งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และกรอบการบริหารงบค่าบริการ ปี ๒๕๕๙ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และกรอบการบริหารงบค่าบริการ ปี ๒๕๕๙ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และกรอบการบริหารงบค่าบริการ ปี ๒๕๕๙ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ (รายละเอียดเพิ่มเติมจากที่ประชุมร่วมกระทรวงสาธารณสุขและ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๙ และ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘) 1

2 หลักสำคัญในการออกแบบระบบ ๑. เน้นบูรณาการด้านบริการสาธารณสุขและบริการด้านสังคมในระดับ พื้นที่ (ตำบล/หมู่บ้าน/ครอบครัว) ๒. คำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นไปได้ของงบประมาณระยะยาวในอนาคต ๓. สนับสนุนการมีส่วนร่วมโดยให้ อปท. (เทศบาล/อบต.) เป็นเจ้าภาพ หลักในการบริหารระบบภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วย บริการปฐมภูมิในพื้นที่ ๔. พัฒนาและขยายระบบบริการ LTC โดยมีผู้จัดการ Care Manager (พยาบาล หรือนักกายภาพบำบัด หรือนักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ) และอาสาสมัคร Care giver ที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเชิงรุกในพื้นที่ ๑ : ๑๐ คน โดยได้รับ ค่าตอบแทนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อปท. ที่มีอยู่แล้ว ภายใต้การบริหารของ อปท. 2

3 ระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึงในพื้นที่ ปี ๒๕๕๙ (จำนวน ๖๐๐ ล้านบาท) สธ. กองทุน หลักประกัน สุขภาพ อปท. สปสช. พม. มหาดไทย สสส. สช. สวรส. เอกชน ศูนย์พัฒนา คุณภาพ ชีวิต ผส. Care manager Care givers ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ๕๐๐ ลบ. ซื้อบริการ ๑๐๐ ลบ.(on top) บริการ LTC ในหน่วยบริการ หมายเหตุ ชุดสิทธิประโยชน์บริการ LTC ด้านสาธารณสุขตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ หรือ สปสช.กำหนด เครือ ข่าย รพ. และ รพ. สต. สนับสนุนบริการ LTC ในพื้นที่ บริการเชิง รุกที่ศูนย์ฯ บริการเชิง รุกที่บ้าน บริการเชิงรุก ที่บ้าน

4 การบูรณาการและการจัดสรรงบประมาณ ปี ๒๕๕๙ สปสช. ๖๐๐ ลบ. (๖,๐๐๐ บ./ราย) กองทุน อปท. ๕๐ ลบ. งบปกติ อปท. ๕๐๐ ลบ. งบประมาณเพื่อการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (เป้าหมาย ผส. ๑๐๐,๐๐๐ ราย) ๑.๕๐๐ ลบ. จัดสรรให้กองทุน หลักประกันสุขภาพ อปท. (เทศบาล และอบต.ขนาดใหญ่) จำนวน ๑,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ อัตรา ๕,๐๐๐ บาท/ ราย ตามจำนวน ผส.เพื่อให้เกิดการ บริการเชิงรุกที่บ้านหรือที่ศูนย์ฯ Day Care (ซื้อในลักษณะเหมาบริการรายคน ตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่ กำหนด) ในประกาศการบริหารกองทุน อปท. ที่จะประกาศเพิ่มเติม ๒. ๑๐๐ ลบ. จัดสรร On top ให้ CUP ใน พื้นที่ จำนวน ๑,๐๐๐ แห่ง อัตรา ๑ แสน บาท/แห่ง (เข้าเงินบำรุง) เพื่อสนับสนุน การจัดบริการ LTC ในหน่วยบริการและ รับส่งต่อ เป็นค่าดำเนินงานของ Care manager และ Care giver ในอัตรา หลักเกณฑ์ แนวทางตามประกาศการ บริหารงบกองทุน อปท. ของ สปสช. เป็นค่าบริการด้าน สังคมที่ อปท.ทำอยู่ แล้วในขณะนี้ 4 หมายเหตุ บริหารระบบในพื้นที่โดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อปท.ที่มีอยู่แล้ว

