งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ถอดบทเรียนจาก วิจัยเพื่อท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ถอดบทเรียนจาก วิจัยเพื่อท้องถิ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ถอดบทเรียนจาก วิจัยเพื่อท้องถิ่น
รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง ศูนย์กลางความรู้และภูมิปัญญาแผ่นดิน ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ . ปรับปรุง 3 พฤษภาคม 2552

2 แนวคิดของ วิจัยเพื่อท้องถิ่น

3 วิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

4 เครื่องมือเก็บข้อมูล
ประชามติ (Referendum) คือ กระบวนการขอปรึกษาทางตรง ในการตัดสินใจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ประชาพิจารณ์ (Public Hearing) คือ กระบวนการขอรับฟังความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบสอบถาม (Questionaire Form) คือ เครื่องมือที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ตอบ เติมคำตอบด้วยตนเองประกอบด้วยคำถามข้อเดียวหรือหลายข้อรวมกัน คำถามอาจอยู่ในรูปคำถามปลายเปิด เติมคำ เลือกหลายคำตอบก็ได้ แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) คือ เครื่องมือที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ถาม บันทึกข้อมูลที่ได้จากผู้ถูกสัมภาษณ์

5 บทเรียนในกระบวนการที่สำคัญ (พ)
การคัดเลือกทีมวิจัย ตามบทบาทและสัมพันธ์กับประเด็น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แม่บ้าน ผู้สูงอายุ พระสงฆ์ ครู ฯ เปิดวงให้ถกเถียง แลกเปลี่ยนบนการจัดการความรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ผสมความรู้คนในและคนนอก เพื่อออกแบบกิจกรรม แล้วใช้เว็บไซต์เป็นฐานข้อมูลความรู้ของชุมชน ใช้บทเรียนที่มีในตัวคนขยับขยายไปสู่ตัวคนนอกพื้นที่

6 ลักษณะเด่น (พ) ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ร่วมกัน หลายระดับ หลายระยะ อย่างมีส่วนร่วม ใช้เครื่องมือสื่อสารที่เข้าใจง่ายด้วย VDO ความคิดเห็น ของนักวิจัยชุมชน พระสงฆ์ ผู้สูงอายุ และปราชญ์ชาวบ้าน วิธีออกแบบกิจกรรมกลุ่ม เกิดจากการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อน และกระจายการมีบทบาทอย่างทั่วถึง มีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน เก็บข้อมูลและร่วมเสนอ ทัศนคติของการเกื้อหนุ่น ทำให้เกิดรูปแบบที่ยึดใน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7 ผลต่อหัวหน้าโครงการ ความสุขที่มีโอกาสร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ได้เปลี่ยนบทบาท จากการสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือสอนคนที่ไม่รู้จักในอินเทอร์เน็ต ไปทำงานในชุมชน ได้เรียนรู้อดีตของมนุษย์ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ปรับการแต่งกาย ลดจำนวนมื้ออาหารและเลิกดื่มสุรา นำประสบการณ์ในชุมชนไปเล่าต่อให้คนในมหาวิทยาลัย ได้เขียนความประทับใจ เป็นบทความเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต มีเว็บเพจวัด ตำบล ทีมวิจัย วีดีโอคลิ๊ป รวมภาพ เผยแพร่ ส่งผลให้ผมบริจาคร่างกาย และบริจาคอวัยวะ อย่างมั่นใจ

8 แผนภาพแสดงขั้นตอนทั้ง 3
ไม่ยอมรับ 1 ชุมชน ทีมวิจัย ร่าง สอบถาม ยอมรับ สรุป 1 2 ทุกหลังคา สรุป 1 สอบถาม สรุป 2 ทุกหมวด นอกพื้นที่ ผู้สูงอายุ ทุกหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ยกร่าง วิเคราะห์ สภา สรุป 3 4 ผู้ใหญ่ 3 ผู้นำหมู่บ้าน นอกพื้นที่

9 แผนที่ความคิด (Mind Map)

10 ขั้นตอนที่ 1 การหารูปแบบการจัดการงานศพ
ขั้นตอนที่ 1 การหารูปแบบการจัดการงานศพ 1. วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคาม (SWOT) + ทีมวิจัยหลัก (Core Research Team) + ทีมวิจัยร่วม (Collaborative Research Teams) 2. เก็บข้อมูลประวัติการจัดการงานศพในอดีตถึงปัจจุบัน 3. เก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อประเด็นงานศพ วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 3.1 แบบสอบถาม และ 3.2 แบบสัมภาษณ์ 4. นำข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้

11 ขั้นตอนที่ 1 การหารูปแบบการจัดการงานศพ
ขั้นตอนที่ 1 การหารูปแบบการจัดการงานศพ 5. เวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน นำเสนอความเปลี่ยนแปลงตลอด 80 ปีที่ผ่านมา 5.2 บรรยายเศรษฐกิจพอเพียง + ปัญหาของแต่ละประเด็น 5.3 แบ่งกลุ่มย่อย มีทีมวิจัยร่วมช่วยจัดเวทีกลุ่มย่อย 5.4 ให้ประธานกลุ่มย่อยได้ออกมานำเสนอ 6. นำมติมาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6.1 นำผลกลับเข้าเวทีประชาคมลงมติประเด็นที่เปลี่ยนอีกครั้ง 6.2 จัดเวทีสรุปผล

12 ขั้นตอนที่ 2 การขยายการใช้ประเด็นข้อตกลงในหมู่บ้าน
ใช้แบบสอบถาม ถามการยอมรับประเด็นข้อตกลง จัดเวทีผู้สูงอายุ หลังจากไปศึกษาดูงานลดวันเผา จัดเวทีประชาคมระดับครัวเรือน รวม 8 ครั้ง นำมติมาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดเวทีสรุปผลให้ชุมชนนำไปขยายผล

13 ขั้นตอนที่ 3 การขยายผลให้ครอบคลุมทั้งตำบลไหล่หิน
1. ทบทวน เตรียมทีม 1.1 ทีมวิจัยหลัก (Core Research Team) 1.2 ทีมวิจัยร่วม (Collaborative Research Teams) 2. ดูงาน ซักซ้อมนักวิจัยวิทยากร หมู่บ้านละ 3 ครั้ง 3. จัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน ทีละหมู่บ้าน 4. นำมติมาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทีละหมู่บ้าน 5. จัดเวทีสรุปผลให้ชุมชนนำไปขยายผล ทีละหมู่บ้าน 6. การมีบทบาทของสภาวัฒนธรรมตำบลในการแถลงข่าว

14 กลไกสู่การขยายผลทั้งเนื้อหาและกระบวนการ
สรรหาผู้สนใจที่เป็นกลไกหลัก เข้าใจวิจัยเพื่อท้องถิ่น สรรหาพื้นที่ และประเด็นที่สอดรับกัน เทียบพื้นที่อื่น สรรหาทีมวิจัย และตรวจสอบองค์ประกอบที่จำเป็น วางระบบและกลไก หรือขั้นตอนการทำงาน (Plan) ดำเนินการ (Do) ตรวจสอบ (Check) นำผลการตรวจสอบมาปรับแผน (Action)

15 คำถาม ? แลกเปลี่ยน เรียนรู้


ดาวน์โหลด ppt ถอดบทเรียนจาก วิจัยเพื่อท้องถิ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google