งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายกับจารีตประเพณี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายกับจารีตประเพณี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายกับจารีตประเพณี
จารีตประเพณี? ทิศทางของจารีตประเพณีในสังคมสมัยใหม่? 7 Law and Tradition

2 กฎหมายกับจารีตประเพณี
กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากสังคมดั้งเดิมสู่สังคมสมัยใหม่ ในขณะที่จารีตประเพณีคือสิ่งที่ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างสืบเนื่องยาวนาน บางครั้งจารีตประเพณีของชนกลุ่มเล็กๆ อาจแตกต่างกันไปกับสังคมโดยรวม กฎหมายของรัฐสมัยใหม่ มีการจัดทำจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนั้น กฎหมายจึงเกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี ในหลายลักษณะต่างๆกัน อาจมองได้เป็น 3 ทาง : กฎหมายพัฒนามาจากจารีตประเพณี กฎหมายส่งเสริมจารีตประเพณี กฎหมายลบล้าง/จำกัดจารีตประเพณี 7 Law and Tradition

3 กฎหมายพัฒนา มาจากจารีตประเพณี
กฎหมายมาจากแนวทางการปฏิบัติของคนในสังคม: บรรทัดฐาน norm, จารีต custom & ประเพณีtradition เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ที่พัฒนามาเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องลักษณะซื้อขาย Caveat emptor – let the buyer beware Caveat venditor – let the seller beware กฎหมายครอบครัว การหมั้น การสมรส 7 Law and Tradition

4 กฎหมายพัฒนา มาจากจารีตประเพณี
โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law  Customary Law 7 Law and Tradition

5 กฎหมายพัฒนา มาจากจารีตประเพณี
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ – การรับ ส่งสินค้า,ความรับผิดระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย 7 Law and Tradition

6 หลักการพัฒนาสู่แนวทางปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีทางกฎหมาย
กฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่มีที่มาจากหลักการที่สร้างขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ เช่น การรบ Law of War หลักกฎหมายปิดปาก กฎหมายห้ามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 7 Law and Tradition

7 กฎหมายส่งเสริมจารีตประเพณี
กฎหมายคุ้มครองจารีตประเพณี ในเชิงทำนุบำรุง 1. กำหนดให้ผู้ปกครองส่งเสริมและประพฤติปฏิบัติตามจารีตประเพณี รัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม “มาตรา 80 (5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ (6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น” กรมศิลปากร, สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงานการศึกษาแห่งชาติ – ภาษา ศิลปกรรม ประฏิมากรรม การละเล่น 7 Law and Tradition

8 กฎหมายส่งเสริมจารีตประเพณี
กฎหมายคุ้มครองจารีตประเพณี ในเชิงทำนุบำรุง 2. การรับรองเสรีภาพให้มีการฟื้นฟูรักษาประเพณี มาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญ “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” 7 Law and Tradition

9 กฎหมายส่งเสริมจารีตประเพณี
กฎหมายคุ้มครองจารีตประเพณี ในเชิงทำนุบำรุง 3. กฎหมายลงโทษผู้ที่ทำลายประเพณี เช่นกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ 7 Law and Tradition

10 กฎหมายที่รับรองการปฏิบัติตามจารีตประเพณี
กฎหมายกำหนดให้การปฏิบัติตามประเพณียังสามารถทำได้สืบต่อไป เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รับรองสิทธิตามประเพณีปฏิบัติที่ทำติดต่อกันมา ในเรื่องการจัดการที่ดิน 7 Law and Tradition

11 การนำปศุสัตว์เลี้ยงแบบปล่อย
มาตรา 1353 บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซิ่งมิได้กั้นเพื่อไปลี้ยง และอาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้น มาใช้ได้ เว้นแต่ที่ดินเป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อเพาะปลูกหว่าน หรือมี ธัญชาติขึ้นอยู่แล้ว แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้เสมอ 7 Law and Tradition

12 มาตรา 1354 ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้ และถ้าเจ้าของ ไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผัก เห็ดและสิ่งเช่นกัน 7 Law and Tradition

13 มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบท บัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป 7 Law and Tradition

14 กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 1. Sati 7 Law and Tradition

15 กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 2. Honor Killing End here ^^ 7 Law and Tradition

16 กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 3. Circumcision & Female genital mutilation (FGM) 7 Law and Tradition

17 จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
เช่น การผลิตเหล้าพื้นบ้าน 7 Law and Tradition

