งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ?"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ?
“กฎหมายมีความเป็นกลาง และให้ความเสมอภาคแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศ ชาติกำเนิด ผิวพรรณ ชนชั้นใดก็ตาม” คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ? หรือเป็นเพียงอุดมคติ/ เป้าหมายที่สังคมต้องการจะเดินไปให้ถึงจุดหมายนี้? ในสังคมนี้ สามารถแบ่งคนได้เป็นประเภทใดบ้าง? หญิง – ชาย? รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นหญิง ใครเป็นชาย? เพศ (sex) เพศภาวะ (gender) เพศกำเนิด เพศวิถี (sexuality) 5 Gender and the Law

2 กฎหมายกับเพศภาวะ การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดในสังคมที่ส่งผลต่อกฎหมาย และการที่กฎหมายกลายเป็นเครื่องมือของแนวคิดเหล่านั้นในการควบคุมคนในสังคม ความเชื่อและกำหนดบทบาทของชาย-หญิงในสังคม กฎหมายที่เขียนขึ้นโดยกลุ่มแนวคิดที่มีอิทธิพลครอบงำสังคม การใช้กฎหมายโดยมีฐานคติที่ยึดติดกับความเชื่อบางอย่าง ทำไมคนจึงนิยมขุนแผน แต่ประนามวันทอง? 5 Gender and the Law

3 กฎหมายกับเพศภาวะ ตัวอย่างการใช้กฎหมายที่มีอคติทางเพศแฝงอยู่
ผู้หญิงต้องเป็นกุลสตรี หากแต่งตัวโป๊ไปเดินคนเดียวในที่เปลี่ยว แล้วถูกละเมิดทางเพศ สังคมจะว่าอย่างไร? ใส่กางเกงยีนส์ ทำให้ขาดองค์ประกอบในเรื่องความยินยอมในกรณีความผิดทางเพศ มายาคติที่ว่าความรุนแรงในครอบครัวมักเกิดในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยหรือการศึกษาไม่สูง ดู link : ฎีกายืนอ.นิด้าฆ่าเมีย.txt (คลิกขวา open hyperlink) บันดาลโทสะ มีการใช้ต่างกันในระหว่างผู้กระทำความผิดชาย – หญิง ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน/แก้ไขความรุนแรงในครอบครัว 5 Gender and the Law

4 แนวคิดปิตาธิปไตย Patriarchy
ความเชื่อว่าผู้ชายเป็นเพศที่แข็งแรงและควรปกป้องคุมครองผู้หญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่า เรื่องนอกบ้าน เรื่องในบ้าน ผู้หญิงทำงานบ้าน-เลี้ยงลูก  บทบาทชายหญิง Gender Role 5 Gender and the Law

5 Gender Role http://www.youtube.com/watch?v=Rby3UVb2jXw
สังคมกำหนด/คาดหวังว่าชาย – ความเป็นชาย, หญิง – ความเป็นหญิง 5 Gender and the Law

6 คนเราควรมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกเป็นในสิ่งที่ตนชอบ
5 Gender and the Law

7 แนวคิดที่เปลี่ยนไปในสังคม
แนวคิดต่างๆค่อยเปลี่ยนใน “สังคมสมัยใหม่” แนวคิดเสรีนิยม คนเราเท่าเทียมกัน แนวคิดสตรีนิยม หญิงชายเท่าเทียมกัน แนวคิดเพศหลากหลาย เสรีภาพในการมีเพศภาวะที่ตนต้องการ 5 Gender and the Law

8 กฎหมายที่แก้ไขเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเสมอภาคและคุ้มครองผู้หญิง
สวัสดิการในการทำงาน – คุ้มครองแรงงาน สิทธิในการลาคลอด กฎหมายอาญา กฎหมายครอบครัว – เหตุหย่า ความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองผู้หญิง ที่มีภาระเลี้ยงดูลูก 5 Gender and the Law

9 หากเจอเหตุการเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไร?
เราจะเข้าไปในเขตนั้นหรือไม่? ให้เหตุผลว่าอย่างไร? 5 Gender and the Law

