งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชื่อผลงานวิจัย การบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนใน วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นางสาวมุกดาวรรณ รักสัตย์มั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชื่อผลงานวิจัย การบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนใน วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นางสาวมุกดาวรรณ รักสัตย์มั่น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชื่อผลงานวิจัย การบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนใน วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นางสาวมุกดาวรรณ รักสัตย์มั่น

2 ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา โดยทั่วไปการบริหารงานในสถานศึกษาถือว่าการ บริหารงานวิชาการเป็นงานหลักและสำคัญยิ่งของสถานศึกษา ซึ่ง การบริหารงานวิชาการนี้ ถือเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จและ ความสามารถในการบริหารโรงเรียน งานวิชาการนั้นถือเป็นหัวใจ ของโรงเรียนเป็นชีวิตจิตใจของโรงเรียน ส่วนงานด้านอื่นๆถือ เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้ชีวิตของโรงเรียนดำเนินไปด้วย ความราบรื่น ดังนั้นด้านคุณภาพของการศึกษาจะมีผลสัมฤทธิ์เป็น อย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารงานวิชาการเป็นหลัก ( เฉลิมชัย อิ่มมาก. 2553 : 5) การบริหารงานวิชาการนับว่าเป็นเรื่องที่ กว้างขวางครอบคลุมงานในโรงเรียนเกือบทั้งหมด การ บริหารงานวิชาการจึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคณะครู อาจารย์ และบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน การบริหารงาน วิชาการในโรงเรียนถือเป็นภารกิจที่ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็น ผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียวไม่ได้ ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่ คอยกระตุ้นและส่งเสริมให้คณะครูอาจารย์ร่วมมือกันมี ความสามารถจัดระเบียบการบริหาร รู้จักจัดหน่วยงาน รู้จักเลือก คน เพื่อมอบอำนาจหน้าที่ให้คนปฏิบัติงานได้ถูกต้องและ เหมาะสม เพื่อให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา มีความสามารถด้าน ความรู้ ความคิดหรือคุณลักษณะทุกทาง เพื่อให้มีศักยภาพ พื้นฐานในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ

3 ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี มีหน้าที่ จัดการศึกษาของวิทยาลัยให้ มีคุณภาพ ครูผู้สอนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถและเห็น ความสำคัญกับ การบริหารงานวิชาการ มากกว่างานอื่น ๆ เน้นการพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยตรงกับนักเรียน มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่จะพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษาที่สังคมไทยต้องการ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา การบริหารงาน วิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนว ทางแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ตลอดจน เป็นแนวทางในการปรับปรุง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการจัด การศึกษาต่อไป

4 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี

5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้ข้อมูลในการบริหารงานวิชาการเพื่อนำมาปรับปรุง ข้อบกพร่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและส่งผลให้นักเรียนมี คุณภาพ

6 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบัน ประสบการณ์ในการ สอน การบริหารงานวิชาการตาม ขอบข่ายการบริหารงาน วิชาการ 6 ด้าน ได้แก่ 1. นโยบายและการ วางแผนงาน วิชาการ 2. หลักสูตรและการนำ หลักสูตรไปใช้ 3. การจัดการเรียนการสอน 4. การวัดผลประเมินผล 5. การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษาและ แหล่งเรียนรู้ 6. การนิเทศการศึกษา กรอบแนวคิดใน การวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

7 ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ ครูผู้สอนในวิทยาลัย เทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จำนวน 112 คน

8 การบริหารงานวิชาการ μσ ระดับ ความ คิดเห็น 1. ด้านนโยบายและการวางแผน งานวิชาการ 3.88.486 มาก 2. ด้านหลักสูตรและการนำ หลักสูตรไปใช้ 3.64.660 มาก 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน 3.82.549 มาก 4. ด้านการวัดผลและประเมินผล 3.60.525 มาก 5. ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและ แหล่งเรียนรู้ 3.71.578 มาก 6. ด้านการนิเทศการศึกษา 3.54.640 มาก รวม 3.70.421 มาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของ ครู วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ภาพรวม

9 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ด้านนโยบายและการวางแผนงานวิชาการ ควร มีการกำหนดสายงานการบริหารงานวิชาการที่ชัดเจน 1.2 ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ควร เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน 1.3 ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรมี ความรู้ความสามารถในการนำนวัตกรรมการสอนและ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น

10 ข้อเสนอแนะ 1.4 ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรมีการนำผล การประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนมา ปรับปรุงการเรียนการสอน 1.5 ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ ควรมีการสรรหาเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ ความสามารถ สำหรับให้บริการและให้ คำปรึกษาแก่ครูในการผลิตและใช้สื่อประกอบการเรียน การสอน 1.6 ด้านการนิเทศการศึกษา ควรมีการสร้างสื่อหรือ เครื่องมือในการนิเทศที่หลายหลายรูปแบบ

11 ข้อเสนอแนะ 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาการ บริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ซึ่งเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งอาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในการวิจัยครั้งต่อไป จึงควรศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ดาวน์โหลด ppt ชื่อผลงานวิจัย การบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนใน วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นางสาวมุกดาวรรณ รักสัตย์มั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google