งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการประชาสัมพันธ์เรื่อง (Employee’s Choice) สู่ Master Fund

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการประชาสัมพันธ์เรื่อง (Employee’s Choice) สู่ Master Fund"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการประชาสัมพันธ์เรื่อง (Employee’s Choice) สู่ Master Fund

2 ประเด็นการนำเสนอ 1. Employee's Choice คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร 2. เหตุใดต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกลงทุนเอง 3. Employee's Choice สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กปภ.ฯ 4. ความรู้เรื่องการลงทุน ในตราสารหนี้และตราสารทุน 5.แนวทางในการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน 5.1 สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการตัดสินใจ 5.2 การวางแผนเพื่อการเกษียณ และการมีวินัยในการออม 6. สมาชิกจะต้องทำอะไรต่อจากนี้ 7. สรุปสาระสำคัญหลักเกณฑ์ในการเลือกลงทุน Employee's Choice

3 1. Employee's Choice คืออะไร

4 Employee’s choice คืออะไร ?

5 ข้อดีสำหรับการจัดตั้ง Employee’s Choice
เปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสามารถเลือกประเภทการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่รับได้เหมาะสม และ/หรือ ตรงตามวัตถุประสงค์ของตนเอง เพิ่มความยืดหยุ่นแก่สมาชิก โดยสามารถเปลี่ยนกองทุน/นโยบายการลงทุนได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนสามารถเลือกการลงทุนในลักษณะกระจายความเสี่ยง (Diversification) ในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่แตกต่าง และหลากหลายมากขึ้น ส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ และมีความรับผิดชอบในการลงทุนของตนเองมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการลงทุนในตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ

6 ข้อเสียสำหรับการจัดตั้ง Employee’s Choice
หากสมาชิกไม่มีความรู้เพียงพอ อาจทำให้เลือกนโยบายการลงทุนผิดพลาด จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อสมาชิกได้ หากเกิดภาวะเศรษฐกิจผันผวน สมาชิกที่เลือกนโยบายการลงทุนไว้ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในเวลานั้น จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ทัน

7 เลือกนโยบายลงทุนควรให้สอดคล้องกับ...
อายุ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ วัยเริ่มต้นทำงาน วัยกลางคน วัยใกล้เกษียณ

8 2. เหตุใดต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกลงทุนเอง

9 เหตุใดต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกลงทุนเอง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนใหญ่มีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้ทำ หน้าที่กำหนดนโยบาย คณะกรรมการกองทุนตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเป็นหลักเพื่อให้เงินกองทุนมีความปลอดภัยมากที่สุด ผลตอบแทนในระยะยาวอาจไม่พอใช้เมื่อถึงวัยเกษียณ สมาชิก จะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน หรือการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน เพื่อใช้พิจารณาในการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะสมกับลักษณะของตนเอง และมุ่งสู่เป้าหมายในการที่จะมีเงินใช้อย่างเพียงพอในยามเกษียณ

10 3. ทางเลือกนโยบายลงทุนของสมาชิก

11 ทางเลือกนโยบายลงทุนของสมาชิกกองทุน

12 ที่ผ่านมา.. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
มีนโยบายลงทุนเพียงแบบเดียว ลงทุนตราสารหนี้ ไม่น้อยกว่า 80% และ ตราสารทุนไม่เกิน 20% กำหนดนโยบายโดยคณะกรรมการกองทุน (ผู้แทนจากนายจ้าง+ผู้แทนจากสมาชิก)

13 ก้าวสู่โครงการ....หลายนโยบายลงทุน
คณะกรรมการกองทุนฯ จัดตั้งกองทุนหลายนโยบาย เพื่อสร้างโอกาสแก่สมาชิกให้รู้จักและสนใจเรื่อง การลงทุน การประเมินตนเอง และพิจารณาตัดสินใจเลือกนโยบายลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เปลี่ยนรูปแบบจากกองทุนที่มีนโยบายเดียวเป็น กองทุนที่มีหลายนโยบาย (Master Fund)

