่อของชุมชน

16 กรณีศึกษา : โรงงานผลิตแป้งขนมจีนบ้านกระหรอ จ.นครศรีธรรมราช (1)
ขนมจีนบ้านกระหรอกลายเป็นสินค้าที่จำหน่ายครอบ คลุมพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ และ สุราษฎร์ธานี มียอดขายปีละกว่า 15 ล้านบาท โรงงานใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตแป้งขนมจีนทำให้แป้งขนมจีนไม่มีกลิ่น และเก็บรักษาได้นานโดยไม่ต้องใส่สารกันบูด วิธีการที่ใช้ คือ นำไปแช่เกลือเพื่อเพิ่มปริมาณยีสต์ ทำให้แป้งไม่บูด สามารถเก็บไว้ได้นาน ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติควบคุมแมลง โดยนำมูลไก่มาดองกับน้ำแป้ง และใช้บ่อบำบัดแบบเปิด ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์, ขนมจีนบ้านกระหรอ การผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2550.

17 กรณีศึกษา : โรงงานผลิตแป้งขนมจีนบ้านกระหรอ จ.นครศรีธรรมราช (2)
ชาวบ้านไม่ว่างงานในช่วงระหว่างการรอฤดูกาลทำการเกษตร ชาวบ้านไม่ทิ้งถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น เพื่อหางานทำ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูป “ข้าว” ให้เป็น “เส้นขนมจีน” ชาวบ้านมีความร่วมมือกัน เกิดความสามัคคี

18 ประเด็นอภิปราย ท่านคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้โรงงานผลิตแป้งขนมจีนบ้านกระหรอประสบความสำเร็จ

19 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ
การพัฒนาอุตสาหกรรม

20 บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
ลดต้นทุนการผลิต/เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น

21 ไม้ยางพารา ต้นยางพารา ผลิตภัณฑ์ น้ำยาง น้ำยางสด น้ำยางข้น ถุงมือ
กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมยางพารา มูลค่าเพิ่มน้อย – คนไทยทำได้ ไม้ยางพารา ต้นยางพารา ผลิตภัณฑ์ น้ำยาง น้ำยางสด น้ำยางข้น ถุงมือ มูลค่าเพิ่มในระดับกลาง – คนไทยทำได้ ยางแห้ง ถุงยาง วัตถุดิบ ยางยืด ผลิตภัณฑ์ ยางแห้ง ยางล้อ สายพาน ยางรัดของ ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มูลค่าเพิ่มสูง – คนไทยทำไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี ที่มา : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 21

22 ประเด็นอภิปราย ศาสตร์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่จะร่วมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำยางพาราไทยสู่ตลาดโลก ได้อย่างไร

23 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ
การพัฒนาประเทศ

24 ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและอันดับความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศต่างๆ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (US$ - PPP) ต่อประชากร (ปี 2548) 2 คะแนนความสามารถในการแข่งขันโดยรวม 1 (ช่วงคะแนน = 0 – 100) อเมริกา 41,399 100.0 ฟินแลนด์ 31,208 77.3 ญี่ปุ่น 30,615 72.4 สิงคโปร์ 28,100 99.1 ไต้หวัน 27,572 76.0 เกาหลีใต้ 20,591 61.6 มาเลเซีย 11,201 74.1 ไทย 8,319 57.8 จีน 7,204 79.5 อินโดนีเซีย 4,459 37.4 เวียตนาม 3,025 - ส่วนใหญ่แล้ว ประเทศที่มีระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจสูง คือมีรายได้ในรูปของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศต่อ ประชากรสูง มักเป็นประเทศที่ มีระดับความสามารถ ในการแข่งขันโดยรวมสูง ที่มา : 1. International Institute for Management Development (2007). World Competitiveness Yearbook 2007. 2. World Economic Forum (2006). Global Competitiveness Yearbook

25 ผลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
คะแนนความสามารถในการแข่งขันโดยรวม คะแนนความสามารถในการแข่งขัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่มา : International Institute for Management Development (2007). World Competitiveness Yearbook 2007. ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันโดยรวมสูงอันดับต้นๆ ส่วนใหญ่ อาทิ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยีสูง

26 เอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ต่อปี
กรณีศึกษา : ประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ไทยขาดดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีประมาณแสนล้านบาทต่อปี ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย เอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ต่อปี (ปี ) ญี่ปุ่นลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นมากจนกระทั่งสามารถส่งออกสินค้าเทคโนโลยีได้ในสัดส่วนที่มากกว่าการนำเข้า ที่มา : World Bank Institute (2006), Edited by Tsutomu Shibata. National Innovation System: Reforms to Promote Science-Based Industries. Japan Moving Toward a More Advanced Knowledge Economy. Volume 1: Assessment and Lessons

