งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทบทวน กฎหมายอาญาภาคความผิด 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทบทวน กฎหมายอาญาภาคความผิด 2"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทบทวน กฎหมายอาญาภาคความผิด 2

2 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ การกระทำ องค์ประกอบภายนอกของความผิด องค์ประกอบภายในของความผิด การกระทำสัมพันธ์กับผล 2. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด เช่น ป้องกัน, หลักความยินยอม 3. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ เช่น จำเป็น, การกระทำของบุคคลที่กฎหมายยกเว้นโทษ (เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี, สามีภรรยาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

3 ลักทรัพย์ ม.334 องค์ประกอบภายนอก 1. ผู้ใด
2. เอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป องค์ประกอบภายใน = โดยทุจริต

4 คำว่า “เอาไป” 1. เอาไป = แย่งการครอบครอง (ทรัพย์นั้นจะต้องอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น) - ทรัพย์สินหาย (ลักทรัพย์/ยักยอก) 2. ต้องมีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไป - การพาทรัพย์เคลื่อนที่ไป Vs. การแยกทรัพย์ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ 3. ต้องเป็นการเอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์

5 แย่งการครอบครอง = ผู้ครอบครองไม่เต็มใจมอบการครอบครองให้
ดังนั้น ถ้าผู้ครอบครองเต็มใจมอบให้ แม้ทรัพย์จะไม่ได้เป็นของผู้ที่มอบให้ การ กระทำก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ฎ.1376/2522) เช่น แม่ของจำเลยเป็นผู้ครอบครองประตู ได้อนุญาตให้จำเลยนำประตูไปติดที่บ้าน ของจำเลย แม้ประตูนั้นจะเป็นของผู้เสียหาย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจำเลย ไม่ได้แย่งการครอบครอง

6 การครอบครอง ≠ การยึดถือ (เพื่อคนอื่น)
- ผู้ครอบครองเอาทรัพย์นั้นไป = ยักยอก - ผู้ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไป = ลักทรัพย์ (เพราะความครอบครองไม่ได้อยู่ที่ผู้ยึดถือ) ดังนี้ แขกที่เข้าพักในโรงแรม ≠ ผู้เช่าบ้าน - แขกที่เข้าพักในโรงแรม ไม่เป็นผู้ครอบครองสิ่งต่างในห้องที่พัก - ผู้เช่าบ้านเป็นผู้ครอบครองสิ่งต่างๆ ในบ้านที่เช่า สรุป : ถ้าการครอบครองอยู่ที่ผู้กระทำ ไม่มีทางผิด “ลักทรัพย์” **จะเป็นการครอบครองได้ จะต้องมีการยึดถือเพื่อตน**

7 จะมีสิทธิครอบครองได้ ต้องมีการยึดถือเพื่อตน
ฎ.1104/2545 จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่ รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า แต่เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหาย และอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอน เงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอน เงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอก สำคัญ : ทรัพย์ที่จะถูกลักต้องมีผู้อื่นครอบครองอยู่ ดังนี้ แม้จำเลยยึดถือทรัพย์ แต่ไม่ได้ยึดถือเพื่อตน จึง ไม่มีสิทธิครอบครอง เมื่อเอาเงินไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง มิใช่ยักยอก

8 เจตนายึดถือเพื่อตน ฎ.5838/2548 รถยนต์ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยซ่อมได้อยู่กับจำเลยนานถึง 1 ปีเศษ ถือได้ ว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นไว้ จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้ บุคคลอื่นหรือนำไปขาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็น ความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก สังเกต : จำเลยมีเจตนายึดถือเพื่อตน เพราะมีสิทธิยึดหน่วงรถไว้ จำเลยจึงมีสิทธิครอบครอง เมื่อเอาไปจึง เป็นความผิดฐานยักยอก

9 วัตถุที่ลักต้องเป็นทรัพย์
“ทรัพย์” หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง อันอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ (ปพพ.ม.137) - อันอาจมีราคา : คุณค่าทางทรัพย์สินเงินทอง/คุณค่าทางจิตใจก็ได้ ** เช่น ขายเลือด, บริจากศพ (เป็นทรัพย์ต่อเมื่อมีผู้ถือเอา) เช่น ถ้านำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่า (CD) ไปลอกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไป ≠ ลักทรัพย์ เพราะ ข้อมูลไม่ใช่วัตถุมีรูปร่าง จึงไม่ถือเป็นทรัพย์ (เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่อง คอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล : ฎ.5161/2547) ดังนั้น ถ้านำแผ่นบันทึกข้อมูลของผู้อื่นไป = ลักทรัพย์ (เอาไป โดยทุจริต)

10 เป็นทรัพย์ของผู้อื่น
- เข้าไปขโมยรังนกในถ้ำที่ผู้อื่นได้รับสัมปทาน หากผู้ได้รับสัมปทานยังไม่ได้เข้าถือเอา ก็ถือ ว่ายังไม่ได้กรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ.ม.1318 เมื่อจำเลยมาเก็บรังนกไป ≠ ลักทรัพย์ (ฎ.2763/2541) - ปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ ไม่ทำให้ต้นไม้นั้นตกเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็น กรรมสิทธิของผู้ปลูก (ฎ.7193/2547) > เว้นแต่ มีการสละสิทธิ์ดังกล่าวนั้นไว้ (แสดงเจตนาสละกรรมสิทธิ์ของตน) - แม้เป็นการลักต่อจากผู้ที่ลักทรัพย์มาอีกทอดหนึ่ง ก็ถือเป็นลักทรัพย์ เพราะผู้ที่ลัก (คนแรก) มีสิทธิครอบครองดูแลทรัพย์นั้นไว้เพื่อคืนแก่ผู้เสียหาย (ฎ.1785/2554)

