งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ
ร้องเรียนต่ำ ตอบ ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ

2 ตอบข้อหารือ ส่วนราชการอื่นๆ กองทัพเรือ

3 “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้าและรับบริการของ ทร.”
“การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. โดยการนำวิธีการซื้อ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๓ (๖)” “การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วย” “การแลกเปลี่ยนเรือของ ทร. ที่รุจำหน่ายแล้วกับ โครงการเรือจำลองฝึกป้องกันความเสียหายของเอกชน” “การคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์ ก่อนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕” “การจำหน่ายรถยนต์ กรณีประสบอุบัติเหตุ ถูกรถยนต์บรรทุกลากจูงของบุคคลภายนอกชนจนได้รับความเสียหาย” “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้าและรับบริการของ ทร.” “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีงานจ้างโดยวิธีพิเศษ” “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙”

4 “ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ”
“ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ” “ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ” “ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง” “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง” “ข้อหารือการยึดหลักประกันซองตามประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” “ข้อหารือประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จ้างปรับปรุงหอพักพยาบาล” “ข้อหารือการจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหา มูลค่าต่ำกว่าสองล้านบาท”

5 การตอบข้อหารือ “การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. โดยการนำวิธีการ ซื้อ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๓ (๖)” ANSWER ASK

6 ปุจฉา ? การนำแบบรูปรายการละเอียดหรือรายละเอียดคุณลักษณะที่เคยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์และได้รับการอนุมัติซื้อจากทางราชการแล้ว หรือแบบคุณลักษณะของยุทโธปกรณ์ที่เคยจัดหาไว้ใช้ราชการแล้ว มาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ประเภทเดียวกันอีก โดยดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๓(๖) จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา

7 สามารถดำเนินการได้ หากส่วนราชการมีข้อจำกัดในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ทำให้จะต้องซื้อโดยมีการระบุยี่ห้อของพัสดุนั้นเป็นการเฉพาะเอง ซึ่งอาจเนื่องมาจากเหตุข้อจำกัดในลักษณะของการใช้งานหรือข้อจำกัดทางด้านเทคนิค เช่น เป็นพัสดุที่จะต้องสามารถนำมาใช้งานร่วมกับพัสดุที่มีอยู่เดิม และหมายความรวมถึงการจัดซื้อพัสดุที่เป็นอะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๖๐ ด้วย ปุจฉา ?

8 การตอบข้อหารือ “การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วย” ANSWER ASK

9 ปุจฉา ? การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน (แลกเปลี่ยนเหล็กโครงสร้างท่าเทียบเรือกับเหล็กแปรรูปสำหรับงานซ่อมแซมและปรับปรุง) โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วยนั้น สามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา

10 เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ การแลกเปลี่ยนหรือการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ การใช้ที่ราชพัสดุที่มีบัญญัติไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ดังนั้น จึงต้องขอหารือไปที่กรมธนารักษ์ และเนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งสร้างบนที่ราชพัสดุ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ จึงไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยข้อหารือดังกล่าว ปุจฉา ?

11 การตอบข้อหารือ “การแลกเปลี่ยนเรือของ ทร. ที่รุจำหน่ายแล้ว กับโครงการเรือจำลองฝึก ป้องกันความเสียหายของเอกชน” ANSWER ASK

12 ทร.สามารถแลกเปลี่ยนเรือที่หมดความจำเป็นในการใช้ในราชการแล้ว กับโครงการเรือฝึกจำลองป้องกันความเสียหายภาคเอกชน โดยนำวิธีการจ้างมาใช้ปฏิบัติโดยอนุโลมได้หรือไม่ ปุจฉา ? วิสัชนา

13 ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะขัดต่อเจตนารมณ์ของระเบียบ ฯ (ใช้ได้เฉพาะการซื้อเท่านั้น)
ปุจฉา ?