5 ชุดสิทธิประโยชน์บริการ LTC เชิงรุกในพื้นที่ ๑.บริการด้านสาธารณสุข เช่น - บริการการตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล - บริการดูแลที่บ้าน บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, - บริการกายภาพบำบัด, บริการกิจกรรมบำบัด และอุปกรณ์ เครื่องช่วยทางการแพทย์ ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือ สปสช. กำหนด ๒. บริการด้านสังคม เช่น บริการช่วยเหลืองานบ้าน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, บริการ อุปกรณ์ช่วยเหลือทางสังคม,กิจกรรมนอกบ้าน และอื่นๆ 5

6 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ๑.บทบาท/หน้าที่ - จัดทำข้อมูลและแผนดูแลกลุ่มเป้าหมายเป็นรายคน - ฝึกอบรม (In service training) และบริหาร Care giver ให้บริการเชิงรุก - ให้บริการ Day care (ฟื้นฟูและกิจกรรมบำบัด) ๒. มี Care manager (พยาบาล/นักกายภาพ/นักสังคม สงเคราะห์) และ Care giver (อาสาสมัครผ่าน หลักสูตรฝึกอบรมตามมาตรฐาน) 6

7 เป้าหมายการดำเนินงานใน ๓ ปี (ทั่วประเทศ) ปีที่ ๑ (ปี ๒๕๕๙) ครอบคลุมพื้นที่และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ๑๐% ประมาณ ๑,๐๐๐ พื้นที่ (เทศบาลหรือ อบต. ขนาดใหญ่ และ กรุงเทพมหานคร) ดูแล ๑๐๐,๐๐๐ ราย ปีที่ ๒ (ปี ๒๕๖๐) ครอบคลุมพื้นที่และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ๕๐% ประมาณ ๕,๐๐๐ เทศบาล/ตำบล และ ๕๐๐,๐๐๐ ราย ปีที่ ๓ (ปี ๒๕๖๑) ครอบคลุมพื้นที่และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ๑๐๐% หรือ ทุก เทศบาล/ตำบล ประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ราย 7

8 หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ปี ๒๕๕๙ (ประมาณ ๑๐๐๐ แห่ง ครอบคลุมเทศบาล หรือ อบต. ของทุกอำเภอ และกรุงเทพมหานคร) ๑.เทศบาลนคร เทศบาลเมือง (ทุกอำเภอ) และ อบต. ขนาดใหญ่ที่พร้อมเข้าร่วม ประมาณ ๙๐๐ แห่ง ๑.๑ พื้นที่ที่มีการนำร่องดำเนินงาน LTC ของหน่วยงาน ต่างๆ ในปัจจุบัน ๑.๒ พื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพ อปท.เกรด A+,A ๒. กรุงเทพมหานคร (ทุกศูนย์บริการสาธารณสุข) ประมาณ ๑๐๐ พื้นที่ 8

9 ตัวชี้วัดด้านกระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ ๑.KPI หรือบทบาทของหน่วยบริการปฐมภูมิ ๑.๑ มีบริการ LTC ภายในหน่วยบริการ ๑.๒ มีทีมหมอครอบครัวให้บริการ LTC เชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบ ๑.๓ มีการให้การสนับสนุนและติดตามประเมินการบริการ LTC ของ อปท. ๒. KPI หรือบทบาทของ อปท.ในการจัดบริการ LTC ๒.๑ มีการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อปท.ในระดับเกรด A อย่างต่อเนื่อง ๒.๒ มีการจัดตั้งและจัดบริการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ๒.๓ มีการทำงานและพัฒนาระบบบริการร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิและ เครือข่ายในพื้นที่ ๒.๔ มีข้อมูล มีแผนการบริการ LTC ของกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล (Care plan) และมีการจัดบริการเชิงรุกตามชุดสิทธิประโยชน์ 9