11 เป็นทรัพย์ที่มีผู้อื่นครอบครองอยู่
ฎ.3142/2557 แม้จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของรวมในสวนยางพาราที่เกิด เหตุ แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยยอมให้ผู้เสียหายครอบครองและได้ประโยชน์เพียงผู้เดียว การที่ จำเลยจ้าง ส. เข้าไปกรีดยางพาราจะเอาน้ำยางพาราไปเพียงผู้เดียว จึงเป็นการแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง ย่อมเป็นการทุจริตแล้ว เมื่อน้ำ ยางพาราที่กรีดยังอยู่ในถ้วยรองน้ำยางยังไม่ได้ถูกนำไป จึงเป็นเพียงพยายามกระทำ ความผิดฐานลักทรัพย์

12 ลักทรัพย์สำเร็จ v. พยายามลักทรัพย์
ลักทรัพย์สำเร็จ : ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการเคลื่อนย้าย ทรัพย์ที่ลัก (พาเอาทรัพย์นั้นไป) และทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำผิดแล้ว พยายามลักทรัพย์ : แม้ทรัพย์นั้นเคลื่อนที่แล้ว แต่ตราบใดที่ผู้กระทำผิดยังไม่อาจ เข้ายึดถือทรัพย์ที่ลักนั้นได้ ถือว่าการแย่งการครอบครองยังไม่สำเร็จ เป็นเพียงพยายามลัก ทรัพย์

13 พยายามลักทรัพย์ ฎ /2555 คนร้ายได้เคลื่อนย้ายกล่องกระดาษจากบริเวณที่ผู้เสียหายเก็บไว้ใน โกดังขึ้นรถบรรทุกหกล้อ แต่รถบรรทุกหกล้อยังอยู่ภายในโรงงานของผู้เสียหายซึ่งมีพนักงานรักษาความ ปลอดภัยดูแลอยู่ด้วย ทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ยินยอมให้ บ. นำกล่องกระดาษออกไป จึงถือว่า การแย่งกรรมสิทธิ์ในกล่องกระดาษของ บ. ยังไม่สมบูรณ์ ขั้นตอนการลักทรัพย์ของ บ. ยังกระทำไม่แล้ว เสร็จ การนำรถบรรทุกดังกล่าวออกไปจากโรงงานผู้เสียหายเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องเกี่ยวพันกับการลัก ทรัพย์ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองเข้าไปพูดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทผู้เสียหายบริเวณ ประตูทางออกเพื่อให้ บ. นำรถบรรทุกกล่องกระดาษของผู้เสียหาย ถือเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกในขณะที่ บ. ลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อ บ. ไม่สามารถนำกล่องกระดาษออกไปได้ การกระทำของ บ. จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิด ฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์

14 ลูกจ้างเขียนใบเบิกสินค้าเป็นเท็จเพื่อลักทรัพย์ของนายจ้าง เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่จำเลยยังไม่ได้ยึดถือเอาทรัพย์ เป็นพยายามลักทรัพย์นายจ้าง ฎ.2480/2535 แม้จำเลยเป็นผู้เขียนใบเบิกสินค้าทั้ง 5 รายการ และเบิกสินค้า โดยไม่มีใบสั่งซื้อ 2 รายการ โดยทุจริตเพื่อลักทรัพย์อันเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานลัก ทรัพย์แล้วก็ตาม แต่เมื่อสินค้านั้นยังคงอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การกระทำของ จำเลยดังกล่าว จึงเป็นเพียงการลงมือกระทำผิดฐานลักทรัพย์แล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เท่านั้น อันเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง

15 การที่ผู้กระทำความผิดเข้าไปในเคหสถาน/อาคารเก็บรักษาทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อลักทรัพย์ที่อยู่ในสถานที่นั้น แม้ยังไม่ได้แตพต้องตัวทรัพย์ ก็ถือว่าใกล้ชิดกับผลสำเร็จแล้ว เป็นพยายามลักทรัพย์ ฎ.490/2542 จำเลยได้เข้าไปในที่เก็บรักษาทรัพย์เพื่อสำรวจทรัพย์ที่จะลักเอาไป และกำลังนำรถยนต์บรรทุกมาขนทรัพย์ ที่จะลักโดยเฉพาะลวดทองแดงที่จำเลยจะลักเอาไป นั้นวางกองไว้บริเวณที่สามารถเข้าไปยกเอาไปได้ แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ได้แตะต้องตัว ทรัพย์แต่นับว่าใกล้ชิดพร้อมที่จะเอาไปได้ในทันทีทันใด การกระทำ ของจำเลยอยู่ในขั้นลงมือ กระทำความผิดแล้ว เพียงแต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะมีเจ้าพนักงานตำรวจมาพบ จำเลย ก่อนที่จำเลยจะลักทรัพย์ดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลัก ทรัพย์

16 แต่ถ้าจำเลยเคลื่อนย้ายทรัพย์ออกจากที่เคยวางแล้ว แม้ยังไม่ได้เอาออกจากสถานที่เก็บ ก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว ฎ.413/2552 จำเลยยังมิได้พาเตาอบไฟฟ้าของผู้เสียหายออกไปพ้นนอก ห้างสรรพสินค้าของผู้เสียหาย แต่ก็ได้เคลื่อนย้ายเตาอบไฟฟ้าออกจากจุดที่ผู้เสียหายเก็บ หรือวางทรัพย์นั้นไว้ ทั้งยังผ่านจุดที่ลูกค้าจะต้องชำระค่าสินค้าแก่พนักงานเก็บเงินไปแล้ว จึง ถือได้ว่าจำเลยพาทรัพย์ของผู้เสียหายเคลื่อนที่ไปแล้วโดยมีเจตนาทุจริต การกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ

17 ยักยอก = ต่างกับความผิดฐานลักทรัพย์ตรงที่ ต้องมีการ “ส่งมอบ” การครอบครองให้แล้ว และมี การ “เบียดบัง” เอาทรัพย์นั้นไป “โดยทุจริต” สำคัญ : ดูว่าการครอบครองอยู่ที่ใคร เช่น คนเฝ้าสวนสัก ลอบตัดไม้สักไปขาย

