งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยี การสื่อสารข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยี การสื่อสารข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคโนโลยี การสื่อสารข้อมูล
บทที่ 3 เทคโนโลยี การสื่อสารข้อมูล

2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ?
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สวิตช์ เร้าท์เตอร์ เครื่องพิมพ์ มาเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่าย โดยมีตัวกลางในการนำพาสัญญาณ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานด้านต่างๆ

3 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ?
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ?
สรุปได้ว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารหรือการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้น ผ่านสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารหรือการเชื่อมต่อ ได้ทั้งสื่อกลางแบบมีสายหรือสื่อกลางแบบไม่มีสายก็ได้ อาทิเช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน

5 องค์ประกอบ

6 องค์ประกอบ ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับส่งข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ เร้าท์เตอร์ ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เร้าท์เตอร์ สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ

7 อุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมี
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล (Physical Media) – Twist pair , Coaxial , Fiber optic, Wireless โปรโตคอล (Protocol) – TCP/IP ระบบปฏิบัติเครือข่ายหรือ NOS (Network Operating System)

8 ประโยชน์ การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ช่วยลดต้นทุนด้านงบประมาณรายจ่ายลง
ความสะดวกในด้านการสื่อสาร สร้างความปลอดภัยให้แก่ระบบ

9 รูปแบบการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารแบบ Unicast เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่ายในลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือเรียกว่า One-to-One การสื่อสารแบบ Unicast เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แบบง่ายๆ แต่จะมีปัญหาถ้าจำนวนคอมพิวเตอร์ในการรับส่งเพิ่มมากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาการส่งข้อมูลในเครือข่ายมากเกินไป (Network Load)

10 รูปแบบการสื่อสารข้อมูล
2. การสื่อสารแบบ Broadcast เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางหนึ่งเครื่องไปยังเครื่องปลายทางหลายเครื่อง ซึ่งเป็นแบบ 1 ต่อ ทั้งหมด หรือเรียกว่า One-to-All การแพร่ข้อมูลแบบส่งไปยังเครื่องทุกเครื่องนั้นต้องมีการประมวลผลข้อมูลที่เครื่องปลายทาง เครื่องที่ไม่ต้องการรับข้อมูลก็จะได้รับข้อมูลไปด้วยแต่ต้องทิ้งข้อมูลที่ได้รับมา เป็นการสูญเสียความสามารถในการประมวลผลไป ทั้งยังทำให้มีปริมาณข้อมูลในเครือข่ายจำนวนมากโดยเปล่าประโยชน์ และสามารถเกิดเป็นปัญหา พายุข้อมูล (Broadcast storm)

11 รูปแบบการสื่อสารข้อมูล
3. การสื่อสารแบบ Multicast เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยังกลุ่มของเครื่องปลายทางเฉพาะกลุ่มที่มีการกำหนดแบบ 1 ต่อกลุ่มเฉพาะ หรือ One-to-N ซึ่ง N ในที่นี้อยู่ตั้งแต่ 1 ถึง ทั้งหมด การส่งข้อมูลจะส่งไปยังเฉพาะกลุ่มที่ต้องการรับข้อมูลเท่านั้น

12 ทิศทางของการสื่อสาร การสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ การสื่อสารแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ การสื่อสารแบบฟูลดูเพล็กซ์

13 ทิศทางของการสื่อสาร การสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์
การสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) หรือการสื่อสารแบบทางเดียวเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะผู้ส่งทำหน้าที่ส่งสารอย่างเดียว และผู้รับก็จะมีหน้าที่รับสารอย่างเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถส่งข่าวสารกลับไปยังผู้ส่งได้ จะคล้ายกับการที่เรานั่งฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ เราจะเป็นผู้รับอย่างเดียวไม่สามารถเป็นผู้ส่งได้ เช่น คีย์บอร์ดและจอภาพแบบทัชสกรีน

