งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

"ความหมายของงานวิศวกรรม หน้าที่ และจรรยาบรรณวิชาชีพของวิศวกร "

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: ""ความหมายของงานวิศวกรรม หน้าที่ และจรรยาบรรณวิชาชีพของวิศวกร ""— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 "ความหมายของงานวิศวกรรม หน้าที่ และจรรยาบรรณวิชาชีพของวิศวกร "
1 โดย อาจารย์ณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดี การบรรยายรายวิชา พื้นฐานวิชาชีพวิศวกรรม

2 อาจารย์ณรงค์ ชวสินธุ์
อาจารย์ณรงค์ ชวสินธุ์ ใบประกอบวิชาชีพ วย. 725 (สาขาวิศวกรรมโยธา) การศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยม อันดับ 2 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Asia : AIT) สมาชิกภาพ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร

3 รู้จักวิชาชีพวิศวกรรม
งานวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกร ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หน้าที่และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม สภาวิศวกรรม สมาคมวิศวกรรมสถานฯ (วสท.)

4 การก่อสร้างและการใช้งาน
วิศวกรรม โดยการนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบ การสร้างสรรค์ สิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิต พัฒนา สิ่งที่สร้างให้เป็นประโยชน์ให้เต็มที่ การก่อสร้างและการใช้งาน การทำงานของสิ่งที่สร้างภายใต้สภาวะของการใช้งาน พยากรณ์ 4

5 งานวิศวกรรม การศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ตรวจสอบแก้ไขปัญหา ควบคุมการผลิต

6 วิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร??
“การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือหรือกระบวนการผลิต หรืองานเพื่อการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้ โดดๆ หรือประยุกต์เข้าด้วยกัน”

7 ตัวอย่างสาขาของวิศวกรรมศาสตร์
7 สาขาต่าง ๆ ของวิศวกรรมศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมระบบสิ่งก่อสร้าง วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวเวช วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมดินและน้ำ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมความปลอดภัย วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมปิโตรเคมี วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมสื่อสาร วิศวกรรมชายฝั่ง วิศวกรรมสมุทรศาสตร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมระบบอุปกรณ์และการควบคุม วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมอวกาศยาน วิศวกรรมการบินและอากาศยาน วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอัตโนมัติ วิศวกรรมพลาสติก วิศวกรรมพอลิเมอร์ วิศวกรรมต่อเรือ วิศวกรรมการจัดการ วิศวกรรมชลประทาน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

8 วิศวกร Engineer ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม
นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ในงานของวิศวกรรมสาขาต่างๆ

9 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
เริ่มต้นในประเทศไทยครั้งแรกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 มีคณะกรรมการควบคุมประกอบวิชาชีพวิศวกรรม(ก.ว.)เป็นผู้พิจารณาออกใบอนุญาต สำนักงาน ก.ว.มีสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กำกับดูแล ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ก.ว. ปัจจุบันบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 สภาวิศวกรทำหน้าที่ทุกรายการแทน ก.ว. กำหนดให้การออกใบอนุญาตเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาวิศกร ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต้องประกอบวิชาชีพควบคุมตามประเภทและสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น

10 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)
เป็นใบอนุญาตให้บุคคลประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดย สภาวิศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ละสาขา แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ วุฒิวิศวกร Fellow Engineer สามัญวิศวกร Charter Engineer ภาคีวิศวกร Associate Engineer ภาคีวิศวกรพิเศษ Corporate Engineer

11 หน้าที่ของวิศวกร (ก) งานให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย ตรวจรับรองงาน
(ข) งานศึกษา วิเคราะห์ วางแผนและจัดการโครงการ (ค) งานออกแบบและคำนวณ (ง) งานควบคุม สร้าง ผลิต ติดตั้ง ซ่อมแซม ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย (จ) งานพิจารณาตรวจสอบ ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ ตรวจสอบวินิจฉัย สอบทาน งานสอน และบรรยาย (ฉ) งานอำนวยการใช้ บำรุงรักษา (ช) งานวิศวกรรมพิเศษอื่น ๆ

12 จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม ตามข้อบังคับของสภาวิศวกร
ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543 ได้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังต่อไปนี้

13 จรรยาบรรณของวิศวกร เป็นที่ทราบกันทั่วไป สำหรับผู้เรียนและผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมว่า ปัจจุบันจรรยาบรรณวิศวกร ประกอบด้วย 15 ข้อได้แก่ ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำทุกอย่างตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือใช้ผลประโยชน์แก่บุคคลใด เพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับงาน หรือไม่ได้รับงาน ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบจากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณาซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ (8) ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร

14 (9) ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในงานที่ตนไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง (10) ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง (11) ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น (12) ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงาน หรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว (13) ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อเป็นการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้แก่ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว (14) ไม่ใช้ หรือคัดลอกรูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น (15) ไม่กระทำการใดๆโดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

