งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร
โดย นายศรายุธ แสงจันทร์ กรรมการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

2 Logistics Activities Logistics Location Selection Order Processing
Procurement Customer service Reverse Logistics Logistics Demand Forecasting Part and Service Support Inventory Management Traffic and Transportation โลจิสติกส์ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวนมากที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการของธุรกิจ ได้แก่ การให้บริการลูกค้า การพยากรณ์ความต้องการ การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการกิจกรรมยกขน การจัดการบรรจุภัณฑ์ การบริหารคลังสินค้า การขนส่ง การจัดการสินค้าส่งกลัง การจัดซื้อ การคัดเลือกที่ตั้ง การจัดการคำสั่งซื้อ การจัดการวัสดุ Material Handling Warehousing And Storage Packaging

3 Integrated logistics activities development both in company and supply chain
การจัดการโลจิสติกส์ ภายในองค์กรเป็นการบริหารจัดการเกี่ยวกับการไหลของวัตถุดิบในการผลิต สินค้าระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป โดยกิจกรรม โลจิสติกส์ครอบคลุมตั้งแต่การจัดซื้อ ไปจนถึงการให้บริการลูกค้า โดยกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภครายสุดท้ายอาจมีมากกว่า 1 หน่วยโลจิสติกส์ จึงต้องมีการบริหารโซ่อุปทาน ซึ่งที่สำคัญคือการบริหารการไหลกลับของข้อมูลจาก consumer ไปยัง ผู้ผลิต ซึ่งอาจหมายถึงInitial Supplier เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนการผลิตและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

4 ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของประเทศ
ปี GDP ประเทศไทย (ล้านล้านบาท) ต้นทุนขนส่ง (% GDP) ต้นทุน การถือครอง สินค้า ต้นทุนบริหาร จัดการ ต้นทุนรวม ดัชนี (ปีฐาน 2543) 2543 5.211 9.5 10.3 2 21.8 100 2544 5.444 9.2 9.4 1.9 20.5 95 2545 5.77 7.8 8.8 1.7 18.3 86 2546 6.289 7.6 7.5 1.5 16.6 79 2547 6.974 7.1 6.9 1.4 15.4 75 2548 7.534 7.3 1.8 19.4 90 2549 8.101 12.7 9.0 2.2 23.9 109 ในช่วงปี 2545 GDP ของประเทศมีการขยายตัวในอัตราที่มากกว่า Logistics Cost แต่ในปี จากปัญหาต้นทุนค่าน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุน Logistics Cost มีการขยายตัวมากกว่าอัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศ ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP สูงขึ้นอย่างมาก ที่มา: ศูนย์วิจัยด้านโลจิสติกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5 Customer’s expectation continuous increasing!!!
Service Provider Service Level 3 Service Provider who can created service level above customer expectation will have more competitiveness. 2 Customer Expectation 3 1 4 5 ความพึงพอใจของลูกค้าขึ้นอยู่กับ ความต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่ลูกค้าต้องได้รับจากการซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ และความคาดหวัง ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ลูกค้าคาดว่าผู้ขายจะมีให้ อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังของลูกค้ามักมีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและมาตรฐานของอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นที่การให้บริการของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ยังไม่สูงมากนัก และความคาดหวังของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับ 1 เท่านั้น ต่อมา เมื่อผู้ประกอบการเริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงยกระดับตนเองมากขึ้น จะส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจจากการให้บริการที่เหนือกว่าความคาดหวัง เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ลูกค้าจะเกิดความเคยชินต่อการให้บริการนั้น และระดับความคาดหวังปกติจะมีการปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 2 ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาตนเอง ก็จะยกระดับการให้บริการอีกครั้ง และลูกค้าก็จะมีความคาดหวังมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายมีระดับการให้บริการที่ต่ำกว่าความคาดหวังได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ให้บริการหรือผู้ผลิตสินค้าจึงต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และต้องอยู่ในระดับที่ลูกค้ายอมรับได้เช่นกัน โดยผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการให้เหนือกว่าความคาดหวังของผู้ใช้บริการหรือลูกค้าจะมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย 1 2

