งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 มิถุนายน 2556

2 การจัดตั้งกองทุนและวัตถุประสงค์
ร่วมกันจัดตั้งโดยนายจ้างและลูกจ้าง ด้วยความสมัครใจประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ จดทะเบียนกองทุนเป็นนิติบุคคล ลูกจ้าง นายจ้าง วัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อส่งเสริมการออมเงินของสมาชิก เพื่อเป็นหลักประกันแก่สมาชิกในกรณีที่สมาชิกออกจากงาน เพื่อเป็นหลักประกันแก่ครอบครัวของสมาชิก เมื่อสมาชิก ถึงแก่กรรม เงินสะสม เงินสมทบ

3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร ?
ลูกจ้าง นายจ้าง เงินสะสม เงินสมทบ ความสมัครใจ เงินสะสม 1 ผลประโยชน์เงินสะสม 3 เงินสมทบ 2 ผลประโยชน์เงินสมทบ 4

4 ประโยชน์สำหรับสมาชิก
1. เสมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้ 2. เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ 3. เป็นหลักประกันแก่ครอบครัว กรณีสมาชิกทุพพลภาพหรือเสียชีวิต 4. เป็นโอกาสออมเงินเพื่อตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น 5. เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ 6. สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 6.1 สิทธิประโยชน์รายปี - เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนไม่เกิน 500,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในแต่ละปี 6.2 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ

5 เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนไม่เกิน 500,000 บาท
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 3 1 สิทธิประโยชน์รายปี เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนไม่เกิน 500,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในแต่ละปี

6 สิทธิประโยชน์รายปี (ต่อ)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ เงินสะสม ที่จ่ายเข้ากองทุน 1 3 สิทธิประโยชน์รายปี (ต่อ) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี 1. หักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท 2. ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาท ได้รับ การยกเว้น รวม 500,000 บาท

7 สิทธิประโยชน์รายปี (ต่อ)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 1 สิทธิประโยชน์รายปี (ต่อ) 3 เงินที่พนักงานจ่ายสะสมเข้ากองทุนสามารถนำมา ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อปี ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี เงินเดือนรับรายปี หัก ยกเว้นภาษีเงินสะสมส่วนที่เกิน 10,000 บาท คงเหลือ คชจ. 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท รายได้สุทธิขั้นต้น หัก ลดหย่อนส่วนตัว หัก ลดหย่อนเงินสะสมไม่เกิน 10,000 บาท รายได้สุทธิ ภาษีเงินได้ ไม่เป็นสมาชิกกองทุน 360,000 60,000 300,000 30,000 270,000 12,000 เป็นสมาชิกกองทุน 360,000 8,000 352,000 60,000 292,000 30,000 262,000 10,000 252,000 10,200 1. 2. ประหยัดภาษี ได้ 1,800 บาท สมมติฐาน : เงินเดือน 30,000 บาท อัตราสะสม 5% ดังนั้นพนักงานส่งเงินสะสมปีละ 18,000 บาท

8 ตัวอย่าง รายได้ 360,000 บาท ต่อปี ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5%
10,000 XXX XXX 8,000

9 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 3 2 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ พนักงานต้องมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินได้เมื่อออกจากงาน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ลดหย่อนได้ = 7,000 X อายุงาน ส่วนที่ 2 ส่วนที่เหลือหักออกอีกร้อยละ 50

10 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 2 3 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ ตัวอย่าง พนักงานได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน 130,000 บาท มีอายุงาน 5 ปี เงินสะสม ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสมทบ (30,000 บาท) (100,000 บาท) 1.ลดหย่อนภาษีได้ 7,000 x 5 = 35,000 บาท เหลือ = 65,000 บาท 2. หักส่วนที่เหลือได้อีก 50% = 32,500 บาท เงินที่นำมาคำนวณเพื่อคิดภาษีเงินได้ = 32,500 บาท

