งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
กรรมการและเลขานุการกองทุนยุติธรรม

2 หลักการพื้นฐาน สิทธิความเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกันจากบริการของรัฐ

3 เป้าหมายทุกส่วนราชการตามกฤษฎีกาการบริหารบ้านเมืองที่ดี
เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

4 เงินรายได้และทรัพย์สินกองทุนยุติธรรม
รับโอน (เดิม) ดอกผล บริจาค รับตาม ม.๘ อุดหนุนรัฐบาล อื่นๆ ไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินของกองทุนไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

5 เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ
การดำเนินคดี ปล่อยตัวชั่วคราว ถูกละเมิดผลกระทบถูกละเมิด ให้ความรู้กฎหมาย บริหารกองทุน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ ประจำจังหวัด/กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมการฯ ผู้ถูกละเมิด คณะอนุกรรมการ ให้ความรู้ทางกฎหมาย คณะกรรมการ กองทุนยุติธรรม

6 “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ”
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๕๙ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” ในการดำเนินคดีในราชอาณาจักรที่เกี่ยวกับ... การยื่นคำร้อง ฟ้องคดี ดำเนินคดี ต่อสู้คดี บังคับคดี และ การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

7 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๕๙ “ทนายความ” ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ และได้ขึ้นบัญชีไว้กับกองทุน (๑)มีสัญชาติไทย (๒)มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ (๓)เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความตาม กฎหมายว่าด้วยทนายความ และเป็นทนายความ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี (๔)มีประสบการณ์การว่า ความรวมทุกประเภทคดีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ คดี (๕)เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลด ออก หรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน (๙) ไม่ เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๐) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นทนายความกองทุนยุติธรรม (๑๑) ไม่ เป็นผู้เคยถูกสอบสวนคดีมรรยาททนายความและถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ

8 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. ๒๕๕๙ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม หรือ หน่วยงานในจังหวัดที่สังกัด กระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวง ยุติธรรมมอบหมาย “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ ของกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย

9 “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. ๒๕๕๙ “ประธาน” หมายความว่า ประธานอนุกรรมการให้ความ ช่วยเหลือ หรือประธานอนุกรรมการ ให้ความช่วยเหลือประจำ จังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการให้ความ ช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการ ให้ความช่วยเหลือประจำ จังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง “เลขานุการ” หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ ความช่วยเหลือ หรือเลขานุการ คณะอนุกรรมการให้ความ ช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง

10 “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. ๒๕๕๙ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” หมายความว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ เป็นผู้ถูกคุมขังหรือจะถูกคุมขัง ในคดีอาญา หรือกรณีอื่นใด “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม และ หน่วยงานในจังหวัดที่สังกัด กระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวง ยุติธรรมมอบหมาย “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของ กระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย

11 ตนเอง การยื่นคำขอ มอบอำนาจผู้ใดก็ได้ ยื่นที่
ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ สามีหรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสเป็นผู้ยื่นคำขอแทน มอบอำนาจผู้ใดก็ได้ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือให้บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างของบุคคลดังกล่าว ยื่นที่ สำนักงาน ทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่น ผ่านส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือส่วนราชการอื่น เมื่อส่วนราชการนั้นได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้นำส่งสำนักงาน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

12 สำนักงานที่รับผิดชอบ
คำขอทั่วไป :: ให้สำหนักงานที่เป็นภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ยื่น เป็นผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าหน้าที่อาจส่งคำขอไปยัง สำนักงานอื่นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีก็ได้ คำขอที่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ :: ให้สำนักงานที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรืออาจให้สำนักงานที่เป็น ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ยื่นคำขอเป็นสำนักงาน ที่รับผิดชอบก็ได้

13 การดำเนินการ เจ้าหน้าที่รับคำขอ การพิจารณา
ตรวจเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องประกอบการพิจารณา เอกสารยังไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน การพิจารณา เจ้าหน้าที่ประเมินเบื้องต้น หากพบปัญหาความเดือดร้อนที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือประสานส่งต่อตามความจำเป็นแก่กรณี อาทิ การรักษาพยาบาล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การหาที่พักพิงชั่วคราว เป็นต้น สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ

14 การให้ความช่วยเหลือ (๑) ค่าจ้างทนายความ (๒) ค่าที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายในการดำเนินคดี หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (๓) ค่าฤชาธรรมเนียม (๔) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี เช่น ค่าตรวจพิสูจน์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการสอบแนวเขตรังวัดที่ดิน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศหรือทางดาวเทียม การอ่าน แปล ตีความ หรือวิเคราะห์ภาพถ่าย (๕) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร


ดาวน์โหลด ppt กองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google