งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาชีววิทยา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาชีววิทยา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาชีววิทยา

2 How to study Biology ? ชีววิทยา : วิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาชีววิทยา >> การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต รวมทั้งแนวคิดของมนุษย์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต โดยการศึกษา ค้นคว้า วิจัย

3 เครื่องมือสำคัญของนักชีววิทยา
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) 1. การสังเกตและตั้งปัญหา 2. ตั้งสมมติฐาน 3. การตรวจสอบสมมติฐาน 4. การแปลผลและสรุปผลการทดลอง

4 1. การสังเกตและตั้งปัญหา (Observation and Problem)
การช่างสังเกตเป็นคุณสมบัติสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ เอ๊ะ?

5 อยากรู้มั๊ย? ตัวเองเป็นคนช่างสังเกตแค่ไหน? เรามาดูกัน!
อยากรู้มั๊ย? ตัวเองเป็นคนช่างสังเกตแค่ไหน? เรามาดูกัน! ให้นักเรียนดูวิดีโอ “ยูกลีนา” แล้วบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นจากการดูวิดีโอ พร้อมตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด (ให้เวลา 5 นาที) รวบรวมคำถามจากสมาชิกในกลุ่ม (ที่ไม่ซ้ำกัน) ตัวแทนกลุ่มออกมาเขียน หน้ากระดาน คำถามไหนน่าสนใจ

6 **การช่างสังเกต นำไปสู่การค้นพบปัญหาและการรวบรวมข้อมูล
**การช่างสังเกต นำไปสู่การค้นพบปัญหาและการรวบรวมข้อมูล การตั้งปัญหาต้องยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก อย่าเอาความคิดเห็นไปปนกับข้อเท็จจริง

7 ทายซิ ใครเอ่ย? อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming)
เชื้อชาติ : ชาวสก็อต มีชีวิตในช่วง:พ.ศ ผลงานที่สำคัญ:ค้นพบยาปฏิชีวนะ ชื่อ " เพนนิซิลลิน" เป็นคนแรก ทายซิ ใครเอ่ย?

8 "การตั้งปัญหานั้นสำคัญกว่าการแก้ปัญหา"
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)

9 2. ตั้งสมมติฐาน (Formulation of hypothesis)
สมมติฐาน : คำตอบของปัญหาที่อาจเป็นไปได้ คำตอบจะได้การยอมรับเมื่อผ่านการพิสูจน์แล้ว หลายครั้ง

10 การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย  มักนิยมใช้วลี “ถ้า…ดังนั้น…” 2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้ 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง 4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้

11 ตัวอย่าง ปัญหา : การได้รับสารอาหารที่มีฟอสเฟตไม่เพียงพอ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ สมมติฐาน : ถ้าการได้รับอาหารที่มีฟอสเฟตไม่เพียงพอมีส่วนทำให้ เกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นเด็กที่ได้รับเกลือฟอสเฟต เป็นอาหารเสริม ย่อมจะไม่เป็นโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

12 ตัวอย่าง ปัญหา : แสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงอมของต้นหญ้าหรือไม่ สมมติฐาน : ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า  ดังนั้นต้นหญ้าบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดจะไม่เจริญงอกงามหรือตายไป

13 ลองทำ ปัญหา : ราเพนนิซิลเลียมยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้หรือไม่
ปัญหา : ความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชหรือไม่ ปัญหา : แสงมีความจำเป็นต่อการงอกของเมล็ดพืชหรือไม่

14 3. การตรวจสอบสมมติฐาน (Test hypothesis)
1. การสังเกตและรวบรวมข้อเท็จจริง 2. การทดลอง **นิยมใช้เพราะมีการควบคุมตัวแปร ตัวแปร (variable) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) ตัวแปรตาม (Dependent variable) ตัวแปรควบคุม (Controlled variable)

15 ตัวอย่าง การกำหนดตัวแปร
ตัวอย่าง การกำหนดตัวแปร สมมติฐาน : ถ้าปริมาณแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น มะม่วง ดังนั้นต้นมะม่วงที่ได้รับแสงมากจะมีความสูง มากกว่าต้นที่ได้รับแสงน้อย ตัวแปร ตัวแปรต้น : ปริมาณแสง (จำนวนชั่วโมงที่ได้รับแสง) ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของต้นมะม่วง (ความสูง) ตัวแปรควบคุม : ชนิดของดิน ปริมาณน้ำ ระดับอุณหภูมิ ปริมาณธาตุอาหาร

16 ซึ่งจะต้องมีการแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม
1. ชุดทดลอง >> ได้รับตัวแปรต้น 2. ชุดควบคุม >> ไม่ได้รับตัวแปรต้น

17 4. การแปลผลและสรุปผลการทดลอง (Conclusion)
นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์หาข้อสรุป สอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน ถ้าไม่สอดคล้องต้องตั้งสมมติฐานใหม่ ตรวจสอบ สมมติฐานใหม่


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาชีววิทยา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google