งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

B est Practice การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยใน ชั้นเรียน องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต Piyanut Xuto, Ph.D, APN Faculty of.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "B est Practice การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยใน ชั้นเรียน องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต Piyanut Xuto, Ph.D, APN Faculty of."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 B est Practice การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยใน ชั้นเรียน องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต Piyanut Xuto, Ph.D, APN Faculty of Nursing, Chiang Mai University Thailand

2 บทนำ  จากวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ต้องการผลิต บัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในระดับ มาตรฐานสากล  คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ สมรรถนะด้านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ  องค์กรวิชาชีพหรือสภาการพยาบาลได้ระบุไว้ในสมรรถนะหลักที่จำเป็น คือ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ พยาบาลได้ P. Xuto

3 บทนำ  มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้สถาบันต้องมีการสร้างและ พัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้  รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในสถาบันทั้งอยู่ในตัวบุคคล และเอกสารมา พัฒนาให้เป็นระบบ  คณะพยาบาลศาสตร์จึงได้เลือกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการ จัดการเรียนการสอนมาเป็นหัวข้อในการจัดการความรู้และสร้างแนว ปฏิบัติที่ดีต่อไป P. Xuto

4 1) การจัดทำ โครงการ การจัดการความรู้ ในเรื่อง IT 7 May, 13 13.30-16.00 pm 2)การจัดทำคู่มือ เอกสารเพื่อเผยแพร่ ความรู้ดังกล่าว http://www.nurse.c mu.ac.th/km/show andshare1/#/0http://www.nurse.c mu.ac.th/km/show andshare1/#/0 3) การพัฒนา กิจกรรมเพื่อต่อ ยอด 4) การประเมินผลและ ปรับกลวิธีตามผลการ ประเมิน ส่วนที่ 1: แนวปฏิบัติที่บ่งชี้ความเป็น Best Practice P. Xuto

5 ขั้นตอน 1: KM 7 May, 13 13.30-16.00 pm บทบาทของอาจารย์ในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน การเตรียมตัวของอาจารย์ในกรณีเป็น beginner เพื่อเริ่มใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ตัวของหลักสูตร หรือ กระบวนวิชาที่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ได้ควรเป็นอย่างไร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้ assignment หรือ การประเมินผลควรใช้อย่างไร(ทั้งเต็มรูปแบบหรือใช้ เสริม) ควรเตรียมผู้เรียนอย่างไร หรือหากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน ผู้สอน ควรทำอย่างไร แหล่งประโยชน์ที่คณาจารย์สามารถใช้เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว มีอะไรบ้าง ขั้นตอนในการนำไปใช้จริง จะเป็นอย่างไร ปัญหา อุปสรรคที่พบ และแนวทางการแก้ไข การต่อยอดไปเป็นวิจัยในชั้นเรียน

6 P. Xuto ขั้นตอน 2: การจัดทำคู่มือเพื่อเผยแพร่ความรู้

7 P. Xuto ขั้นตอน 3: การพัฒนากิจกรรมเพื่อต่อยอด กระบวนวิชา 554312 (การพยาบาลและ การผดุงครรภ์) ได้นำความรู้ที่ได้จาก การทำ KM มาสู่การจัดการเรียนการ สอน อาจารย์ผู้สอนได้มีการวางแผนกิจกรรม ใน 2 ลักษณะ 1)การพัฒนาสื่อการสอนและสื่อที่ เกี่ยวข้อง 2) วิจัยในชั้นเรียนที่เน้นการพัฒนาการ เรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้สื่อที่สร้างขึ้น

8 1)การพัฒนาสื่อการสอน Web site online P. Xuto

9 ตัวอย่างที่ 1 แบบฝึกหัดท้ายบทเรื่อง การเปลี่ยนแปลงในระยะคลอด P. Xuto

10 ตัวอย่างที่ 2 แบบฝึกหัดท้ายบทเรื่อง กลไกการคลอด P. Xuto

11 1)การพัฒนาสื่อที่เกี่ยวข้อง

12 P. Xuto 2) วิจัยในชั้นเรียนที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาโดย ใช้สื่อที่สร้างขึ้น กระบวนวิชา 554312 ได้ทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาการ จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(Developinging Blended Learning for the 21 st century learning skills) รศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม เป็นหัวหน้าวิจัย (อยู่ระหว่างการดำเนินการ)

13 P. Xuto  คงวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม (Blended Learning)  ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงสื่อได้ทั้งระบบ Online และ off line โดยจัดทำ CD แจกให้นักศึกษาแต่ละคน ภายในบรรจุด้วย สื่อ CAI เรื่องกลไกการคลอด, e-book เรื่องการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่, PowerPoint ประกอบการสอนในหัวข้อต่างๆ (งบวิจัย)  จัดสร้างกลุ่ม Line ของกระบวนวิชา 554312 เพื่อให้นักศึกษา สามารถติดต่อ พูดคุย ซักถามกับคณาจารย์ที่ร่วมสอนได้ ขั้นตอน 4: การประเมินผลและการปรับกลวิธีตามผลการประเมิน

14 P. Xuto ส่วนที่ 2: ผลลัพธ์และแนวโน้มของผลการดำเนินการ มีการขยายการผลิตสื่อไปในวิชาของ บัณฑิตศึกษา เช่น ในวิชา 569712 การ ประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงสำหรับผดุง ครรภ์ โดยมี ผศ.ดร.บังอร ศุภวิฑิตพัฒนา เป็นประธานกระบวนวิชา