11 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ (ยกเว้นภาษีทั้งจำนวน)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ 3 2 สิทธิประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ (ยกเว้นภาษีทั้งจำนวน) เงินได้เมื่อออกจากงาน ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ ในกรณีดังนี้ ลาออกจากงาน - อายุสมาชิกกองทุน 5 ปีขึ้นไป และ - มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทุพพลภาพ เสียชีวิต

12 สรุป สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ
เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผลประโยชน์ ของเงินสะสม เงินสมทบ ของเงินสมทบ เงินสะสม ไม่ต้องคำนวณภาษี คำนวณภาษี โดยสามารถลดหย่อน หรือยกเว้นได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ทำงาน < 5 ปี หรือ ลาออกจากกองทุน ไม่เกษียณอายุและทำงาน > 5 ปี ลาออกจากงาน (> 55 ปี) และอายุสมาชิก > 5 ปี รวมทั้งเสียชีวิต และทุพพลภาพ ไม่ได้ รับการยกเว้น ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามปกติ รับการลดหย่อน การเสียภาษีเงินได้ โดย ส่วนที่ 1 : ลดหย่อนได้ = 7,000 X อายุงาน ส่วนที่ 2 : ที่เหลือหักค่าใช้จ่ายออกอีก 50% ได้ รับการยกเว้น ไม่ต้องนำไปคำนวณ เงินได้เพื่อเสียภาษี

13 เมื่อสมาชิกออกจากงาน (กรณีโอนย้ายงาน)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับพนักงาน 3 3 3 3 เมื่อสมาชิกออกจากงาน (กรณีโอนย้ายงาน) เงินได้เมื่อออกจากงาน กรณีโอนย้ายงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการนับอายุงานสมาชิกของแต่ละบริษัทต่อเนื่องกันได้ เมื่อสมาชิกได้ทำการโอนย้ายเงินกองทุน จำนวนเงินทั้ง 4 ส่วน จะถูกโอนย้ายไปกองทุนใหม่ เงินกองทุนนายจ้างเดิม ผลประโยชน์ ของเงินสะสม เงินสะสม ของเงินสมทบ เงินสมทบ เงินกองทุนนายจ้างใหม่ เงินสะสม ผลประโยชน์ ของเงินสะสม สมทบ ของเงินสมทบ เริ่มต้นใหม่

14 บุคคลที่สมาชิกควรรู้จัก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) คณะกรรมการกองทุน นายจ้าง ลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท จัดการ ผู้สอบบัญชี ผู้รับฝาก ทรัพย์สิน เงินฝาก นายทะเบียน สมาชิก อื่น ๆ พันธบัตร หุ้นสามัญ

15 คณะกรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้าง คณะกรรมการกองทุนฝ่ายสมาชิก
บุคคลที่สมาชิกควรรู้จัก นายจ้าง บริษัทนายจ้าง แต่งตั้ง คณะกรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้าง คณะกรรมการกองทุน ลูกจ้าง สมาชิกกองทุน เลือกตั้ง คณะกรรมการกองทุนฝ่ายสมาชิก

16 กรรมการกองทุนฝ่ายสมาชิก กรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้าง
บุคคลที่สมาชิกควรรู้จัก รายชื่อคณะกรรมการกองทุนเฉพาะส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการกองทุนฝ่ายสมาชิก 1) รศ.ดร.จิราวรรณ ฉายสุวรรณ 2) คุณชัชพล โพธิสุวรรณ กรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้าง 1) รศ.ดร.ไพโรจน์ วิริยจารี 2) รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง 3) รศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล 4) ผศ.ดร.ณัฐ วรยศ 5) รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ 6) ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม 7) ผศ.ปฐม ปฐมธนพงศ์

17 ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภายใต้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว

18 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
เงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก (1) พนักงานประจำของมหาวิทยาลัยมีสิทธิสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน โดยให้ยื่นใบสมัครต่อคณะกรรมการ กองทุนเฉพาะส่วนตามแบบฟอร์มที่คณะกรรมการกองทุนเฉพาะส่วนกำหนด (2) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพกรณีลาออกจากกองทุนไม่ลาออกจากงาน สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ได้อีกเพียงสองครั้งเท่านั้น โดยต้องลาออกจากกองทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นับจากวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ จากกรณีดังกล่าว

19 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
อัตราเงินสะสม  อัตราเงินสะสม สมาชิกจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง

20 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
อัตราเงินสมทบ  อัตราเงินสมทบ นายจ้างจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง

21 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบแก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ (1) การจ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมเต็มจำนวน

22 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบแก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ (ต่อ) (2) การจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ (2.1) สมาชิกที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างด้วยเหตุถูกไล่ออกหรือนายจ้างเลิกจ้าง เนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในเรื่องที่ ร้ายแรง สมาชิกผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ

23 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบแก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ (ต่อ) (2) การจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ (2.2) การสิ้นสุดสมาชิกภาพในกรณีดังต่อไปนี้ สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสมทบและ ผลประโยชน์ของเงินสมทบ 100% (1) เสียชีวิต (2) ทุพพลภาพอันเป็นเหตุให้พ้นจากงาน (3) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (4) ไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ (5) ครบเกษียณอายุและไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง

24 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบแก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ (ต่อ) (2) การจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ (2.3) การสิ้นสุดสมาชิกภาพกองทุนในกรณีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ (2.1) หรือ (2.2) สมาชิกมีสิทธิได้รับ เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ อายุสมาชิกภาพ อัตราเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ ที่กองทุนจะจ่ายเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ น้อยกว่า 4 ปี % ตั้งแต่ 4 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี % ตั้งแต่ 6 ปี แต่ไม่ถึง 8 ปี % ตั้งแต่ 8 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี % ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป %

25 สรุป ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบในส่วนที่ไม่ได้จ่ายแก่สมาชิกตามข้อ (2) ส่งคืนนายจ้าง

26 รู้จักตราสารเพื่อการลงทุน

27 ตราสารหนี้ (Debt Instruments) ตราสารทุน (Equity Instruments)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตราสารเพื่อการลงทุน ตราสารเพื่อการลงทุน ตราสารหนี้ (Debt Instruments) ตราสารทุน (Equity Instruments)

28 ตราสารเพื่อการลงทุน - ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ (Debt Instruments) คือ อะไร? ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสารซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นตามข้อกำหนดในตราสารและเงินต้นให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้

29 ประเภทของตราสารหนี้ ความเสี่ยง ต่ำ สูง อัตราผลตอบแทน

30 ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้
1. ดอกเบี้ยรับ (Interest Received) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำตามจำนวนเงินที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) บนตราสารหนี้ และตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ 2. ส่วนลดรับ (Discount Earned) เป็นรายได้ที่มีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยรับ กล่าวคือ ผู้ลงทุนหรือผู้ซื้อจะจ่ายเงินเพื่อซื้อตราสารในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และจะได้รับชำระเงินคืนเมื่อตราสารครบกำหนดด้วยมูลค่าที่ตราไว้ ตราสารประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะมีอายุไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากผู้ลงทุนหรือผู้ซื้อต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ 3. กำไร (ขาดทุน) จากราคา (Capital Gain (loss) ) ได้แก่ เงินได้ที่เกิดขึ้นจากผลต่างของราคา

31 องค์ประกอบของตราสารหนี้

32 ตราสารเพื่อการลงทุน - ตราสารทุน
ตราสารทุน (Equity Instruments) คือ อะไร? ตราสารทุน ได้แก่ ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของกิจการนั้น หากกิจการนั้นเจริญรุ่งเรือง ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้นตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ หากกิจการนั้นถดถอยผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นก็จะลดลง หากกิจการนั้นมีอันต้องเลิกล้ม กิจการต้องขายทรัพย์สินและชำระบัญชีคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ก่อน หากมีเงินเหลือจึงจะนำไปคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นอันดับสุดท้ายต่อไป

