งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

2 สิทธิคนพิการตามกฎหมาย
สิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ คนพิการ (CRPD) สิทธิตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ สิทธิตามกฎหมายอื่น

3 สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ม. 4 : คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคของบุคคล ม. 30 : ห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ ม. 49 : สิทธิในการได้รับการศึกษา และการสนับสนุนจากรัฐ ม. 54 : สิทธิเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือจากรัฐ ม. 80(1) : การสงเคราะห์ และจัดสวัสดิการแก่คนพิการ

4 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ CRPD
Convention on The Rights of PWD ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี เมื่อ 29 ก.ค.2551 รัฐธรรมนูญ ม.82 รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ

5

6

7 กฎหมายคนพิการ

8

9

10

11 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ. ศ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖

12 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ฉบับใหม่ล่าสุด

13 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมฯ แห่งชาติ
1 ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุน 2 ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินกองทุน 3 ว่าด้วยการจ่ายเงินสนับสนุนสภาคนพิการฯ/องค์การคนพิการ 4 ว่าด้วยบัตรประจำตัวคนพิการ 5 ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ 6 ว่าด้วยศูนย์บริการ 7 ว่าด้วยอนุกรรมการส่งเสริมฯ จังหวัด

14 บัตรประจำตัวคนพิการ

15 ยกเลิกระเบียบเก่า 3 ฉบับ
1 ว่าด้วยบัตรประจำตัวคนพิการ พ.ศ. 2552 2 ว่าด้วยบัตรประจำตัวคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 3 ว่าด้วยบัตรประจำตัวคนพิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555

16

17

18 ทำไมต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิ และใช้ประโยชน์ได้จากสิ่ง อำนวยความสะดวกอันเป็น สาธารณะ สวัสดิการ ความ ช่วยเหลืออื่นจากรัฐ

19 สถานที่ยื่นคำขอ เดิม ใหม่ พก. / ศูนย์คุ้มครอง พมจ. พก. /ศูนย์คุ้มครอง
พมจ. /ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด หน่วยงานของรัฐตามประกาศ (รพ. อปท.)

20 เอกสารรับรองความพิการ ทำบัตรใหม่เนื่องจากบัตรเดิมหมดอายุ
ทำบัตรครั้งแรก ทำบัตรใหม่เนื่องจากบัตรเดิมหมดอายุ เดิม ใช้ ใหม่ ไม่ใช้ เห็นโดยประจักษ์

21

22 คู่มือการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการตาม พ. ร. บ
คู่มือการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

23 อายุบัตรคนพิการ เดิม 8 ปี ทุกกรณี ใหม่ 8 ปี กรณีทั่วไป ตลอดชีวิต กรณี
อายุ 60 ปีขึ้นไป พิการเห็นโดยประจักษ์

24 การขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อ คนพิการ
การขจัดการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อ คนพิการ

25 “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ” คืออะไร ??
“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ” คืออะไร ??

26 มาตรา ๑๕ พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ การเลือกปฏิบัติโดยตรง คือ การ กระทำหรืองดเว้นกระทำต่อคนพิการโดยมีเจตนาให้คนพิการไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ การเลือกปฏิบัติโดยอ้อม คือ การกระทำหรืองดเว้นกระทำโดยไม่มีเจตนา แต่การกระทำดังกล่าวส่งผลให้คนพิการไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ

27 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หมายความว่า
การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจำกัดสิทธิบนพื้นฐานของความพิการ ซึ่งมีความมุ่งประสงค์หรือส่งผลให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวง บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นพลเมือง หรือด้านอื่นใด รวมถึง การเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ และการปฏิเสธการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล

28 เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อสตรี หรือไม่ ??