14 สมาชิกเลือกเพียง 1 แผนการลงทุน
นโยบายของ การประปาส่วนภูมิภาค เพื่อสมาชิกเลือก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กปภ.ฯ นโยบาย ตราสารหนี้ นโยบาย ตราสารทุน รูปแบบการลงทุนที่ 1 100% รูปแบบการลงทุนที่ 2 95% 5% รูปแบบการลงทุนที่ 3 90% 10% รูปแบบการลงทุนที่ 4 85% 15% รูปแบบการลงทุนที่ 5 80% 20% รูปแบบการลงทุนที่ 6 75% 25% สมาชิกเลือกเพียง 1 แผนการลงทุน

15 4. ความรู้เรื่องการลงทุน

16 ตราสารหนี้คืออะไร ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน
ผู้ออกตราสาร เป็นผู้กู้ (หรือลูกหนี้) ผู้ซื้อ เป็นผู้ให้กู้ (หรือเจ้าหนี้) ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น ตามเวลาที่กำหนด โดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนและสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จนกว่าจะหมดอายุของตราสาร ในประเทศไทยนิยมเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐว่า พันธบัตร (Bond) และเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนว่า หุ้นกู้ (Debenture) ผู้ออกตราสาร ผู้ซื้อ 16

17 ประเภทของตราสารหนี้ในประเทศไทย
17

18 อัตราผลตอบแทนในการลงทุนใน ตราสารหนี้
อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราผลตอบแทนจากที่ผู้ออกต้องจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้ กำไร/ขาดทุนจากการขาย (Capital Gain/Loss) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ มาจากการที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับขึ้นหรือลง อัตราดอกเบี้ยในตลาด  ราคาตราสารหนี้  อัตราดอกเบี้ยในตลาด  ราคาตราสารหนี้  18

19 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด
ตัวอย่าง : พันธบัตรรัฐบาลราคา 100 บาท, อัตราดอกเบี้ย 5%, ระยะเวลา 4 ปี ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย ตลาด 5% 3% 10% 10% ดอกเบี้ยรับ 5 5 5 5 ราคาพันธบัตร (Mark to Market) 100 105 95 100

20 การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
สัญลักษณ์ ความหมาย AAA อันดับเครดิตสูงสุด มีความเสี่ยงต่ำที่สุด AA มีความเสี่ยงต่ำมาก A มีความเสี่ยงในระดับต่ำ BBB มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง BB มีความเสี่ยงในระดับสูง B มีความเสี่ยงในระดับสูงมาก C มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงที่สุด D เป็นระดับที่อยู่ในสภาวะผิดนัดชำระหนี้ ระดับที่ลงทุนได้ Base on FITCH Ratings scales

21 ตราสารทุน (Equity) หมายถึง ตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้น มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกิจการในลำดับหลังเจ้าหนี้ กรณีบริษัทต้องชำระบัญชีเลิกกิจการ มีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการอย่างเต็มที่ ในรูปของเงินปันผล ได้รับกำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ที่ซื้อขายทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ด้วย ตัวอย่างตราสารทุน : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ 21

22 ตราสารทุน (Equity) ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน
ภาวะอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมใดอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือขาลง ราคาหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือปรับตัวลดลง เช่นกัน ผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นโดยตรง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ กลยุทธ์ของบริษัท และความสามารถของผู้บริหาร ภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี ราคาหุ้นมักจะเพิ่มขึ้น เพราะผู้ลงทุนมองว่าโอกาสที่บริษัทจะขาดทุนในช่วงนี้มีน้อย แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวลดลงเช่นกัน