33 ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทุน
1. เงินปันผล (Dividend) 2. กำไร (ขาดทุน) จากราคา (Capital gain (loss)) ได้แก่ เงินได้ที่เกิดขึ้นจากผลต่างของราคา

34 และสิทธิในการออกเสียง
ความแตกต่างระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารทุน สิทธิเรียกร้อง ก่อน หลัง ความเป็นเจ้าของ และสิทธิในการออกเสียง ผลตอบแทน สม่ำเสมอ แน่นอน ไม่แน่นอน อายุของตราสาร มีอายุจำกัด มีอายุไม่จำกัด

35 ปัจจัยในการเลือกนโยบายการลงทุน

36 ความหลากหลายของสมาชิก
การยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน ฐานะ และภาระการเงิน ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการลงทุน ความต้องการผลตอบแทนที่ต่างกัน อายุ นโยบายการลงทุนเพียงนโยบายเดียวอาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของสมาชิกทุกคน

37 ในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
วัยหนุ่มสาว (ช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี) ควรลงทุนเชิงรุกในหุ้น ซึ่งมีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนสูง และแบ่งเงินบางส่วนลงทุน ในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจาก มีช่วงเวลาในการออมนาน ปี จึงสามารถลงทุนแบบเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้ อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น และหากเกินการขาดทุน ก็มีเวลาปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน วัย มีส่วนสำคัญในการกำหนดระดับความทนทานต่อความเสี่ยงในการลงทุนและระยะเวลาสำหรับลงทุน

38 วัยกลางคน (ช่วงอายุ 30 - 50 ปี)
ควรลงทุนแบบผสม เพื่อกระจายการลงทุนแบบผสมเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ หลายประเภท โดยลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน เนื่องจาก มีช่วงเวลาในการออมเพียง ปี จึงควรแบ่งเงินลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ แน่นอนส่วนหนึ่ง และลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกส่วนหนึ่ง วัย มีส่วนสำคัญในการกำหนดระดับความทนทานต่อความเสี่ยงในการลงทุนและระยะเวลาสำหรับลงทุน

39 วัยสูงอายุ (ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป)
ควรเน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อย และลงทุนส่วนน้อยในหุ้นเพื่อหวังผลกำไรบ้าง เนื่องจาก เป็นวัยใกล้เกษียณ เหลือเวลาในการออมสั้น จึงควรเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ วัย มีส่วนสำคัญในการกำหนดระดับความทนทานต่อความเสี่ยงในการลงทุนและระยะเวลาสำหรับลงทุน

40 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund

41 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
K Master Pooled Fund - Phase 1 : สมาชิก 1 คนเลือก 1 นโยบายการลงทุน นายจ้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กองทุน (นิติบุคคล) กช. เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ 1. ตราสารหนี้ระยะสั้น ภาครัฐ สถาบันการเงิน 3.* ผสม หุ้นไม่เกิน 10% 2. ตราสารหนี้ 5. ผสม หุ้น และ FIF ไม่เกิน 25% 4. ผสม หุ้นไม่เกิน 25% 100% ≥ 65% ≤ 35% ≥ 45% ≤ 25% ≤ 30% ≤ 5% ≥ 60% ≤ 10% 6.** ตราสารทุน นโยบาย การลงทุน สมาชิก หมายเหตุ : สมาชิก 1 คนเลือก 1 นโยบายการลงทุน เปลี่ยนนโยบายได้ปีละ 1 ครั้ง โดยแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน * นโยบายการลงทุนที่ 3 เริ่มบริหาร ม.ค , ** นโยบายการลงทุนที่ 6 เริ่มบริหาร ก.ค. 2554

42 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ตราสารหนี้ระยะสั้นภาครัฐ สถาบันการเงิน

