งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Electronic Commerce 27/01/2007

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Electronic Commerce 27/01/2007"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Electronic Commerce 27/01/2007
Phaophak Sirisuk, PhD. Graduate School of Logistics Technology Mahanakorn University of Technology

2 Contents Introduction E-commerce transaction Development approach
What is e-commerce? Jargons E-commerce formats Benefits E-commerce transaction Development approach TBD issues Costs Security issues Introduction Cryptography Digital signature Website Development Case Studies

3 What is e-Commerce? “การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ต e-Business, e-Procurement, e-Readiness, e-Government ต่างมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้นในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน

4 e-Business Jargons BI=Business Intelligence: EC=E-Commerce:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต CRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า

5 e-Business Jargons SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

6 e-Commerce Formats Business to Consumer - B2C
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลง เป็นต้น Business to Business – B2B คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น มีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

7 e-Commerce Formats Business to Government – B2G
คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือ e-Government Procurement รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ การใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ Government to Consumer -G2C ไม่ใช่การค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

8 B2B versus B2C

9 e-Commerce Communications
การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล องค์กร บริษัท และตัวบุคคล การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล การใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสาร ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง คอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ อีดีไอ, ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต

10 e-Commerce Benefits ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่
ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น) ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

11 e-Commerce Benefits

12 e-Commerce Transaction

13 Searching & Advertising
ทำเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลให้มีคุณภาพ สามารถสืบค้นได้ง่าย ลูกค้าจะเข้ามาทำการสืบค้นหาข้อมูลสินค้าในอินเทอร์เน็ตหรืออาจจะช่องทางอื่นๆ ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจในการที่จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าต่อไป

14 Ordering การทำคำสั่งซื้อ
ฝั่งผู้ขายต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพรองรับอยู่ ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Carts) แสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าได้ทำการเลือกสินค้าใดๆไว้บ้างแล้ว รวมค่าสินค้า ภาษีค่าจัดส่งต่างๆ สามารถให้ลูกค้าเก็บข้อมูลรายการสินค้าไว้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำการสั่งซื้อภายหลัง ตัวอย่างที่ได้รับการยอมรับว่าดีมากคือของ Amazon.com

15 Payment Systems มีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุด
ไม่สะดวกไม่ซื้อ ลูกค้าภายในประเทศ ธนาณัติ การโอนเงินทางธนาคาร หรือ ตู้เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ลูกค้าต่างประเทศ บัตรเครดิตผ่านทางอินเทอร์เน็ต Escrow เมื่อชำระเงินไปนั้นเงินจะไม่ถูกส่งไปที่ผู้ค้าทันทีแต่จะถูกเก็บไว้ที่ Escrow ก่อน เมื่อครบกำหนดแล้วลูกค้าไม่คืนสินค้าหรือว่าตอบตกลงรับสินค้าแล้วจึงจะทำการโอนเงินนั้นให้กับผู้ค้าต่อไป

16 Credit Card Payment

17 Delivery Tangible Goods Intangible Goods ส่งพัสดุตามปกติ
ส่ง EMS ส่งผ่าน Courier แบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ Intangible Goods ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล สมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ

18 TBD Before Developing บริษัทมีความต้องการใช้งานระบบนี้หรือไม่
ความต้องการจะมาจากทั้งคู่ค้า ลูกค้า หรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ลองถามตัวเองดูว่าระบบนี้จะช่วยบริษัทได้อย่างไรบ้าง จะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง เขียนออกมาแล้วทำการให้คะแนนดูข้อดีข้อด้อยเปรียบเทียบกัน ถ้าจะลงมือทำต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์การประเมินผลให้ชัดเจน พร้อมหรือยัง ตรวจตราความพร้อมภายในองค์กร มีงบประมาณเท่าไร ทรัพยากรบุคคลที่จะดูแลเรื่องนี้ได้หรือไม่ ต้องจัดทีมงานให้ได้ชัดเจนเพราะเรื่องนี้ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ต้องมีการแเลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้ดูแลเว็บไซต์ นอกจากนั้นต้องดูทัศนคติของพนักงานด้วยว่าเห็นด้วยหรือต่อต้านหรือไม่อย่างไร พนักงานอาจจะกลัวว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนคน ทำให้ตกงานได้ ต้องทำความเข้าใจและวางแผนให้ดี