15 หรือที่หลายๆ คนท่องจำกันแบบกระชับ ว่า
(1) ไม่ทำให้เลื่อมเสีย (2) ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ (3) ซื่อสัตย์สุจริต (4) ไม่ใช้อิทธิพล (5) ไม่รับทรัพย์สินโดยมิชอบ (6) ไม่โฆษณาเกินจริง (7) ไม่ทำงานเกินความสามารถ (8) ไม่ละทิ้งงาน (9) ไม่ลงลายมือชื่องานที่ไม่ได้ทำ (10) ไม่เปิดเผยความลับ (11) ไม่แย่งงาน (12) ไม่ทำงานชิ้นเดียวกับผู้อื่น (13) ไม่รับทำงานชิ้นเดียวกันให้กับผู้ว่าจ้างรายอื่น (14) ไม่คัดลอกงานคนอื่น (15) ไม่จงใจทำให้ผู้ร่วมอาชีพเสื่อมเสีย

16 จรรยาบรรณวิศวกร สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)
วสท. ได้มีการประกาศจรรยาบรรณวิศวกรต่อสมาชิกของสมาคม (จำนวน 8 ข้อ) ดังนี้

17 จรรยาบรรณวิศวกรของ วสท.
1. วิศวกรต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อสวัสดิภาพสุขภาพ และความปลอดภัยของสาธารณชน และต่อสิ่งแวดล้อม 2. วิศวกรต้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความซื่อสัตย์จริง 3. วิศวกรต้องดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศและศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม 4. วิศวกรต้องปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความรู้ความสามารถเพียงพอเท่านั้น 5. วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงานและต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม 6. วิศวกรต้องรับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน 7. วิศวกรต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพของตน เพื่อประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าซึ่งตนปฏิบัติงานให้เหมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ 8. วิศวกรต้องพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบอาชีพ

18 และ วสท. ยังได้ประกาศ คำปฏิญญาวิศวกร 6 ข้อ ดังนี้
ข้าพเจ้า คือ วิศวกร 1. ข้าพเจ้า มีความภูมิใจอย่างยิ่งกับอาชีพของข้าฯ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะความอหังการ ข้าพเจ้า มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามโดยดุษฎี ซึ่งข้าฯเองก็กระหายใคร่จะปฏิบัติอยู่แล้ว 2. ในฐานะที่เป็นวิศวกร ข้าพเจ้า จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในงานที่สุจริตเท่านั้น ผู้ใดก็ตามที่มารับบริการจากข้าฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้จ้าง หรือลูกค้าของข้าฯก็ตาม เขาย่อมได้รับบริการที่ดีที่สุด ด้วยความซื่อตรงเที่ยงธรรมอย่างที่สุด 3. เมื่อถึงคราวที่จำเป็น ข้าพเจ้า จะทุ่มเทความรู้และทักษะของข้าฯให้แก่กิจการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะอย่างเต็มกำลัง เพราะใครคนใดมีความสามารถพิเศษด้านใด เขาคนนั้นย่อมมีพันธกรณีที่จะต้องใช้ความสามารถด้านนั้นอย่างดี เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ข้าฯขอรับความท้าทายตามนัยนี้ 4. ด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิแห่งงานอาชีพของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า จะพยายามปกป้องผลประโยชน์และชื่อเสียงของวิศวกรทุกคนที่ข้าฯ รู้ดีว่าสมควรจะได้รับความปกป้องคุ้มครอง พร้อมกันนี้ข้าฯ ก็จะไม่หลบเลี่ยงภาระหน้าที่ที่จะต้องเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับบุคคลใดก็ตามที่ได้กระทำผิดทำนองคลองธรรม ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะอยู่ในวงงานอาชีพวิศวกรรมได้

19 5. ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ได้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก็เพราะอัจฉริยภาพของบรรพชนในวงงานอาชีพของข้าพเจ้า ท่านเหล่านั้นได้นำทรัพยากรวัสดุและพลังงานมากมายในธรรมชาติ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หลักการทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางเทคโนโลยีที่ได้พัฒนา และนำมาปฏิบัติตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ล้วนแต่เป็นผลงานของบรรพชนทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าปราศจากมรดกตกทอดที่เป็นประสบการณ์สั่งสมเหล่านี้ ผลงานจากความเพียรพยายามของข้าพเจ้า ก็คงจะต่ำต้อยด้อยคุณค่าลงไปมาก ข้าพเจ้า จึงขออุทิศตนเพื่อการเผยแพร่ความรู้ทางวิศวกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแนะนำสั่งสอน ให้สมาชิกรุ่นหลังๆ ในวงงานอาชีพของข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงศิลปะและขนบธรรมเนียมประเพณีทุกอย่างในงานอาชีพนี้ 6. ข้าฯขอให้คำมั่นสัญญาต่อเพื่อนร่วมอาชีพของข้าพเจ้า อย่างแข็งขัน เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าเรียกร้องจากพวกเขาว่า ข้าพเจ้าจะดำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม ความอดทนและความเคารพต่อผู้อื่นอีกทั้งการอุทิศตนเพื่อมาตรฐานและศักดิ์ศรีแห่งอาชีพวิศวกรรมของเรา ทั้งนี้ด้วยการระลึกอยู่เสมอว่าความเชี่ยวชาญพิเศษของพวกเราที่เป็นวิศวกรนั้น มีมาพร้อมกับพันธกรณีที่จะต้องรับใช้มนุษยชาติ ด้วยความจริงใจถึงที่สุด


ดาวน์โหลด ppt "ความหมายของงานวิศวกรรม หน้าที่ และจรรยาบรรณวิชาชีพของวิศวกร "

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google