23 ความแตกต่างของตราสารหนี้ และตราสารทุน
ผู้ถือตราสาร เป็นเจ้าหนี้ เป็นเจ้าของ ผลตอบแทน ดอกเบี้ย , กำไรจากการขาย เงินปันผล , กำไรจากการขาย ความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย การผิดนัดชำระ ของผู้ออกตราสาร การขาดสภาพคล่อง ผลตอบแทนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ ภาวะอุตสาหกรรม ภาวะเศรษกิจและผลประกอบการของบริษัท ประเภทของตราสาร เงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ ลดความเสี่ยงโดย คัดเลือกตราสารที่จะลงทุน และ กระจายการลงทุนในหลายบริษัท อายุของตราสาร กำหนดไว้แน่นอนเป็นการล่วงหน้า ไม่มีอายุแน่นอน สิทธิในการเรียกร้องกรณีผู้ออกตราสารล้มละลาย มีสิทธิเหนือกว่าผู้ถือหุ้นในการเรียกร้องทรัพย์สิน มีสิทธิด้อยกว่าผู้ถือตราสารหนี้ในการเรียกร้องทรัพย์สิน

24 5. แนวทางในการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน

25 คุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
5.1 สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการตัดสินใจ คุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ระดับความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกัน กับระดับผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ ความเสี่ยงต่ำ / โอกาสได้ผลตอบแทนสูงมีน้อย แต่โอกาสที่จะสูญเสียก็มีน้อย ความเสี่ยงสูง / โอกาสได้ผลตอบแทนสูงมีมากแต่โอกาสที่จะสูญเสียก็มีมาก ผลตอบแทน ความเสี่ยง

26 ช่วงอายุ (Life Cycle) ช่วงที่มีรายได้สูง ช่วงหารายได้ และสะสมทรัพย์
รายจ่าย ช่วงศึกษา รายได้ อายุ

27 ตัวอย่าง รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี) รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม เหตุผล วัยหนุ่มสาว (ไม่เกิน 30 ปี) เน้นลงทุนเชิงรุกในตราสารทุน ซึ่งมีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนสูงแม้จะมีความเสี่ยงสูง และแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า มีช่วงเวลาในการออมนาน ปี จึงสามารถลงทุนแบบเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น และหากเกิดการขาดทุน ก็มีเวลาปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนได้ทัน วัยกลางคน ( ปี) เน้นการลงทุนแบบผสมเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท โดยลงทุนทั้งในตราสารทุนและตราสารหนี้ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีช่วงเวลาการออมเพียง ปี จึงควรแบ่งเงินลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนส่วนหนึ่ง และลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกส่วนหนึ่ง วัยสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อย และลงทุนส่วนน้อยในตราสารทุนเพื่อหวังผลกำไรบ้าง เป็นวัยใกล้เกษียณ เหลือเวลาในการออมสั้น จึงควรเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ที่มา:

28 5.2 การวางแผนเพื่อเกษียณ
คุณอยากมีเงินใช้หลังเกษียณอย่างไร A. แผนเกษียณอายุแบบวัดใจ รูปแบบการเกษียณอายุแบบใดที่ท่านต้องการ และท่านมั่นใจได้อย่างไรว่ารูปแบบการเกษียณอายุที่เลือกนั้นจะเกิดขึ้นจริง B. แผนเกษียณอายุแบบอดตาย C. แผนเกษียณอายุแบบมั่นคง

29 วางแผนเพื่อการเกษียณ... เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอดชีวิต
ก่อนเกษียณ หลังเกษียณ เกษียณอายุ 60 ปี คำถามที่ต้องคิดและสิ่งที่ต้องทำก่อนเกษียณ คำถามที่ต้องคิดและสิ่งที่ต้องทำหลังเกษียณ ต้องการที่จะเกษียณอายุเมื่อใด ต้องการเงินทุนเท่าใดสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ มีแหล่งเงินทุนอะไรบ้างที่สามารถนำไปใช้หลัง เกษียณ ต้องออมเงินเท่าใดจึงจะพอใช้หลังเกษียณ ต้องนำเงินออมเพื่อเกษียณไปลงทุนอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ จะวางแผนใช้จ่ายอย่างไร ให้มีเงินใช้ไปตลอดชีวิต จะนำเงินออมเพื่อเกษียณที่เก็บมาทั้งชีวิตไปลงทุน อย่างไร ให้ได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการ แต่ความเสี่ยงต่ำ เกษียณอายุ คือ การสิ้นสุดการทำงานประจำ โดยทั่วไปมักจะเกษียณตอนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