18 ลักทรัพย์ v. ยักยอก ลักทรัพย์ : ต้องเป็นการแย่งการครอบครองจากผู้อื่น แสดงว่าทรัพย์นั้นต้องมิได้อยู่ในความ ครอบครองของจำเลย การที่จำเลยยึดถือทรัพย์นั้นไว้ ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นการยึดถือไว้เพื่อตนเองหรือ ยึดถือแทนผู้อื่น ถ้าจำเลยยึดถือเพื่อตน ทรัพย์นั้นก็อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไป (เบียดบัง) การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานยักยอก แต่ถ้าจำเลยยึดถือทรัพย์นั้นแทนผู้อื่น ถือว่าทรัพย์นั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยเอาทรัพย์นั้นไป เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

19 ยึดถือแทนบุคคลอื่น เช่น การที่ลูกจ้างยึดถือทรัพย์ของนายจ้าง ก็เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เท่านั้น เป็นการยึดถือไว้แทนนายจ้าง นายจ้างยังมีอำนาจควบคุมสั่งการทรัพย์นั้น ทรัพย์นั้น จึงยังอยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ถ้าลูกจ้างเอาทรัพย์นั้นไป ย่อมเป็นการแย่งการ ครอบครองทรัพย์จากนายจ้าง เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง มิใช่ยักยอก (ฎ.12333/2555) สังเกต : การมีสิทธิครอบครอง คือ การมีอำนาจเหนือทรัพย์ในขณะนั้น (อำนาจในการ ครอบครองดูแล)

20 ทรัพย์สินหาย = ทรัพย์สินหายเป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของหรือผู้ ครอบครองโดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องการสละกรรมสิทธิ์ ฎ.1363/2503 (ญ.) ** การที่เจ้าของกำลังติดตามเอาคืนทรัพย์นั้นอยู่ = ทรัพย์นั้นยังไม่ได้ขาดจากการครอบครองของผู้ที่เป็น เจ้าของ ผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปจึงผิด “ลักทรัพย์” ทรัพย์สินที่ยังอยู่ในวิสัยที่เจ้าของยังสามารถติดตามเอาคืนได้ ถือว่าความครอบครองยังอยู่กับ เจ้าของจนกว่าจะเลิกติดตาม หรือพ้นปกติวิสัยที่จะติดตามเอาคืนได้ หากผู้เสียหายไม่ทราบว่าทรัพย์ตกหายที่ใด ก็เป็นทรัพย์สินหาย (ฎ.775/2506)

21 ลักทรัพย์ทรัพย์สินหาย v. ยักยอกทรัพย์สินหาย
- ลักทรัพย์ = แย่งการครอบครอง - ยักยอก = ครอบครองแล้วเบียดบังไป (เป็นการเก็บเอาทรัพย์สินหายไปเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องแย่งการครอบครอง) เมื่อทรัพย์สินหายเป็นทรัพย์ที่หลุดจากความครอบครองของเจ้าของไปโดยไม่ได้ตั้งใจ หากเจ้าของ - ยังติดตามเอาคืนอยู่ = ลักทรัพย์ ทรัพย์สินหาย - ไม่ได้ติดตามเอาคืน = ยักยอก ทรัพย์สินหาย - เก็บโดยรู้/ควรรู้ว่าเจ้าของกำลังติดตาม/จะติดตามเพื่อเอาทรัพย์คืน = ลักทรัพย์ - เก็บโดยไม่รู้/ไม่มีเหตุอันควรรู้ = ยักยอก สำคัญ : การรู้/ไม่รู้ว่าเจ้าของติดตามเอาคืน ก็คือ การดูว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นไปจากความครอบครองของ เจ้าของหรือไม่นั่นอง

22 ต้องเป็นการแย่งการครอบครอง
= เข้าครอบครองทรัพย์สินโดยเจ้าของทรัพย์เดิมไม่ได้อนุญาต = ส่งมอบเพราะการข่มขู่ สำคัญผิด หรือหลอกลวง - ส่งมอบเพราะการข่มขู่ = ชิงทรัพย์ - ส่งมอบเพราะสำคัญผิด = ยักยอก (ม.352 ว.สอง) - ส่งมอบเพราะถูกหลอกลวง = ฉ้อโกง (หลอกเอากรรมสิทธิ์) สำคัญ : หลอกเอาการครอบครอง, หลอกเอาการยึดถือ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะ จึง เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

23 ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย v. ฉ้อโกง
- การหลอกเอากรรมสิทธิ์ = ฉ้อโกง - การหลอกเอาสิทธิครอบครอง = ลักทรัพย์ (เพราะลักทรัพย์ คือ การแย่งการครอบครอง) หากส่งมอบการครอบครองให้ผู้กระทำผิด แล้วผู้กระทำเอาไป = ยักยอก เพราะไม่ได้ แย่งการครอบครอง หากเป็นการส่งมอบเพราะถูกหลอก จะเป็นลักทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องดูว่าเป็นการ.. - ส่งมอบการครอบครองเพราะถูกหลอกเอากรรมสิทธิ์ หรือ - ส่งมอบการครอบครองเพราะถูกหลอกเอาการครอบครอง

24 ฉ้อโกง ความผิดฐานฉ้อโกง มีการกระทำ 2 ส่วน คือ
1. การหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ 2. การปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง สำคัญ : ต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีต/ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนี้ หากเป็นคำมั่น/เหตุการณ์ในอนาคต ไม่ผิดฉ้อโกง

25 ฉ้อโกง v. ผิดสัญญาในทางแพ่ง
- ฉ้อโกง คือ การที่ผู้เสียหายส่งมอบทรัพย์สินให้จำเลยเพราะถูกหลอกลวง (ข้อเท็จจริงใน อดีต/ในปัจจุบัน) = ใช้อุบายเพื่อให้ผู้อื่นส่งมอบกรรมสิทธิ์ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงที่หลอกลวง/ปกปิดเป็นข้อเท็จจริงในอนาคต ไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกง แต่อาจเป็นความผิดฐานผิดสัญญาในทางแพ่งได้ สำคัญ : ความผิดฐานฉ้อโกง ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ ทั้งนี้ ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ คือ โดยทุจริต