19 TBD Before Developing พัฒนาแผนธุรกิจใหม่ที่ใช้ร่วมกับระบบที่จะพัฒนา
กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ว่าทำไปทำไม จะพัฒนาไปถึงไหน กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทุนในทั้งอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ พิจารณาเรื่องแหล่งทุน (หากจำเป็นต้องใช้) สร้างเว็บไซต์ พัฒนาบุคลากร การคัดเลือกผู้ให้บริการหรือที่ปรึกษาโครงการ กำหนดเกณฑ์การวัดผล ออกแบบระบบ

20 แนวทางการพัฒนา “วัตถุประสงค์ของการใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทำให้เกิดกระบวนการที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้นลดการใช้กระบวนการที่ต้องมีคนเข้ามาเกี่ยวเพื่อลดความผิดพลาด เพิ่มความเร็วในการบริการ การพัฒนาและเลือกว่าจะใช้เทคโนโลยีใดๆมาใช้นั้น มีให้เลือกมากมายหลายวิธี ผู้ประกอบการอาจจะต้องเริ่มจากเล็กๆ ไม่ซับซ้อน เช่นการใช้อีเมล์ การดูอินเทอร์เน็ต และลองดูว่าคุณจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง จนถึงขั้นที่อาจจะสร้างเว็บไซต์ของบริษัทเองก็ได้”

21 การตรวจสอบความพร้อม/ความต้องการใช้งาน
“ลองพิจารณาในบริษัทดูอาจจะพบว่าตอนนี้ภายในบริษัทหรือร้านของเรามีใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในหลายๆรูปแบบแล้วก็ได้ คุณอาจจะมีเครื่องโทรสาร ใช้บริการ Telephone Banking กับธนาคาร การใช้บาร์โค้ดในการจัดการสินค้า ซึ่งเหล่าอุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็น การเริ่มต้นการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว มาดูในขั้นตอนที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นสิว่าคุณมีข้อมูลหรือมีความต้องการได้ข้อมูลอะไรจากลูกค้า จากซัพพลายเออร์หรือไม่ คงเป็นสิ่งที่ดีถ้าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเช่น ลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน ไม่ต้องมานั่งป้อนข้อมูลซ้ำ มานั่งเดาเอกสารที่ไม่ชัด หรือว่าจะมีกระบวนการอื่นๆอีกไหมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการค้า ให้พิจารณาดูเรื่องคู่ค้าของบริษัทว่าต้องติดต่อกับใคร อาจเป็นผู้บริโภคทั่วไป ซัพพลายเออร์ เป็นภาครัฐ หรือว่าตัวเราเองเป็นซัพพลายเออร์ให้กับคู่ค้า เมื่อทราบชัดเจนแล้วเริ่มหาข้อมูลว่าในธุรกิจรูปแบบที่ดำเนินอยู่นี้เขาใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กันหรือไม่อย่างไร และพิจารณาดูว่าคุณมีความพร้อมจะทำอย่างนั้นหรือยัง และจำเป็นหรือไม่อย่างไร”

22 e-Commerce Utilization
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าก่อนที่จะลงทุนในการพัฒนาควรจะมีการศึกษาก่อนว่าความจำเป็น ความต้องการใช้งานอยู่ในระดับใด อาจจะแบ่งได้ 3 ระดับคือ ระดับที่หนึ่ง ใช้อินเทอร์เน็ตและบริการที่มีให้ใช้มาวางแผนเพื่อช่วยในการทำการค้า ระดับที่สอง สร้างเว็บไซต์เพื่อทำการให้ข้อมูล/ประชาสัมพันธ์ ระดับที่สาม พัฒนาให้ครบวงจร

23 e-Commerce Utilization
ตารางสรุประดับการใช้งานเรียงจากระดับเบื้องต้นไปจนถึงซับซ้อนมาก งาน ประโยชน์ที่ได้รับ สิ่งที่ต้องจัดเตรียมเบื้องต้น จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น พิมพ์จดหมาย ทำบัญชี บันทึกข้อมูลต่างๆ ในการทำการค้า - ใช้อีเมล์ติดต่องานแทนการ ใช้โทรศัพท์ โทรสาร จัดพิมพ์เอกสารประชาสัมพันธ์ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบเดิม ข้อมูลที่ส่ง เผยแพร่ สามารถสร้างให้มี ลูกเล่น ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง สามารถแจกเอกสารหรือทำการเผยแพร่ ได้ในราคาถูก และถึงผู้รับในจำนวนมาก รวดเร็วในการได้รับคำแนะนำหรือการ ตอบรับจากลูกค้า คอมพิวเตอร์และโมเด็ม พร้อมทั้งสมัครเป็น สมาชิกใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือซื้อชุดคิตมาใช้