10 ตัวชี้วัดด้านผลผลิตในภาพรวม ๑.ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ๒.สัดส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับจำนวนสูงอายุ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๓. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลตามแผนการดูแล รายบุคคล (Care plan) ที่มีระดับคะแนน ADL ดีขึ้น จากกลุ่มติดเตียงเป็นติดบ้านและกลุ่มติดบ้านเป็น กลุ่มติดสังคม (ตัวชี้วัดระดับพื้นที่) 10

11 ระบบบริหารจัดการ ๑.คณะกรรมการนโยบายและกำกับทิศทาง (ส่วนกลาง) ๑) อดีตผู้บริหารอาวุโสของกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ๒) ผู้บริหารของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้บริหาร อปท. เป็นกรรมการ ๓) นักวิชาการและภาคส่วนอื่น เป็นกรรมการ ๔) ผู้บริหาร สป.สธ. และ สปสช. เป็นกรรมการและเลขานุการ ๒.คณะกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด (NCD Board หรือ คณะกรรมการชุดอื่นที่เหมาะสม) ๓.คณะกรรมการดำเนินการระดับอำเภอ (DHS หรือ คปสอ.) หมายเหตุ ระดับเขตมีคณะกรรมการ ๕x๕ และระดับพื้นที่มีคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพ อปท. 11

12 ผลที่ได้จากการดำเนินงาน ปี ๒๕๕๙ ๑.ผู้สูงอายุที่มีภาวะหรือพึ่งพิง ได้รับการดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ LTC ประมาณ ๑ แสนราย ๒.เทศบาล หรือ อบต.ขนาดใหญ่ และกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบบริหารระบบ บริการ LTC ในพื้นที่จำนวน ประมาณ ๑,๐๐๐ แห่ง ๓.มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ที่ใช้เป็นฐานในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ แห่ง ๔.นักวิชาชีพของ อปท. และหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อทำหน้าที่ Care manager ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ๕.อาสาสมัคร / Care giver ที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐาน ซึ่งขึ้นทะเบียนและ ได้รับค่าตอบแทน ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ๖.หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. เข้าร่วม สนับสนุนการดำเนินงานประมาณ ๑,๐๐๐ แห่ง ๗.มี KPI และระบบข้อมูลบริการ LTC ในชุมชน 12

13 มติการประชุมคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ / ๒๕๕๘ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ ๑. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการ เงื่อนไข อัตรา และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการ สาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และให้ปรับเพิ่มประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗ ให้รองรับงบประมาณและการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้าน การแพทย์ตามที่เสนอได้ ๒. สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ให้เน้นจัดบริการให้กับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหลัก และให้แก้ไขประกาศหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฯปี ๒๕๕๙ หมวด ๘ ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้ครอบคลุมบริการ เฉพาะผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนปีต่อไป อาจพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ ขอขยายกลุ่มเป้าหมายและจัดสรรงบประมาณสำหรับบริการดังกล่าวให้ครอบคลุมประชาชน ไทยทุกคนทุกสิทธิ ๓. เห็นชอบให้ สปสช.ประสานไปยังกรมบัญชีกลางและสำนักงานประกันสังคม เพื่อทราบการ จัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขระเบียบเพื่อให้สามารถจัดบริการในชุมชนให้ผู้มีสิทธิสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการและผู้ประกันตนได้ ๔. เห็นชอบให้มีแนวทางการกำกับติดตามประเมินผลที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการ วางแผนในปีต่อไป เนื่องจากเป็นงบรายการใหม่ในปี ๒๕๕๙ 13

14 สรุปประชุมประสานความร่วมมือดำเนินงานกับ สมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ และสมาคม อบต. ฯ เมื่อ 16 ตุลาคม 2558 1. สปสช. ร่วมกับสมาคม อปท. และ กท. สธ. เลือก พื้นที่ดำเนินการ LTC 1,000 แห่ง จาก เทศบาล ( เมือง / นคร / ตำบล ) ที่อยู่เขตเมือง อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง ( จากที่มีอยู่ 878 อำเภอ ) ที่เหลือคัดเลือกจาก อบต. ที่พร้อม ( เกรด A จากกองทุน อปท. และ หน่วยงานอื่นๆ เช่น สสส. สช.) ภายในเดือน พฤศจิกายน 2558 2. สปสช. ร่วมกับ สมาคม อปท. และ กท. สธ. จัด ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อม เทศบาล / อบต. ที่เข้า ร่วมดำเนินงาน 1,000 แห่งในเดือน พฤศจิกายน 2558 เพื่อจัดทำข้อตกลงเข้าร่วมดำเนินงานกับ สปสช. และจัดประชุมชี้แจงต่อในระดับภูมิภาค 4 ภูมิภาค 14