29 มาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่ง พรบ.ส่งเสริมฯ บัญญัติว่ากรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการก็อาจกระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี โดยไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ทุกคนปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอดเขาถือกันมาตั้งแต่โบราณเป็นเรื่องของประเพณี ที่วัดกับประชาชนในท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานตลอดระยะเวลากว่า 600 ปี ผู้หญิงไม่ว่าจะเป็นใครก็ขึ้นไปไม่ได้ แม้แต่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ก็ไม่เคยฝ่าฝืนข้อห้าม จึงไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพราะเป็นกรณีมีเหตุผลทางจารีตประเพณี

30 มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งไม่รับคนตาบอดเข้าเรียน โดยอ้างว่า ไม่มีหลักสูตรสำหรับคนพิการ อ่านตัวโน้ตดนตรีไม่ได้ เป็นการเลือกปฏิบัติฯ หรือไม่ คนตาบอดมีสิทธิอย่างไรบ้าง ??

31 คนไม่พิการหรือคนพิการย่อมมีสิทธิเข้ารับการศึกษาตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเลือกปฏิบัติ คนตาบอด มีสิทธิดังนี้ (มาตรา 16) 1. ร้องขอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิได้กระทำการนั้นได้ 2. ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกิน 4 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

32 ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive Damages)
ลงโทษตอบแทนผู้ละเมิดเพื่อปรามไม่ให้ทำไม่ชอบเช่นนั้นอีก และยังไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ฝ่ายผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์จำนวนค่าเสียหาย แต่ศาลกำหนดให้ตามความเหมาะสม เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากค่าเสียหายที่ชดใช้ทดแทนความเสียหายจริงๆ เฉพาะกรณีละเมิดที่มีพฤติการณ์รุนแรง เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจของผู้เสียหาย หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายอับอายหรือถูกเหยียดหยาม

33 คำถาม การที่สถานีขนส่งแห่งหนึ่งจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะเพื่อให้บริการแก่คนทั่วไปและจัดทำห้องน้ำคนพิการเพื่อให้บริการสำหรับคนพิการ แต่ได้มีการติดตั้งแผงเหล็กและโต๊ะจำหน่ายสินค้าขวางกั้นทางเข้าห้องน้ำคนพิการทำให้คนพิการไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ โดยสถานีขนส่งดังกล่าวได้แก้ไขโดยการติดตั้งป้ายกำหนดทางเข้าไว้ที่โต๊ะบริการซึ่งพนักงานมีหน้าที่เคลื่อนย้ายโต๊ะเพื่อเปิดทางให้คนพิการเข้าใช้บริการแล้ว กรณีดังกล่าวยังถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติฯหรือไม่

34 การที่สถานีขนส่งดังกล่าวได้แก้ไขข้อขัดข้องในเบื้องต้น ด้วยการให้พนักงานทำหน้าที่เคลื่อนย้ายโต๊ะเพื่อเปิดทางให้คนพิการเข้าใช้บริการ แต่การดำเนินการดังกล่าวทำให้คนพิการไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากไม่สามารถผ่านเข้าไปใช้ห้องน้ำคนพิการด้วยตนเองได้แต่ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น จึงถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ

35 ขั้นตอนการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ
คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ/องค์การด้านคนพิการ/บุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ ยื่นคำร้อง พก./พมจ./ศูนย์คุ้มครอง/หน่วยงานตามประกาศ สอบข้อเท็จจริง ไกล่เกลี่ย คณะอนุกรรมการส่งเสริมฯจังหวัด รายงานข้อเท็จจริง คณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติ วินิจฉัย/คำสั่ง เรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิคนพิการมาก ให้เสนอบอร์ดชาติวินิจฉัย แจ้งคู่กรณี

36 ระเบียบฯ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ
หมวด ระเบียบฯ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติฯ 1 คณะอนุกรรมการ 2 การร้องขอให้วินิจฉัย 3 การรวบรวมพยานหลักฐาน 4 การไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาท 5 การวินิจฉัยการร้องขอ 6 อัตราค่าตอบแทนอนุกรรมการ/ผู้ไกล่เกลี่ย