24 e-Commerce Utilization
World Wide Web - หาข้อมูลประกอบการทำธุรกิจ - ศึกษาตลาด ศึกษาคู่แข่ง - เพิ่มช่องทางการจัดหา จัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ เช่นเดียวกับข้างต้น สร้างระบบรับสมาชิกทาง อีเมล์และตอบอีเมล์อัตโนมัติ หรือระบบแฟกซ์อัตโนมัติ (Fax On demand System) - ส่งจดหมายข่าวหรือประกาศ โฆษณา ให้สมาชิก ที่ลงชื่อไว้ - ส่งคำสั่งซื้อสินค้าไปยังซัพพลายเออร์ อัตโนมัติตามที่กำหนดไว้ - ส่งใบเตือนการชำระเงินไปยังคู่ค้า โดยอัตโนมัติ - จัดหาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้ - จัดจ้าง/พัฒนาบุคลากร เพื่อพัฒนาและดูแล จัดทำเว็บไซต์ของบริษัท - เป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัม- พันธ์และเปิดตลาดใหม่ - ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงจุดเดียวของการ ให้ข้อมูลของบริษัทและตัวสินค้า ใช้ได้ทั้งสำหรับคู่ค้าและพนักงานใน บริษัท - ใช้ให้บริการหลังการขาย - จดทะเบียนโดเมนเนม - จัดหาเว็บโฮสติ้ง - สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ต

25 e-Commerce Utilization
จัดทำระบบอินทราเน็ต (ไม่จำเป็นสำหรับบริษัท/องค์กรขนาดเล็ก) - ให้บริการด้านข้อมูลที่สำคัญกับพนักงานภายในองค์กรได้สะดวก โดยเฉพาะกับองค์กรที่มีสาขากระจายไปทั่วประเทศ - ลดขั้นตอนการทำงานภายใน อาทิ การออกจดหมายเวียน ประกาศภายใน - Server - จัดสร้างฐานข้อมูลองค์กร - การออกแบบระบบที่จะใช้งาน พัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน - พัฒนาเรื่องข้อมูลที่มีความเคลื่อนไหว สร้างมูลค่าเพิ่มเว็บไซต์เพื่อบริการลูกค้า อาทิ ข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า - การซื้อขาย ชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต - ระบบการติดตามการจัดส่งสินค้า - ระบบห่วงโซ่การผลิต - ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต - เพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้า - เพิ่มศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดใหม่ มีโอกาสขายสินค้าสู่ตลาดใหม่ได้มากขึ้น - ได้รับเงินอย่างรวดเร็ว - เพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างคู่ค้า - ให้สิทธิในการเข้าดูฐานข้อมูลแก่คู่ค้า - อาจต้องลงทุนเรื่อง Server เพิ่มขึ้น - ต้องลงทุนด้านโปรแกรมและอุปกรณ์เกี่ยว กับการรักษาความปลอดภัยของระบบเพิ่ม มากขึ้น

26 Costs ค่าใช้จ่ายขั้นต้น (One-time Costs)
ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ โมเด็ม เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องสแกนบาร์โค้ด ค่าอุปกรณ์เครือข่ายในสำนักงาน อาทิ ค่าสาย LAN ค่า HUB ค่า Server ที่จะใช้ ค่าใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ค่าจดทะเบียนโดเมนเนม ค่าพัฒนาเว็บไซต์หรือระบบที่ใช้

27 Costs ค่าใช้จ่ายประจำ (Continuous Costs) จ่ายตามรอบ
ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ ค่าเช่าสายสัญญาณ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ค่าเปลี่ยนหรืออัพเกรดอุปกรณ์

28 Computer Security Authentication & Authorization Confidentiality
การระบุตัวบุคคล และ อำนาจหน้าที่ เปรียบเทียบได้กับการแสดงตัวด้วยบัตรประจำตัวซึ่งมีรูปติดอยู่ด้วย หรือ การใช้ระบบล็อคซึ่งผู้ที่จะเปิดได้จะต้องมีกุญแจอยู่เท่านั้น Confidentiality การรักษาความลับของข้อมูล เปรียบเทียบได้กับ การปิดผนึกซองจดหมาย การใช้ชองจดหมายที่ทึบแสง การเขียนหมึกที่มองไม่เห็น เป็นต้น