27 กรณีศึกษา : ประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีของเกาหลี
ที่มา

28 ประเด็นอภิปราย ท่านคิดว่าความสำเร็จของการพัฒนาของญี่ปุ่นเกิดจากปัจจัยอะไร ท่านคิดว่าเกาหลีกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ท่านคิดว่าปัจจัย (parameter) ที่เกาหลีใช้วัดความสำเร็จคืออะไร เพราะเหตุใด

29 ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย

30 ประเทศไทยความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแค่ไหน (1)
ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย อยู่ในอันดับสุดท้าย ในปี สถาบัน IMD (International Institute Management for Development) จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 (จาก 47 ประเทศ) และ 49 (จาก 49 ประเทศ) ที่มา : International Institute for Management Development (2007). World Competitiveness Yearbook 2007.

31 ประเทศไทยมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแค่ไหน (2)
2550 IMD จัดอันดับประเทศไทยในปี 2550 ไว้อย่างไร โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อันดับที่ 49 จาก 55 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีอันดับที่ 48 จาก 55 ประเทศ ประเทศอื่นๆ ที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกับเราเป็นอย่างไรกันบ้าง มาเลเซีย โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อันดับที่ 31 จาก 55 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีอันดับที่ 18 จาก 55 ประเทศ จีน โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อันดับที่ 15 จาก 55 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีอันดับที่ 27 จาก 55 ประเทศ ที่มา : International Institute for Management Development (2007). World Competitiveness Yearbook 2007.

32 เหตุใดอันดับความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย จึงอยู่ในอันดับรั้งท้าย
2548 มาเลเซียและจีนลงทุนทำวิจัยและพัฒนา มากกว่า ไทยประมาณ เท่าตัว ญี่ปุ่นลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ 3.33 ของ GDP เกาหลีลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ 2.99 ของ GDP ไต้หวันลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ 2.52 ของ GDP จีนลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ ของ GDP มาเลเซียลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ 0.63 ของ GDP* ไทยลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร้อยละ 0.24 ของ GDP หมายเหตุ : * มาเลเซียข้อมูลปี 2547 ที่มา :1. Main Science and Technology Indicators, Volume 2006/1 and Volume 2007/1 2. Malaysian Science and Technology Information Center (MASTIC) 3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

33 การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา
มาเลเซียและจีนมีการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงปี มาเลเซียลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ในช่วงปี จีนลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 ในช่วงปี ไทยลงทุนทำวิจัยและพัฒนาลดลงร้อยละ 7.7 หมายเหตุ : * การลงทุนทำวิจัยและพัฒนาคิดจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่มา :1. Main Science and Technology Indicators, Volume 2006/1 and Volume 2007/1 2. Malaysian Science and Technology Information Center (MASTIC) 3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

34 บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา
2548 ไทยมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 10,000 คน ใกล้เคียงกับมาเลเซีย แต่น้อยกว่าจีน ไทยมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 10,000 คน ประมาณ 6.7 คน-ปี มาเลเซียและจีนมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 10,000 คน ประมาณ 7.0* และ 10.4 คน-ปี ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันมีบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาต่อประชากร 10,000 คน ประมาณ 72.1, 44.6 และ คน-ปี ตามลำดับ หมายเหตุ : *ข้อมูลปี 2547 ที่มา :1. Main Science and Technology Indicators, Volume 2006/1 and Volume 2007/1 2. Malaysian Science and Technology Information Center (MASTIC) 3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

35 จำนวนการจดสิทธิบัตร 2549 ไทยมีจำนวนการจดสิทธิบัตรน้อยกว่ามาเลเซียประมาณ 3.5 เท่าตัว มาเลเซียมีจำนวนการจดสิทธิบัตร 6,749 รายการ สิงคโปร์ มีจำนวนการจดสิทธิบัตร 7,390 รายการ อินโดนีเซียมีจำนวนการจดสิทธิบัตร 4,880 รายการ ที่มา: National Source

36 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
2549 ไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน ประมาณ 14.2 คน ซึ่งน้อยกว่ามาเลเซียประมาณ 4 เท่าตัว มาเลเซียมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน ประมาณ 43.8 คน ญี่ปุ่นมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน ประมาณ 68.3 คน เกาหลีมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน ประมาณ 71.1 คน ไต้หวันมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน ประมาณ 63.7 คน ที่มา : 1. International Telecommunication Union (ITU) 2. ข้อมูลประเทศไทย – สำนักงานสถิติแห่งชาติ