37 คณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติ
เดิม มาจากหน่วยงานรัฐ ผู้นำคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ (7+7+7) ใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ (5+4) สภาคนพิการ/องค์การคนพิการ เสนอชื่อ + ผู้ทรงคุณวุฒิอื่น

38 ผู้มีสิทธิร้องขอให้วินิจฉัย
1 คนพิการ 2 ผู้ดูแลคนพิการ 3 องค์กรด้านคนพิการ 4 บุคคลผู้รับมอบอำนาจ

39 วิธีการร้องขอให้วินิจฉัย
1 ยื่นหนังสือ/ส่งไปรษณีย์ 2 ด้วยวาจา 3 วิธีการอื่นใด

40 ยื่นคำขอที่ไหน 1 กรุงเทพฯ 2 ต่างจังหวัด พก. ศูนย์คุ้มครองฯ 37 เขต
กทม./หน่วยงานสังกัด หน่วยงานที่ ผอ.พก.ประกาศ 2 ต่างจังหวัด พมจ. ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด หน่วยงานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ

41 การไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาท
1 ผู้ไกล่เกลี่ย พก./พมจ./ศูนย์บริการ จัดหาผู้ไกล่เกลี่ย 2 การไกล่เกลี่ย เห็นเอง/รับแจ้ง 3 การรายงาน

42 ศูนย์บริการคนพิการ

43 ที่มา พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 20 /3 ให้จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

44 คืออะไร เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน ที่ให้บริการแก่คนพิการในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด โดยอาจได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก พก. หรือ กองทุนคนพิการ

45 ศูนย์บริการคนพิการ 2 แบบ
1 ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป อปท. หรือหน่วยงานของรัฐ เอกชน (ได้รับรองมาตรฐานองค์กร) - องค์กรด้านคนพิการ - องค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ 2 ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด จัดตั้งโดย พก.

46 ผู้อนุญาต ศูนย์บริการทั่วไป ผอ.พก ผู้ว่าราชการจังหวัด
ศูนย์บริการระดับจังหวัด จัดตั้งโดย พก.

47 บทบาทหน้าที่ 1 สำรวจ สภาพปัญหาคนพิการ ทำระบบข้อมูลในพื้นที่ 2
ให้ข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือคนพิการ 3 เรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 ช่วยเหลือในการดำรงชีวิต ฝึกอาชีพ จัดหางาน 5 ช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล 6 ประสาน คัดกรอง ส่งต่อ เพื่อการรักษาพยาบาล 7 ประสานหน่วยงานของรัฐให้ช่วยเหลือคนพิการ 8 ติดตามประเมินผล รายงานการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย 9 ปฏิบัติหน้าที่อื่น

48 ขอจัดตั้งศูนย์บริการ คนพิการกับใคร
ขอจัดตั้งศูนย์บริการ คนพิการกับใคร ผู้อำนวยการ พก. ผู้ว่าราชการจังหวัด

49 อายุใบอนุญาต 4 ปี

50 หลักฐานการยื่นขอจัดตั้ง
(1) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในการใช้สถานที่และอาคารที่จะขอจัดตั้งเป็นศูนย์ โดยให้ผู้ยื่นคำขอจัดตั้งศูนย์แสดงหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่หรืออาคาร (2) ข้อบังคับหรือตราสารขององค์กร (3) เอกสารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (4) คุณสมบัติผู้ยื่นคำขอจัดตั้งศูนย์

51 คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอและผู้ดำเนินการศูนย์
อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม. 3 มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติการกระทำผิดต่อคนพิการหรือละเมิดสิทธิคนพิการ ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษซึ่งไม่เป็นความผิดที่คนพิการ หรือองค์กรด้านคนพิการเป็นผู้เสียหาย ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

52 สถานที่ยื่นคำขอ เขต กทม. ยื่นที่สำนักงาน พก.
ต่างจังหวัด ยื่นที่ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด (พมจ.)