29 Computer Security Integrity Non-repudiation
การรักษาความถูกต้องของข้อมูล เปรียบเทียบได้กับ การเขียนด้วยหมึกซึ่งถ้าถูกลบแล้วจะก่อให้เกิดรอยลบขึ้น การใช้โฮโลแกรมกำกับบนบัตรเครดิต Non-repudiation การป้องกันการปฎิเสธ หรือ อ้างความรับผิดชอบ เปรียบเทียบได้กับการส่งจดหมายลงทะเบียน เป็นต้น

30 Cryptography การรหัส การทำให้ข้อมูลที่จะส่งผ่านไปทางเครือข่ายอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถอ่านออกได้ ด้วยการเข้ารหัส (Encryption) ทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์จริงเท่านั้นจะสามารถอ่านข้อมูลนั้นได ด้วยการถอดรหัส (Decryption) นั่นคือ สามารถรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ (Confidentiality) กำหนดผู้มีสิทธิ์ได้ (Authentication & Authorization) การเข้ารหัส และ ถอดรหัสนั้นจะอาศัยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน และ ต้องอาศัยกุญแจซึ่งอยู่ในรูปของพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ ตัวกุญแจนั้นจะมีความยาวเป็น บิต(bit) ยิ่งกุญแจมีความยาวมาก ยิ่งปลอดภัยมาก มีสองแบบ Symmetric Key หรือ Secret Key Cryptograph Asymmetric Key หรือ Public Key Cryptography

31 Secret Key Cryptography
การรหัสแบบกุญแจสมมาตร การเข้า และ ถอดรหัส โดยใช้กุญแจลับที่เหมือนกัน ตัวอย่าง นายแดงเป็นผู้ส่ง จะทำการส่งผ่านข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ไปยัง ผู้รับคือนางแดง นายดำทำการเข้า รหัสข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ด้วยกุญแจลับ ข้อความนั้นจะเปลี่ยนเป็น ข้อความที่เข้ารหัสแล้ว (Cipher Text) "ก\ยd-#ี)+ใ" ถูกส่งไปยังนางแดง นางแดงก็ใช้กุญแจลับเดียวกันกับที่นายแดงใช้เข้ารหัสมาทำการถอดรหัสออกมาเป็นข้อความเดิมคือ "ผมชื่อนายดำ" กุญแจลับจะเป็นกุญแจเดียวกันซึ่งจะต้องเป็นที่รู้กันเพียงผู้รับและผู้ส่งเท่านั้น

32 Secret Key Cryptography

33 Public Key Cryptography
การรหัสแบบกุญแจอสมมาตร การเข้า และ ถอดรหัส ด้วยกุญแจต่างกัน ตัวอย่าง นายดำเป็นผู้ส่งทำการเข้ารหัสข้อความ "ผมชื่อนายดำ" ไปเป็น ด้วยกุญแจสาธารณะของผู้รับ (นางแดง) นายดำขอกุญแจนั้นมาจากองค์กรกลางที่เก็บกัญแจสาธารณะของบุคคลต่างๆไว้ ข้อความที่เข้ารหัสแล้วถูกส่งไปยัง นางแดง นางแดงจะทำการถอดรหัสข้อความด้วยกุญแจส่วนตัวของนางแดง และ นางแดงเท่านั้นจะเป็นผู้มีสิทธิ์เนื่องจากนางแดงจะเป็นผู้เดียวที่มีกุญแจส่วนตัวของนางแดงเอง เน้นที่ผู้รับเป็นหลัก คือ จะใช้กุญแจสาธารณะของผู้รับซึ่งเป็นที่เปิดเผยในการเข้ารหัส และ จะใช้กุญแจส่วนตัวของผู้รับในการถอดรหัส

34 Public Key Cryptography

35 Pros & Cons แบบกุญแจอสมมาตร ข้อดี - การบริหารจัดการกุญแจทำได้ง่ายกว่า เพราะใช้กุญแจในการเข้ารหัส และ ถอดรหัสต่างกัน - สามารถระบุผู้ใช้โดยการใช้ร่วมกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อเสีย - ใช้เวลาในการเข้า และ ถอดรหัสค่อนข้างนาน เพราะต้องใช้การคำนวณอย่างมาก แบบกุญแจสมมาตร ข้อดี - มีความรวดเร็ว เพราะใช้เวลาในการคำนวณที่น้อยกว่า - สามารถสร้างได้ง่ายโดยใช้ฮาร์ดแวร์ ข้อเสีย - การบริหารจัดการกุญแจทำได้ ยากเพราะ กุญแจในการเข้ารหัส และ ถอดรหัส เหมือนกัน