26 การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง ฎ.6892/2542 (ญ.) การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้ง โต๊ะของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาท ออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทน แล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย จึงมิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไป โดยพลการโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของ ผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าโคมไฟตั้งโต๊ะราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของ ผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางใหจำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานฉ้อโกง

27 มีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น
ฎ.3935/2553 จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของ ผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของ ผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มี เจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็น ความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

28 ความแตกต่างระหว่างฎีกา ฎ.6892/2542 (ญ.) v. ฎ.3935/2553
สรุป : ทั้งความผิดฐานลักทรัพย์และความผิดฐานฉ้อโกง ทำให้ผู้กระทำความผิดได้ทรัพย์ไปจาก ผู้ครอบครองเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะการได้มาแตกต่างกัน กล่าวคือ ในความผิดฐานลักทรัพย์ผู้กระทำผิดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ไม่ยินยอม ส่วนความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ไปโดยความยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง โดยความยินยอมดังกล่าวเกิดจากการถูกหลอกลวง

29 ความแตกต่างระหว่างฎีกา ฎ.6892/2542 (ญ.) v. ฎ.3935/2553
- ฎ.6892/2542 (ญ.) การที่จำเลยเอาป้ายราคาสินค้าที่มีราคาสูงกว่าออก แล้วเอาป้ายราคาสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าไป ติดแทน เพื่อจะได้ซื้อสินค้านั้นในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ถือว่าผู้ขายยินยอมมอบสินค้าให้จำเลย เพราะถูกหลอกลวง เป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ลักทรัพย์ - ฎ.3935/2553 การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ลงในลังน้ำปลา ทำให้พนักงานเก็บเงินเข้าใจว่าทรัพย์ที่ขาย และส่งมอบทรัพย์ให้แก่จำเลยเป็นน้ำปลา ไม่ได้เจตนาส่งมอบสุราต่างประเทศให้จำเลย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่า จำเลยได้สุราต่างประเทศไปโดยความยินยอมของผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (โดยใช้กลอุบาย)

30 หลอกลวงให้ส่งมอบการยึดถือ แล้วเอาไป ผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเป็นการแย่งการครอบครอง
ฎ.58/2546 ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋ง รถจักรยานยนต์ล้มทับขา ผู้เสียหายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมามีเจตนาจะลักรถจักรยานยนต์ของ ผู้เสียหายมาแต่แรก จึงใช้อุบายทำทีเข้าช่วยเหลือหลอกลวงว่าจะพาไปส่งบ้าน ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับ รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์มีผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายตามกันไป การลัก ทรัพย์ยังไม่ขาดตอน แม้ว่าเมื่อถึงบริเวณทางแยก จำเลยที่ 2จะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายลับ สายตาไปแล้ว แต่ผู้เสียหายยังไม่ละการติดตามโดยบอกจำเลยที่ 3 ให้หยุดรถเพื่อแจ้งศูนย์วิทยุติดตาม จำเลยที่ 2 อีกทางหนึ่ง ทั้งคนร้ายคือจำเลยที่ 3 ก็ยังอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 3 ใช้กำลังประทุษร้าย โดยใช้ศอกตวัดกระแทกผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์ก็เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพา ทรัพย์นั้นไป และกรณีไม่ใช่การกระทำของจำเลยที่ 3 โดยลำพัง เพราะพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ขับ รถจักรยานยนต์ย้อนกลับมายังจุดที่นัดหมายกันไว้ ย่อมเป็นการแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วม กระทำด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

31 การลักทรัพย์ : ต้องมีการพาทรัพย์นั้นไป
ฎ.548/2548 กระบือ ๑๓ ตัว หายไปจากทุ่งเลี้ยงตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงวัน น. พยานโจทก์ไปตามคืนมาได้ 11 ตัว เมื่อเวลาประมาณ 17 นาฬิกา แสดงว่ากระบือ 2 ตัว สูญหายไป ในเวลากลางวัน แม้จะมีการขนถ่ายขึ้นรถยนต์บรรทุกของ ณ ในตอนค่ำ ก็เป็นเวลาหลังจากการลัก กระบือสำเร็จลงแล้ว เหตุจึงมิได้เกิดในเวลากลางคืน การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ สำคัญ : ลักทรัพย์เป็นความผิดสำเร็จเมื่อพาทรัพย์เคลื่อนที่ไป เมื่อทรัพย์เคลื่อนที่ไปตั้งแต่ตอน กลางวัน ความผิดสำเร็จลง แม้จะพาเคลื่อนที่ต่อไปจนถึงเวลากลางคืน ก็ไม่เป็นความผิดฐานลัก ทรัพย์เวลากลางคืน เพราะลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง แต่เป็นความผิดเมื่อพาทรัพย์เคลื่อนที่ไป

32 ลักทรัพย์ : ต้องเป็นการเอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์
ฎ.8192/2553 จำเลยมาทวงหนี้จากผู้เสียหายโดยอ้างว่าเป็นหนี้ค่าอาหารบิดาจำเลย แต่ ผู้เสียหายไม่ยอมให้ จำเลยจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและใช้อำนาจบังคับโดยพลการเอาเงินของ ผู้เสียหายไป แม้เงินที่เอาไปจะมีจำนวนเท่าที่ผู้เสียหายเป็นหนี้บิดาจำเลย แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิ์ใดๆ โดยชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเอาเงินของผู้เสียหายไปโดยทุจริต การ กระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ สำคัญ : แม้จะเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อต่อรองให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ ก็ถือว่าเป็น การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ การที่เจ้าหนี้ใช้กำลังบังคับลูกหนี้ให้ชำระหนี้โดยพละการ จึงเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ทรัพย์สินที่เอาไปจะไม่เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระ ก็นับเป็นการ แสดงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองแล้ว