14 ทิศทางของการสื่อสาร 2. การสื่อสารแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์
การสื่อสารแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half-Duplex) หรือการสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่งที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถส่งข่าวสารระหว่างกันได้ แต่ต้องเป็นคนละเวลา คือหากผู้ส่งส่งข้อมูลไปหาผู้รับ ระหว่างนั้นผู้รับจะไม่สามารถส่งข้อมูลไปหาผู้ส่งได้ต้องรอจนว่าผู้ส่งจะส่งเสร็จจึงสามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ การสื่อสารในรูปแบบนี้ ต้องอาศัยการ สลับสวิตซ์ เพื่อแสดง การเป็นผู้ส่งสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด และจะไม่สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันได้

15 ทิศทางของการสื่อสาร 3. การสื่อสารแบบฟูลดูเพล็กซ์
การสื่อสารแบบฟูลดูเพล็กซ์ (Full-Duplex) หรือการสื่อสารแบบสองทิศทาง เป็นการสื่อสารที่ทั้งผู้รับและผู้ส่ง สามารถส่งข้อมูลข่าวสารถึงกันได้ในระยะเวลาหนึ่งได้พร้อมกัน หรือการติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์

16 ประเภทของเครือข่าย แบ่งตามขนาดพื้นที่ให้บริการ
แบ่งตามลักษณะการไหลของข้อมูล แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์

17 ประเภทของเครือข่าย แบ่งตามขนาดพื้นที่ให้บริการ (LAN , MAN , WAN)

18 เครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network)
ประเภทของเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการไหลของข้อมูล เครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network)

19 เครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network)
ประเภทของเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการไหลของข้อมูล เครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network)

20 แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครือข่าย แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer to Peer) หรือ (Workgroup) ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Server Network)

21

22 มาตรฐานระบบเครือข่าย
มาตรฐานเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN) 2. มาตรฐานระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN)

23 มาตรฐานระบบเครือข่าย
มาตรฐานเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1.1 Ethernet พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox ถือเป็นมาตรฐานของระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น จะใช้มาตรฐาน IEEE เช่น Ethernet (10 Mbps), Fast Ethernet (100 Mbps), Gigabit Ether (1000 Mbps) โดยที่ Ethernet จะใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detection) กล่าวคือถ้าเกิดส่งข้อมูลพร้อมกันและสัญญาณชนกัน จะต้องส่งข้อมูลใหม่

24 มาตรฐานระบบเครือข่าย
มาตรฐานเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1.2 Token-Ring พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing ในการเชื่อมต่อสามารถใช่ได้ทั้งสาย Coaxial, UTP, STP หรือสายใยแก้วนำแสง (Fiber optic) ระบบเครือข่ายแบบนี้มีความคงทนต่อความผิดพลาดสูง (Fault-tolerant) ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะอยู่ที่ 4-16 Mbps จะใช้มาตรฐาน IEEE 802.5

25 มาตรฐานระบบเครือข่าย
มาตรฐานเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1.3 FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นมาตรฐานเครือข่ายความเร็วสูงที่ ทำงานอยู่ในชั้น Physical ส่วนใหญ่นำไปใช้เชื่อมต่อเป็น Backbone (เป็นสายสัญญาณหลักเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ใช้ Access Method แบบ Token-passing และใช้ Topology แบบวงแหวนคู่ (Dual Ring) ซึ่งช่วยทำให้ทนต่อข้อบกพร่อง (Fault tolerance) ของระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น ทำงานอยู่ที่ความเร็ว 100 Mbps

26 มาตรฐานระบบเครือข่าย
2. มาตรฐานระบบเครือข่ายระดับประเทศ ( WAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 2.1 X.25 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของเครือข่ายแบบเก่า ได้รับการออกแบบโดย CCITT ประมาณ ค.ศ เพื่อใช้เป็นส่วนติดต่อระหว่างระบบเครือข่ายสาธารณะแบบแพ็กเกตสวิตช์ (Packet Switching) กับผู้ใช้ระบบ x.25 เป็นการสื่อสารแบบต่อเนื่อง (Connection-oriented) ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อวงจรสื่อสารแบบ Switching Virtual Circuit (SVC) และ Permanent Virtual Circuit (PVC)