36 Digital Signature ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้น นอกจากจะทำให้ข้อมูลที่ส่งนั้นเป็นความลับสำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์โดยการใช้เทคโนโลยีการรหัส แล้ว สำหรับการทำนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไป ลายมือชื่อจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการระบุตัวบุคคล (Authentication)

37 Digital Signature ลายมือชื่อดิจิทัล คือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการเข้ารหัสข้อมูลด้วยกุญแจส่วนตัวของผู้ส่งซึ่งเปรียบเสมือนเป็นลายมือชื่อของผู้ส่ง คุณสมบัติของลายมือชื่อดิจิทัล นอกจากจะสามารถ ระบุตัวบุคคล และ เป็นกลไกการป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบแล้ว ยังสามารถป้องกันข้อมูลที่ส่งไปไม่ให้ถูกแก้ไข หรือ หากถูกแก้ไขไปจากเดิมก็สามารถล่วงรู้ได้ กระบวนการสร้างและ ลงลายมือชื่อดิจิทัล

38 Digital Signature Process

39 Digital Certificate ด้วยการรหัส และ ลายมือชื่อดิจิทัล ในการทำธุรกรรม เราสามารถ รักษาความลับของข้อมูล รักษาความถูกต้องของข้อมูล ระบุตัวบุคคลได้ระดับหนึ่ง เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในการระบุตัวบุคคล โดยสร้างความเชื่อถือมากขึ้นด้วย อาจใช้ใบรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) ออกองค์กรรับรองความถูกต้อง(Certification Authority) ข้อมูลระบุผู้ที่ได้รับการรับรอง ชื่อ องค์กร ที่อยู่ ข้อมูลระบุผู้ออกใบรับรอง ลายมือชื่อดิจิทัลขององค์กรที่ออกใบรับรอง หมายเลขประจำตัวของผู้ออกใบรับรอง กุญแจสาธารณะของผู้ที่ได้รับการรับรอง วันหมดอายุของใบรับรองดิจิทัล ระดับชั้นของใบรับรองดิจิทัล ซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับ ในระดับ 4 จะมีกระบวนการตรวจสอบเข้มงวดที่สุด และ ต้องการข้อมูลมากที่สุด หมายเลขประจำตัวของใบรับรองดิจิทัล

40 Website Development 1. แสดงชื่อร้านค้า ตราสัญลักษณ์ ที่อยู่และรายละเอียดที่ติดต่อได้ให้ชัดเจน 2.ออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายเข้าถึงสินค้าได้รวดเร็วและสะดวก เข้าถึงสินค้า กดที่รูปให้แสดงรายละเอียดสินค้าได้ทันที

41 Website Development 3. ในหน้าของรายละเอียดสินค้าควรจะแจ้งลูกค้าให้ชัดเจนว่าสินค้ามีคุณลักษณะเป็นอย่างไร จำนวน สี ราคา ส่วนลดต่างๆ

42 Website Development 4. ระบบตะกร้าสินค้าที่สะดวกต่อการใช้งาน ลูกค้าสามารถจัดการตะกร้าได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ ดูยอดสินค้ารวม ยอดเงินรวม การบันทึกไว้เพื่อมา ทำคำสั่งซื้อภายหลัง เป็นต้น

43 Website Development จัดทำเรื่องเงื่อนไขในการซื้อสินค้า การคืน สินค้า และการรับประกันสินค้าให้ชัดเจนโดยที่ลูกค้าสามารถพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก ต้องแจ้งให้ชัดเจนไปว่าจะมีการนำข้อมูลที่ลูกค้าให้ไว้ไปใช้หรือไม่อย่างไร จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นถ้าสามารถทำการลงทะเบียนขอใบรับรองเว็บไซต์ ในไทยยังไม่มีการให้บริการในเรื่องนี้ อาจใช้ความน่าเชื่อถือของเรื่องการชำระเงินแทนไปก่อนได้

44 E-Commerce Businesses
ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก - AOL (ธุรกิจ ISP) - Business Online ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน - Pay Pal - Siamguru ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ - Amazon - Thaigem ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา - Greater Good - Yahoo บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ - MERX - eCitizen ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ - Egghead - Priceline ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ - Paper Exchange - FoodMarketExchange ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity - Dell - Cement Thai Online