53 การสนับสนุน ให้ศูนย์ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินหรือด้านอื่นตามระเบียบที่ รมว. กระทรวง พม. กำหนด หรือได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

54 ศูนย์บริการระดับจังหวัด
ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดย พก. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และดำเนินการอื่นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด

55 หน้าที่ศูนย์บริการระดับจังหวัด
1 สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามสภาพและปัญหาคนพิการในพื้นที่จังหวัด 2 ประสาน คัดกรอง และส่งต่อคนพิการ หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าคนพิการ ได้รับการดูแล รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม 3 ประสาน และขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น/นำนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติ /จัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัด /บูรณาการแผนดังกล่าวเข้ากับแผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น 4 จัดทำทะเบียน ฐานข้อมูล และให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด 5 ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และอำนวยความสะดวกด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนบริการวิชาการแก่ศูนย์ องค์กรคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดเพื่อให้บริการแก่คนพิการ 6 ให้บริการช่วยเหลือให้คนพิการ เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด เฉพาะกรณีไม่มีศูนย์ให้บริการในเรื่องนั้น 7 ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ รวมทั้งดำเนินการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ 8 ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัด 9 ปฏิบัติหน้าทีอื่นตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.นี้ หรือตามที่คณะกรรมการ หรือสำนักงานมอบหมาย

56 มาตรฐานการดำเนินการและการให้บริการ
1. ให้ศูนย์บริการคนพิการมีมาตรฐานการดำเนินการและการให้บริการ ตามเกณฑ์ชี้วัดที่ พก. กำหนด 2. ให้ พก. สนับสนุนทางวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น ตรวจสอบ และกำกับการดำเนินงานของศูนย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัด

57 ระเบียบคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๖

58 เปลี่ยนองค์ประกอบ ประเด็น เก่า ใหม่ จำนวนอนุกรรมการ 22 34 เพิ่ม
รองประธาน 3 คน (นายก อบจ., พมจ.,ปธ.สภาคนพิการจังหวัด) เกษตร พาณิชย์ ท่องเที่ยว สถิติ พัฒนาฝีมือแรงงาน กศน. 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เปลี่ยนเลขานุการ จาก พมจ. เป็น ผอ.ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด เปลี่ยนผู้ช่วยเลขานุการ จาก จนท.พมจ./จนท.องค์กรคนพิการ เป็น จนท.พมจ./พนักงานกองทุน

59 เพิ่มคุณสมบัติอนุกรรมการ
ผู้แทนองค์กรคนพิการ + ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่มีประวัติเสียหายเกี่ยวกับเงินกองทุน ผู้แทนองค์กรคนพิการ มีบัตรคนพิการ/เป็นผู้ดูแล องค์กรที่เป็น ปธ.สภา ให้ผู้อื่นมาเป็นอนุแทนได้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เป็นกรรมการ/จนท.ขององค์กรคนพิการ การเข้า/พ้นตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรคนพิการ ตามที่องค์กรเสนอ ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ปี

60 การประชุม เดิม ใหม่ จำนวนครั้ง/ปี 3 6

61 อำนาจหน้าที่ อำนาจหน้าที่ ลำดับ 1
ประกาศกำหนดแผน/ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัด ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยบูรณาการให้เข้ากับแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนาของ อปท. ในจังหวัด 2 ประสานการดำเนินงาน/สนับสนุนหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ ประสานทรัพยากร /ระดมทุนเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัด 3 พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน อนุมัติโครงการ กำหนดวงเงินและค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนแผนงานโครงการและการขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนได้มอบหมาย และกำกับดูแล ติดตามการปฏิบัติ 4 ตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ สวัสดิการ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ และความช่วยเหลืออื่นตามที่กฎหมายกำหนด 5 กลั่นกรองแผนงานหรือโครงการในจังหวัดตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหรือ กพช. มอบหมาย 6 ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรด้านคนพิการและศูนย์บริการคนพิการภายในจังหวัด 7 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสม 8 ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการมอบหมาย


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google