14 การตอบข้อหารือ “การคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์ ก่อนการดำเนินการ จัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕” ANSWER ASK

15 การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร
การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องสามารถแจ้งให้ผู้เสนอแบบ ทราบวงเงินของโครงการได้หรือไม่ (กรณีการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ) ปุจฉา ? วิสัชนา

16 สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมิได้มีข้อห้ามเกี่ยวกับการเปิดเผยวงเงินงบประมาณไว้แต่อย่างใด (เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ) ปุจฉา ?

17 การตอบข้อหารือ “การจำหน่ายรถยนต์ กรณีประสบอุบัติเหตุ ถูกรถยนต์บรรทุกลากจูงของบุคคลภายนอกชน จนได้รับความเสียหาย” ANSWER ASK

18 การคืนพัสดุที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ (กรณีเกิดอุบัติเหตุโดยผู้ต้องรับผิดเป็นบุคคลภายนอก) หากผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นวงเงินให้แก่ทางราชการ แทนที่จะชดใช้เป็นพัสดุ ประเภท ชนิด ลักษณะ และขนาดเดียวกัน ทางราชการสามารถมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดได้หรือไม่ และเมื่อมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดแล้ว ทางราชการจะดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดนั้นโดยวิธีใด ปุจฉา ? วิสัชนา

19 ทางราชการสามารถมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดได้โดยนำวิธีปฏิบัติตามระเบียบ ฯ เรื่องการแลกเปลี่ยนพัสดุมาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่ถ้าผู้ต้องรับผิดไม่ประสงค์จะรับซากพัสดุก็ให้ดำเนินการตามระเบียบ ฯ เรื่องการจำหน่ายในข้อ ๑๕๗ โดยหลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ปุจฉา ?

20 “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้า และรับบริการของ ทร.”
การตอบข้อหารือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้า และรับบริการของ ทร.” ANSWER ASK

21 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในการจัดซื้อ/จ้างจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ ในส่วน กห.มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการอย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

22 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจัดซื้อ/จ้าง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นการซื้อ กรณีเป็นการจ้าง หมายเหตุ ๑. การจัดซื้อ/จ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างในประเทศทุกกรณี ผู้ขายเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้รับจ้างเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เนื่องจากถือว่าเป็นการขายสินค้า/ให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา๗๗/๒แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขาย/ผู้รับจ้างต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ๒. การจัดซื้อ/จ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างในต่างประเทศ ๒.๑ กรณีผู้ขายหรือผู้รับจ้างในต่างประเทศมอบอำนาจให้ผู้แทนจากต่างประเทศหรือผู้แทนในประเทศลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงในประเทศไทย โดยผู้ขาย/ผู้รับจ้างในต่างประเทศมิได้เข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวในประเทศ - เนื่องจากถือว่าทั้งผู้ขาย/ผู้รับจ้างในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้ขาย/ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ๒.๒ กรณีผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้างในประเทศไทยลงนามหรือมอบอำนาจ ให้ผู้แทนลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงภายในประเทศ แล้วส่งสัญญาหรือข้อตกลงไปให้ผู้ขาย / ผู้รับจ้างในต่างประเทศลงนามในภายหลัง ผู้ขายไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เนื่องจากยังถือไม่ได้ว่าผู้ขายในต่างประเทศประกอบกิจการขายสินค้าในราชอาณาจักรตามมาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับในการจ้างนั้นถือว่าบริษัทผู้รับจ้างให้บริการในต่างประเทศมีการนำบริการนั้นมาใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้รับจ้างในต่างประเทศมีหน้าที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ปุจฉา ?