43 * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา
กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ - ตราสารหนี้ระยะสั้นภาครัฐ สถาบันการเงิน นโยบายการลงทุน* 100% รายละเอียดการลงทุน เงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน อาทิ - พันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ - ตั๋วเงินคลัง - ตราสารหนี้ของธนาคาร และสถาบันการเงิน อายุครบกำหนดเฉลี่ย ไม่เกิน 1 ปี * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

44 อัตราผลตอบแทน * อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 50% ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ย ของ BBL,SCB, KBANK, KTB + 50% ของดัชนีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงที่ของสมาคมตราสารหนี้ไทย อายุ 6 เดือน

45 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ตราสารหนี้

46 * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา
กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ - ตราสารหนี้ นโยบายการลงทุน* รายละเอียดการลงทุน ตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ - หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน บริษัทเอกชน ≥ 65% ≤ 35% เงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน อาทิ - พันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ - ตั๋วเงินคลัง - ตราสารหนี้ของธนาคาร และสถาบันการเงิน * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

47 อัตราผลตอบแทน *อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 50%ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของ BBL,SCB, KBANK, KTB + 50% ของดัชนีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงที่ของสมาคมตราสารหนี้ไทย อายุ 2 ปี

48 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ผสมหุ้น ไม่เกิน 10%

49 กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ - ผสม หุ้นไม่เกินร้อยละ 10*
นโยบายการลงทุน** รายละเอียดการลงทุน ตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ - หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน บริษัทเอกชน ≥ 60% ≤ 10% ≤ 30% ตราสารทุน อาทิ - หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ - ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น เงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน อาทิ - พันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ - ตั๋วเงินคลัง - ตราสารหนี้ของธนาคาร และสถาบันการเงิน *เป็นนโยบายที่เริ่มบริหารจัดการ ม.ค ** แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

50 อัตราผลตอบแทน **อ้างอิงจากผลการดำเนินงานของกองPF0123
อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 7.5% SET Index %ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของ BBL,SCB, KBANK, KTB % ของดัชนีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงที่ของสมาคมตราสารหนี้ไทย อายุ 2 ปี

51 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ผสมหุ้น ไม่เกิน 25%

52 * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา
กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ - ผสม หุ้นไม่เกินร้อยละ 25 นโยบายการลงทุน* รายละเอียดการลงทุน ตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ - หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน บริษัทเอกชน ≥ 45% ≤ 25% ≤ 30% เงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน อาทิ - พันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ - ตั๋วเงินคลัง - ตราสารหนี้ของธนาคาร และสถาบันการเงิน ตราสารทุน อาทิ - หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ - ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

53 อัตราผลตอบแทน * อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 18.75% SET Index %ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของ BBL,SCB, KBANK, KTB % ของดัชนีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงที่ของสมาคมตราสารหนี้ไทย อายุ 2 ปี

54 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ผสมหุ้น และ FIF ไม่เกิน 25 %

55 * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา
กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ - ผสม หุ้น และ FIF ไม่เกินร้อยละ 25 นโยบายการลงทุน* รายละเอียดการลงทุน ตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ - หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน บริษัทเอกชน ≥ 45% ≤ 25% ≤ 30% ≤ 5% ตราสารทุน อาทิ - หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ - ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น เงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน อาทิ - พันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ - ตั๋วเงินคลัง - ตราสารหนี้ของธนาคาร และสถาบันการเงิน - หน่วยลงทุนของกองทุน ที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF ลงทุนได้ไม่เกิน 5%) * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

56 อัตราผลตอบแทน * อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 16.25% SET Index %ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพึงได้รับ วงเงิน 1 ล้านบาท เฉลี่ยของ BBL,SCB, KBANK, KTB % ของดัชนีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุคงที่ของสมาคมตราสารหนี้ไทย อายุ 2 ปี % MSSB + 1.5% MSCI_ACWI

