งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชื่อ – ชื่อสกุล นายสมมาต คำวัจนัง รอง ผอ. สพป. สมุทรสาคร การศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชื่อ – ชื่อสกุล นายสมมาต คำวัจนัง รอง ผอ. สพป. สมุทรสาคร การศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โทร ๐ ๘๑๔๕ ๒๗๔๑๗ e-mail : sommartk9@hotmail.com
ชื่อ – ชื่อสกุล นายสมมาต คำวัจนัง รอง ผอ. สพป. สมุทรสาคร การศึกษา □ ครุศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยครูจันทรเกษม □ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ □ นิเทศศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช □ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำงาน พ.ศ. ๒๕๒๐ ครู ร.ร. ประสานสามัคคีวิทยา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พ.ศ. ๒๕๓๐ นักประชาสัมพันธ์ สปจ.นนทบุรี พ.ศ. ๒๕๓๗ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ สปจ.ราชบุรี พ.ศ. ๒๕๔๓ หัวหน้าฝ่ายบริการการศึกษา สปจ. สระบุรี พ.ศ. ๒๕๔๖ หัวหน้ากลุ่มอำนวยการ สพท. กทม. เขต ๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ รอง ผอ. สพท. สมุทรปราการ เขต ๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ รอง ผอ.สพป. สมุทรสาคร โทร ๐ ๘๑๔๕ ๒๗๔๑๗

2 การประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ระบบการควบคุมภายในของ สพป./สพม.และสถานศึกษา รุ่น ๑:๒๕-๒๗ เม.ย./รุ่น ๒:๑๖-๑๘พ.ค./ รุ่น ๓ :๓๐ พ.ค.– ๑ มิ.ย.๕๕ ณ โรงแรมเฟิร์ส กรุงเทพมหานคร : สาระความรู้ กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายใน โดย สมมาต คำวัจนัง รอง ผอ. สพป. สมุทรสาคร

3  Checklist สำหรับผู้บริหารเกี่ยวกับการวางระบบควบคุมภายใน
ขอบข่ายเนื้อหา  ทดสอบความรู้  Checklist สำหรับผู้บริหารเกี่ยวกับการวางระบบควบคุมภายใน การบริหารองค์กรที่ดี : การควบคุมภายใน/การบริหารความเสี่ยง/การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน : ความหมาย / วัตถุประสงค์ / แนวคิด /ประโยชน์  ตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น  แนวปฏิบัติบริหารความเสี่ยงในองค์กร  ความเสี่ยงทางการศึกษา : คุณภาพของผู้เรียน กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

4 “ การบริหารความเสี่ยง “
ทดสอบความรู้ “ การบริหารความเสี่ยง “ จำนวน ๑๐ ข้อ ง่ายจัง...

5 Checklist สำหรับผู้บริหาร
ในการจัดวางระบบการควบคุมภายในองค์กรของท่าน ท่านได้จัดทำสิ่งต่อไปนี้หรือยัง :  ทำความเข้าใจกับมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนด โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  สร้างสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี ?  ระบุวัตถุประสงค์การควบคุมเพื่อบริหารความเสี่ยง ?  ประเมินความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมที่กำหนด ?  กำหนดนโยบายการควบคุมและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของการควบคุม ?  ดำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์และความมีจริยธรรม ?  ดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความชำนาญในระดับที่จะช่วยให้มั่นใจ ว่าผลการดำเนินงานมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ?  ดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ที่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างมี ประสิทธิภาพ ?

6 ( ต่อ ) ในการนำการควบคุมภายในไปสู่การปฏิบัติ ท่านได้กระทำสิ่งต่อไปนี้หรือยัง :  ออกแบบการควบคุมภายในขององค์กร ให้มี มาตรฐานไม่ต่ำกว่าตามมาตรฐานการ ควบคุมภายใน ที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด ?  โครงสร้างการควบคุมภายในขององค์กรเหมาะสม และคุ้มค่า ?  นำระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลมาใช้ทั่วทั้ง องค์กร ?  แจ้งข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และถือปฏิบัติโดยผ่านสายการบังคับบัญชาแผนงาน และนโยบายของผู้บริหาร ?  จัดให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในขององค์กร ?