6 Logistics’ Characteristics in Future Environment
Better-faster-cheaper Shrinking product life cycles More demanding customers Agile competitors Driving Factors for improvement แนวโน้มในเรื่องของโลจิสติกส์ในอนาคตประกอบไปด้วยประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้ ประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น ใช้ระยะเวลาสั้นลง แต่ต้นทุนต้องถูกลง-สิ่งที่ลูกค้าต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถส่งมอบสินค้าหรือตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนของการดำเนินการต้องต่ำลง ยกตัวอย่างในการขนส่งสินค้า ลูกค้าต้องการให้สินค้ามีความเสียหายน้อยที่สุด สามารถขนส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาและสามารถลดเวลาในการเดินทางของสินค้าให้น้อยลงจากเดิม ในขณะที่ไม่ต้องการให้มีการเพิ่มค่าขนส่งขึ้นแต่อย่างใด สินค้ามีอายุการวางขายสั้นลง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การหยุดพัฒนาตนเองเท่ากับไม่สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนที่เหนือจากมาตรฐานการให้บริการปกติ อาทิ ในปัจจุบัน ลูกค้าต้องการให้สายเรือต่างๆ มีบริการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังท่าเรือ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งหากผู้ให้บริการไม่มีการปรับปรุงกระบวนการให้สามารถครอบคลุมกิจกรรมที่ลูกค้าต้องการก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้บริการจากแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ผู้ขนส่งอาจมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นอันดับหนึ่งอย่างเช่นมีอัตราของการส่งสินค้าตรงเวลามากที่สุด มีความถี่เที่ยวเรือมากที่สุด แต่เนื่องจากระยะเวลาผ่านไป คู่แข่งของธุรกิจย่อมสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นเท่ากัน ซึ่งเท่ากับข้อได้เปรียบที่มีอยู่ได้หายไป ความจำเป็นในการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กระบวนการทำงาน สินค้า และบริการ จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า อย่างเช่น สามารถจัดรถหัวลากไปรับสินค้าได้นอกเขตที่กำหนด, สามารถจัดทำเอกสารหรือรายงานสรุปเพิ่มเติมได้ เป็นต้น ระบบสารสนเทศเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ธุรกิจและลูกค้าจะต้องสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบปฏิบัติการได้จากทุกสถานที่ และพนักงานต้องสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ตลอดเวลา แม้จะอยู่นอกช่วงเวลาทำการปกติก็ตาม ประการสำคัญของการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลคือลูกค้าจะต้องได้รับข้อมูลที่ทันสมัย ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ การขนส่งสินค้า หรือปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

7 Global Logistics Trend
Business must keep up with the trends Improvements for facilitate Global Sourcing Outsourcing will expand Combining inbound & outbound transportation Security will be a major concern การบริหารจัดการโลจิสติกส์ในปัจจุบันมิใช่การจัดการภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาแนวโน้มของจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจและมีความสำคัญดังนี้ การพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการวางแผนการจัดหาแหล่งทรัพยากรในระดับโลก ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาถึงระบบการจัดซื้อ การขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ และการจัดการข้อมูล แนวโน้มในการว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพิ่มสูงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย การวางแผนการขนส่งจะมีการวางแผนร่วมกัน ให้มีความสอดคล้องกันในการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้า และการหาประโยชน์อื่นๆ จากกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ แนวโน้มในด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศจากการก่อวินาศภัยจะเพิ่มความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น และจะเป็นอุปสรรคสำคัญในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ความไม่แน่นอนในด้านต่างๆ จะก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นในการทำตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ต้องมีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดด้านต่างๆ อย่างรัดกุมและศึกษาตลาดเป็นอย่างดีเพื่อลดความเสี่ยงนั้น ซึ่งธุรกิจต้องมีการติดตามแนวโน้มดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Risk assessment of market strategies be important

8 Supply Chain Management in Future Environment
Required Efficient Logistics Management Dependability & Flexibility will be Basic Requirement Product and Processes will be more complex Reverse Logistics Automation will replace “Human Intervention” แนวโน้มสิ่งที่กระทบต่อการพัฒนาการบริหารโซ่อุปทานในอนาคตประกอบไปด้วยประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้คือ ลูกค้ามีความต้องการให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการมากขึ้น ลักษณะของสินค้าและกระบวนการทางธุรกิจจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การบริการจัดการสินค้าตีกลับ การไหลคืนของสินค้าจะเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องเร่งหาวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ แนวโน้มการใช้ระบบการบริหารจัดการอัตโนมัติอย่างเช่น software หรือเครื่องจักรดำเนินการแทนคนมากยิ่งขึ้น การใช้ระบบ Postponement หรือการเลื่อนการผลิตและการประกอบสินค้าไปให้ใกล้แหล่งบริโภคขั้นสุดท้ายมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการจัดเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง ซึ่งการจัดการเหล่านั้นต้องการการจัดการทางด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวดำเนินการ Manufacture and assembly of products will nearer to final customers

9 อาการปัญหาด้านโลจิสติกส์
Stock outs in spite of high inventories Inventory imbalance Frequent production disruption Always urgent Frictions among department