23 การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีงานจ้างโดยวิธีพิเศษ” ANSWER ASK

24 ปุจฉา ? การปรับลดเนื้องานและเชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาเสนอราคาใหม่พร้อมกัน (กรณีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๔ (๑) ที่ดำเนินการครั้งแรกแล้ว ยังไม่ได้ราคาที่เหมาะสม) กล่าวคือ ผู้เสนอราคารายต่ำสุดเสนอราคาสูงกว่าวงเงิน ที่จะจัดจ้างสามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา

25 สามารถดำเนินการได้หากได้ดำเนินการตามเงื่อนไขเดิมจนสิ้นสุดแล้ว และได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ โดยปรับลดเนื้องานและได้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบแล้ว จึงได้เชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาเสนอราคาใหม่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เท่ากับเป็นการเริ่มต้นเชิญชวนช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะหรือผู้ชำนาญการเป็นพิเศษมาเสนอราคาตามแบบรูปรายการตามเนื้องานใหม่ ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องแจ้งให้ผู้เสนอราคาที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นเดิม ที่ถูกเชิญ มาใหม่ทราบทั่วกันว่ามีการปรับลดเนื้องานใหม่แล้ว ซึ่งถือว่าไม่ได้ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน สอดคล้องกับระเบียบ ฯ ข้อ ๕๘ (๑) ปุจฉา ?

26 การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙” ANSWER ASK

27 ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ กรณีวงเงิน จัดซื้อ/จ้างอยู่เหนืออำนาจอนุมัติของหัวหน้าหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ ว่า…..... ๑.ในขั้นการแจ้งผลการพิจารณาเสนอราคา กรณีหัวหน้าหน่วยงานเห็นชอบตามมติคณะกรรมการการประกวดราคาแล้ว จะให้คณะกรรมการ ฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ หรือให้ขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง เห็นชอบก่อน แล้วจึงให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบและประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ๒.กรณีหากต้องขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖๕ ก่อน แล้วจึงให้คณะกรรมการประกวดราคา แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ และประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ในกรณีดังกล่าวจะต้องดำเนินการขออนุมัติซื้อหรือจ้างอีกครั้งหรือไม่ หรือว่าการที่ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบถือเป็นการอนุมัติซื้อหรือจ้างแล้ว และหลังจาก ประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลางไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ซึ่งหมายถึงการดำเนินการใน ขั้นตอนของการลงนาม ในสัญญาต่อไป ใช่หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

28 กรณีปุจฉา ตามข้อ ๑. การแจ้งผลการพิจารณาการเสนอราคา ข้อ ๑๕
กรณีปุจฉา ตามข้อ ๑. การแจ้งผลการพิจารณาการเสนอราคา ข้อ ๑๕.๒ หากหัวหน้าหน่วยงาน (หัวหน้า ส่วนราชการ) ไม่เห็นชอบกับมติของคณะกรรมการประกวดราคา ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการ ฯ ทราบ เพื่อชี้แจงภายใน ๓ วัน และเมื่อได้รับคำชี้แจงจากคณะกรรมการ ฯ หรือเมื่อได้รับรายงาน ตามข้อ ๑๕.๑ แล้วเห็นชอบ ก็ชอบที่จะอนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ข้อ ๖๕ ต่อไป แล้วแต่กรณี (กรณีวงเงินเกินอำนาจหัวหน้าส่วนราชการ) และหากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบ ก็ให้คณะกรรมการ ฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ กรณีปุจฉา ตามข้อ ๒. เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ข้อ ๖๕ แล้ว สามารถถือได้ว่าเป็นการอนุมัติซื้อหรือจ้างจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว และหลังจากที่ประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ไม่น้อยกว่า ๓ วัน และภายใน ๓ วัน นับแต่วันแจ้งผลการเสนอราคา ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ ให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบ หากไม่มีการอุทธรณ์ ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ซึ่งหมายถึงกรณีผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการ ในขั้นตอนของการลงนามในสัญญาต่อไปได้ .. ปุจฉา ?