30 วิธีคิดจำนวนเงินขั้นต่ำที่สุดที่ควรมีอย่างง่ายๆ
การคำนวณ จำนวนเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ วิธีคิดจำนวนเงินขั้นต่ำที่สุดที่ควรมีอย่างง่ายๆ สามารถคำนวณได้โดย... จำนวนเงินที่ควรจะมี ณ วันเกษียณอายุ = ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีหลังเกษียณ (70% ของค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณ) จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตอยู่ หลังเกษียณอายุ X หมายเหตุ : วิธีนี้เป็นการคำนวณจำนวนเงินที่คุณต้องการโดยประมาณ ก่อนปรับค่าด้วยอัตราเงินเฟ้อ 

31 จำนวนเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ (บาท) จำนวนเงินที่ต้องการเมื่อเกษียณ (ล้านบาท) ชาย (+14 ปี) หญิง (+19 ปี) 8,000 1.34 1.82 10,000 1.68 2.28 15,000 20,000 2.52 3.36 3.42 4.56 (+0.42) (+0.84) (+0.52) (+1.02) (+0.78) (+1.58) (+1.04) (+2.04) สมมติฐาน : อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4% ต่อปี

32 ตัวอย่าง จัดทำแผนการเงินเพื่อการเกษียณ
เมื่อกำหนดเป้าหมายชีวิตและเป้าหมายทางการเงินเรียบร้อยแล้ว คุณต้องเขียนแผนการเงินให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการย้ำเตือนตนเอง เป้าหมาย ออมเงินเดือนละ 20,000 บาท (240 เดือน) เพิ่มรายได้ หารายได้เสริมจากช่องทางต่างๆ สร้างรายได้จากสินทรัพย์ทีมีอยู่ เช่น ให้เช่าบ้าน ฯลฯ เพิ่มผลตอบแทนจากเงินออมที่มีอยู่เดิม -- ลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ต้องการมีเงิน 4,800,000 บาท เพื่อใช้ตอนเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า ลดรายจ่าย ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าเสื้อผ้า ของ Brand Name บริหารภาระหนี้สิน ลดหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงๆ ออกไปก่อน

33 สำรวจแหล่งรายได้หลังเกษียณ เงินรายได้ประจำ (Annuity)
เงินก้อน (Lump Sum) เงินรายได้ประจำ (Annuity) ลงทุน กองทุนประกันสังคม (บำเหน็จชราภาพ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เงินบำเหน็จ ฯลฯ กองทุนประกันสังคม (บำนาญชราภาพ) เงินบำนาญข้าราชการ เงินค่าเช่า เงินดอกเบี้ยรับจากพันธบัตรและเงินฝาก เงินปันผลจากหุ้นปันผล ประกันชีวิตแบบรายได้ประจำ เงินเดือนจากอาชีพหลังเกษียณ ฯลฯ

34 ลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย
I N V E S T M ลงทุนในทางเลือกที่ก่อให้เกิดรายได้สม่ำเสมอ ไม่เสี่ยง และมีสภาพคล่อง สอดคล้องตามช่วงเวลาของการใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการลงทุนแบบเก็งกำไร ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนอย่างละเอียด อย่าโลภและอย่าหลงเชื่อใคร 5. ลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย ขั้นตอนนี้จะเป็นการคำนวณเพื่อให้ทราบว่าหากคุณนำเงินก้อนทั้งหมดของคุณไปลงทุนภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คุณคาดไว้แล้วนั้น คุณจะมีเงินรายได้ประจำกลับมาเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณอายุได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละเท่าใด ซึ่งหลักในการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ คือ... ลงทุนในทางเลือกที่ก่อให้เกิดรายได้สม่ำเสมอ ไม่เสี่ยง และมีสภาพคล่องสอดคล้องตามช่วงเวลาของการใช้จ่าย เช่น สลากออมสิน เงินฝากแบบพิเศษ กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ หลีกเลี่ยงการลงทุนแบบเก็งกำไร ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนอย่างละเอียด อย่าโลภและอย่าหลงเชื่อใคร