18 จากเดิมชาวบ้านต้มเหล้า ในงานเลี้ยงฉลองของชุมชน ปัจจุบัน
ทำไมในสังคมสมัยใหม่จึงมีการออกกฎหมายจำกัดการผลิตเหล้าพื้นบ้าน – ห้ามต้มเหล้าเถื่อน! จากเดิมชาวบ้านต้มเหล้า ในงานเลี้ยงฉลองของชุมชน ปัจจุบัน รัฐออกกฎหมายมาควบคุมการผลิตเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ และเก็บภาษี ต้องไปจดทะเบียนว่าจะผลิตเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ (ต้องขออนุญาต) ควบคุมอายุผู้ดื่มเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ คุมการโฆษณา ทำไม? คุ้มครองสังคม เพื่อสุขภาพของผู้ดื่ม? คุ้มครองสังคม จากการมัวเมาในอบายมุข? 7 Law and Tradition

19 จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
การจัดการระบบชลประทาน การตีฝายตามวิถึท้องถิ่น 7 Law and Tradition

20 จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
การจัดการป่า/ทรัพยากร 7 Law and Tradition

21 รัฐเข้ามาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ – ดิน น้ำ ป่า
จากเดิมชาวบ้านสามารถเข้ามาจัดการทรัพยากรในชุมชนของตัวเอง ปัจจุบัน รัฐออกกฎหมายกำหนดพื้นที่คุ้มครองประเภทต่างๆ เช่น ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ รัฐออกกฎหมายกำหนดจัดการที่ดินและน้ำ ทำไม? รักษาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคนในสังคม และคนในรุ่นต่อไป ประชากรมากขึ้นในโลกใบเดิม จึงต้องมีคนเข้ามาจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม คำถาม – ใครควรเป็นผู้จัดการ ผู้จัดสรร? 7 Law and Tradition

22 จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
คนเลี้ยงช้าง ประเพณีของชาวกุ่ย ที่สุรินทร์ การคล้องช้าง ช้างบ้าน = สัตว์พาหนะ ช้างป่า = สัตว์ป่าคุ้มครอง รัฐเข้ามาแทรกแซง ห้ามนำช้างมาเดินในเมือง ทำไม? คุ้มครองช้าง คุ้มครองคน คำถาม – แล้วคนเลี้ยงช้าง จะอยู่ได้อย่างไร? 7 Law and Tradition

23 จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง 7 Law and Tradition

24 การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง – ประเพณีของคนภาคกลาง
ค่ำไหน นอนนั่น ประหยัดค่าอาหารเป็ด ชาวนาได้ตัวช่วยกำจัดหอยเชอร์รี่ ช่วงไข้หวัดนกระบาด รัฐสั่งห้ามเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อย (ต้องเลี้ยงในโรงเรือนปิด) จัดระเบียบการเลี้ยงสัตว์ปีก ทำไม? รักษาสุขภาพ อนามัยของคนในสังคม ปัญหา คนเลี้ยงเป็ดจะไปหาที่ดินที่ไหนมาสร้างโรงเลี้ยง จะหาเงินที่ไหนมาซื้ออาหารให้เป็ดกิน ชาวนาขาดระบบกำจัดศัตรูพืชตามธรรมชาติ 7 Law and Tradition

25 ประเพณีบางอย่างไม่สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบัน
7 Law and Tradition

26 ทำไมจึงต้องมีการเข้ามาจำกัด/เปลี่ยนแปลงจารีตประเพณี?
การรับเอาอิทธิพลของแนวคิดที่นิยมจารีตประเพณีจากผู้อื่น เช่น เรื่องกฎหมายครอบครัว การที่สังคมมีการศึกษาด้านต่างๆมากขึ้น/เหตุที่เข้ามาแทรกแซงการปฏิบัติตามประเพณี เช่น สุขภาพ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม แล้วนำมาปรับ 7 Law and Tradition

27 กฎหมายกำหนดกรอบเรื่องเหล่านี้อย่างไร?
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้ 7 Law and Tradition

28 กฎหมายกำหนดกรอบเรื่องเหล่านี้อย่างไร?
มาตรา 29 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ 7 Law and Tradition

29 การปะทะกันของสิทธิต่างๆ
มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ กับสิทธิที่จะปฏิบัติตามจารีตประเพณีดั้งเดิมของตนเอง มาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญ “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” 7 Law and Tradition

30 หลักการที่เข้ามาอธิบาย สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง
คำถามสำคัญ คือ ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรจะอนุญาตให้มีการปฏิบัติตามประเพณีต่อไปหรือไม่? หลักการที่เข้ามาอธิบาย สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง Self – determination สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง Rights of Indigenous Peoples พหุนิยมทางกฎหมาย Legal pluralism จบ ☃ 7 Law and Tradition


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายกับจารีตประเพณี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google