15 สรุปประชุมประสานความร่วมมือดำเนินงานกับ สมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ และสมาคม อบต. ฯ เมื่อ 16 ตุลาคม 2558 ( ต่อ ) 3. ตั้งคณะทำงานอำนวยการ (Steering Committee) ประกอบด้วยผู้แทนจาก กท. สธ. สปสช. สมาคม สันนิบาตเทศบาล สมาคม อบต. ฯ กท. มท. และ กท. พม. เป็นเจ้าภาพร่วมและเคลื่อนไปด้วยกัน ประมาณ 15-20 คน ประชุม 2 เดือนครั้ง และแต่งตั้ง คณะทำงานย่อยฝ่ายวิชาการ และคณะทำงานย่อย ฝ่ายปฏิบัติการ ( ภายในเดือน ธันวาคม 2558) 4. สปสช. ปรับเพิ่มประกาศหลักเกณฑ์การดำเนินงาน บริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และจัดทำคู่มือดำเนินงานสำหรับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และเตรียมความพร้อมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น 1,000 แห่งที่เข้าร่วม ( ภายในเดือน ธันวาคม 2558) 15

16 สรุปประชุมประสานความร่วมมือดำเนินงาน กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ และสมาคม อบต. ฯ เมื่อ 16 ตุลาคม 2558 ( ต่อ ) 5. สปสช. ร่วมกับ กท. สธ. จัดทำคู่มือบริการสิทธิ ประโยชน์และเตรียมความพร้อมหน่วยบริการปฐมภูมิ 1,000 แห่ง เพื่อสนับสนุน อปท. ในการดำเนินงาน บริการดูแลระยะยาวในพื้นที่ พร้อมประสานกรมต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานวิชาการ เพื่อ เตรียมการจัดอบรม Care manager และ Care giver ของพื้นที่เป้าหมาย ( ภายใน ธันวาคม 2558) 6. ดำเนินการจัดสรรงบ LTC ปี 2559 จำนวน 600 ล้าน บาท โดยจัดสรรให้หน่วยบริการปฐมภูมิ 100 ล้าน บาทและ อปท. พื้นที่เป้าหมาย 500 ล้านบาท เพื่อ จัดบริการดูแลระยะยาวตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ กำหนด ( ภายในเดือนธันวาคม 2558 - มกราคม 2559) 16

17 สรุปประชุมประสานความร่วมมือดำเนินงาน กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ และสมาคม อบต. ฯ เมื่อ 16 ตุลาคม 2558 ( ต่อ ) 7. ผลิตและพัฒนาศักยภาพ Care manager 1,000 คน และ Caregiver 10,000 คน พัฒนาระบบข้อมูล และระบบติดตามประเมินผล LTC ของหน่วยบริการ ปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการ และติดตามประเมินผล เพื่อเตรียมขยายผลการ ดำเนินการให้ครอบคลุม ร้อยละ 50 ของพื้นที่ และ กลุ่มเป้าหมายในปี 2560 ( ดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม – กันยายน 2559) 17

18 พื้นที่เป้าหมาย อปท. นำร่องปี 59 เขต 3 18 จังหวัดจำนวน นครสวรรค์ 14 กำแพงเพชร 12 พิจิตร 12 อุทัยธานี 9 ชัยนาท 9 รวม 56 30 พ. ย. สปสช. กลาง เชิญ อปท. กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมประชุม

19 อปท. นำร่อง จ. พิจิตร 19

20 20


ดาวน์โหลด ppt ระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และกรอบการบริหารงบค่าบริการ ปี ๒๕๕๙ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google