29 “ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ”
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” ANSWER ASK

30 ปุจฉา ? อำนาจการซื้อ/จ้างตามระเบียบ ฯ มีอำนาจอะไรบ้าง และการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีตกลงราคา (ระเบียบ ฯ ข้อ ๓๙) กรณีที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุใช้อำนาจสั่งซื้อ/จ้างแล้ว แต่หัวหน้าส่วนราชการมิได้มอบอำนาจในการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือแก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จะให้ผู้ใดลงนามในสัญญา/ข้อตกลงดังกล่าวในการสั่งซื้อ/จ้างของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุนั้น วิสัชนา

31 อำนาจการซื้อ/จ้างจำแนกตามลำดับขั้นตอนดำเนินการออกได้เป็น ๓ ประการดังนี้
๑. อำนาจในการดำเนินการซื้อ/จ้าง เช่น การให้ความเห็นชอบในการซื้อ/จ้าง ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๙ อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการตามระเบียบ ฯ ข้อ ๓๔ เป็นต้น เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดวงเงินที่จะซื้อ/จ้าง ๒. อำนาจในการสั่งซื้อ/จ้าง เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ฯ ข้อ ๖๕ ๖๖ และ ๖๗ ๓. อำนาจในการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงซื้อ/จ้าง ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๑๓๒ เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง *** หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด สามารถที่จะมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดสั่งการแทนก็ได้ โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๙ **** ระเบียบ ฯ ข้อ ๓๙ วรรคหนึ่ง กำหนดให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อ/จ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ ตามระเบียบ ฯ ๒๙ นั้น มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดวิธีการปฏิบัติสำหรับการซื้อ/จ้างโดยวิธีตกลงราคาไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ดังนั้น หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีดังกล่าวได้โดยตรง โดยภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๙ แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องเสนอหัวหน้า ส่วนราชการในฐานะผู้สั่งซื้อหรือจ้าง และผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างพิจารณาสั่งการในขั้นตอนดังกล่าวนี้อีกแต่ประการใด ***** ปุจฉา ?

32 “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ”
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ” ANSWER ASK

33 ปุจฉา ? แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ กรณีที่มีพัสดุที่ผลิตในประเทศแล้ว แต่มีจำนวนน้อยราย หรือมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศ หรือจะต้องมีการนำเข้าพัสดุจากต่างประเทศในกรณีที่เป็นประโยชน์ยิ่งกว่า สำหรับที่เป็นการจัดหาครั้งหนึ่งที่มีวงเงินเกิน ๒ ล้านบาท หรือราคาพัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาต่อหน่วยเกิน ๒ ล้านบาท จะต้องให้หน่วยงานของรัฐนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อหรือภายหลังจากการดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจนรับราคาของผู้ขาย และแหล่งที่มาของพัสดุแล้วแต่ก่อนที่ผู้มีอำนาจจะอนุมัติให้จัดซื้อและลงนามในสัญญา วิสัชนา

34 จะต้องดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการจัดซื้อพัสดุ
ปุจฉา ?

35 “ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ”
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ” ANSWER ASK

36 การระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจจับไวรัส ในหัวข้อคุณลักษณะเฉพาะที่ระบุว่า “หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Intel Pentium 4 ความเร็วไม่น้อยกว่า 3.0 GHZ หรือดีกว่า และระบบปฏิบัติการ Window XP Professional หรือสูงกว่า โดยมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย” ขัดต่อระเบียบ ฯ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

37 ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๑๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จัดหา ซึ่งเป็นกรณีของการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย สำหรับในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๕๒ ลง ๒๘ มี.ค.๒๐ นั้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ส่วนราชการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่ง และห้ามระบุยี่ห้อสิ่งของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด เว้นแต่ที่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น ดังนั้น โดยหลักการทั่วไปในทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จัดหา ส่วนราชการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ฯ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีตามปุจฉานั้น เป็นการดำเนินการที่จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติทางด้านเทคนิคเป็นส่วนประกอบ และมีความจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดส่วนประกอบนั้นโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นการระบุยี่ห้อ เช่น การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสินค้าที่ระบุโดยเฉพาะเจาะจงนั้น เป็นสินค้าที่มีผู้จำหน่ายในท้องตลาดเป็นการทั่วไป จึงทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าเสนอราคาได้ โดยไม่เข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ขายรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงไม่ถือว่าขัดระเบียบ ฯ หรือมติคณะรัฐมนตรี ฯ แต่อย่างใด ปุจฉา ?