45 America Online, Inc.

46

47 Profile America Online, Inc. หรือที่เรียกว่า AOL ( เป็นISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีบริการเสริม (Value Added) บริการข้อมูลหลักทรัพย์ ข่าวต่างๆ และห้องสนทนาเป็นต้น ก่อตั้งเมื่อปี 1985 ซื้อธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) CompuServe และ Netscape Communication Corp เป็นต้น ปี 2001 AOL ได้ควบรวมกิจการกับ Time Warner Inc. และเปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น AOL Time Warner Inc. ปี 2000 AOL มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 15,000 คน และมีสมาชิกประมาณ 23.2 ล้านราย มากกว่า MSN ของบริษัท Microsoft ถึงประมาณ 10 เท่า

48 Business Models ประกอบด้วยธุรกิจ 4 กลุ่ม
กลุ่มธุรกิจออนไลน์แบบโต้ตอบ เป็นธุรกิจหลักที่ให้บริการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตผ่านบริการของ AOL และ CompuServe เช่น บริการเว็บไซต์ท่า AOL.com และบริการ AOLTV เป็นต้น กลุ่มธุรกิจออนไลน์แบบโต้ตอบอื่นๆ เป็นการเพิ่มบริการเสริมให้บริการหลัก เช่น บริการ ICQ บริการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ (Web-based Communications Service) บริการ AOL Instant Messenger (AIM) และบริการจองบัตรเข้าชมภาพยนตร์ของ Moviefone, Inc. เป็นต้น กลุ่มธุรกิจในต่างประเทศ เป็นการประกอบธุรกิจต่างๆ ที่อยู่นอกสหรัฐฯ เช่น บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน AOL และ CompuServe ในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเน็ตสเคปเดิม เป็นบริการด้านการผลิตซอฟต์แวร์ การสนับสนุนงานทางเทคนิคตลอดจนการให้คำปรึกษาและฝึกอบรม เป็นต้น รับสมาชิกใหม่โดยการนำแผ่นซีดี-รอมซึ่งบรรจุโปรแกรมสำหรับลงทะเบียนไปวางไว้ในร้านหนังสือขนาดใหญ่ หรือร้านวิดีโอในเครือของ Block Buster

49 Revenues ปี 2000 ปี 1999 ปี 1998 รายได้จากค่าสมัครสมาชิก 4,400 (63.9%)
3,321 (69.1%) 2,183 (70.1%) รายได้จากค่าโฆษณา 1,986 (28.8%) 1,027 (21.4%) 566 (18.2%) รายได้จากการบริการระบบแก่ธุรกิจ 500 (3.7%) 456 (9.5%) 365 (11.7%) รายได้รวม 6,886 (100) 4,804 (100) 3,114 (100)

50 Strength การพัฒนาบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ มีบริการหลายรูปแบบ สามารถติดตามข่าวสาร หรือราคาหลักทรัพย์ที่ตนสนใจอยู่ได้ พัฒนาอย่างต่อเนื่องในการสนองความต้องการของลูกค้า ลูกค้าว่าการใช้อินเทอร์เน็ตอาจทำให้เยาวชนต้องเผชิญกับสารสนเทศที่ไม่เหมาะสม AOL ก็พัฒนาบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกรองสารสนเทศดังกล่าว ลูกค้ามีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวในการใช้อินเทอร์เน็ต AOL ก็ประกาศนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว (Privacy Policy) ของลูกค้ มีบริการสารสนเทศต่างๆมากมาย ผู้ใช้ส่วนใหญ่ของ AOL สามารถท่องไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแทบไม่ต้องออกจากสภาพแวดล้อมของ AOL เลย

51 Paypal, Inc.

52 Profile Paypal Inc. ( เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C-to-C Payment) หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (P-to-P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1998 และเริ่มให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในระหว่างปีแรกที่ให้บริการ บริษัทมีลูกค้าเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกว่า 3 ล้านราย และมีธุรกรรมต่อวันมากกว่า 100,000 ธุรกรรม บริการ การโอนเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาดประมูลต่าง ๆ เช่น Ebay การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่าง บุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าออนไลน์