57 นโยบายการลงทุน K Master Pooled Fund
ตราสารทุน

58 * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา
กช.เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ – ตราสารทุน นโยบายการลงทุน* รายละเอียดการลงทุน ตราสารทุน Equities 100% กองทุนจะลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ์, หน่วยลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญ เป็นต้น โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% * แผนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ภายใต้กรอบของสัญญา

59 อัตราผลตอบแทน อัตราอ้างอิงผลการดำเนินงานกองทุน : 100% SET Index

60 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
1.คุณตั้งใจจะทำงานอีกกี่ปี ก. 1 ปีหรือน้อยกว่า หรือไม่ได้ทำงาน ข ปี ค ปี ง ปี จ. 26 ปีขึ้นไป 2. ข้อต่อไปนี้ข้อใดกล่าวถึงภาระทางการเงินของคุณได้ถูกต้องที่สุด ก.ไม่มีภาระทางการเงินแล้ว ไม่มีเงินกู้ ไม่ต้องส่งบุตรหลานเรียน ข. มีภาระการผ่อน หรือส่งบุตรหลานเรียน น้อยกว่า 15% ของรายได้ ค. มีภาระการผ่อน หรือส่งบุตรหลานเรียน ประมาณ 15-25% ของรายได้ ง. มีภาระการผ่อน หรือส่งบุตรหลานเรียน ประมาณ 25-35% ของรายได้ จ. มีภาระการผ่อน หรือส่งบุตรหลานเรียน เกินกว่า 35% ของรายได้

61 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
3. ปัจจุบันฐานะการออมเงิน โดยรวมของคุณ ไม่รวมเงินเดือนหรือรายได้ประจำ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินสด เงินฝาก หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่แปลงเป็นเงินได้) ก. ไม่มีเงินออมเลย หรือมีน้อยกว่า 6 เท่าของการใช้จ่ายประจำเดือนในปัจจุบัน ข. มีเงินออมที่สามารถใช้จ่ายได้อีกประมาณ 1-2 ปี ค. มีเงินออมที่สามารถใช้จ่ายได้อีกประมาณ 3-5 ปี ง. มีเงินออมที่สามารถใช้จ่ายได้ 6-10 ปี จ. มีเงินออมที่จะใช้จ่ายได้ ปี ฉ. มีเงินออมที่สามารถใช้จ่ายได้ไปตลอดชีวิต 4. อายุของคุณในปัจจุบัน ก ปี ข ปี ค ปี ง ปี จ.60 ปีขึ้นไป 5. เป้าหมายระยะเวลาลงทุนของคุณ ก. ระยะสั้นกว่า 1 ปี ข. 1-2 ปี ค. 3-5 ปี ง ปี จ. 10 ปีขึ้นไป

62 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
6. ข้อต่อไปนี้ข้อใดกล่าวถึงความวิตกกังวลของคุณได้ดีที่สุด ก. เงินหายไป 500 บาท นอนไม่หลับไปหลายคืน ข .จะกังวลมากหากผลตอบแทนที่ได้รับมีความผันผวนเกิน 3% ค. จะกังวลมากหากผลตอบแทนมีความผันผวนเกิน 5% ง. จะกังวลมากหาผลตอบแทนมีความผันผวนเกิน 10% จ. ไม่ค่อยกังวลต่อความผันผวนของผลตอบแทนเท่าใดนัก เพราะทราบว่าความ ผันผวนจะลดลงหากลงทุนในระยะยาว และคุณก็สามารถลงทุนระยะยาวได้ 7. เวลาลงทุน คุณต้องการลงทุนและรับความผันผวนและรับผลตอบแทนในลักษณะไหน ก. ไม่ต้องการความผันผวน ไม่ต้องการขาดทุน และพอใจที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ ข. รับความผันผวนได้บ้างนิดหน่อย เพื่อผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ต้องการขาดทุน ค. รับความผันผวนได้บ้างนิดหน่อย เพื่อผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ระยะสั้นขาดทุนได้แต่ระยะปานกลางขอให้เป็นบวก ง. รับความผันผวนได้ ผลตอบแทนติดลบในบางช่วงได้ คาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้น จ. รับความผันผวนได้สบายมาก ขอให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง ในระยะยาว