37 จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร
2548 ไทยมีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน ประมาณ 4.0เครื่อง ซึ่งน้อยกว่ามาเลเซียประมาณ 6.5 เท่าตัว มาเลเซียมีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน ประมาณ 21.5 เครื่อง ญี่ปุ่นมีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน ประมาณ 67.5 เครื่อง เกาหลีมีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน ประมาณ 53.2 เครื่อง ไต้หวันมีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อประชากร 100 คน ประมาณ 52.8 เครื่อง* หมายเหตุ : *ข้อมูลปี 2547 ที่มา : 1. International Telecommunication Union (ITU) 2. ข้อมูลประเทศไทย – สำนักงานสถิติแห่งชาติ

38 ประเด็นอภิปราย ท่านคิดว่า “การวิจัยและพัฒนา” มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร และรัฐบาลไทยควรให้การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างไร

39 บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการพัฒนา

40 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพิ่มโอกาสการรับข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้ ของปัจเจกบุคคลทุกระดับ enabling เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

41 ThaiSNP Database Project
เทคโนโลยีชีวภาพ การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการใหม่ การลดต้นทุนการบำบัดโรค การเตรียมการป้องกันการระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่างทันต่อเหตุการณ์ enabling เทคโนโลยีชีวภาพ ThaiSNP Database Project Antimalaria Drug Modeling

42 เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
ผลิตวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสมกับรูปทรงของคนไทยและคนเอเชีย  enabling เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ การฝังรากฟันเทียม

43 นาโนเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี enabling
เก็บกักสารภายในแคปซูลระดับนาโนเมตร ช่วยควบคุมอัตราการปลดปล่อยของสารออก จากแคปซูล และรักษาคุณสมบัติของสารภาย ในแคปซูลให้คงทนและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อาหารและยา enabling นาโนเทคโนโลยี Nano-Encapsulation

44 วิทยาศาสตร์อวกาศและรีโมตเซนซิง
สำรวจสภาพแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ โดยสามารถบันทึก และสำรวจภาพข้อมูลได้ ในบริเวณกว้าง ซึ่งบางพื้นที่อาจเข้าถึงได้ยาก หรืออาจเป็นอันตรายที่จะเดินทางเข้าไปสำรวจ เช่น ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ในป่าลึก กลางมหาสมุทร enabling เทคโนโลยีรีโมตเซนซิง ดาวเทียม

45 โลกาภิวัฒน์ : โอกาสและการท้าทายสำหรับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

46 โอกาสและผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์
กระแสโลกาภิวัฒน์ ผลกระทบ โอกาส เศรษฐกิจของประเทศอ่อนไหวต่อภายนอก การระบาดของโรคอุบัติใหม่ สินค้าและบริการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่โลก ผู้บริโภคมี ความต้องการ ซับซ้อนมากขึ้น อาชญากรรมข้ามชาติ/ อาชญากรรมไซเบอร์/ ภัยจากอินเตอร์เน็ต Outsourcing ของ TNCs ทำให้ประเทศเข้าสู่ Global Value Chain สินค้าและบริการใหม่จากเทคโนโลยีจิ๋ว การไหลบ่าของวัฒนธรรมและค่านิยมของต่างชาติ การกีดกันทางการค้าที่อาศัยเทคโนโลยี วิกฤติพลังงานและสิ่งแวดล้อมโลก ความเสี่ยง และความไม่แน่นอน (risk & uncertainty) หากไม่ทำอะไร ความสามารถในการแข่งขันลดลง เศรษฐกิจ สังคม ไม่ยั่งยืน (รายได้ไม่เพิ่ม หนี้สินเพิ่ม) 46

47 กรณีศึกษาข้าว

48 ข้าว ความสำคัญของข้าว ข้าวมีความสำคัญกับเศรษฐกิจ
ข้าวมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของไทย ข้าวเป็นฐานความมั่นคงด้านอาหาร ข้าวเป็นฐานการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มา: ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, โครงการเทคโนโลยีชีวภาพข้าว.