27 มาตรฐานระบบเครือข่าย
2. มาตรฐานระบบเครือข่ายระดับประเทศ ( WAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 2.2 Frame Relay เฟรมรีเลย์เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อจาก X.25 อีกทีหนึ่ง ในการส่งข้อมูล เฟรมรีเลย์จะมีการตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่จุดปลายทาง ทำงานแบบ Packet Switching

28 มาตรฐานระบบเครือข่าย
2. มาตรฐานระบบเครือข่ายระดับประเทศ ( WAN) ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 2.3 ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูง ปัจจุบันระบบองค์กรใหญ่ๆ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมการสื่อสาร โดยระบบ ATM จะมีการส่งข้อมูล จำนวนน้อยๆ ที่มีขนาดคงทีที่เรียกว่า เซลล์ (Cell)

29 Wireless LAN: WLAN ระบบเครือข่ายไร้สาย หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องผ่านสายสัญญาณ แต่จะมีการส่งข้อมูลผ่านการใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ (Radio Frequency: RF) และคลื่นอินฟราเรด (infrared) แทน โดยระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แบบใช้สายทั่วไป

30 Wireless LAN: WLAN ระบบเครือข่ายไร้สายพัฒนาขึ้น ในปี ค.ศ บนเกาะฮาวาย โดยเป็นผลงานของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ซึ่งความสามารถในขณะนั้นสามารถส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional คือส่งข้อมูลไป-ส่งข้อมูลกลับได้ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกัน ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง จำนวน 7 เครื่อง ที่ตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะที่ชื่อว่า Oahu

31 ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล (WPAN) ระบบเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) ระบบเครือข่ายเมืองไร้สาย (WMAN) ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ไร้สาย (WWAN)

32 ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล (WPAN) เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุมพื้นที่จำกัด เช่น อยู่ภายในบ้านพักอาศัย หรือห้องทำงานเล็กๆ ซึ่งมีอยู่สองระบบที่รองรับการทำงานส่วนบุคคล คือ IR (Infra-Red) ประมาณไม่เกิน 3 เมตร และ Bluetooth ระยะห่าง ไม่เกิน 10 เมตร

33 ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
2. ระบบเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าประเภทระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล เช่น อยู่ภายในสำนักงานเดียวกัน อาคารเดียวกัน ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ประมาณ 0 ถึง 100 เมตร

34 ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
3. ระบบเครือข่ายเมืองไร้สาย (WMAN) เป็นการใช้งานในลักษณะที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ใช้งานระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง และมีระบบเครือข่ายที่หลากหลายมากขึ้น อาศัยการส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศ

35 ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
4. ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ไร้สาย (WWAN) เป็นการใช้งานในเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างเมืองขนาดใหญ่ ระหว่างประเทศ โดยการสื่อสารลักษณะอย่างนี้จะใช้การสื่อผ่านดาวเทียมแทน ในกรณีที่ข้ามไปต่างประเทศ

36 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
มาตรฐาน IEEE802.11 มาตรฐาน IEEE802.11a มาตรฐาน IEEE802.11b มาตรฐาน IEEE802.11g มาตรฐาน IEEE802.11n

37 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
1. มาตรฐาน IEEE802.11 พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 1 และ 2 Mbps ผ่านการส่งข้อมูลแบบอินฟาเรด (Infrared) หรือ คลื่นความถี่วิทยุ 2.4, 5 GHz มีระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ระบบ WEP