35 วางแผนการออมและการลงทุน

36 ผลลัพธ์ > 1 อยู่รอดได้ด้วยตนเอง
ตรวจสอบ... คุณแค่อยู่รอด หรือ มั่งคั่ง แล้ว…??? ผลลัพธ์ > 1 อยู่รอดได้ด้วยตนเอง คำนวณได้จาก... อัตราส่วนความอยู่รอด (Survival Ratio) รายได้จากการทำงาน + รายได้จากสินทรัพย์ รายจ่าย อัตราส่วนความมั่งคั่ง (Wealth Ratio) รายได้จากสินทรัพย์ รายจ่าย ผลลัพธ์ > 1 มีอิสรภาพทางการเงิน (เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ) ที่มา : สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ( TSI )

37 ผลตอบแทนจากการออมด้วยเงินลงทุน เดือนละ 1 พันบาท เป็นเวลา 30 ปี
มหัศจรรย์แห่งการสร้างวินัยในการออม/การลงทุน ผลตอบแทนจากการออมด้วยเงินลงทุน เดือนละ 1 พันบาท เป็นเวลา 30 ปี

38 ตราสารทางการเงินกับความเสี่ยง
เสี่ยงสูง หุ้นทุน หุ้นทุนต่างประเทศ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เสี่ยงต่ำ เงินฝาก

39 ไม่มีอะไรที่ไร้ความเสี่ยง มีแต่เสี่ยงมาก หรือ เสี่ยงน้อย
ผลตอบแทนกับความเสี่ยง ผลตอบแทน ความเสี่ยง ดอกเบี้ยเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ เงินปันผลหุ้นสามัญ กำไรจากการขายพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น บริษัทไม่จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น บริษัทขาดทุนไม่จ่ายเงินปันผล ขาดทุนเมื่อขาย หรือขาดทุนตามราคาตลาด (เงินต้นน้อยลง) – Mark to Market ไม่มีอะไรที่ไร้ความเสี่ยง มีแต่เสี่ยงมาก หรือ เสี่ยงน้อย

40 ผลตอบแทนการลงทุนรายปี (%)
SET Index Bond 3-7Y Fix Dep 1Y Gold 2544 12.9 7.8 3.0 4.4 2545 17.3 9.2 2.5 20.3 2546 116.6 1.8 1.4 9.9 2547 -13.5 1.0 5.1 2548 6.8 0.1 22.6 2549 -4.7 5.9 4.3 8.0 2550 26.2 7.5 2.9 21.7 2551 -47.6 15.3 2.6 6.1 2552 63.2 -1.6 23.9 2553 40.6 0.9 15.6 2554 -0.7 2.3 17.2 2555 35.8 4.2 2.7 สะสม 12Y 290.5 51.7 22.4 239.4 เฉลี่ยต่อปี 14.6 2.0 13.0

41 ศัตรูที่จะทำให้แผนการลงทุนไม่บรรลุเป้าหมาย
เงินเฟ้อ การขาดวินัยในการลงทุน เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ประเมิน ไม่ได้ การลงทุนที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือความเหมาะสม - ลงทุนโดยขาดความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน ลงทุนแบบโลภเพื่อหวังผลระยะสั้น ไม่กล้าลงทุน