33 บุกรุก แบ่งการกระทำออกเป็น 2 ประการ คือ
1. การกระทำอันเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์ 2. การกระทำอันเป็นการรบกวนการครอบครอง ทั้งนี้ การกระทำทั้ง 2 ประการนี้ จะต้องเป็นการกระทำต่อสิทธิครอบครองหรือ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุขด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องได้ความว่า โจทก์ เป็นเจ้าของ/ผู้ครอบครองในขณะกล่าวหาจำเลยว่าเป็นผู้กระทำความผิด

34 แม้ไม่มีการเข้าไป ก็เป็นความผิดฐานบุกรุกได้
ฎ.1/2512 แม้ห้องพิพาทจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลย แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครอง อสังหาริมทรัพย์นั้นและยังโต้แย้งสิทธิตามสัญญาเช่าอยู่ถ้าจำเลยเข้าไปกระทำการใดๆ อัน เป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยปกติสุข จำเลยก็มีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 362 ได้ การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องที่โจทก์ครอบครองในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดห้องไว้ ทำให้โจทก์เข้าอยู่ในห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจการครอบครอง ของโจทก์ถือได้ว่าเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยปกติสุขตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 362 แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 29/2511)

35 การกระทำอันเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์/การครอบครอง
= ต้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษ กล่าวคือ เข้าไปเพื่อถือการครอบครอง หรือเพื่อรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน - หากไม่มีเจตนาพิเศษนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก

36 ขุดหลุมล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นที่อยู่ติดต่อกัน เป็นการรบกวนการครอบครองที่ดิน และทำให้ที่ดินเสียหาย ฎ.10588/2553 จำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ทาง ทิศใต้ คือ ผนังห้องเลขที่ 264 และ 266 ซึ่งตรงกับแนวกำแพงตึกของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น แนวเขตที่แน่นอนชัดเจน แต่จำเลยที่ 1 กลับให้จำเลยที่ 2 ขุดหลุมล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาท ของโจทก์ร่วมทั้งสาม ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำ โดยเจตนารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ร่วมทั้งสาม ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 4 โดย ปกติสุข และทำให้ที่ดินดังกล่าวได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็น ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ตาม ปอ.ม.362, 358

37 การกระทำใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข
คำถาม : เจ้าของกรรมสิทธิ์จะมีความผิดได้หรือไม่ - คำว่า “การกระทำใดๆ” หากผู้ให้เช่า (เจ้าของกรรมสิทธิ์) เอาไม้ไปตอกปิดประตูไม่ให้ผู้เช่าเข้าไปในบ้านเช่า ผู้ให้เช่ามีความผิดฐานกระทำการรบกวนการครอบครองของผู้เช่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากในสัญญาเช่าเขียนไว้อย่างชัดเจน ให้อำนาจผู้ให้เช่าในการ กระทำการใดๆ ตามข้อสัญญานั้นได้ การกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก

38 ความผิดฐานบุกรุก เป็นความผิดสำเร็จเมื่อ “เข้าไป”
ฎ.1768/2546 จำเลยเข้าไปปลูกมะพร้าวและสับปะรดในที่ดินพิพาทในเวลา กลางวัน แม้พืชผลที่จำเลยปลูกจะอยู่ในที่ดินพิพาททั้งกลางวันและกลางคืนตลอดมาก็เป็น เพียงผลของการกระทำคือการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) ไม่ได้ สำคัญ : บุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง เป็นความผิดสำเร็จเมื่อ “เข้าไป” การครอบครอง ต่อมาทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นเพียงผลของการบุกรุก เพราะการกระทำที่เป็นความผิด คือ การ “เข้าไป” ไม่ใช่ “ครอบครอง”

39 เข้าไป “กระทำการใดๆ” อันเป็นการรบกวนการครอบครอง
ฎ.2768/2540 จำเลยกระชากลากผู้เสียหายออกมาจากบริเวณที่ผู้เสียหายยืน อยู่ใต้ชายคาบ้านของผู้เสียหาย แม้จำเลยจะยืนอยู่นอกบริเวณบ้านของผู้เสียหาย แต่จำเลย ก็จะต้องเอื้อมมือเข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย เพื่อจับและฉุดกระชากลากตัว ผู้เสียหายออกไป ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข โดยใช้กำลังประทุษร้าย เข้าองค์ประกอบ ความผิดฐานบุกรุก ตาม ม.362 และ ม.365(1) แล้ว

40 ลักทรัพย์ในเคหสถาน v. บุกรุก
- ลักทรัพย์ในเคหสถาน = ต้องเป็นการเข้าไป “ทั้งตัว” - บุกรุก = แม้เพียงเข้าไป “บางส่วน” ก็ถือว่าเป็นการเข้าไป อันเป็นความผิดฐานบุกรุกแล้ว สังเกต : ม.335(8) ใช้ถ้อยคำว่า “ลักทรัพย์ในเคหสถาน...ที่ตนได้เข้าไป..” ดังนี้ จะเป็น ความผิดตามมาตรานี้ได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว สำคัญ : ม.335(8) ต้องเป็นการเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หากได้รับอนุญาต หรือเห็นได้โดย ปริยายว่าเจ้าของสถานที่อนุญาตอยู่ในตัว ดังนี้ ไม่เข้า ม.335(8) + มีเจตนาพิเศษ (โดยทุจริต) ส่วนบุกรุก ต้องเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร + มีเจตนาพิเศษเพื่อรบกวน กรรมสิทธิ์หรือการครอบครอง