10 รูปแบบทางเลือกการบริหารจัดการโลจิสติกส์
Investment Higher investment, more activities but higher capacity-usage with other benefits. Own 3PL Own Operate High Pay when use: per trip or volume. High investment and pay for variable cost with low capacity-usage risk. Outsourcing Low รูปแบบทางเลือกในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ มีด้วยกันอยู่ 3 แนวทางคือ Own Operate การบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมถึงอาจมีปัญหาอัตราการใช้งานในสินทรัพย์ต่ำ หรือเป็นการ Over Investment Own 3PL การแก้ปัญหาในเรื่องของอัตราการใช้ประโยชน์ต่ำ อาจนำไปสู่การจัดตั้งบริษัทสำหรับให้บริการโลจิสติกส์ของตนเอง และรับงานจากบริษัทภายนอกเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ได้มากขึ้น อย่างเช่นปูนซีเมนต์ไทย ที่จัดตั้ง Cementhai Logistics ขึ้นมาให้บริการ เป็นต้น แต่จำเป็นต้องมีการลงทุนมากขึ้น และจะมีกิจกรรมที่ต้องบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น Outsourcing ทางเลือกสุดท้ายคือการ Outsourcing กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะเมื่อมีการใช้บริการเท่านั้น Activities Less Complicated Very complicated

11 ความสำคัญของการจัดซื้อจัดหา
A 60% increase in its product margin Margin increased to 160,000 Margin 100,000 Overhead Cost 150,000 Overhead Cost 150,000 Production 150,000 Production 150,000 A 10% reduction in the raw material cost Raw Material 600,000 Reduced Raw Material Cost to 540,000 ความสำคัญของการจัดซื้อจัดหา สามารถอธิบายให้เห็นภาพดังนี้ โดยปกติ การลดต้นทุนสามารถเพิ่มกำไรได้มากกว่าการเพิ่มยอดขาย ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดซื้อวัตถุดิบ ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตลดลง 10% แต่ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นถึง 60%

12 การบริหารเวลาที่ไม่ถูกต้อง การบริหารเวลาอย่างเหมาะสม
The use of time : ที่มา : คุณเชี่ยวชาญ รัตนามหัทธนะ การปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้เวลาในการทำงานเป็นสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา โดยปกติแล้วนักจัดซื้อมักจะใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเช่น การแก้ปัญหา งานติดต่อด้านเอกสารใบสั่งซื้อ และงานเสมียนทั่วๆ ไป เป็นต้น ในขณะที่งานซึ่งมีความสำคัญอย่างเช่นการสรรหา Supplier รายใหม่ๆ และการเจรจาเพื่อให้ได้ deal ที่ดีกว่ามีน้อย ทำให้มีทางเลือกน้อย และบ่อยครั้งเป็นการบังคับซึ่งส่งผลให้ไม่ได้รับสัญญาที่ดีที่สุด นักจัดซื้อต้องมีการปรับเปลี่ยนการใช้เวลามาเป็นการเจรจา และการสรรหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ให้มากขึ้น อีกทั้งต้องมีการเพิ่มเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร รวมถึงการวางแผนและวิเคราะห์การทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการและการประเมิน Supplier ตลอดเวลา Profit Erosion การบริหารเวลาที่ไม่ถูกต้อง Profit Improvement การบริหารเวลาอย่างเหมาะสม

13 การพัฒนาบทบาทของฝ่ายจัดซื้อจัดหา
EPI: Early Purchasing Involvement ฝ่ายจัดซื้อจัดหาเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ และเตรียมตัวเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ ESI: Early Supplier Involvement การวางแผนการผลิตร่วมกับผู้ผลิตวัตถุดิบ เพื่อให้ผู้ผลิตวัตถุดิบทราบความต้องการของธุรกิจ และให้ธุรกิจทราบความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ฝ่ายจัดซื้อควรมีการเพิ่มบทบาทของตนเองให้มากกว่าการติดต่อเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว EPI การมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร อย่างเช่น การวางแผนกำลังการผลิต เป็นต้น เพื่อให้ทราบความต้องการวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งจะทำให้ทราบแนวโน้มและสามารถเตรียมหาแหล่งวัตถุดิบได้ล่วงหน้า และหลีกเลี่ยงการจัดซื้อแบบเร่งด่วนให้น้อยลง ESI การดึง supplier เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทราบความเป็นไปได้ในการออกแบบ และผลิตสินค้า อีกทั้ง Supplier จะมีการเตรียมความพร้อมและสามารถผลิตวัตถุดิบที่ตรงตามความต้องการของเรา ซึ่งสามารถลดปัญหาของเสียจากการผลิตได้อีกส่วนหนึ่ง

14 Shipping Documentation Transportation Scheduling
Customer Order Cycle Customer Order Order transmittal Enter Customer Order Customer Delivery Ship Customer Order Inventory available Check credit Production Schedule Back Order Shipping Documentation Invoice Process Order Warehouse Withdrawal Transportation Scheduling Inventory File การจัดการคำสั่งซื้อ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากความถูกต้องในการตอบสนองคำสั่งซื้อเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากการซื้อสินค้ามากที่สุด โดยปกติ วงจรการสั่งซื้อสินค้าจะประกอบไปด้วย ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อ ผู้รับคำสั่งซื้อ ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบของธุรกิจ ตรวจสอบข้อมูลของสินค้า และสถานะทางการเงินของลูกค้า เตรียมเอกสารกำกับสินค้า การส่งมอบสินค้า จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า