10 ความขัดแย้งกันของสิทธิต่างๆ
ห้ามผู้หญิงเข้าในเขตศักดิ์สิทธิ์ สิทธิในการสืบทอดประเพณีความเชื่อ สิทธิในความเสมอภาค แล้วจะตัดสินอย่างไร? 5 Gender and the Law

11 การใช้สวัสดิการต่างๆที่ต้องจ่ายเงิน มีการให้บริการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่?
5 Gender and the Law

12 เป็นเพราะผู้หญิงไม่ชอบเล่นกีฬา กลัวดำ กลัวกล้ามเนื้อแข็งแรง
หรือเป็นเพราะกีฬาที่จัดไว้เป็นกีฬาสำหรับผู้ชายเป็นหลัก 5 Gender and the Law

13 เป็นเพราะผู้หญิงไม่ชอบเล่นกีฬา กลัวดำ กลัวกล้ามเนื้อแข็งแรง
หรือเป็นเพราะกีฬาที่จัดไว้เป็นกีฬาสำหรับผู้ชายเป็นหลัก 5 Gender and the Law

14 ระหว่างหอพักนักศึกษาชายกับหอพักนักศึกษาหญิง มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันหรือไม่
ด้วยเหตุผลอะไร ฟังขึ้นหรือไม่? 5 Gender and the Law

15 มองกฎหมายแบบสตรีนิยม
กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดแตกต่างกันระหว่างชายและหญิง การให้สัญชาติเฉพาะหญิงต่างด้าวที่แต่งงานกับชายไทย ทำไมจึงไม่ให้สัญชาติกับชายต่างด้าวที่แต่งงานกับหญิงไทย 5 Gender and the Law

16 การค้าประเวณี ผู้ที่ค้าอาจมีความผิดได้แก่ผู้ค้าและผู้เป็นธุระจัดหา ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปรามการค้าประเวณี 2539 แต่ผู้เที่ยว? 5 Gender and the Law

17 ทำไมการค้าประเวณีจึงถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ผิด?
การทำให้ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ การผลักดันให้ผู้หญิงต้องเข้าสู่การค้าประเวณี ความสมัครใจ เป็นความต้องการอย่างแท้จริงของผู้หญิงอย่างแท้จริงหรือ? เช่น ความยากจน แล้วถ้าทำเพื่ออยากได้เงินไปซื้อของฟุมเฟือยต่างกันหรือไม่? 5 Gender and the Law

18 การค้าประเวณีถูกสังคมมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่ดีงาม
การกำหนดว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กฎหมายเอาผิดแต่ผู้หญิงและผู้จัดหา แต่ไม่ได้เอาผิดกับผู้ชายที่มาใช้บริการ! criminalize, decriminalize, or legalize? การมองว่าวัฒนธรรมและโครงสร้างของสังคมผลักดันให้ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ในทางกลับกัน หากมีเหตุที่ทำให้ผู้หญิงต้องทำ “อาชีพ” นี้ ก็ควรต้องมีการคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้หญิง 5 Gender and the Law

19 Gender Bias การให้คุณค่าที่ไม่เท่าเทียมกัน – การให้คุณค่ากับสิ่งที่ผู้ชายทำ มากกว่าผู้หญิงทำ ตัวอย่าง งานบ้านไม่มีค่าตอบแทน การมองว่าผู้หญิงจู้จี้ ขี้บ่น 5 Gender and the Law

20 อำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
วัฒนธรรมทางสังคมที่มองข้ามการคุกคามทางเพศ 5 Gender and the Law

21 Gender Blind 5 Gender and the Law

22 แนวคิดสตรีนิยม เริ่มจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิงให้การมีส่วนร่วมในการเมือง – การมีสิทธิเลือกตั้ง New York City, May 6, 1912 5 Gender and the Law