41 ลักทรัพย์ในเคหาสถาน ต้องมีการเข้าไป “ทั้งตัว”
ฎ.2138/2537 ถ้อยคำที่ว่า “ที่ตนได้เข้าไป” แห่ง ปอ.ม.335(8) นั้น หมายความว่า ผู้กระทำจะต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว มิใช่เพียงแต่ร่างกายส่วนใดส่วน หนึ่งของผู้กระทำล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถาน เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ยื่นมือผ่านบาน เลื่อนไม้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย แล้วทุบกระต่ายออมสินของผู้เสียหายแล้วเอาเงินไป โดยจำเลยมิได้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดตาม ปอ.ม.335(8)

42 ต้องเป็นการเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
ฎ.5688/2555 การที่ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้ามารีดผ้าภายในบ้านของตน จึงมิใช่การลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม ม.335 (8) แต่ เป็นการลักทรัพย์ตาม ม.334 เท่านั้น

43 สถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะ ม.335(8)
ฎ.5152/2548 สถานที่จอดรถของวิทยาลัยเทคนิคชัยนาทเป็นเพียงสถานที่ซึ่ง ทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการตลอดจน ข้าราชการของวิทยาลัยเท่านั้น มิใช่สถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการใน วิทยาลัยโดยตรง การที่จำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจากบริเวณสถานที่จอดรถ ดังกล่าว จึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 335 (8) วรรคแรก

44 สถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะ ม.335(8)
ฎ.14258/2555 ความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) นอกจากองค์ประกอบความผิดที่ว่าสถานที่ที่ลักทรัพย์ต้องเป็นสถานที่ที่จัดไว้เพื่อ ให้บริการสาธารณะแล้ว ผู้ที่เข้าไปลักทรัพย์ต้องเข้าในสถานที่ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย เมื่อไม่ ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ว่า ในช่วงเวลาเกิดเหตุลักทรัพย์วัดหนองบัวได้หวงห้ามหรือปิด กั้นมิให้ประชาชนซึ่งเข้าไปในวัดหนองบัวเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ การที่จำเลยเข้าไปลักประตูเหล็กพับยืด ในบริเวณที่เกิดเหตุจึงมิใช่เป็นการเข้าไปลักทรัพย์ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไป โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334

45 ศาลาบำเพ็ญกุศลมิใช่สถานบูชาสาธารณะ ม.335(9)
ฎ.9193/2552 แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหาย แต่พระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าอยู่ในสภาพถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัด วางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา รวมทั้งไม่มีเครื่องบูชา จึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูป ดังกล่าวเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยกับพวกร่วมกันลัก พระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหายก็ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญ กุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพ จึงมิใช่เป็นสถานที่บูชาสาธารณะ ตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) การกระทำของ จำเลยคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปและโดยใช้ ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 เท่านั้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรค หนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225.

46 วิ่งราวทรัพย์ องค์ประกอบ 1. ผู้ใดลักทรัพย์ 2. โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
ฉกฉวย : กิริยาอาการที่หยิบหรือจับเอาทรัพย์ไปโดยเร็ว รวมเป็นการกระทำอัน เดียวกับการเอาไป ซึ่งหน้า : ทรัพย์ที่ฉกฉวยอยู่กับ/ใกล้ชิดกับตัวผู้ครอบครองหรือผู้ครอบครองแทน และขณะที่ถูกฉกฉวยนั้นผู้ครองครองรู้สึกตัว หรือเห็นการฉกฉวยเอาทรัพย์นั้นไปด้วย

47 ฉกฉวยโดยซึ่งหน้า ฎ.10976/2554 ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เป็นการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า หมายถึง กิริยาที่หยิบหรือจับเอาทรัพย์ไปโดยเร็วรวมเป็นการกระทำอันเดียวกับการเอาไป และ ขณะที่ถูกเอาทรัพย์ไปผู้นั้นรู้สึกตัวหรือเห็นการฉกฉวยเอาทรัพย์นั้นไปด้วย การที่จำเลยดึงเอา โทรศัพท์เคลื่อนที่จากกระเป๋ากางเกงของเด็กหญิง บ. แล้วเด็กหญิง บ. รู้สึกถึงการถูกดึงจึงใช้มือ จับจนถูกมือของจำเลย จึงอยู่ในความหมายของการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็น ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้องแล้ว

48 โดยซึ่งหน้า ฎ.10344/2550 จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อ น. ไปหยิบสินค้าและ เผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหาย ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนน และเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของ จำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอา ซึ่งหน้า จึงไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

49 ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ≠ เผลอ
ฎ.653/2553 ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 จะต้องเป็นการลัก ทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผ. ทำทีเป็นพูดโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเอาโทรศัพท์ไปในขณะที่ ผู้เสียหายให้บริการลูกค้าคนอื่นอยู่ เป็นการเอาไปในขณะเผลอ มิใช่เป็นการฉกฉวยทรัพย์ไป โดยซึ่งหน้าแต่ประการใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อเหตุ เกิดในเวลากลางคืนและร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) และ 335 (7) ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคสอง ซึ่งมีโทษหนักกว่า ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยหนักขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

50 วิ่งราวทรัพย์ v. ชิงทรัพย์
หากสามารถเล็งเห็นผลได้ว่าจะต้องเกิดบาดแผลได้อย่างแน่นอน ย่อมถือได้ว่ามี เจตนาใช้กำลังประทุษร้ายอยู่ในตัว เช่น กระชากสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท หรือกระชากกระเป๋าขณะสะพายแล่ง

51 ชิงทรัพย์ องค์ประกอบ 1. ผู้ใดลักทรัพย์
2. โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย 3. เจตนาเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือ เอาทรัพย์นั้นไป ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุม

52 ใช้กำลังประทุษร้าย = ม.1(6)
= ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะด้วยใช้แรงกายภาพ หรือด้วยวิธีอื่นใดฯ.. - ต้องมีมูลเหตุจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ม.339 - ไม่จำเป็นต้องกระทำต่อผู้ที่เป็นเจ้าของ/ผู้ครอบครองทรัพย์ จะใช้กำลังประทุษร้ายแก่ใครก็ได้ - ต้องเป็นการกระทำต่อผู้อื่น มิใช่คนร้ายด้วยกัน - การทำร้าย/ขู่ว่าจะทำร้าย ต้องยังไม่ขาดตอนจากการลักทรัพย์ (ยังไม่ยุติ) - การใช้กำลังประทุษร้าย ต้องเป็นการกระทำแก่กายหรือจิตใจ ถ้ากระทำต่อทรัพย์ ไม่เป็นชิงทรัพย์ - ต้องเป็นลักทรัพย์ จึงจะเป็นชิงทรัพย์

53 พยายามชิงทรัพย์ ฎ.8406/2551ขณะที่จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองของ ผู้เสียหายสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองที่อยู่ในมือนั้น จำเลยก็เพียงมุ่งหมายที่จะให้ สร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองหลุดจากคอผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นเพียงแย่งการ ครอบครองเท่านั้น แต่หลังจากสร้อยคอทองคำและกระดูกเลี่ยมทองขาดตกลงที่พื้นแล้ว จำเลยก็ไม่ได้เข้ายึดถือเอาสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทอง อันจะเห็นได้ว่ามีการพา ทรัพย์เคลื่อนที่ไปแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปสำเร็จ จึงเป็นพยายามชิงทรัพย์

54 ชิงทรัพย์ v กรรโชก ฎ.11052/2553 ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติ ของกฎหมายมิได้อยู่ที่จำนวนทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้ไปว่าจะเป็นทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เพราะไม่ว่าคนร้ายจะได้ ทรัพย์สินไปเพียงใด การกระทำความผิดก็เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่ข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีฐานเดิม จากความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 โดยคนร้ายใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าของหรือมีครอบครองทรัพย์นั้น หรือขู่ เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นตามความใน ป.อ. มาตรา 339 (2) โดยการลักทรัพย์กับ การใช้กำลังประทุษร้ายต้องไม่ขาดตอน หรือเป็นการลักทรัพย์ที่ต้องขู่เข็ญให้ปรากฏว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลัง ประทุษร้ายต่อเนื่องกันไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ถูกจำเลยตบหน้าทันทีที่เปิดประตูห้อง เมื่อ ช. ตามเข้าไปปิดประตูห้อง จำเลยก็ล้วงมีดพับออกมาจี้ที่แก้มผู้เสียหายขู่ขอเงินไปซื้อสุรา พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนั้น บ่งชี้ไปในทำนองว่าหากผู้เสียหายขัดขืนไม่ให้เงินก็จะถูกประทุษร้ายต่อเนื่องไปในทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่ามุ่งหมายมาทำ ร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหายโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก ไม่ใช่เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินบางส่วนโดยใช้กำลัง ประทุษร้ายตามที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงชอบแล้ว

55 ขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย v. ข่มขืนใจ
ฎ.2912/2550 จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายโดยกล่าวอ้างแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และขู่ว่าจะยัดยาบ้าให้เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ขู่เข็ญผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญ ว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้จำเลยได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญ อันเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคหนึ่ง ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความจะแตกต่างจากที่โจทก์กล่าวใน ฟ้องก็ตาม แต่การชิงทรัพย์และกรรโชกก็เป็นการขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือ ไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ อันจะเป็นเหตุให้ศาล ต้องยกฟ้อง เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกตามที่ พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง และมาตรา ประกอบมาตรา 225

56 การขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
= การขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อาจเป็นการกระทำด้วยกิริยาหรือวาจา แสดงการ คุกคามผู้เสียหายให้กลัวว่าจะถูกทำร้ายหากไม่ส่งทรัพย์ให้ก็ได้ (ฎ.8790/2554) ในทางตรงกันข้าม แม้จำเลยจะถืออาวุธเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย แต่กลับไม่ได้ใช้อาวุธดังกล่าวขู่ เข็ญหรือแสดงท่าทีให้เห็นว่าเป็นการขู่เข็ญโดยใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหาย ไม่เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้น จะใช้กำลังประทุษร้าย (ฎ.1060/2545, 11865/2554)

57 ชิงทรัพย์ v. กรรโชก - ชิงทรัพย์ : มีฐานความผิดมาจากความผิดฐานลักทรัพย์ (ต้องมีเจตนาพิเศษ “โดยทุจริต”) - กรรโชก : ไม่ต้องมีเจตนาพิเศษ (โดยทุจริต) - คำว่า “ทรัพย์” ในความผิดฐานกรรโชกมีความหมายกว้างกว่าชิงทรัพย์ > กรรโชก : ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน > ชิงทรัพย์ : เฉพาะทรัพย์ที่ “ถือเอาได้” ตาม ม.334 - กรรโชก : ไม่ต้องส่งมอบทันทีทันใด และต้องเป็นความยินยอมที่เกิดจากความกลัวเท่านั้น - ชิงทรัพย์ : ต้องส่งมอบทันทีทันใด โดยความยินยอมจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ได้ **ถ้าบังคับข่มขืนใจในเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกับทรัพย์สิน มักโยงกับเรื่องเสรีภาพ ม.309 อันเป็น ความผิดฐานกรรโชก

58 กรรโชก ฎ.5146/2557 การขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการแสดง ให้ผู้ถูกขู่เข็ญเข้าใจว่าจะได้รับภัยในทรัพย์สินของตนจากการกระทำของผู้ขู่เข็ญ ซึ่งอาจขู่เข็ญ ตรงๆ หรือใช้ถ้อยคำหรือทำกิริยาให้เข้าใจเช่นนั้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นที่ผู้ขู่เข็ญต้องกระทำต่อ ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญจนเสียรูปทรง หรือเปลี่ยนรูปทรงไปจากเดิมหรือใช้การไม่ได้หรือทำ ให้เสื่อมค่าเสื่อมราคา

