งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Ubiquitous Learning การเรียนรู้แบบภควันตภาพ อ.อุบลวรรณ ลิ้มสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำเสนอโดย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Ubiquitous Learning การเรียนรู้แบบภควันตภาพ อ.อุบลวรรณ ลิ้มสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำเสนอโดย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Ubiquitous Learning การเรียนรู้แบบภควันตภาพ อ.อุบลวรรณ ลิ้มสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำเสนอโดย

2 หัวข้อนำเสนอ ความหมายของการเรียนแบบภควันตภาพ คุณลักษณะของการเรียนแบบภควันตภาพ สภาพแวดล้อมในการเรียนแบบภควันตภาพ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเรียนแบบภควันตภาพ ปัจจัยที่ส่งต่อความสำเร็จในการเรียนแบบภควันตภาพ แนวโน้มในการพัฒนาการเรียนแบบภควันตภาพในประเทศไทย ข้อดี ข้อจำกัด การเรียนแบบภควันตภาพ

3 e-Learning สู่ u-Learning e-Learning จะเน้นเรื่องของคอมพิวเตอร์และเน็ตเวิร์ก m-Learning เน้นเรื่องของอุปกรณ์มือถือและการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย u-Learning เน้นเรื่องของเทคโนโลยีเซนเซอร์ อุปกรณ์มือถือและการติดต่อสื่อสาร แบบไร้สาย Liu and Hwang,2009

4 นวัตกรรมและสารสนเทศออนไลน์, ปรัชญนันท์ นิลสุข

5 ความหมายของการเรียนแบบภควันตภาพ Junqi et al. (2010) กล่าวว่า เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความต้องการของผู้เรียน โดยใช้อุปกรณ์พกพา ไม่ จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างความรู้และหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง

6 ความหมายของการเรียนแบบภควันตภาพ Junqi et al. (2010) ได้สรุปความหมายการเรียนแบบภควันตภาพไว้ดังนี้ Anywhere สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลกที่มีการเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่าย Anytime สามารถเรียนได้ตามเวลาที่ผู้เรียนต้องการ Any data สามารถเข้าถึงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อีเมล์ การบริการสาธารณะ อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต Any device สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียนได้เช่น แท็บเล็ตพีซี พีดีเอ และ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

7 ความหมายของการเรียนแบบภควันตภาพ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2555) กล่าวว่า การเรียนแบบภควันตภาพ เป็นศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมาในช่วงการพัฒนาการเรียน ด้วยแท็บเล็ต ของไทย ภควันต ตรงกับคำว่า Broadcast หรือ Ubiquitous (Existing Everywhere) หมายถึง การแพร่กระจายและการทำให้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง สามารถรับฟัง รับชม และรับรู้ได้ทุกเวลา เรียกรวมว่า ภควันตภาพ

8 คุณลักษณะของการเรียนแบบภควันตภาพ Yahya et al.(2010) แบ่งคุณลักษณะเป็น 5 ด้านดังนี้ 1.ความคงทน ถาวร (Permanency) ข้อมูลจะมีอยู่จนกว่าผู้เรียนจะลบข้อมูลของตนเอง ชิ้นงานทุกชิ้น ที่เกิดจากการกระบวนการเรียนรู้จะถูกบันทึกไว้อย่างต่อเนื่อง 2.ความสามารถในการเข้าถึงได้ตลอดเวลาตามที่ผู้เรียนต้องการ (Accessibility) 3.ความรวดเร็วในการแสดงผล (Immediacy) เมื่อผู้เรียนต้องการข้อมูล 4.มีการปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน หรือ ผู้เชี่ยวชาญ และปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน 5. บริบทของผู้เรียน (Context Awareness) ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนผู้เรียน สามารถรับรู้บริบทของการเรียน ของกลุ่ม ผ่านการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์พกพาของผู้เรียน

9 สภาพแวดล้อมในการเรียนแบบภควันตภาพ การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนแบบภควันตภาพ ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการ เรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) ในการออกแบบ ซึ่ง Jacobs (1999) กล่าวว่า การใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ในการออกแบบการศึกษาจะช่วยเชื่อมโยงข้อมูล ความรู้ของผู้เรียนเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

10 สภาพแวดล้อมในการเรียนแบบภควันตภาพ มีองค์ประกอบดังนี้ 1.คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Devices) 2. ระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบภควันตภาพ(u-LMS) 3. เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย (Wireless Technology) 4. บริบทผู้เรียน (Context Awareness)

11 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเรียนแบบภควันตภาพ ประยูร และ สุพันธ์ (2545) กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเรียนแบบภค วันตภาพจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. เทคโนโลยีพื้นฐาน 2. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ 3. เทคโนโลยีการเข้าถึง 4. เทคโนโลยีการประยุกต์ใช้งาน