53 Customer Benefits เดิมใช้การชำระด้วยเงินสด การส่งเช็ค การโอนเงิน (Transfer) และการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งไม่สะดวก การชำระเงินด้วยเงินสด ต้องมีการพบปะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย การส่งเช็คไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลต้องใช้ระยะเวลานาน และผู้ที่ได้รับเช็คต้องนำเช็คดังกล่าวไปฝากธนาคารก่อน การชำระเงินด้วยการโอนเงินมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตยังไม่สามารถชำระโดยตรงระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้ บริการของ Paypal สามารถรองรับการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคได้ มีต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำและสามารถสั่งจ่ายเงินที่มีมูลค่าน้อย มีความรวดเร็วเสมือนกับการรับและส่งเช็คทางออนไลน์ และสามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

54 Revenues ประเภทบัญชี ค่าธรรมเนียมบริการ น้อยกว่า $15
รายได้หลักของบริษัทจะมาจากค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งจัดเก็บจากผู้รับเท่านั้น ประเภทบัญชี ค่าธรรมเนียมบริการ น้อยกว่า $15 ตั้งแต่ $15 ขึ้นไป บัญชีส่วนบุคคล* ไม่คิดค่าบริการ บัญชีแบบ Premier $0.30 2.2% + $0.30 * กำหนดให้รับโอนเงินจากบัตรเครดิตได้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ      

55 Revenues เมื่อต้นปี 2001 Paypal มีสมาชิกเกือบ 7 ล้านราย และมีร้านที่เปิดรับชำระเงินจาก Paypal กว่า 7,000 แห่ง แต่ละวันมีปริมาณการโอนและชำระเงินเงินผ่านระบบของ Paypal กว่า 160,000 ครั้งต่อวัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน

56 Strength สามารถสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าได้
ในระหว่างเริ่มต้นการประกอบธุรกิจ Paypal ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วยการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Board of Advisory) ที่มาจากกลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption Technology) สามารถคิดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่าแบบเดิมคือบริการของธนาคารและบัตรเครดิต มีร้านค้าออนไลน์จำนวนมากรับชำระค่าบริการด้วยระบบชำระเงินของ Paypal ร้านค้ากว่า 7,000 แห่ง และเว็บไซต์ประมูลเกือบทั้งหมด

57

58 Cement Thai Online

59 Profile บริษัท ค้าวัสดุซิเมนต์ไทย จำกัด ( เป็นบริษัทในเครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) หรือ “เครือซิเมนต์ไทย” ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามแผนการปรับโครงสร้างของเครือซิเมนต์ไทยปี 2541 เพื่อดำเนินกิจการในธุรกิจการตลาด การจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้าทั้งในและต่างประเทศสำหรับวัสดุก่อสร้างและเคหะภัณฑ์ ในปี 2531 บริษัทได้นำนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเสริมการบริการรับสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ทดแทนการใช้พนักงานขายนำเสนอขายสินค้าด้วยวิธีพบลูกค้า (Face to Face) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้งานที่เป็นส่วนตัวของบริษัทเอง (Proprietary) และเช่าคู่สาย (Leased Line) ที่เชื่อมต่อตรงระหว่างบริษัทและลูกค้า โดยไม่ผ่านผู้ประกอบการอื่น ให้บริการเพียงการรับสั่งซื้อสินค้าเท่านั้น ใช้วิธีการส่งเอกสารทางไปรษณีย์แจ้งการปรับปรุง (Update) ข้อมูลสินค้าและราคาล่าสุด ซึ่งเป็นวิธีการที่ล่าช้าและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อ

60 Profile ในปี 2541 บริษัทค้าวัสดุซิเมนต์ไทย ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นตามแผนโครงสร้างของเครือซิเมนต์ไทย เพื่อเป็นบริษัทรวมทุน (Holding Company) ดูแลบริษัทในเครือ ดังต่อไปนี้ บริษัท ซิเมนต์ไทยการตลาดจำกัด ประกอบธุรกิจการจัดจำหน่ายในประเทศ บริษัท ซิเมนต์ไทยโลจิสติกส์จำกัด ประกอบธุรกิจการกระจายสินค้า ซึ่งครอบคลุมการให้บริการด้านการจัดส่ง และการบริหารคลังสินค้า บริษัทค้าสากลซิเมนต์ไทยจำกัด ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ในปลายปี 2542 บริษัทค้าวัสดุซิเมนต์ไทยจำกัด มีการจัดตั้งศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) โดยที่บริษัทเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ของลูกค้า ในปลายปี 2543 นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการลูกค้าผ่านระบบที่เรียกว่า Web Base (ระบบใหม่) แทนระบบอิเล็กทรอนิกส์เดิม ในระหว่างปี 2543 มียอดจำหน่ายสุทธิของบริษัทลูกประมาณ 48,000 ล้านบาท โดยมีสินค้าในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเคหะภัณฑ์กว่า 50,000 รายการ ทั้งสินค้าของเครือซิเมนต์ไทย และสินค้าจากผู้ผลิตนอกเครือซิเมนต์ไทย ปัจจุบันบริษัทมีระบบการจัดจำหน่ายสินเค้าผ่านเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย (Dealer) ที่แข็งแกร่งกว่า 600 ราย และมีเครือข่ายร้านซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ทกว่า 300 รายทั่วประเทศ