59 แค่ “ยอม” ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์ “ทันที”
ฎ.1199/2553 ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า "หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้ ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย" นั้น ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรมที่เจ้าหนี้อาจพึง ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นถ้อยคำที่สามัญชนโดยทั่วไปย่อมทราบและตีความ ได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วผู้เสียหายกับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อน และเป็นอันตรายได้ถ้อยคำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้ต้องยินยอมชำระหนี้ให้แก่กลุ่มจำเลย ทั้งห้าตามที่เรียกร้อง กรณีที่มีการพูดโทรศัพท์ขู่เข็ญผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวกระทั่งยอมนัดหมายให้นำหลักฐานมาให้ดู และเตรียมเงินไปให้บางส่วน แม้ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้าย ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัว ก็เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึง กระทำกันตามปกติภายหลังจากที่ผู้เสียหายยอมตามที่จำเลยข่มขู่ไปแล้ว กรณีไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัว และไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญของจำเลยทั้งห้า ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นความผิดฐานร่วมกัน กรรโชกสำเร็จแล้ว ไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม

60 ปล้นทรัพย์ = ชิงทรัพย์ + 3 คน ขึ้นไป
- ต้องเป็นตัวการร่วม (มีการร่วมแรง ร่วมใจกัน) → เหตุในลักษณะคดี - กล่าวคือ ต้องมีผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป ถ้าคนหนึ่งเป็นเพียงผู้ สนับสุนน และมีผู้อื่นร่วมกันชิงทรัพย์อีก 2 คน ดังนี้ ไม่เป็นปล้นทรัพย์ (ฎ.74/2555)

61 เหตุลักษณะคดี ฎ.1778/2553 ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสามนั้น กฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลงโทษการ กระทำของคนร้ายที่ปล้นทรัพย์ด้วยกันว่าถ้าการปล้นทรัพย์นั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำความผิดทุกคน ต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำร้ายหรือรู้ตัวผู้ร้ายหรือไม่ และไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในขณะที่มีการทำร้ายหรือไม่ เช่น มีการแบ่งหน้าที่กันทำโดยมีคนร้ายเฝ้าดูต้นทางแต่พวกที่เข้าไปปล้นทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์ก็มีความผิดร่วมกัน แต่ทั้งนี้ต้อง เป็นการกระทำที่ไม่ขาดตอนกันจึงจะเป็นเหตุลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจำเลยที่ 1 และพวกรวมทั้งหมด 6 คน วางแผนปล้นทรัพย์บ้านหลังนี้มาแต่ต้น วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปจับตัวคนรับใช้ในบ้านผู้เสียหายมัดไว้และ ได้รื้อค้นเอาทรัพย์สินภายในบ้านแล้วกลับไปก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือรออยู่เพื่อเอาทรัพย์สินจากผู้เสียหาย เมื่อ ผู้เสียหายกับพวกกลับมาบ้านก็ถูกจำเลยที่ 1 กับพวกที่เหลือทำร้ายเพื่อปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อยู่ร่วมเพื่อปล้น ทรัพย์ด้วยไม่ปรากฏว่าได้รออยู่นอกบ้านเพื่อดูต้นทางหรือย้อนกลับมาอีก หรือรอฟังผลยังสถานที่นัดหมายกัน ทั้งไม่ได้อยู่ ใกล้ชิดกับบ้านที่เกิดเหตุ ทั้งผู้เสียหายกับพวกก็กลับมาหลังจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับไปแล้วเป็นเวลานานถึง 2-3 ชั่วโมง ไม่ต่อเนื่องกับการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์มาแต่ต้น การจะคาดหมายว่าหากผู้เสียหายกับพวกกลับมา และขัดขืนย่อมมีการใช้กำลังประทุษร้ายย่อมเป็นการคาดหมายที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้น การกระทำของ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคสาม

62 รับของโจร - เฉพาะ “ทรัพย์” ที่ได้มาจากการกระทำความผิดเท่านั้น
ดังนี้ หากทรัพย์นั้นเปลี่ยนสภาพไปแล้ว หรือสิ้นสภาพไปแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดฐาน รับของโจร เช่น ลักโค + ฆ่า + ขาย = เนื้อโค ยังถือเป็นของโจรอยู่ ลักโค + ฆ่า + เอาเนื้อไปทำอาหาร + ขาย = ไม่ถือเป็นของโจร

63 รับของโจร v. การครอบครองปรปักษ์
แม้เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด แต่หากครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และแสดงเจตนาเป็นเจ้าของ - สังหาริมทรัพย์ เกิน 5 ปี - อสังหาริมทรัพย์ เกิน 10 ปี ผล : อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

64 รับของโจร เพียงแต่ช่วยซ่อนเร้นก็เป็นความผิด
ฎ.8396/2552 การกระทำความผิดฐานรับของโจร ผู้กระทำไม่จำต้องรับทรัพย์ ของกลางไว้ในความครอบครองของตนเอง เพียงแต่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไป เสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดการที่ จำเลยขับรถจักรยานยนต์ให้ อ. นั่งซ้อนท้าย บรรทุกโทรทัศน์ของกลางจะไปที่อำเภอดอนสัก โดยรู้อยู่ว่าเป็นโทรทัศน์ที่ อ. ลักมา ก็เป็นการช่วยพาเอาไปเสียอันเป็นองค์ประกอบของ ความผิดฐานรับของโจรแล้ว

65 ปล. ขอให้น้องๆ อ่านทุกความผิดที่อาจารย์สอนและอยู่ในภาคความผิดนี้ นะคะ (ม ) อย่าอ่านแต่เฉพาะที่พี่สอน เผื่ออาจารย์ออก นอกเหนือจากนี้นะคะ เดี๋ยวจะทำไม่ได้กัน ที่สำคัญ ท่องประมวลมาให้แม่นนะคะ โชคดีค่ะ พี่แนน


ดาวน์โหลด ppt ทบทวน กฎหมายอาญาภาคความผิด 2

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google