12 ปัจจัยที่ส่งต่อความสำเร็จในการเรียนแบบภควันตภาพ Andrews, Tynan &Stewart, 2011) ความหลากหลายที่เกิดกับผู้เรียน (Student Diversity) ความพร้อมและความเหมาะสมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน (Appropriate Infrastructure) นโยบายขององค์กร/สถาบัน (Institutional Policy) การสร้างความพร้อมในเชิงวิชาการ (Academic Preparedness) นโยบายภาครัฐ (Government Policy) ความพร้อมในระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทรงประสิทธิภาพ (Pervasiveness of Mobile Computing Power)

13 ปัจจัยความสำเร็จในการเรียนแบบภควันตภาพ Ubiquitous Learning Student Diversity Appropriate Infrastructure Institutional Policy Academic Preparedness Government Policy Pervasiveness of Mobile Computing Power ความหลากหลายที่เกิดกับผู้เรียน ความพร้อมและความเหมาะสม ในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายขององค์กร / สถาบัน การสร้างความพร้อมในเชิงวิชาการ นโยบายภาครัฐ ความพร้อมในระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่ทรงประสิทธิภาพ Andrews, Tynan &Stewart, 2012

14 แนวโน้มในการพัฒนาการเรียนแบบภควันตภาพในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนอมพร (2552) กล่าวว่า ดำเนินงานด้านไอทีเพื่อไปสู่ Ubiquitous Campus ปี 2011 นักศึกษาและชุมชนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างครอบคลุม ทุกที่ ทุกเวลา และจากเครื่องมือที่ หลากหลาย การให้บริการการใช้ประโยชน์สารสนเทศเพื่อการสื่อสารการเรียนรู้ เช่น การ ให้บริการ Digital Content ในสื่อรูปแบบใหม่ Game Based Learning สตรีมมิ่ง มีเดีย ผ่านอุปกรณ์เข้าถึงในรูปแบบต่าง ๆ

15 แนวโน้มในการพัฒนาการเรียนแบบภควันตภาพในประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,2553) ได้ร่วมมือกับ ไมโครซอฟท์ มุ่งสร้างสังคมการเรียนรู้ยุคดิจิตอลด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อพัฒนาการศึกษามิติใหม่ Hybrid Learning 2.0 สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบ Cloud-Based Services แก่นักศึกษา

16 แนวโน้มในการพัฒนาการเรียนแบบภควันตภาพในประเทศไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้พัฒนารูปแบบการศึกษามิติใหม่ เรียกว่า Second Life เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ในประเทศไทย ที่เปิดการสอนออนไลน์ในโลกเสมือนจริง เมื่อจบได้ปริญญาเทียบเท่ากับนักศึกษาปกติ เปิดสอน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโทการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และหลักสูตรปริญญาเอกวิธีวิทยาอีเลิร์นนิ่ง โดยผู้เรียนสามารถ ศึกษาผ่านมือถือได้อีกช่องทางหนึ่ง

17 ข้อดี ข้อจำกัด การเรียนแบบภควันตภาพ ข้อดี ข้อดี – การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ – การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่และอุปกรณ์ – การบูรณาการ ทำให้เกิดการประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (Outdoor) และการเรียนในร่ม (Indoor) ข้อจำกัด – ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous ต้องใช้การลงทุนมาก – จำนวนผู้ใช้บริการและผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงยังน้อยไม่คุ้มค่าการลงทุน

18 ที่มาของข้อมูล ชัยยงค์ พรหมวงศ์. ภาพอนาคตการศึกษาไทย:สู่การศึกษาภควันตภาพ. (คู่มืออบรมปฏิบัติ การบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา(Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน). กรุงเทพฯ: สำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน,2555 สิทธิชัย ลายเสมา. ระบบการเรียนรู้ด้วยทีมเสมือนจริงในภาพแวดล้อมการเรียนแบบภควันต ภาพ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และ ทักษะการทำงานร่วมกัน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ,2557

19 ที่มาของข้อมูล Andrew, T.,Tynan, B. and Stewart, C. Ubiquitous Learning:Issues in the Australian Higher Education Context. Information Age Publishing Inc.,2012 Jacobs, M. Situated Cognition: Learning and Knowledge Related to Situated Cognition. [online] (1999). Available from: URL: http://www.gsu.edu/mstswh/coursed/it7000/ paper/situated.htm

20 ที่มาของข้อมูล Junqi, W., Yumei, Liu. And Zhibin, Liu. “Study of Instructional design in Ubiquitous Learning.” In Second International Workshop on Education Technology and Computer Science. 2010 : 518-523 Liu, G.Z and Hwang, G.J. “A key step to understanding paradigm shifts in e-Learning : towards context-aware ubiquitous learning.” British Journal of Educational Technology. 41(2010) :1-9

21 ที่มาของข้อมูล Yahya, S., Ahmad, E. and Jalil, K. “The definition and characteristics of ubiquitous learning: A discussion. “International Journal of Education and Development using Information and Communication Technology, 6(2010) :117-127

22


ดาวน์โหลด ppt Ubiquitous Learning การเรียนรู้แบบภควันตภาพ อ.อุบลวรรณ ลิ้มสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำเสนอโดย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google