38 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
2. มาตรฐาน IEEE802.11a พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 54 Mbps ผ่านการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 5 GHz ใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) แต่เนื่องจากย่านความถี่ 5 GHz นั้นได้ถูกห้ามใช้ในบางประเทศ รวมถึงประเทศไทย และประกอบกับย่านความถี่ที่สูงทำให้ อุปกรณ์มีราคาแพง และระยะทางที่สามารถใช้งานได้สั้นกว่าย่านความถี่ 2 GHz จึงทำให้มาตรฐาน IEEE802.11a นั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนัก

39 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
3. มาตรฐาน IEEE802.11b พัฒนาขึ้นพร้อมกับ IEEE802.11a ในปี พ.ศ อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 11 Mbps ใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ CCK (Complimentary Code Keying) และ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ สำหรับการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์, อุตสาหกรรม, และการแพทย์ ประกอบกับความถี่ที่ต่ำทำให้อุปกรณ์มีราคาถูก จึงทำให้มาตรฐาน IEEE802.11b เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่า และเป็นที่มาของเครื่องหมายการค้า Wi-Fi

40 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
4. มาตรฐาน IEEE802.11g พัฒนาขึ้นขึ้นในปี พ.ศ ใช้เทคนิคการส่งข้อมูลแบบ OFDM และใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่อัตราเร็ว 54 Mbps และสามารถทำงานกับมาตรฐานเก่า IEEE802.11b ได้ (Backward-Compatible) จึงทำให้มาตรฐาน IEEE802.11g นั้นเป็นที่นิยม และเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE802.11b ในที่สุด

41 มาตรฐานของระบบเครือข่าย
5. มาตรฐาน IEEE802.11n พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ เป็นมาตรฐานที่กำลังเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE802.11g โดยในมาตรฐาน IEEE802.11n นี้ได้มีการพัฒนาให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ในอัตรา Mbps ตามทฤษฎี

42 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ
สมรรถนะ (Competency) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความปลอดภัย (Security)

43 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ
สมรรถนะ (Competency) 1.1 เวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล 1.2 จำนวนผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย 1.3 ชนิดสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล 1.4 อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์

44 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ
2. ความน่าเชื่อถือ (Reliability) 2.1 ปริมาณความถี่ของความล้มเหลวในการส่งข้อมูล 2.2 ระยะเวลาที่ใช้การกู้คืนข้อมูลหรือกู้คืนระบบกรณีเกิดความส้มเหลวขึ้น 2.3 การป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ระบบเกิดความล้มเหลว

45 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ
3. ความปลอดภัย (Security) ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดโดยเน้นไปที่ความสามารถที่จะป้องกันบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล หรือระบบเครือข่าย โดยอาจใช้รหัสการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น และความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ เช่น การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยสูงสุด

46 ประโยชน์ของเครือข่าย
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร 1.1 บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ 1.2 จดหมายและจดหมายเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ 1.3 การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ 1.4 การสนทนาแบบออนไลน์

47 ประโยชน์ของเครือข่าย
2. ด้านการค้นหาข้อมูล บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Information services) เป็นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้ให้บริการจะสามารถบริการสารสนเทศที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งผู้ใช้จะสามารถเรียกดูสารสนเทศเหล่านั้นได้ทันทีทันใดและตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การใช้เว็บบราวเซอร์สืบค้นหาข้อมูล

48 ประโยชน์ของเครือข่าย
3. ด้านธุรกิจและการเงิน 3.1 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 3.2 การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 3.3 การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์

49 ประโยชน์ของเครือข่าย
4. ด้านการศึกษา ปัจจุบันสามารถระบบเครือข่ายมีส่วนช่วยด้านการศึกษาอย่างมากเช่น การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต และการค้นหาความรู้ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 5. ด้านการแพทย์ โรงพยาบาลใหญ่ๆ มีการนำเอาระบบเครือข่ายเข้าไปใช้งานกันมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ปัจจุบันสามารถเรียกผ่านอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ทำให้ลดระยะเวลาของหมอและยังช่วยให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องครบถ้วน และการใช้ตรวจรักษาโรคทางไกลผ่านระบบเครือข่าย