63 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
เฉลย ข้อ ก ข ค ง จ. 4 ข้อ ก ข ค ง จ. 0 ข้อ ก ข ค ง จ ฉ. 6 ข้อ ก ข ค ง จ. 0 ข้อ ก ข ค ง จ. 5 ข้อ ก ข ค ง จ. 5 ข้อ ก ข ค ง จ. 5

64 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
คะแนนตั้งแต่ 0 - 9 คุณไม่ชอบความเสี่ยงเลย หรือคุณมีความสามารถในการ รับความเสี่ยงได้น้อย เนื่องจากภาระทางการเงิน หรือเนื่องจากคุณอาจจะมีอายุมากแล้ว การลงทุนที่แนะนำ : เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น การฝากเงินธนาคาร และซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีความเสี่ยงน้อย นโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียง : นโยบายการลงทุนลำดับที่ 1 - ตราสารหนี้ระยะสั้นภาครัฐ สถาบันการเงิน วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ย และมีความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำ นโยบายการลงทุนลำดับที่ 2 - ตราสารหนี้ วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ย และบางส่วนจากกำไรส่วนเกินทุนจากตราสารหนี้ 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

65 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
คะแนนตั้งแต่ คุณรับความเสี่ยงได้ปานกลาง อาจจะเป็นเพราะว่าภาระทางการเงินไม่สูงมาก หรือมีเงินออมมากพอสมควร หรือมีเงินออมไม่สูงมาก แต่อายุยังน้อย การลงทุนที่แนะนำ : ควรลงทุนแบบผสม เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท โดยลงทุนทั้งหุ้นและ ตราสารหนี้โดยอาจจะมีสัดส่วนในหุ้นไม่มากนัก นโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียง : นโยบายการลงทุนลำดับที่ 3 - ผสม หุ้นไม่เกินร้อยละ 10 วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรส่วนเกินทุนจากตราสารหนี้และตราสารทุน 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

66 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
คะแนนตั้งแต่ 23 ขึ้นไป คุณรับความเสี่ยงได้มากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะว่าภาระทางการเงินเหลือน้อย หรือมีความมั่งคั่งโดยรวมมากพอสมควร การลงทุนที่แนะนำ : ควรลงทุนแบบผสม เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท โดยลงทุนทั้งหุ้น และตราสารหนี้ โดยมีสัดส่วนในหุ้นได้มากขึ้น นโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียง : นโยบายการลงทุนลำดับที่ 4 - ผสม หุ้นไม่เกินร้อยละ 25 วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรส่วนเกินทุนจากตราสารหนี้และตราสารทุน นโยบายการลงทุนลำดับที่ 5 - ผสม หุ้นและ FIF ไม่เกินร้อยละ 25 วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรส่วนเกินทุนจากตราสารหนี้และ ตราสารทุนและมีการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

67 คุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ?
คะแนนตั้งแต่ 23 ขึ้นไป คุณรับความเสี่ยงได้มากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะว่าภาระทางการเงินเหลือน้อย หรือมีความมั่งคั่งโดยรวมมากพอสมควร การลงทุนที่แนะนำ : ควรลงทุนแบบผสม เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท โดยลงทุนทั้งหุ้น และตราสารหนี้ โดยมีสัดส่วนในหุ้นได้มากขึ้น นโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียง : นโยบายการลงทุนลำดับที่ 6 - ตราสารทุน วัตถุประสงค์การลงทุน  ต้องการผลประโยชน์ในรูปเงินปันผล และกำไรส่วนเกินทุนจากตราสารทุน 6 5 4 3 2 1 สูง ต่ำ ระดับความเสี่ยง การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