38 “ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง”
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง” ANSWER ASK

39 แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ตามระเบียบ ฯ พ. ศ
แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ตามระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีว่าอย่างไรบ้าง ปุจฉา ? วิสัชนา

40 ปุจฉา ? มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
๑. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อลื่น ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ลิตร ขึ้นไป ต้องสั่งซื้อโดยตรงจาก ปตท. หรือองค์กรใดที่ได้รับสิทธิพิเศษในการจำหน่ายน้ำมันดังกล่าว และต้องดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๖ ประกอบ ข้อ ๕๙ ๒. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อลื่น ไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ ลิตร ส่วนราชการสามารถเลือกซื้อจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงใดก็ได้และต้องดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบ ฯ ๓. สำหรับกรณีที่หน่วยงานใดไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สมควรจัดซื้อโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายตามวงเงินที่ดำเนินการจัดซื้อ และมีเงื่อนไขให้ผู้จะซื้อสามารถออกใบสั่งซื้อน้ำมันเป็นคราว ๆ ไป ตามความจำเป็นที่ใช้จริงในแต่ละครั้งได้ โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระเงินเป็นงวด ๆ ละ ๑ เดือน หรือตามข้อตกลงก็ได้ สำหรับหลักปฏิบัติของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่จัดซื้อนั้น หากออกใบสั่งซื้อน้ำมัน แต่ละครั้งมีวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งข้าราการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อเป็นผู้ตรวจรับน้ำมัน โดยปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้ และเมื่อส่วนราชการได้รับใบแจ้งหนี้แล้ว เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องตรวจสอบเอกสารใบสั่งซื้อน้ำมัน เอกสารการตรวจรับที่ผู้ตรวจรับได้ทำการตรวจรับแล้วในแต่ละครั้งตามใบสั่งซื้อน้ำมันว่า จำนวนน้ำมันที่สั่งซื้อและตรวจรับตรงกับใบแจ้งหนี้หรือไม่ ก่อนดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ขาย ทั้งนี้ โดยไม่ต้องทำการตรวจรับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปุจฉา ?

41 “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงาน ไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง”
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงาน ไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง” ANSWER ASK

42 กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ๒ คน มีความเห็นให้รับงานบางส่วนหรือบางกิจการและกรรมการอีก ๑ คน ได้ปฏิเสธการตรวจรับด้วยเหตุผลว่าไม่มีความรู้ในงานนี้ จะสามารถเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเฉพาะงานที่ทำไว้จริงได้หรือไม่ และจะแต่งตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งให้พิจารณาข้อเท็จจริงความเหมาะสมของราคาและปริมาณงาน และเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะกรรมการชุดนี้จะถูกต้องหรือไม่ ปุจฉา ? วิสัชนา

43 เมื่อได้รับรายงานการตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุแล้ว หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นว่างานที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานบางส่วน สมควรตรวจรับและเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างได้ และจะตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมิใช่เป็นคณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ เพื่อให้ทำความเห็นประกอบการพิจารณาสั่งการเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคางานและปริมาณงานที่จะตรวจรับแล้ว ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร แต่ถ้าหากผลการพิจารณาเป็นการพิจารณา ที่จะตรวจรับและจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างโดยแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาแล้ว ก็จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขสัญญา โดยถือปฏิบัติภายใต้หลักเกณฑ์ของระเบียบ ฯ ข้อ ๑๓๖ โดยเคร่งครัดก่อนด้วย ****** ปุจฉา ?