15 Order Processing : Importance
“The order processing and information system forms the foundation for logistics and corporate management information system” “The Order Processing System is the center of the Logistics System.” การจัดการคำสั่งซื้อ เป็นจุดเริ่มของระบบโลจิสติกส์ขององค์กร และอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบการจัดการคำสั่งซื้อ เป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์

16 Cost Speed Consistency
Accuracy Four way to evaluate order transmittal Cost Speed การรับข้อมูลคำสั่งซื้อเป็นจุดเริ่มของกระบวนการซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการที่ตามมา โดยมีสิ่งที่ต้องบริหารจัดการในสิ่งต่างๆ ดังนี้ Speed การรับข้อมูลต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว Cost การออกแบบระบบการรับคำสั่งซื้อจะต้องไม่ก่อให้เกิดต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น Accuracy ระบบที่ใช้ในการรับข้อมูลจะต้องไม่เกิดข้อผิดพลาดในการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน Consistency ระบบที่ใช้ต้องมีความแน่นอนสูง มีความสม่ำเสมอในประสิทธิภาพการทำงานแต่ละครั้ง Consistency

17 Variability of total order cycle day
4 10 16 Before System Change Average : 10 days Range: 4 to 16 Days 7 10 13 After System Change Average : 10 days Range: 7 to 13 Days ความผันผวนในการจัดการคำสั่งซื้อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการวางแผนของงานที่เกี่ยวข้อง การลดความผันผวนของเวลาจึงเป็นวัตถุประสงค์หลัก นอกจากการลดเวลาของกระบวนการ เนื่องจากจะทำให้การวางแผนนั้นง่ายขึ้น Reduce Variation make more planning accuracy

18 EDI vs Traditional Method
Post Office Purchasing Order Buyer’s Server Order Entry Seller’s Computer Traditional Method ตัวอย่างการใช้ระบบ EDI จะส่งผลให้ลดขั้นตอนการทำงานด้วยมือการส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เอกสาร ซึ่งการเชื่อมต่อโดยตรงจะส่งผลให้สามารถใช้ข้อมูลจากจุดเริ่มต้นได้โดยตรง ซึ่งมีความผิดพลาดน้อยลง Purchasing Buyer’s Application EDI Flow Seller’s Application Seller

19 Developing Logistics Information System
Standard cost Product movement Order status Credit file Inventory Customer master file Transportation history Freight payment system Common Database Customer data Order Processing System Customer order Company Record Industry Data Management Order Performance Shipment Damage report and product return report administration configuration Product tracking and forecasting report Performance and Cost reports for Physical distribution การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรจะส่งผลให้ หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรได้รับข้อมูลเดียวกัน เพื่อใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนได้สัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ และเพื่อให้การจัดการด้านสถิติต่างๆ สามารถทำได้สะดวกมากขึ้น

20 ประโยชน์จากการเทคโนโลยีสมัยใหม่
สามารถลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ สามารถลดขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับเอกสารระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในองค์กร และระหว่างองค์กร สามารถลดอุบัติเหตุในการทำงานของกระบวนการผลิต จากความประมาทของบุคลากร การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์แบบ Real Time และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น สามารถลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ สามารถลดขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับเอกสารระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในองค์กร และระหว่างองค์กร สามารถลดอุบัติเหตุในการทำงานของกระบวนการผลิต จากความประมาทของบุคลากร การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์แบบ Real Time และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น

21 Classified by Pareto’s Rule
ABC Analysis for Sales, Expense, Stock A B C Sales Percentage of items Percentage of Dollars Classified by Pareto’s Rule ABC เป็นเทคนิคที่เน้นการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังทั้งหมดของกิจการ โดยการพิจารณาจาก ยอดขายของกลุ่มสินค้าเป็นหลัก กลุ่ม A เป็นกลุ่มสินค้าที่มียอดขายสูงสุด โดยส่วนมากมักเป็นกลุ่มสินค้าที่สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 80% ของทั้งหมด กลุ่ม B เป็นกลุ่มสินค้าที่มียอดขายรองลงมา อาจกำหนดประมาณ 15% ของยอดขายรวม กลุ่ม C เป็นกลุ่มที่มียอดขายน้อยที่สุด อาจกำหนดประมาณ 5% อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มของสินค้า อาจแปรผันไปตามลักษณะของธุรกิจหรือความจำเป็นของกระบวนการผลิต สินค้าในกลุ่ม A จะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยอาจกำหนดให้มีการตรวจสอบทุกวันหรือทุกสัปดาห์ เพื่อให้มีสินค้าที่พร้อมส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว สินค้าในกลุ่ม B จะมีความถี่ในการตรวจนับน้อยลง อาจกำหนดไว้ทุกๆ เดือน สินค้าในกลุ่ม C จะกำหนดให้มีการตรวจนับน้อยที่สุด อาจกำหนดเป็นทุกไตรมาส