42 6. สมาชิกจะต้องทำอะไรต่อจากนี้

43 (บุคลิกภาพในการลงทุน)
แบบประเมินตนเอง (บุคลิกภาพในการลงทุน) -1-

44 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
คุณวางแผนที่จะเกษียณอายุเมื่อไร ก) ไม่เกิน 5 ปี (1) ข) ภายใน ปี (2) ค) ภายใน 10 – 15 ปี (3) ง) มากกว่ากว่า 15 ปี (4) 2. ปัจจุบันท่านมีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน รวมเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้ต่อเดือน ก) มากกว่า 80% (1) ข) มากกว่า 50% ถึง 80% (2) ค) มากกว่า 20% ถึง 50% (3) ง) ไม่เกิน 20% (4)

45 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
3. หากท่านออกจากงานวันนี้ เงินออมที่ท่านมีอยู่ จะรองรับค่าใช้จ่าย ได้นานแค่ไหน ก) น้อยกว่า 3 เดือน (1) ข) 3 เดือน ถึง 1 ปี (2) ค) มากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี (3) ง) มากกว่า 3 ปี (4) เมื่อท่านเกษียณอายุ จำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของท่านที่ได้รับคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ท่านตั้งใจจะมีไว้ใช้จ่าย ก) มากกว่า 75% (1) ข) มากกว่า 50% ถึง 75% (2) ค) มากกว่า 25% ถึง 50% (3) ง) ไม่เกิน 25% (4)

46 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
5. หากท่านต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหลังจากเกษียณอายุแล้ว ท่านจะหาเงินค่ารักษาพยาบาลจากไหน ก) เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (1) ข) ให้ครอบครัวร่วมรับผิดชอบ (2) สวัสดิการรัฐ (3) ประกันสุขภาพ หรือเงินออมของตนเอง (4) 6. ท่านรู้จักตราสารเกี่ยวกับการลงทุนอะไรบ้าง ก) เงินฝาก (1) ข) เงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม (2) ค) เงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้นสามัญ (3) ง) เงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้นสามัญ ทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และอื่นๆ (4)

47 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
7. ท่านเคยลงทุน หรือกำลังลงทุนในแบบใดบ้าง ก) เงินฝากธนาคาร (1) ข) เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้ (2) ค) เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้ หุ้นสามัญ กองทุนรวมตราสารทุน (3) ง) เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้ หุ้นสามัญ กองทุนรวมตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (4) 8. ทัศนคติในการลงทุนของท่าน ก) ไม่สามารถทนต่อการขาดทุนเงินต้นได้เลย (1) ข) สามารถทนต่อการขาดทุนเงินต้นได้บ้าง เพื่อมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น (2) ค) สามารถทนต่อการขาดทุนเงินต้นได้มาก เพื่อมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง (3) ง) อยากได้ผลตอบแทนสูงสุด โดยไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน (4)

48 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
9. เป้าหมายการลงทุนของท่านเป็นอย่างไร ก) เงินต้นต้องปลอดภัย แม้ว่าจะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ (1) ข) ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยสามารถรับความผันผวน ของมูลค่าเงินกองทุนได้บ้าง (2) ค) ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อมาก โดยสามารถรับความผันผวน ของมูลค่าเงินกองทุนได้มาก (3) ง) ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อมากที่สุดโดยสามารถรับความผันผวน ของมูลค่าเงินกองทุนได้เต็มที่ (4) 10. ท่านคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระดับใดต่อปี ก) ประมาณ 2% ถึง 3% อย่างสม่ำเสมอ (1) ข) มีโอกาสได้รับผลตอบแทนถึง 5% แต่บางปีอาจไม่มีผลตอบแทนเลย (2) ค) มีโอกาสได้รับผลตอบแทนถึง 8% แต่บางปีอาจขาดทุนได้ถึง 3% (3) ง) มีโอกาสได้รับผลตอบแทนถึง 25% แต่บางปีอาจขาดทุนได้ถึง 15% (4)