49 ผลิตผลการเพาะปลูกข้าวของไทย (1)
เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 1 2 3 4 ผลผลิตต่อไร่ ไทยมีเนื้อที่เก็บเกี่ยวมากที่สุด แต่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุด

50 ผลิตผลการเพาะปลูกข้าวของไทย (2)
ที่มา : องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หมายเหตุ : 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

51 ทำไมผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยจึงต่ำที่สุด
ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ หรือความไม่เหมาะสมของพื้นที่ ปัญหาด้านโรค เช่น การระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรู เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ย จักจั่น ปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว ปัญหาเรื่องคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว ที่มา: ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, โครงการเทคโนโลยีชีวภาพข้าว.

52 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยได้อย่างไร
เทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณลักษณะ ดังนี้ มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพเมล็ดดี และมีความเหมาะสมกับนิเวศน์การปลูกข้าวนั้นๆ มีคุณลักษณะตรงตามต้องการของตลาดและเกษตรกร มีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมทั้งที่มีสาเหตุมาจากโรค แมลง และสภาพแวดล้อม พันธุ์ข้าวที่ใช้น้ำน้อย หรือเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความทนแล้งได้มากขึ้น ควรเป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้น ที่มา: ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, โครงการเทคโนโลยีชีวภาพข้าว.

53 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

54 ที่มา: http://volunteers.in.th/file/michita/Clip_3.jpg

55 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน พอเพียงสำหรับทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทอดทิ้งกัน จิตใจพอเพียง ทำให้รักและเอื้ออาทรคนอื่นได้ คนที่ไม่พอ จะรักคนอื่นไม่เป็น และทำลายมาก สิ่งแวดล้อมพอเพียง การอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ทำให้ยังชีพและทำมาหากินได้ ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง การรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาความยากจน หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญญาพอเพียง มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง วัฒนธรรมหมายถึงชีวิตของกลุ่มชนที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ดังนั้นเศรษฐกิจจึงควรสัมพันธ์และเติบโตขึ้นจากฐานทางวัฒนธรรม จึงจะมั่นคง มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจน เดี๋ยวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกินมีใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหวต่อความผันผวนที่เร็วเกิน จึงสุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รุนแรง ฆ่าตัวตาย ติดยา เศรษฐกิจพอเพียงที่มั่นคงจึงทำให้สุขภาพจิตดี ที่มา: ประเวศ วะสี เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม.

56 ทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น ในเศรษฐกิจพอเพียง
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 - ผลิตอาหารบริโภคเอง เหลือขาย ทำให้มีกินอิ่ม ไม่ติดหนี้ มีเงินออม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 - รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ทำธุรกิจ ปั๊มน้ำมัน ขายอาหาร ขายสมุนไพร ตั้งศูนย์การแพทย์แผนไทย จัดการท่องเที่ยวชุมชน มีกองทุนชุมชนหรือธนาคารหมู่บ้าน ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 - เชื่อมโยงกับบริษัททำธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการส่งออก ที่มา: ประเวศ วะสี เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม.

57 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ทรงปรับใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้อยู่ดีกินดี ตามวิถีแห่งความพอเพียงตลอดมา

58 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ฝนหลวง โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมแต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เมฆเหล่านั้น ก่อตัวเป็นเมฆฝนได้   เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นเทคนิค หรือ วิชาการที่เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเน้นการทำฝน เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และ/หรือ เพื่อให้ฝนตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ (Rain redistribution) สำหรับป้องกันหรือบรรเทาภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง เป็นวิชาการที่ใหม่สำหรับประเทศไทยและของโลก

59 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) โครงการแก้มลิง - เป็นโครงการเกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detension area) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม มีที่มาจากแนวคิดที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ จนกล้วยหมดหวี หรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง แก้มลิง   ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง      ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ ที่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ และสูบน้ำออกจากคลองที่ ทำหน้าที่ "แก้มลิง"

60 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กังหันน้ำชัยพัฒนา   กังหันน้ำชัยพัฒนา คือเครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอย โดยกังหันจะวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม เมื่อน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตร กังหันน้ำชัยพัฒนา ใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย

61 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เขื่อนดิน  เขื่อนดิน เป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินตามแนวพระราชดำริ ตัวเขื่อนนิยมก่อสร้างด้วยการถมดิน และบดอัดจนแน่น สามารถส่งน้ำไปตามท่อส่งน้ำได้ เพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กอย่างปลาและกุ้งน้ำจืดได้ นอกจากนี้เขื่อนดินยังเป็นปราการที่ไม่เพียงบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำหากแต่ยังป้องกัน น้ำท่วมได้อีกด้วย ส่วนความจุของปริมาณขึ้นอยู่กับความสูงของเขื่อน