22 Warehouse Layout and Design Warehouse Management System
มุมมองใหม่ในการจัดการคลังสินค้า : ++กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน++ Warehouse Layout and Design Location Analysis Production-Position Market-Position Intermediately- Positioned Material Handling Manual VS Automated “กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทั้งการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและประสิทธิภาพของธุรกิจ” แต่เดิม คลังสินค้าถูกมองว่าเป็น “กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ มีแต่ต้นทุนดังนั้นต้องพยายามลดต้นทุนให้มากที่สุด” ทำให้ไม่ได้รับความสำคัญ และขาดการพัฒนา ส่งผลให้มีปัญหาตามมามากมาย อย่างเช่นสินค้าสูญหาย เสียหาย และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีความล่าช้าเป็นต้น สิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยนคือมุมมองใหม่ต้องเป็น “กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทั้งการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและประสิทธิภาพของธุรกิจ” ซึ่งจะทำให้เล็งเห็นโอกาสและประโยชน์ในการพัฒนา การบริหารจัดการคลังสินค้า เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่หลายประการได้แก่ สถานที่ตั้ง (Location) ระบบบริหารและการจัดการ (Management) การจัดวางผัง (Layout) และการออกแบบ (Design) เครื่องทุ่นแรงต่างๆ (Material Handling) Warehouse Management System

23 Location Analysis Intermediately Positioned Production Positioned
Located midpoint of customer and producer to offer high customer service Level. Market place or Customer Source of Supply or Production site. Production Positioned Close to source of supply or production facilities. Market Positioned Nearest to final customer. การพิจารณาที่ตั้งของคลังสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการกำหนดที่ตั้งของคลังสินค้าใน 3 จุดหลักคือ การกำหนดที่ตั้งให้อยู่ใกล้แหล่งผลิตวัตถุดิบหรือโรงงานผลิตสินค้า เพื่อให้ประหยัดต้นทุนการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า ซึ่งโดยส่วนมากจะมีขนาดและน้ำหนักมาก สิ้นเปลืองต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้า การกำหนดที่ตั้งให้อยู่ระหว่างกลางระหว่างแหล่งผลิตและตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าให้มากขึ้น การกำหนดที่ตั้งให้อยู่ใกล้กับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วมากที่สุด

24 WMS : Warehouse Management System
Uses IT in Warehouse Operation Increased data accuracy Reduced non-value added activities Generated report for managerial Increased service level การเลือกใช้ระบบ IT อย่างเช่น WMS: Warehouse Management System ในการบริหารจัดการภายในคลังสินค้า เป็นสิ่งที่เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น เนื่องจากทำให้เกิด ความถูกต้องมากขึ้นของข้อมูลสินค้า ลดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ช่วยในการจัดทำรายงานการปฏิบัติการต่างๆ เพิ่มความสามารถในการให้บริการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

25 Warehouse Layout and Design
จำแนกลักษณะสินค้าที่จะจัดเก็บ ประเมินระบบการจัดเก็บที่ใช้ Fixed Random ประเมินพื้นที่ทางเดิน (Aisle) พื้นที่ว่างสำหรับรองรับการขยายตัว สรุปความต้องการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า Cost trade-off between labor, equipment, space and information. คลังสินค้าที่ดีควรมีการออกแบบให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ต้องสามารถเคลื่อนย้ายสินค้าได้สะดวกเช่นเดียวกัน จึงต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบ และการแบ่งพื้นที่ภายในคลังสินค้า ดังต่อไปนี้ จำแนกลักษณะสินค้าที่จะจัดเก็บ เพื่อกำหนดที่พื้นที่ออกเป็นสัดส่วน ประเมินระบบการจัดเก็บที่ใช้ Fixed กำหนดตายตัวสำหรับสินค้าแต่ละประเภท Random จัดเก็บอย่างอิสระ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่าง ประเมินพื้นที่ทางเดิน (Aisle) เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดเตรียมพื้นที่ว่างสำหรับรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าในอนาคต สรุปความต้องการใช้พื้นที่ในคลังสินค้า