15 P. Xuto ส่วนที่ 3: คุณค่าต่อองค์การจากการมีวิธีปฎิบัติที่ดี คณะฯขยายผลโดยการจัดเป็นสัมมนาวิชาการประจำปีในหัวข้อ การจัดการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ระยะที่ 1) ในวันที่ 1 และ 2 เมษายน 2557 ทางฝ่ายวิชาการได้ให้โอกาสกรรมการจัดโครงการการจัดการความรู้ ได้นำเสนอรูปแบบตัวอย่างของ กระบวนวิชา 554312 ตามวงจรที่ได้จัดทำขึ้น การจัดกิจกรรมดังกล่าวส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ให้คณาจารย์ของคณะเกิดการตื่นตัว มีบรรยากาศของการกระตุ้นให้คณาจารย์เร่งจัดทำสื่อหรือ วางแผนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดังกล่าว คณาจารย์ในกลุ่มวิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์และออร์โธปิดิกส์ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน (ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2557) สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้จัดประชุมวิชาการตลอดปี 2557 ในหัวข้อการพัฒนาการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้มีคณาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ ให้ความร่วมมือร่วมลงทะเบียนเข้าอบรม ในกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างแข็งขัน นับเป็นการขับเคลื่อนองค์กรที่สอดประสานกันได้เป็นอย่างดี

16 P. Xuto ส่วนที่ 3: คุณค่าต่อองค์การจากการมีวิธีปฎิบัติที่ดี คณะเภสัชศาสตร์ได้จัดโครงการ KM Day: Show & Share ประจำปี 2556 ภายในงานมีการประกวดโครงการ การจัดการความรู้ที่เป็นเลิศอีกด้วย ทางคณะพยาบาล ศาสตร์จึงได้นำโครงการนี้ส่งประกวดรางวัล Best Practice ในวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556 ณ ห้องประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับรางวัลชนะเลิศ

17 ปัจจัยเอื้อภายใน  วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่มองเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนองค์ความรู้โดยใช้รูปแบบการ จัดการความรู้และการต่อยอดกิจกรรม ผ่านระบบ PDCA และเมื่อได้แนวปฏิบัติแล้ว ผู้บริหารได้ใช้ โอกาสที่องค์กรเริ่มมีการขับเคลื่อน สร้างแรงเสริม เช่น จัดสัมมนาวิชาการเพื่อให้คณาจารย์ได้มี ส่วนร่วมในเรื่องนั้นๆต่อไป  บุคลากรมีการเปิดใจกว้าง ร่วมรับฟัง ให้โอกาสตนเองได้ทดลองทำสิ่งที่ใหม่ หรือ กระตือรือร้นใน การแสวงหาข้อมูลเพื่อพัฒนาตนเองในเรื่องนั้นๆ ปัจจัยเอื้อภายนอก  แรงขับเคลื่อนภายนอกองค์กร ในกรณีศึกษานี้ แรงขับเคลื่อนจากสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ถือเป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพล ที่คอยกระตุ้น สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับคณาจารย์ใน เรื่องดังกล่าว ซึ่งสำนักพัฒนาฯได้จัดให้มีการอมรมหรืออบรมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาการ เรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในหลายครั้งต่อปี ส่งผลให้คณาจารย์มองเห็นทิศทางของ มหาวิทยาลัยว่าต้องการให้คณาจารย์มีรูปแบบการสอนที่พัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาในเรื่องนี้  ประสบการณ์ของวิทยากรภายนอกองค์กรที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือ นำเสนอการ เรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ส่วนที่ 4: Key success factor to Best Practice P. Xuto

18 ส่วนที่ 5: คะแนนประเมินของตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพ องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต ในตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน ตัว บ่งชี้นี้ ระบุว่า “คณะควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของ นักศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อความสนใจใฝ่รู้และต่อศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของ นักศึกษา” โดยมีเกณฑ์มาตรฐานในข้อ 5 และ 6 ดังนี้ ข้อ 5 มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ข้อ 6มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากรอบการประกันคุณภาพ วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2556 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 คณะ พยาบาลศาสตร์ ได้ 4.00 รอบการประกันคุณภาพ วันที่ 24-25 มิถุนายน 2557 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 คณะพยาบาล ศาสตร์ ได้ 5.00

19 P. Xuto “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนนี้ อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการพัฒนา คุณภาพนักศึกษาให้เป็นไปตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย แต่การรูปแบบของการได้มา ซึ่งแนวปฏิบัติ ตลอดไปจนถึงวิธีปฏิบัติที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือของ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้วงจรคุณภาพนั้นหมุนไป จนส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม เป้าประสงค์ ดังนั้นการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดีในครั้งนี้ อาจเป็นแบบฝึกหัดตัวอย่างให้เกิดการพัฒนาใน เรื่องต่างๆโดยผ่านระบบการจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นรูปแบบและสามารถดำเนินการให้ ประสบความสำเร็จในเรื่องที่ต้องการได้” บทสรุป

20 P. Xuto Knowing is not enough, we must apply Willing is not enough, we must do Goethe

21 Thank you for your attention Question and Answer


ดาวน์โหลด ppt B est Practice การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยใน ชั้นเรียน องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต Piyanut Xuto, Ph.D, APN Faculty of.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google