งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“คุณธรรม” และ “จริยธรรม”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“คุณธรรม” และ “จริยธรรม”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”
ดร.สมโภชน์ นพคุณ รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.

2 ความหมาย “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ : “คุณธรรม” คือ “สภาพคุณงามความดี” “จริยธรรม” คือ “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ” “ศีลธรรม” และ “กฎศีลธรรม” ดังนั้น ท่านองคมนตรี ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงได้สรุปไว้อย่างน่าฟังว่า “การที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลใด มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่นมากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องพิจารณาโดยรวมว่า บุคคลนั้นประกอบคุณงามความดีอะไรบ้าง? มีอุปนิสัยและประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร? ดำรงตนอยู่ในกรองของกฎหมายและศีลธรรมเพียงใด? เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน และต่อสังคมอย่างไร?”

3 INTEGRITY (ความถูกต้องชอบธรรม)
 (1) พินิจพิเคราะห์แยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือสิ่งใดเป็นสิ่งที่ผิดให้กระจ่างชัด  (2) ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้องอย่างเคร่งครัด แม้จะทำให้ตนลำบาก หรือเสียผลประโยชน์ก็ตาม  (3) ประกาศให้ผู้อื่นได้ทราบโดยทั่วกันว่าตนได้ปฏิบัติไปเช่นนั้น โดยได้พิเคราะห์แยกแยะว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

4 INTEGRITY + HONESTY  ความแตกต่างระหว่าง INTEGRITY กับ HONESTY
กฎระเบียบไม่แสวงหาประโยชน์มิควรได้  INTEGRITY (ความถูกต้องชอบธรรม) ท่านเป็นหัวหน้า ท่านปล่อยให้ลูกน้องท่านปฏิบัติ โดยทุจริต และท่านก็รู้  ถ้าท่านห้ามปราบป้องกันแก้ไข ก็แสดงออกที่ถูกต้องชอบ ตามที่ยึดมั่น  หากปล่อยละเลย ธุระไม่ใช่ ก็แสดงว่า ท่านไม่ยึดในความถูกต้อง  ดังนั้น ทั้ง 2 คำ จึงต้องควบคู่กันไปเสมอสำหรับผู้นำ ผู้บริหาร ทุกระดับทุกภาคส่วน

5 ค่านิยมหลัก - จริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ
 ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 9 ประการ (ผู้ตรวจการแผ่นดิน) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ การยึดถือผลประโยชน์ของชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

6 ค่านิยมหลัก - จริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ
 ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ระบุค่านิยมหลัก 3 ประการ คือ ยึดมั่นและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แทนข้อ 3,8) ยึดมั่นในความถูกต้องและชอบธรรม (แทนข้อ 1,2,4,7,9) บริการประชาชน (แทนข้อ 5,6)

7 คนดีคือใคร?  คนดี ต้องมีคติธรรม ตามวิถีชีวิตของสังคมไทย ดังนี้
 คนดี ต้องมีคติธรรม ตามวิถีชีวิตของสังคมไทย ดังนี้ มีสัจจะ พูดความจริง (TRUTH) มีความซื่อสัตย์สุจริต (HONESTY) มีความระลึกในหน้าที่ (SENSE OF DUTY) มีความอดทน อดกลั้น (PATIENCE) มีความเป็นธรรม (FAIR PLAY) มีความเอาใจเขามาใส่ใจเรา (CONSIDERATION FOR OTHERS) มีเมตตาธรรม (KINDNESS) มีความกตัญญู (GRATITUDE) มีความสุภาพ (POLITENESS) มีสัมมาคารวะต่อผู้มีอาวุโส (RESPECT FOR ELDERS) มีการรักษาคำพูด (PROMISE) มีจิตสาธารณะ และเสียสละเพื่อส่วนรวม (PUBLIC CONSCIENCE)  การพัฒนาคน ต้องปลูกฝังให้มีทั้ง 12 ประการ


ดาวน์โหลด ppt “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google