26 Material Handling Manual system warehouse Automated systems warehouse
“Storage and order-picking equipment controlled by operator such as storage racks, forklift truck, order-picker truck, pallet trucks etc. ” V.S. Automated systems warehouse “Automated storage and retrieval systems (AS/RS), carousels, conveyors, robots, scanning systems and case/item-picking have become common place in warehousing.” ระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าอาจแยกออกได้เป็น ระบบ Manual แบบดั้งเดิมที่ใช้บุคลากรในการดำเนินงานขับเคลื่อนอุปกรณ์ยกขน และการใช้ระบบ Automation ในการเคลื่อนย้าย การหยิบสินค้า หรือกระทั่งการตรวจนับสินค้า อันจะสามารถลดความผิดพลาดในการทำงานของคนงานลงได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในคลังสินค้าอาจเลือกใช้ทั้งระบบ Manual และ Automation ควบคู่กันไป อย่างเช่นระบบโดยรวมเป็น Manual แต่ใช้ Automation สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง หรือสินค้าอันตราย เป็นต้น

27 Automated System Warehouse
การใช้ระบบอัตโนมัติในการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าเพื่อลดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของคน การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยใช้แรงงานในระบบเดิม อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดและปัญหาในการจัดเตรียมสินค้า อย่างเช่นการเกิดอุบัติเหตุของบุคลากรและอุปกรณ์ยกขนระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนอื่นๆ ตามมาอีกจำนวนมาก การใช้ระบบอัตโนมัติในการดำเนินงานจะช่วยลดกิจกรรมของคนงานให้น้อยลง มีความรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

28 Automated Picking

29 Barcode

30 RFID : Radio Frequency Identification

31 RFID : Tag

32 RFID : Reader

33 RFID : Reader

34 ประโยชน์จากการจัดการสินค้าคงคลัง
สามารถแก้ปัญหาระดับสินค้าคงคลังโดยรวมสูง แต่มีสินค้าบางรายการขาดตลาด สามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังที่ล้าสมัย (Obsolesce) การวางแผนระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม มีสินค้าในเวลาที่มีความต้องการและมีคำสั่งซื้อ ทำให้สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น

35 Shipment Consolidation
แนวทางในการแก้ไขปัญหาต้นทุนการขนส่ง ที่สำคัญคือการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการ อาทิ จากเดิมเคยขนส่งแบบตัวใครตัวมัน ทำให้ต้องใช้จำนวนรถเยอะ แต่หากสามารถร่วมมือกันใช้ยานพาหนะด้วยกัน และตกลงกันในเรื่องของค่าใข้จ่ายได้จะทำให้ต้นทุนลดลงเป็นอย่างมาก

36 การจัดเส้นทางการขนส่ง
สวน 4 สวน 1 สวน 7 ผู้ผลิต/แปรรูปสินค้า สวน 5 สวน 2 สวน 8 ในอีกกรณีหนึ่งคือ การซื้อสินค้าโดยให้ผู้ผลิตวัตถุดิบเป็นผู้ส่งมอบโดยรับผิดชอบค่าขนส่งเอง จะทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบสูง แต่หากมีการจัดเส้นทางการเดินรถและกำหนดช่วงเวลาในการรับสินค้าที่ดีเพียงพอ จะทำให้สามารถลดปริมาณการใช้รถขนส่งให้น้อยลงได้ สวน 9 สวน 1 สวน 6

37 Collaboration between small shipper for inland transportation: Central Trucking Company
สวน 1 สวน 4 สวน 7 Trucking Company สวน 2 สวน 5 สวน 8 สวน 1 สวน 6 สวน 9 นอกจากนี้ ผู้ผลิตวัตถุดิบเอง ยังอาจลดปริมาณรถขนส่งของอุตสาหกรรมลง โดยการลงทุนร่วมกันจัดตั้งบริษัทรถขนส่งเพื่อให้บริการกับสมาชิก ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตวัตถุดิบไม่จำเป็นต้องลงทุนรถเองทั้งหมด อีกทั้งยังทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากรถได้มากขึ้นด้วย