23 การเคลื่อนไหวถูกมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวของผู้หญิงผิวขาวที่มีฐานะ
ต่อมามีการเรียกร้องให้คำนึงถึงสิทธิในสวัสดิการและความเท่าเทียมกันระหว่างชาย-หญิง ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ความเท่าเทียมกันในการทำงาน ความไม่เสมอภาค เกิดจากโครงสร้าง สังคมที่หล่อหลอมขึ้น ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลง 5 Gender and the Law

24 การเคลื่อนไหวของผู้หญิงในยุคต่อมาให้ความสำคัญกับความหลากหลายของความต้องการของผู้หญิงในแต่ละที่ Class, race & gender 5 Gender and the Law

25 ความหลากหลายของการต่อสู้ของผู้หญิง ที่ในสังคมทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว
ประสบการณ์ที่เรามีอยู่อาจเป็นคนละเรื่องกับผู้หญิงคนอื่นในสังคมเดียวกัน – เพศ ชนชั้นและชาติพันธุ์ (วัฒนธรรม) 5 Gender and the Law

26 5 Gender and the Law

27 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน Gender Equality
การเสนอว่าผู้หญิงมีความเท่าเทียมกัน การให้คุณค่าเสมอกัน แม้จะมีวิธีการที่แตกต่างกัน Restorative Justice 5 Gender and the Law

28 กฎหมายที่ให้สิทธิเท่าเทียม แต่ไม่สามารถสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น เช่น
การลงรับสมัครเป็น ส.ส. ตามกฎหมายการเลือกตั้ง มี ส.ส. หญิงประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ในสภาไทย การเลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า หรือการดำรงตำแหน่งในองค์กรระดับสูงของสังคมไทย 5 Gender and the Law

29 กฎหมายที่ไม่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของหญิง
สภาพปัญหาหรือประสบการณ์ของหญิงไม่ค่อยได้รับความสำคัญหรือถูกมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการคุ้มครอง การให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิง เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม การบริโภค การพัฒนา การมีองค์กร เครือข่ายการเคลื่อนไหวของผู้หญิง 5 Gender and the Law

30 การจัดการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางเพศ Gender Equality
5 Gender and the Law

31 การจัดการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางเพศ Gender Equality
5 Gender and the Law

32 หากชายสามารถกระทำสิ่งใด หญิงก็มีความสามารถที่จะกระทำได้เช่นเดียวกัน
แนวความคิดแบบเสรีนิยมเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ ระหว่างชาย/หญิงไม่มีความแตกต่างกันทางด้านศักยภาพ หากชายสามารถกระทำสิ่งใด หญิงก็มีความสามารถที่จะกระทำได้เช่นเดียวกัน 5 Gender and the Law

33 ความเคลื่อนไหวของแนวคิดเพศหลากหลาย LGBT
การจัดระเบียบทางเพศโดยกฎหมาย Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender 5 Gender and the Law

34 ทรรศนะแบบทวิเพศ เพศของมนุษย์เป็นไปตามเพศกำเนิด การจำแนกเพศมีเพียงแค่เพศหญิงและชาย บทบาทของหญิงชายก็จะดำเนินไปตามกรอบของเพศกำเนิด ตัวอย่าง กฎหมายมีข้อกำหนดการใช้คำนำหน้านาม การแต่งกาย สถานที่ในทางสาธารณะต่างๆ ก็จะมีการออกแบบไว้รองรับสำหรับเพศชายและหญิงเท่านั้น 5 Gender and the Law

35 5 Gender and the Law

36 5 Gender and the Law

37 ความคิดของสังคม เกี่ยวกับเพศวิถี
เพศวิถี หรือการปฏิบัติอันสืบจากความต้องการทางเพศก็ต้องอยู่ในกรอบของรักต่างเพศ ระหว่างชายกับหญิง การแต่งงาน/การก่อตั้งครอบครัวของบุคคล ก็ถูกกำหนดให้เป็นเรื่องของชายกับหญิงเท่านั้น (heterosexual marriage) การกระทำที่อยู่นอกกรอบเป็นความผิดปกติ ไม่สามารถอนุญาตให้กระทำได้ 5 Gender and the Law