62 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ไบโอดีเซล   ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้าน การพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม

63 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) แกล้งดิน “แกล้งดิน” คือ ทำให้ดินเปรี้ยวเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด โดยให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกำมะถันออกมา จากนั้นปรับปรุงดินด้วยการใช้น้ำร่วมกับปูนมาร์ลหรือปูนฝุ่นแล้วไถพลิกกลบดิน ความเป็นเบสของปูนจะทำให้ดินซึ่งเปรี้ยวจัดถูกกระตุ้นให้ “ช็อก” จึงปรับสภาพสู่สภาวะปกติ จนกระทั่งเพาะปลูกข้าวได้

64 กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
กรณีศึกษาโครงการพระราชดำริ (พระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หญ้าแฝก ระบบรากของ “หญ้าแฝก” ที่ฝังลึกไปในดินตรงๆ และแผ่กระจายเหมือนกำแพงจึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดิน ช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้ และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ดิน เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชันหรือบริเวณเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดิน ปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม และยังใช้ปลูกป้องกันสารพิษปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ เป็นต้น

65 ประเด็นการอภิปราย ในส่วนของตัวท่านเองจะใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร

66 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

67 จุดบอดของสังคมความรู้จากฐานวิทยาศาสตร์
ความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเป็นอยู่ดี มีความสะดวกสบาย คนมีความมั่งคั่งด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้น การเดินทางและติดต่อ สื่อสารสะดวกรวดเร็ว การรักษาโรคดีขึ้น การศึกษาดีขึ้น การเพิ่มผลิตภาพ/ประสิทธิภาพการ ผลิตดีขึ้น สุขาภิบาลรอบตัวดีขึ้น เด็กได้รับอันตรายจากสิ่งโดยรอบลดลง ประชากรโลก เพิ่มขึ้น ผู้ที่เก่งกว่าจะได้รับประโยชน์เหนือผู้ที่ด้อยกว่า ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้และทำลายหมดไป สุขภาพคุณภาพชีวิต เสื่อมโทรม มลภาวะทางน้ำ ดิน อากาศ อวกาศ ทำให้เกิดสารตกค้าง ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศ และระหว่างคนในชาติ/ความเสมอภาคลดลง ความเสมอ ภาคลดลง เอาเปรียบมากขึ้น มีการ ข่มเหง ทำร้ายกัน ขาดความยุติธรรม ความเสื่อมในสังคมมนุษย์ ที่ยึดเอาแนวคิด เชิงวัตถุนิยมและบริโภคนิยมมาใช้ ทำให้ผู้เก่งกว่าได้รับประโยชน์เหนือผู้ที่ด้อยกว่า ที่มา: จรัส สุวรรณเวลา สังคมความรู้ยุคที่ 2

68 เอกภาพของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์
อยู่นอกสิ่งที่ศึกษา ความรู้ที่ชัดเจน วัดได้ พิสูจน์ได้ จึงจะยอมรับ มนุษยศาสตร์ อยู่ในสิ่งที่ศึกษา รับความรู้สึกด้วยอารมณ์ ใช้คติเป็นเครื่องมือ และ นำมาสร้างเป็นกฎเกณฑ์ สื่อความรู้ ด้วยภาษา ใช้ธรรมกำหนดสิ่งที่ถูกต้อง สังคมมนุษย์เจริญขึ้น เกิดความมั่นคง มีสุนทรียภาพ ความสงบ และสันติสุข ที่มา: จรัส สุวรรณเวลา สังคมความรู้ยุคที่ 2

69 การปรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในโลกของความเป็นจริง
เศรษฐกิจ ธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม สังคม-ชุมชน ความรู้ที่เป็นองค์ รวมเน้นความพอดี และทางสายกลาง สังคมความรู้ยุคต่อไป “ต้องสร้างสมดุล ไม่ปฏิเสธความดี และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้สามารถฟื้นตัวได้ บูรณาการทุกมุมมอง ทุกภาคส่วนเป็นองค์รวม ไม่สุดโต่งทางการแข่งขัน หรือการตลาดจนเป็นปัญหา เป็นทางสายกลาง เกื้อกูลแบ่งปัน นำไปสู่สันติสุข” ที่มา: จรัส สุวรรณเวลา สังคมความรู้ยุคที่ 2 สารบัญหลัก

70 ให้นักศึกษาเสนอแนะแนวทางโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำท่วม


ดาวน์โหลด ppt วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google