49 แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน
สำหรับการลงทุนในนโยบายการลงทุนต่างประเทศ ท่านสามารถรับความเสี่ยงด้าน อัตราแลกเปลี่ยนได้ หรือไม่  ได้  ไม่ได้

50 แนวทางในการพิจารณาเลือกนโยบายการลงทุน
หมายเหตุ การประเมินผลจากผลการอ่านค่าของคะแนนรวมที่ออกมา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการพิจารณาว่านโยบายการลงทุนประเภทใดเหมาะสมกับท่าน แต่มิได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับท่านทุกประการ ทั้งนี้ท่านต้องศึกษาข้อมูลจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบเพิ่มเติม

51 ระดับความเสี่ยงของแผน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ความเสี่ยงของแผนการลงทุน แผนการลงทุนที่ Sub Fund 1 Sub Fund 2 ระดับความเสี่ยงของแผน คะแนน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน นโยบาย ตราสารหนี้ นโยบาย ตราสารทุน แผนที่1 100 ค่อนข้างต่ำ 17-22 ไม่มี แผนที่2 95 5 แผนที่3 90 10 แผนที่4 85 15 ปานกลาง 23-29 แผนที่5 80 20 แผนที่6 75 25

52 หลักเกณฑ์การเลือกรูปแบบการลงทุน
สมาชิกที่เข้าทำงานก่อนวันที่ 1 มกราคม จะต้องแสดงเจตนาเลือกลงทุนในรูปแบบการลงทุนใดรูปแบบการลงทุนหนึ่ง หากสมาชิกไม่แสดงเจตนาเลือกรูปแบบการลงทุน พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดให้อยู่ในนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ในที่นี้ คือ รูปแบบการลงทุนที่ 1 2. สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนได้ปีละ 2 ครั้ง ตามช่วงเวลาดังนี้ ช่วงที่ 1 แจ้งภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี ช่วงที่ 2 แจ้งภายในวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี จะมีผลในวันที่ 1 กันยายนของทุกปี 3. การปรับยอดเงินกองทุน (Re-Balance) คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบให้มีการ Re-Balance ให้ สมาชิกกองทุนอัตโนมัติตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนในข้อ 2 โดยเงินลงทุนของสมาชิกกองทุนจะมีการปรับสัดส่วนให้เป็นไปตามรูปแบบการลงทุนที่แสดงเจตนาไว้ครั้งล่าสุด 4. การขอเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม เป็นต้นไป สมาชิกสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ปีละ 2 ครั้งตามระยะเวลาในข้อ 2