61 Business Model CRM พนักงานขายตรง (Face to Face) เน้นกลุ่มสินค้าใหม่ที่ต้องการให้คำแนะนำและการให้ข้อมูลสินค้า กลุ่มสินค้าที่ต้องการการต่อรองราคาพิเศษ เป็นต้น ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) เน้นกลุ่มสินค้าที่ต้องการการผลักดันเป็นพิเศษและสร้างยอดขาย อินเทอร์เน็ต (Internet) บริษัทนำอินเทอร์เน็ต (Web Base) เข้ามาให้บริการรับสั่งซื้อสินค้าแทนระบบเดิม และระบบใหม่นี้สามารถทำธุรกรรมด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น แสดงข้อมูลสินค้า ติดตามสถานะการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัทให้มากยิ่งขึ้น

62 Business Model ผู้ที่สนใจต้องการใช้บริการออนไลน์ของบริษัทค้าวัสดุซิเมนต์ไทยจำกัด ต้องเป็นลูกค้าของบริษัท (ดีลเลอร์) เท่านั้น ซึ่งต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ ลูกค้าต้องติดต่อผ่านพนักงานขาย (Salesman) ของบริษัท เพื่อขอสิทธิในการใช้บริการออนไลน์ของบริษัท เมื่อลูกค้าได้รับการอนุญาต บริษัทจะให้ชื่อบัญชี (Account) รหัสลับ (Password) ซึ่งเปลี่ยนเองได้ภายหลัง เครื่องคอมพิวเตอร์ และบริการอินเทอร์เน็ต (Internet Services) นอกจากนี้ บริษัทยังให้บัญชีอีเมล์ ( Account) แก่ลูกค้า ร้านค้าละ 1 บัญชี เมื่อลูกค้าใช้บริการสั่งซื้อสินค้า ลูกค้าสามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งแสดงให้รู้ว่าคลังสินค้ามีสินค้าหรือไม่ การจองสินค้ามีสินค้าหรือยัง ความก้าวหน้าในการจัดเตรียมส่งสินค้าครบหรือยัง เป็นต้น ยังไม่มีบริการชำระเงินออนไลน์

63 Benefits ลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการลูกค้าของ Call center
การบริการผ่านอินเทอร์เน็ตประหยัดกว่าศูนย์บริการลูกค้า 6–10 เท่า (ลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ โทรสาร และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ) ลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบ ลดค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สาย 2 ล้านบาทต่อปี (เมื่อหักค่าบริการอินเทอร์เน็ตที่บริการให้ลูกค้าแล้ว) ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory) เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการให้รวดเร็วและหลากหลายมากขึ้น การแสดงข้อมูลของสินค้าที่เป็นเรียลไทม์ การรับสั่งซื้อสินค้าแบบเรียลไทม์

64 Strength พัฒนาระบบติดตามสถานะการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า (Transaction Tracking) ลูกค้าทราบว่าจะได้รับสินค้าเมื่อไร สินค้ามีอยู่ในคลังสินค้าหรือไม่ สภาพทางการเงินของลูกค้าที่ต้องชำระเงิน สถานภาพการจองสินค้าเป็นอย่างไร มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มานาน ลูกค้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบ Web Base ได้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก เพราะลูกค้าและพนักงานมีความคุ้นเคยกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการปรับตัวของลูกค้า สามารถลดจำนวนคลังสินค้าและปริมาณการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าของบริษัท ลดต้นทุนได้อย่างมาก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระบบ ERP เพื่อเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาระบบจัดการอื่นๆ ระบบจัดส่งสินค้า ระบบสื่อสารระหว่างพนักงานภายใน

65


ดาวน์โหลด ppt Electronic Commerce 27/01/2007

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google