44 การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการยึดหลักประกันซอง ตามประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์” ANSWER ASK

45 ผู้เสนอราคาได้ Login เข้าสู่ระบบ และทำการเสนอราคาในครั้งที่ ๑ เท่ากับราคาสูงสุด (ราคากลาง) แต่ระบบได้ Rejected ออกไป โดยไม่ระงับการเสนอราคาของผู้เสนอราคารายดังกล่าว เป็นผลให้สามารถเสนอราคาครั้งที่ ๒ ได้ และในการเสนอราคาครั้งที่ ๒ ได้เสนอราคาต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) และได้ยืนยันราคาครั้งสุดท้ายตามแบบ บก.๐๐๘ ภายหลังเสร็จสิ้นการเสนอราคาแล้ว จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือว่าผู้เสนอราคาปฏิบัติผิดเงื่อนไขในหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ/จ้าง โดยการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ และจะยึดหลักประกันซองของผู้เสนอราคาได้หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

46 ๑. การยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคา (หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๘.๓/ว ๓๐๒ ลง ๒๑ ก.ค.๔๘ ข้อ ๒.๓) กำหนดให้ดำเนินการได้ ๔ กรณีดังนี้ ๑.๑) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา ตามวัน เวลา และสถานที่กำหนด ๑.๒) ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่มาลงทะเบียนแล้วไม่ Login เข้าสู่ระบบ ๑.๓) ผู้มีสิทธิเสนอราคา Login แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคาหรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่กำหนด โดยการเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาเริ่มต้นการประมูล ๑.๔) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ลงลายมือชื่อในแบบ บก.๐๐๘ แบบยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา ๒. กรณีปุจฉาดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการเสนอราคา มีผู้เสนอราคาได้มีการเสนอราคา จำนวน ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกเสนอราคาเท่ากับราคาสูงสุด (ราคากลาง) แต่หลักฐานการเสนอราคา (Log File) ได้แสดงการปฏิเสธราคา (Rejected) และผู้เสนอราคารายดังกล่าว ได้เสนอราคาใหม่ครั้งที่ ๒ ต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) และได้ยืนยันราคาครั้งสุดท้ายภายหลังเสร็จสิ้นการเสนอราคาแล้ว กรณีนี้ถือว่าการเสนอราคาครั้งที่ ๒ เป็นเจตนาของผู้เสนอราคาที่ต้องการเสนอราคาสุดท้ายซึ่งเป็นราคาต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) จึงไม่ผิดเงื่อนไขตามหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ/จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด และไม่สามารถยึดหลักประกันซองของผู้เสนอราคารายดังกล่าวได้ ******** ปุจฉา ?

47 การตอบข้อหารือ “ข้อหารือประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์จ้างปรับปรุงหอพักพยาบาล” ANSWER ASK

48 การกำหนดคุณสมบัติของ ผู้เสนอราคาเกินกว่าตัวอย่างเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แนบท้ายแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ สามารถกระทำได้หรือไม่อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

49 ในหลักการการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้น โดยปกติจะกำหนดตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) กำหนด ซึ่งหากส่วนราชการจะกำหนดนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่ กวพ.อ. กำหนด ก็สามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ทวิ (หลักการของการจัดหาพัสดุ) ทั้งนี้ ตามนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๕ ที่กำหนดความสัมพันธ์กับระเบียบอื่น โดยส่วนราชการจะต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาให้นอกเหนือไปจากตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่ กวพ.อ.กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่มีผลเป็นการกีดกันหรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามหลักการนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ทวิ ข้างต้น ***** ปุจฉา ?

50 การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการจัดหาพัสดุโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหามูลค่า ต่ำกว่าสองล้านบาท” ANSWER ASK

51 การจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหาต่ำกว่าสองล้านบาท สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา

52 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๕ ความสัมพันธ์กับระเบียบอื่น กำหนดว่า นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย เว้นแต่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ. ) จะกำหนดหรือวินิจฉัยเป็นประการอื่น ดังนั้น การจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีวงเงินจัดหาต่ำกว่าสองล้านบาท ส่วนราชการสามารถกระทำได้ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ตามนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดว่า “การซื้อหรือการจ้าง ตามข้อ ๑๙ และ ๒๐ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้” ปุจฉา ?

53

54 เมื่อปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อหารือ
หลับฝันร้าย ข้อร้องเรียนจะหมดไป สาเหตุจาก Eject เครียด เมื่อปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อหารือ


ดาวน์โหลด ppt ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google