38 Jointly negotiate Service Contract with Transporter and Liner.
Exporter Inland Transporter & Liner Service Contract Exporter Exporter จากปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นส่งผลให้ภาคการส่งออกของประเทศจำเป็นต้องมีการปรับตัวโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ การร่วมมือระหว่างผู้ส่งออกในการจัดทำสัญญาการขนส่งสินค้ากับผู้ให้บริการขนส่งในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น บริษัทรถขนส่ง และสายเดินเรือ เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองราคาค่าขนส่งสินค้าให้ต่ำลง โดยใช้ปริมาณสินค้าจำนวนมากเป็นเครื่องต่อรองกับผู้ขนส่ง ตัวอย่างของการเจรจาต่อรองที่ได้ผลในประเทศไทยได้แก่การเจรจาต่อรองค่าระวางของกลุ่มอาหารแช่เยือกแข็งที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง และมีความสามารถในการต่อรองค่าระวางกับสายเดินเรือเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบัน สรท. มีการตกลงทำ Service Contract กับสายเรือ China Shipping เพื่อขนส่งสินค้าให้กับสมาชิกในอัตราที่ต่ำกว่าการส่งออกโดยผู้ส่งออกรายย่อยติดต่อเองโดยตรง นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการพยายามหาพันธมิตรในการตกลงทำสัญญาการขนส่งในรูปแบบการขนส่งอื่นๆ เพื่อให้ได้รับค่าขนส่งที่ต่ำลงจากเดิม นอกจากนี้การทำ Service contract ยังเป็นการให้ข้อมูลความต้องการตู้สินค้าที่ชัดเจนกับผู้ขนส่งเพื่อจัดเตรียมตู้สินค้าสำหรับตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้นอีกประการหนึ่ง (ปี 2547 มีความต้องการตู้เปล่าจำนวน 1,182,355 TEU ในขณะที่ข้อมูล เดือน ม.ค. – พ.ค. ปี 2548 มีการนำเข้าตู้เปล่าจำนวน 392,398 TEU ซึ่งในบางช่วงเวลาสายเรือไม่สามารถจัดเตรียมตู้เปล่าได้ทันต่อความต้องการของผู้ส่งออก เนื่องจากไม่ทราบปริมาณการส่งออกที่แน่นอนนั่นเอง) Exporter Exporter

39 “ด้วยความจริงใจ และไม่แตกแถว”
ความร่วมมือในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ประกอบการในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ “ด้วยความจริงใจ และไม่แตกแถว” อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดของความร่วมมือกันในการแก้ไขปํญหาด้านการขนส่งก็คือ ผู้ประกอบการทั้งหมดต้องมีความจริงใจ และไม่แตกแถวเพียงเพราะประโยชน์ส่วนตัวเพียงเล็กน้อย

40 Full service freight package.
Buy Full Service with One Transporter Cost reduction by Reduced Administrative Activities More Bargaining Power Domestics Inland Transportation Long Haul Destination Country’s Inland Transportation สวนผัก/สวนผลไม้ Port/ Airport Export Importer Consumer คนกลางส่งออก วิธีการอีกประการหนึ่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง เพื่อการส่งออก คือ การซื้อบริการแบบ Full Service ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออก มีอำนาจในการต่อรองกับผู้ขนส่งมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้สามารถลดกิจกรรมสำนักงานลงได้เป็นจำนวนมาก ผู้ผลิต/แปรรูปสินค้า

41 Select Modes of Transportation by Total Cost Concept
Freight increased But Total Cost Reduced Inland Transportation Sea Freight Inventory Warehousing Other Uses Sea Transportation Cost Other Warehousing Inventory Air Freight Select modes of transportation by total cost concept หมายถึง การเลือกรูปแบบการขนส่ง โดยการมองภาพรวมของระบบอย่างเช่น การใช้การขนส่งทางอากาศแทนการขนส่งทางเรือ ซึ่งแม้ค่าระวางการขนส่งทางอากาศจะสูงกว่า แต่สามารถลดการเก็บสินค้าคงคลัง และการจัดการคลังสินค้าลงได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนรวมลดลงจากเดิม Inland Transportation Uses Air Transportation

42 การจัดการโลจิสติกส์สามารถลดเวลาในการขนส่ง
เกิดประโยชน์ต่อสินค้าที่มีวงจรอายุสั้น (Short Product Life Cycle) อาทิ เสื้อผ้า, โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ระยะเวลาในการกระจายสินค้าสู่ตลาดและเวลาในการวางขายสินค้าประมาณ 90 วัน การขนส่งรูปแบบเดิมใช้เวลา 60 วัน Shelf life 30 วัน Gap of Time สินค้าบางรายการมีอายุการวางสินค้าบนชั้นวางค่อนข้างสั้น อาทิ สินค้าแฟชัน และสินค้าทันสมัยต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการลดเวลาในการขนส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น สินค้าชนิดหนึ่งมีระยะเวลาในการ ขนส่งสินค้า และวางขายสินค้าประมาณ 90 วัน ก่อนการออกสินค้าชนิดใหม่เข้าสู่ตลาด ถ้าใช้เวลาในการขนส่งประมาณ 60 วันจะทำให้มีเวลาในการวางขายประมาร 30 วันเท่านั้น แต่หากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งให้ดีมากขึ้นและสามารถลดเวลาในการขนส่งให้น้อยลง จะส่งผลให้สามารถขนส่งสินค้าไปยังตลาดได้ในเวลาเพียง 40 วัน สามารถขายสินค้าได้เร็วมากขึ้นและมีระยะเวลาการวางขายยาวนานถึง 50 วัน การขนส่งทางรูปแบบใหม่ใช้เวลา 40 วัน Shelf life 50 วัน