38 ครอบครัวคืออะไร? http://www.youtube.com/watch?v=9RMVIO4nmPc
วัฒนธรรมชุบแป้งทอด – ทำไมเราแต่งงานกันไม่ได้ 5 Gender and the Law

39 ระบบคิดเดิม กฎหมายมีบทบาทอย่างสำคัญต่อการ “สร้าง” เพศ และสถาบันทางสังคมต่างๆ ที่เกี่ยวกับเพศ แม้ว่าอาจที่คนในสังคมโดยไม่ตระหนักรู้ เพราะคิดว่าเป็นธรรมชาติ ระบบกฎหมายบนฐานคิดแบบทวิเพศ พื้นที่สาธารณะที่ยังจำแนกเพศชายหญิง ก่อให้ก่อความยุ่งยากอย่างสำคัญ รวมถึงสถาบันครอบครัวที่อยู่บนฐานการแต่งงานแบบต่างเพศเป็นหลัก 5 Gender and the Law

40 การเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างของแนวคิด
การจำแนกโรคสากล (International Classification of Diseases) ครั้งที่ 9 ขององค์การอนามัยโรค ค.ศ เห็นว่าบุคคลที่มีความสนใจในทางเพศกับบุคคลที่มีเพศเดียวกันกับตนเป็นบุคคลที่มีกามวิปริต การจำแนกโรคสากล (International Classification of Diseases) ครั้งที่ 10 ค.ศ องค์การอนามัยโลกได้ถอนรายชื่อของการรักเพศเดียวกันออกจากการเป็นโรคทางจิต (mental disease) ชนิดหนึ่ง 5 Gender and the Law

41 การเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างของแนวคิด How far can you go?
การเกณฑ์ทหาร เครื่องแบบนักศึกษา Don’t ask, don’t tell (DADT) policy 5 Gender and the Law

42 การท้าทายจาก ทรรศนะแบบพหุเพศ
เพศของมนุษย์มีความซับซ้อน อารมณ์และพฤติกรรมทางเพศไม่ได้ถูกกำหนดจากเพศกำเนิดแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้าง (constructed) ขึ้น เพศของมนุษย์สามารถลื่นไหล เปลี่ยนแปลงได้ ไม่จำกัดเฉพาะเพศกำเนิดเท่านั้น รวมถึงการที่ชายรักชาย หญิงรักหญิง คู่รักเพศเดียวกัน มิใช่สิ่งที่ผิดปกติแต่อย่างใด หากเป็นรสนิยมแบบหนึ่ง 5 Gender and the Law

43 เปลี่ยนอย่างไร? การเปลี่ยนเพศในทางกฎหมาย มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ด้าน การยอมรับให้บุคคลสามารถเปลี่ยนเพศในทางกฎหมายที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ได้แก่ 1. บรรลุนิติภาวะ 2. มีการใช้ชีวิตในอีกเพศหนึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่งและ ได้รับการรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงกฎหมายจึงสามารถกำหนดให้มีสถานะตามเพศใหม่ 5 Gender and the Law

44 การยอมรับการใช้ชีวิตร่วมของคู่รักเพศเดียวกัน
การยอมรับภายใต้กฎหมาย/ภายในสังคม มีความแตกต่างกันไป 3 ระดับ ระดับที่หนึ่ง ยอมรับการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน ระดับที่สอง ยอมรับเสมือนการจดทะเบียนระหว่างชายหญิง แต่มีข้อจำกัดบางประการ ระดับที่สาม ยอมรับในแบบเดียวกันกับการสมรสของชายหญิง 5 Gender and the Law

45 ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงสำคัญ
กฎหมายเกี่ยวกับสถานะบุคคลยังไม่สามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ แม้จะแปลงเพศแล้ว กระทบไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น การประกอบอาชีพ การรับบุตรบุญธรรม หรือการตั้งครรภ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี – “For the best interest of the child”

46 Enjoy your identity and sexuality
ขอให้มีความสุขกับอัตลักษณ์และเพศวิถีของตนเอง ในโลกสมัยใหม่ จบ ☃ 5 Gender and the Law


ดาวน์โหลด ppt คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google