68 ตัวอย่าง รูปแบบการเลือกแผนการลงทุนในอนาคต ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 คน เลือก 1 แผนการลงทุน น้อย มาก ความเสี่ยง 5. ผสม หุ้น และ FIF ไม่เกิน 25% 1. ตราสารหนี้ระยะสั้น ภาครัฐ สถาบันการเงิน 2. ตราสารหนี้ 3. ผสม หุ้นไม่เกิน 10% 4. ผสม หุ้นไม่เกิน 25% 6. ตราสารทุน 100% 100% ≥ 65% ≤ 35% ≥ 45% ≤ 25% ≤ 30% ความเสี่ยง นโยบาย การลงทุน ≤ 30% ≤ 30% ≤ 10% ≥ 45% น้อย ≤ 5% ≥ 60% ≤ 25% แผนการลงทุน 1 100% แผนการลงทุน 2 100% 100% แผนการลงทุน 3 100% แผนการลงทุน 4 100% แผนการลงทุน 5 100% แผนการลงทุน 6 60% มาก แผนการลงทุน 7 DIY 40% แผนการลงทุน 8 DIY 50% 50%

69 แนวทางการตัดสินใจเลือกกองทุน
รู้จักตัวเอง ตัดสินใจภายใต้ระดับการยอมรับความเสี่ยงตัวเอง รู้จักนโยบายการลงทุน ติดตามอย่างเข้าใจ

70 ช่องทางการตรวจสอบยอดเงินกองทุนของตนเอง
ผ่านคณะกรรมการกองทุน ผ่านช่องทาง IVR Call Center ผ่านทาง website IVR Call Center และ Website สมาชิกต้องมี USER NAME และ PASSWORD

71 การตรวจสอบข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วิธีที่ 1 : ตรวจสอบผ่าน 1.1 ไปที่ เลือกคลิก Provident fund คลิก Provident Fund

72 1.2 กรอกรหัสประจำตัวและรหัสผ่าน กด Submit
เป็นรหัสประจำตัวและรหัสผ่านที่ระบุใน เอกสารแจ้งรหัสการตรวจสอบข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ท่านทำเอกสารดังกล่าวหาย โปรดดูข้อมูลหน้าสุดท้าย  Login  Password

73 1.3 ข้อมูลเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของท่านจะแสดงตามข้อมูลด้านล่างนี้
ตรวจสอบยอดเงินกองทุนฯของท่าน ได้ที่นี่ ทั้งเงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์ และยอดเงินรวม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

74 ตัวอย่าง 31 ธันวาคม 2556 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เค มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายพัฒนา มีสุข 2556

75 วิธีที่ 2 : ตรวจสอบผ่านทาง TSD Call Center
หมายเลข กด 2 - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กดรหัสประจำตัวและรหัสผ่าน เป็นรหัสประจำตัวและรหัสผ่านที่ระบุใน เอกสารแจ้งรหัสการตรวจสอบข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ท่านทำเอกสารดังกล่าวหาย โปรดดูข้อมูลที่หน้าสุดท้าย ระบบอัตโนมัติจะแจ้งข้อมูลยอดเงินกองทุนให้ท่านทราบ

76 ในกรณีที่ท่านลืมรหัสประจำตัวหรือรหัสผ่าน
กรุณาติดต่อ TSD Call Center หมายเลข กด 0 - ติดต่อเจ้าหน้าที่ กรุณาแจ้งชื่อ – นามสกุล ของท่าน และชื่อกองทุนกับเจ้าหน้าที่ Call Center TSD จะจัดส่งเอกสารแจ้งรหัสประจำตัวและรหัสผ่านใหม่มาทางไปรษณีย์ โดยส่งถึงคณะกรรมการกองทุน ภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ท่านติดต่อ คณะกรรมการกองทุน จะจัดส่งเอกสารดังกล่าวให้ท่านต่อไป

77 คุณจะอยู่อย่างไรหลังเกษียณ ?

78


ดาวน์โหลด ppt กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google