50 Telemedicine

51 ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต
1. บริการโฮสติ้ง บริการเว็บโฮสติ้ง (SDU Hosting) คือ การให้บริการรับฝากเว็บไซต์ ภายใต้โดเมนเนม ของ dusit.ac.th

52 2. บริการจัดการผู้ใช้จากส่วนกลาง
ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต 2. บริการจัดการผู้ใช้จากส่วนกลาง ระบบการจัดการผู้ใช้จากส่วนกลาง (IDM: Identity Manager) หรือเรียกว่า SDU IDM เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับรหัสผู้ใช้ ของบริการด้านออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เช่น การเปลี่ยน Password หรือตรวจสอบสถานะของผู้ใช้งาน

53 3. เครื่องให้บริการอัตโนมัติ
ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต 3. เครื่องให้บริการอัตโนมัติ เครื่องให้บริการอัตโนมัติ หรือ SDU Kiosk เป็นเครื่องที่ให้บริการอัตโนมัติ (Multi-function self-service kiosk) โดยมีไว้ให้บริการนักศึกษาในเรื่องเช็คเรื่องเกรด พิมพ์ใบเกรด ตรวจสอบการค้างหนังสือจากห้องสมุด ดูรายวิชาที่ลงเรียน ตารางสอน ตารางสอบ และอื่น ๆ

54 ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต
4. บริการอีเมลนักศึกษา บริการอีเมลนักศึกษา (SDU Live) เป็นบริการที่จะทำให้นักเรียน นักศึกษา สามารถใช้งาน สำหรับ การทำงานร่วมกัน และการติดต่อสื่อสารโดยสามารถใช้งานทุกบริการที่มีโดยใช้ รหัสผู้ใช้เพียงรหัสเดียว ไม่ว่าจะเป็น อีเมล Windows Live Messenger หรือ การแชร์ข้อมูล การเข้าใช้งานนักศึกษาสามารถเข้าใช้งานโดยให้เข้ามาที่

55 ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต
5. บริการอีเมลบุคลากร บริการอีเมลบุคลากร (SDU Mail) คือ บริการรับ ส่งอีเมลล ระบบปฏิทิน ไฟล์เอกสารแนบ รายชื่อติดต่อ และข้อมูลอื่นๆ สำหรับบุคลากร ซึ่งเป็นระบบ Microsoft Exchange Server ที่สามารถทำให้ระบบการสื่อสารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง การรับส่งอีเมลไม่ติดขัด ช่วยป้องกันผู้ใช้และข้อมูลอันมีค่าขององค์กร จากอันตรายต่างๆที่มาทางอีเมลขยะและไวรัส

56 ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต
6. บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (SDU WIFI) เป็นบริการที่ให้นักศึกษาเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้จากทุกบริเวณภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยนักศึกษาสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือโทรศัพท์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เมื่อนักศึกษาพบสัญญาณ Wireless ของมหาวิทยาลัยฯทำการเชื่อมต่อได้ทันที เชื่อมต่อแล้วนักศึกษาจะเข้าอินเทอร์เน็ต จะต้องทำการ Log In เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถเข้าใช้บริการได้

57 บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย

58 ระบบเครือข่ายภายในสวนดุสิต
7. บริการเว็บ VPN บริการเว็บ VPN หรือ SDU VPN เป็นบริการ เป็นบริการที่ใช้หลักการของ SSL VPN สำหรับนักศึกษาและ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ใช้บริการ Internet จากผู้ให้บริการทั่วไปสามารถ ใช้บริการสืบค้นข้อมูลห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้หมายเลข IP Address ของมหาวิทยาลัย โดยใช้ User name และ Password เดียวกันกับ ของมหาวิทยาลัยฯ โดยนักศึกษาสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน VPN (Virtual Private network) ได้ทางเว็บไซต์

59 บริการเว็บ VPN

60 QUESTION ?


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยี การสื่อสารข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google