43 การจัดการโลจิสติกส์สามารถลดเวลาในการขนส่ง (ต่อ)
เกิดประโยชน์ต่อสินค้าเน่าเสียง่าย (Perishable Goods) อย่างเช่น ผลไม้สด, ไม้ดอก เป็นต้น Market Market 3 Days ในอีกมุมมองหนึ่ง การพัฒนาเส้นทางการขนส่งใหม่ที่สามารถลดเวลาในการขนส่งให้น้อยลง ทำให้สามารถขยายตลาดได้ไกลมากขึ้น อย่างเช่น การส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนแต่เดิมใช้การขนส่งทางเรือไปยังเมืองท่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยใช้เวลาประมาณ 7 วัน ทำให้มีเวลาในการกระจายสินค้าในประเทศจีนเพียงประมาณ 2 วันเท่านั้น ตลาดที่ขายจึงจำกัดอยู่เพียงบริเวณใกล้เมืองท่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งเป็นการขนส่งทางรถไปยังเวียดนามและขนส่งทางเรือต่อไปยังประเทศจีน จะใช้เวลาเพียงประมาณ 5 วัน ทำให้มีเวลาในการกระจายสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 2 วัน เป็น 4 วัน 2 Days 7 Days

44 ประโยชน์จากการปรับปรุงคุณภาพของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี สามารถป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง สินค้าได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งน้อยลง ค่าเบี้ยประกันลดลง หีบห่ออยู่ในสภาพดี ความได้เปรียบในด้านราคา บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี สามารถป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง สินค้าได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งน้อยลง ค่าเบี้ยประกันลดลงทำให้มีความได้เปรียบในด้านราคา การออกแบบที่ดีสามารถทำให้หีบห่ออยู่ในสภาพดีไม่บุบ หรือไม่สมบูรณ์ ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อสินค้าที่ราคาต่ำและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อสินค้า

45 for long-term efficiency
Capacity Building Capacity building is the most important for long-term efficiency People Awareness Mindset Knowledge & Skill Commitment Learning Organization System & Process Improvement Sustainable Development การพัฒนาบุคลากรและความสามารถในการบริหารเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิภาพในระยะยาว โดยจะต้องเน้นทั้งในส่วนของบุคลากร และการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

46 ระบุต้นทุนแต่ละกิจกรรมโดยใช้ ACTIVITY BASED COSTING
ทำให้ทราบต้นทุนแฝงของแต่ละกิจกรรม และสามารถกำหนดราคาได้อย่างถูกต้อง Cost Marketing Production Administration Logistics Maintenance Other Activities Declare Cost to Activities by percentage of usage โดยปกติต้นทุนบางรายการจะแสดงให้เห็นในรูปของต้นทุนรวมขององค์กร ซึ่งทำให้ไม่ทราบว่าในแต่ละส่วนใช้ต้นทุนต่างกันอย่างไร จึงควรมีการประเมินสัดส่วนการใช้งานในแต่ด้าน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และกำหนดต้นทุนของสินค้าแต่ละรายการอย่างชัดเจนต่อไป Cost such as depreciation, rental etc.

47 “The Key of Logistics Management is reduced Non-Value Added activities

48 “Logistics Management is A Managerial Common Sense.”
In the near Future: “Logistics Management is A Managerial Common Sense.” อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการโลจิสติกส์ในปัจจุบันได้มีการก้าวไปถึงขั้นที่พัฒนาจนกลายเป็นหลักในการบริการจัดการทั่วไปในองค์กร อันครอบคลุมถึงแนวทางในการบริหารจัดการกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ในอนาคต ผู้ประกอบการที่ยังไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ทัดเทียมคู่แข่งได้ จะไม่สามารถแข่งขันทางการค้ากับคู่แข่งต่างๆ และอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้

49 Why Logistics can create competitiveness???
Outcome of Logistics Improvement Increased Customer satisfaction Both in need and expectation Increased Efficiency Both in production and other related Operation. Sustainable Competitiveness Increased in sale and more economies of scale Reduced Cost By reduced waste of input. โดยสรุป กับคำถามที่ว่า “แล้วการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร” สามารถอธิบายได้ว่า การบริหารจัดการโลจิสติกส์จะส่งให้ เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งในระบบการผลิตและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง สามารถลดต้นทุนประกอบการจากการใช้ประโยชน์จาก input ของกระบวนการ และลดของเสียในการผลิตลง โดยผลลัพธ์จากการพัฒนากระบวนการด้านโลจิสติกส์จะส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้นทั้งในส่วนของความต้องการและความคาดหวัง เมื่อลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้ยอดขายมากขึ้นและสามารถเพิ่มการประหยัดต่อขนาดในการผลิตตามไปด้วย สุดท้ายกระบวนการจะสามารถก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป

50 More information at: www.tnsc.com
Question and Answer More information at:


ดาวน์โหลด ppt การจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google