งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา 310101
9 ปัญหาสังคม จากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย

2 เนื้อหา ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหา การใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา ศึกษากรณีตัวอย่างเกี่ยวกับอาชญากรรมและ กฎหมายไอที

3 ปัญหาสังคมที่เกิดจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ
มุมมอง

4 1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
- การใช้โทรศัพท์มือถือ - การใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย - การซื้อสินค้า จากเดิมต้องไปด้วยตนเองที่ร้านค้า ก็เปลี่ยนเป็นสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต - การติดต่อสื่อสารกัน จากเดิมที่อยู่ในรูปของ จดหมาย เปลี่ยนเป็นใช้ - การค้นหาข้อมูล จากห้องสมุด ก็เปลี่ยนเป็นค้นหาจากอินเทอร์เน็ต - การจดบันทึกในสมุด เปลี่ยนเป็นใช้โปรแกรมเวิร์ด

5 1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม มีผลกระทบซึ่งกันและกัน
สังคมมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแรงผลักดันจากสังคมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น - เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งาน ได้ในขณะเดียวกัน เพื่อทำให้ประหยัดทรัพยากร - จากกระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึง ได้ผลักดันให้เกิดโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตขึ้น

6 1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม มีผลกระทบซึ่งกันและกัน (ต่อ)
เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดรูปแบบสังคมแบบใหม่ ที่มีการพบปะพูดคุยในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต - การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้เกิดการล่อลวงกัน จนเกิดเป็นคดีต่าง ๆ - การเข้าถึงข้อมูลและกระจายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเกินไป มีผลต่อบางคนหรือกลุ่มบุคคล ที่ไม่ควรที่จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ภาพที่ไม่เหมาะสม

7 1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำรงชีวิต
- การติดต่อสื่อสารต้องพึ่งพาโทรศัพท์มือถือ การอยู่ในที่อับสัญญาณ ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด - การค้นหาข้อมูลต้องใช้อินเทอร์เน็ต - คอมพิวเตอร์ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน

8 1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำเนินชีวิต (ต่อ)
- การใช้ GPS ในรถยนต์ - การใช้บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค บรรจุไมโครชิปขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย แต่บรรจุข้อมูลส่วนตัวแน่น จะมีผลกระทบต่อบุคคลในอนาคตได้ - อ่านตัวอย่างในหนังสือ หน้า 9-4

9 สรุปปัญหาสังคมที่เกิดจาก เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ปัญหาเด็กติดเกมส์ - ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ - ปัญหาสังคมเสื่อมโทรม ล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศ - ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิต - ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล - ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การ นำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการ เข้าใจผิด

10 ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

11 2.1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethics)
การสร้างภูมิคุ้มกัน - ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น - ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ - ศึกษาว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้

12 2.2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
- พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร - หากผู้ใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ดี ก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนา ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ - ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป

13 2.3. การควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
กรอบประเพณีและวัฒนธรรม - วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น - ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์

14 2.4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
ผู้รับผิดชอบพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น - การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่ เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน - การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ต ต่อสังคม - การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ - การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม

15 2.5. การเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการ ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) - มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ - บุคลากร - ด้านกายภาพขององค์กร - สิ่งแวดล้อมขององค์กร - มีการควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ

16 2.6. การบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
ปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อรุนแรง ไม่สามารถแก้ด้วยวิธีอื่น ต้องออกเป็นกฎหมายบังคับ และมีบทลงโทษ เช่น - การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) - การใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา - การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน

17 ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

18 3.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
ตัวอย่างข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงได้รับ - การใช้วงจรปิด - การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ - การห้ามเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเด็ก - การใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

19 3.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม
และการเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศที่สร้างขึ้น มีการเมืองหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแอบแฝงหรือไม่ ตัวอย่างเช่น - การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ - การเกิดของกระแสโอเพ่นซอร์สเพื่อคานอำนาจกับ ซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ - ข้อจำกัดสิทธิทางบุคคล เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ไม่สามารถใช้งานได้กับคนตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บนรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ

20 3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม
และความเป็นมนุษย์ - Cyberspace, Internet, World Wide Web เป็นการโต้ตอบกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคนกันคน หรือคนกับคอมพิวเตอร์ เป็นสภาวะที่เรียกว่า Virtuality - ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม หรือมีการสร้างสังคมของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนา (passion) คล้ายคลึงกัน เรียกว่า โลกเสมือนจริง (Virtual community)

21 3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และความเป็นมนุษย์ (ต่อ)
- โลกเสมือนจริง แยกกลุ่มตามความสนใจเป็น - ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community) - การศึกษาแบบเสมือนจริง (Virtual Education) - การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual Friendships) - องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations) - โลกเสมือนจริงอาจจะนำไปสู่การถูกลวงได้ ตัวอย่างเช่น - คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย - คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี มีอันจะกิน

22 การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

23 การแก้ปัญหาสังคมโดยทั่วไป
แนวคิด - เสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิก เป็นวิธีที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด - สร้างกลไกในรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม - ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ จนถึงเป็นกฎหมายใช้บังคับ มีบทลงโทษ เป็นหนทางสุดท้าย

24 การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (1) กรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศ - การเกิดของอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบของปัญหาสังคม มีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น - จำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศไว้ใช้บังคับ - ในประเทศไทยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้อง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบ สาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”

25 การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) มูลเหตุ - ประเทศต่างใหญ่ประกาศนโยบายและใช้กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปแล้ว - บรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างเข้ามาจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำนโยบายและตัวบท กฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศต่างๆ - ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้าง พื้นฐานในการพัฒนาประเทศ

26 การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การดำเนินการ - ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางใน การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้

27 การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม
ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

28 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 หมวด1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมวด2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมวด3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมวด4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หมวด5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บทกำหนดโทษ office of the director/LAWE_COMMERCE.html

29 กำหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มี ๓๐ มาตรา หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ฉบับการ์ตูน)

30 กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที

31 กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (1)
กรณีที่ 1 : นายจ้างเปิด ลูกจ้างอ่านได้หรือไม่? กรณีที่ 2 : Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมา ใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี หรือเปล่า? กรณีที่ 3 : หมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตกับความรับผิด ทางแพ่งหรือไม่? กรณีที่ 4 : ทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์? กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิด กฎหมายหรือเปล่า?

32 กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
- ถ้าองค์กรนั้นๆ มีการกำหนด User name และ Password ให้กับคนในองค์กร นายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาสามารถเปิดอ่าน ของลูกจ้างได้ รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ เพราะเป็น สำหรับการปฏิบัติงาน - แต่หากเป็น อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน - หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

33 กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
- หากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย - หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ - ยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

34 กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
- การหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง - การหมิ่นประมาททางแพ่ง หมายถึง การบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จและทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือการทำมาหาเลี้ยงชีพของคนอื่น - ส่วนใหญ่คดีหมิ่นประมาทจะฟ้องร้องกันเป็นคดีแพ่ง และเรียกค่าเสียหายกันมากๆ เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ - ในประเทศไทย เรื่องศาลที่จะฟ้องคดี - ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่เป็นที่เกิดของเหตุในการฟ้องคดี - การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ ฝ่ายผู้เสียหาย อาจถือว่าความผิดเกิดขึ้นทั่วประเทศ

35 กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
- มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ - แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้ แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย - หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ - ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง - หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

36 กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ต ผิดกฎหมายหรือเปล่า?
- การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware - สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต - แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า

37 จบการนำเสนอ คำถาม??


ดาวน์โหลด ppt เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google