53 7. สรุปสาระสำคัญหลักเกณฑ์ในการเลือกลงทุน Employee's Choice

54 มิติใหม่การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1 ม.ค 2558
มิติใหม่การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1 ม.ค 2558 มิติใหม่การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1 ม.ค 2558 มิติใหม่การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1 ม.ค 2558 แผนการลงทุน รูปแบบการลงทุนที่ 1 รูปแบบการลงทุนที่ 2 รูปแบบการลงทุนที่ 3 รูปแบบการลงทุนที่ 4 รูปแบบการลงทุนที่ 5 รูปแบบการลงทุนที่ 6 1. การลงทุนของแต่ละรูปแบบการลงทุน มุ่งเน้นรักษาเงินต้น ลงทุนในเงินฝากธนาคารพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน เป็นต้น มุ่งเน้นรักษาเงินต้นแต่วาง เป้าหมายที่จะเพิ่มผลตอบแทนเล็กน้อย โดยลงทุนในหุ้น เพียง 5% มุ่งเน้นรักษาเงินต้นแต่วาง เป้าหมายที่จะเพิ่ม ผลตอบแทน ให้สูงขึ้น โดย เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น เป็น 10% มุ่งเน้นเพิ่มผลตอบแทนให้กับเงินกองทุน โดยลงทุนในหุ้น 15% มุ่งเน้นเพิ่มผลตอบแทนให้กับเงินกองทุนให้สูงขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็น 20% มุ่งเน้นเพิ่มผลตอบแทน ให้กับเงินกองทุนสูงสุด โดย ลงทุนในหุ้น 25% 2. ความเหมาะสมของแต่ละรูปแบบการลงทุน เหมาะสมกับสมาชิกกองทุนอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือรับ ความเสี่ยงไม่ได้เลย เหมาะสมกับสมาชิกกองทุน อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือรับความเสี่ยง จากการลงทุนได้น้อย เหมาะสมกับสมาชิกกองทุนอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้เล็กน้อย เหมาะสมกับสมาชิกกองทุนอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้บ้าง เหมาะสมกับสมาชิกกองทุนอายุ 20 ปีขึ้นไป หรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือรับ ความเสี่ยงจากการลงทุนได้สูง 3. สัดส่วนการลงทุนแต่ละนโยบาย ต. หนี้ 100% ต.หนี้ 95% : ต.ทุน 5% ต.หนี้ 90%: ต.ทุน 10% ต.หนี้ 85%: ต.ทุน 15% ต.หนี้ 80%: ต.ทุน 20% ต.หนี้ 75% : ต.ทุน 25% 4. ระดับของความเสี่ยงแต่ละรูปแบบการลงทุน เสี่ยงน้อยที่สุด เสี่ยงค่อนข้างน้อย เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงค่อนข้างมาก เสี่ยงมาก

55 สมมติให้เงินกองทุนจำนวน 100,000.-บาท
5. ตัวอย่างการลงทุนตามรูปแบบการลงทุน สมมติให้เงินกองทุนจำนวน 100,000.-บาท นโยบาย ต.หนี้ ต.ทุน 5.1 สัดส่วนการลงทุนแต่ละรูปแบบ 100% - 95% 5% 90% 10% 85% 15% 80% 20% 75% 25% 5.2 เฉลี่ยเงินกองทุนตามรูปแบบการลงทุน 100,000 95,000 5,000 90,000 10,000 85,000 15,000 80,000 20,000 75,000 25,000 ตัวอย่างผลตอบแทนกรณีที่ 1 สมมติให้นโยบายตราสารหนี้ได้รับผลตอบแทน 3.50% ของเงินลงทุน และนโยบายตราสารทุนได้รับผลตอบแทน 35%ของเงินลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้ 3,500 3,325 1,750 3,150 2,975 5,250 2,800 7,000 2,625 8,750 รวมเงินกองทุนตามนโยบาย 103,500 98,325 6,750 93,150 13,500 87,975 20,250 82,800 27,000 77,625 33,750 รวมเงินกองทุนตามรูปแบบการลงทุน 105,075 106,650 108,225 109,800 111,375 อัตราผลตอบแทนตามรูปแบบการลงทุน 3.50% 5.06% 6.65% 8.23% 9.80% 11.38% ตัวอย่างผลตอบแทนกรณีที่ 2 สมมติให้นโยบายตราสารหนี้ได้รับผลตอบแทน 3.50%ของเงินลงทุน และนโยบายตราสารทุนได้รับผลตอบแทน -35%ของเงินลงทุน -1,750 -3,500 -5,250 -7,000 -8,750 3,250 6,500 9,750 13,000 16,250 101,575 99,650 97,725 95,800 93,875 1.58% -0.35% -2.28% -4.20% -6.13%

56 6. การเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
6. การเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ ช่วงที่ 1 แจ้งภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี ช่วงที่ 2 แจ้งภายในวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี จะมีผลในวันที่ 1 กันยายนของทุกปี 7. หากไม่เลือกรูปแบบการลงทุน สมาชิกกองทุนฯ ที่ไม่เลือกรูปแบบการลงทุน พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดให้อยู่ในนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ รูปแบบการลงทุนที่ 1

57


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการประชาสัมพันธ์เรื่อง (Employee’s Choice) สู่ Master Fund

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google