7 ( ต่อ ) ในส่วนที่เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจสอบภายใน ท่านได้จัดทำสิ่งต่อไปนี้หรือยัง :  จัดให้มีหน่วยตรวจสอบภายใน ?  ให้การยอมรับว่างานการตรวจสอบภายในเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมภายในขององค์กร ?  แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในความแตกต่างระหว่าง การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน?  ให้ความมั่นใจว่าหน่วยตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ จากกิจกรรมที่ตรวจสอบ ?  มอบหมายให้หน่วยตรวจสอบภายในรับผิดชอบในการ ประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในขององค์กร ?  จัดให้มีระบบติดตามผลความคืบหน้าขององค์กรในการ ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะนำของ ผู้ตรวจสอบ ?

8 ความเสี่ยงไม่มีวันหมด
“ สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับก็คือ ไม่มีองค์กรหรือบุคคลใดที่จะดำเนินงานอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ปราศจากความเสี่ยง ทุกคนหรือทุกองค์กรจะดำรงอยู่ภายใต้ความเสี่ยงทั้งนั้น”

9 การบริหารองค์กรที่ดี
วัตถุประสงค์หลักของการบริหารองค์กรทีดี คือการติดตาม กำกับ ควบคุมและดูแล ให้มีการจัดกระบวนการเพื่อใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ตรงเป้าหมาย คุ้มค่าและประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รากฐานที่จะช่วยให้มีการกำกับ ดูแลองค์กร ที่ดีประกอบด้วย * การควบคุมภายใน * การบริหารความเสี่ยง * การตรวจสอบภายใน

10 การควบคุมภายใน ( Internal Control )
หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรทุกระดับของหน่วยรับตรวจ กำหนดให้มีขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

11 1. เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของ
การดำเนินงาน ( Operation Objectives = o ) 2. เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ของการรายงาน ทางการเงิน (Financial Reporting Objectives = F) 3. เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Compliance Objectives = C)

12  แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ
 บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำให้ระบบ การควบคุมภายในเกิดขึ้น  ให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลเท่านั้น

13 1. ลดความผิดพลาด ความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น
2. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3. ส่งผลให้ระบบงานต่าง ๆ มีคุณภาพ 4. เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม สนับสนุนให้การบริหาร จัดการมีคุณภาพได้มาตรฐาน 5. เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้รับความเชื่อถือ

14 ความเสี่ยง ( Risk ) ความเสี่ยง หมายถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด มาตรฐาน : ฝ่ายบริหารต้องประเมินความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจอย่างเพียงพอและเหมาะสม (ที่มา : คู่มือการดำเนินงานการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ สพฐ.,๒๕๕๒)

15 ประเภทของความเสี่ยง  ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ( Strategic Risk )
 ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk )  ความเสี่ยงด้านการเงิน ( Financial Risk )  ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk )  ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ ( Information Risk )  ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Risk)

16 แหล่งที่มาของความเสี่ยง
ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน สพป. สพม. ศูนย์ฯ โรงเรียน □ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร □ ความรู้ ความสามารถ ของบุคลากร □ กระบวนการทำงาน □ ข้อมูลสารสนเทศ □ เศรษฐกิจ/สังคม/ การเมือง/ กม. □ ผู้รับบริการ □ เทคโนโลยี □ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ ฯลฯ (สมมาต , ๒๕๕๔)

17 การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมทั้งกระบวนการการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดมูลเหตุของโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามแผน เพื่อให้ระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ (ที่มา : คู่มือคำอธิบาย ตัวชี้วัดฯ ก.พ.ร. ปี งปม. ๒๕๕๔)

18 การตรวจสอบภายในถือเป็นกลไกหนึ่ง
หมายความ ว่า กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ ( ระเบียบ กค.ว่าด้วยการตรวจสอบภายในส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑,ข้อ ๔) การตรวจสอบภายในถือเป็นกลไกหนึ่ง ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

19 ความสัมพันธ์ของการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน
( สมมาต ,2555 )

20 ความเสี่ยง : เหตุการณ์ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ
“เรือชนตอม่อสะพานล่มขวางลำน้ำเจ้าพระยา” ภารกิจหลักของเรือ : รับจ้างบรรทุกน้ำตาลไปส่งจุดหมาย วัตถุประสงค์/เป้าหมาย : เพื่อนำน้ำตาลทราย จำนวน ๒พันตัน ไป ส่งถึงจุดหมายภายในเวลากำหนด ความเสี่ยง : เหตุการณ์ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ ระบุปัจจัยเสี่ยง : ปัจจัยภายใน  กระบวนการทำงาน ปัจจัยภายนอก  ภัยธรรมชาติ “ค้นหาต้นเหตุ สาเหตุ” วิเคราะห์ความเสี่ยง : เกิดความเสียหายมูลค่าสูง ผลกระทบมาก บริหารความเสี่ยง : หลังเกิดความสูญเสีย กำหนดมาตรการ การควบคุมเพิ่มเติมที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก

21 แนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงในองค์กร
ค้นหาความเสี่ยง ศึกษาจากอดีต สำรวจในปัจจุบัน เฝ้าระวังไปข้างหน้า ควบคุมความเสี่ยง ยอมรับ ลด/ควบคุม โอน/กระจาย หยุด/หลีกเลี่ยง ประเมิน ความเสี่ยง ประเมินผลระบบ

22 แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

23 กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบ คตง.ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ ( ข้อ 5 / ข้อ 6 ) ระเบียบ สนร. ว่าด้วยกิจการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกาศ สพฐ. เรื่อง นโยบาย เกี่ยวกับความโปร่งใสและตรวจสอบได้ (22 มิ.ย. 54) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ประกาศ สพฐ. เรื่องการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาของ เลขาธิการ กพฐ.ไปยัง คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา ( 4 ด้าน )

24 นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้น แนวปฏิบัติ
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ ) นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้น ของ สพฐ. กลยุทธ์ จุดเน้น ของ สพท.และ มาตรฐานสำนักงาน กลยุทธ์ จุดเน้น ของ สถานศึกษา และมาตรฐานคุณภาพ ฯ ล ฯ

25 ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน
พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ๒๖ ต.ค. ๒๕๔๔  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และ มาตรา ๑๕ (๓) (ก) (ค) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒  ระเบียบ มี ๙ ข้อ ( ข้อ๔ /ข้อ ๕ และ ข้อ ๖ มีความสำคัญ )

26 หัวหน้าหน่วยรับตรวจต้องทำหน้าที่ควบคุมภายในหรือไม่ ?
เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหาร ระเบียบ คตง. ข้อ ๔ ให้ผู้กำกับดูแลและหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการนำมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินท้ายระเบียบนี้ไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

27 การควบคุมภายในหรือยัง ?
สำนักงาน / ร.ร.วางระบบ การควบคุมภายในหรือยัง ? ระเบียบ คตง. ข้อ ๕ ใช้มาตรฐานการควบคุมภายในวางให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับโดยอย่างน้อยต้องแสดงข้อมูล ดังนี้ (๑) สรุปภารกิจและวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญใน ระดับหน่วยรับตรวจ และระดับกิจกรรม (๒) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการควบคุม โดยเฉพาะ เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ และจริยธรรมของผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรในหน่วยรับตรวจ (๓) ความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการบรรลุ วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน (๔) ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลด ความเสี่ยงที่สำคัญตาม (๓)

28 ถ้ายัง...จะวางระบบการควบคุมภายในอย่างไร ?
1. การจัดวางระบบการควบคุมภายใน ผู้บริหารควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด ของหน่วยงานในความรับผิดชอบ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการปรับปรุงการควบคุมที่มีอยู่แล้ว ทำความเข้าใจกับภารกิจ วัตถุประสงค์ระดับหน่วยรับตรวจ และระดับกิจกรรม มาตรฐานการควบคุมภายใน กฎหมาย มติ ครม. ระเบียบ ข้อบังคับ สอบทานสภาพแวดล้อมการควบคุม การประเมินความเสี่ยง ออกแบบการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง หมายเหตุ 1. เป็นการประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน มี 5 องค์ประกอบ(หน้า 87-96) 2. แบบรายงานผลการประเมิน (หน้า 97) จะบอกว่าระบบที่วางไว้แล้วควรปรับปรุง ด้านใด

29 2. หน่วยรับตรวจที่ต้องจัดวางระบบการควบคุมภายใน
หน่วยรับตรวจที่เกิดขึ้นก่อนและหลังระเบียบคตง.ที่ยังไม่ได้วาง ระบบการควบคุมภายใน ให้ดำเนินการ  จัดวางระบบการควบคุมภายใน  และจัดทำหนังสือรับรองการจัดวางรับการควบคุมภายใน เรียน คตง. โดยส่ง สตง./สตง.ภูมิภาค ( แบบรายงาน หน้า 28 ) 3. การนำระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไปสู่การปฏิบัติ  เมื่อวางแล้ว ควรสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรทราบทั่วกัน เพื่อนำไปปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้อง

30 การรายงานระบบควบคุมภายในอย่างน้อยปีละครั้ง ตามข้อ ๖
เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารหน่วยรับตรวจ หรือ ตสน.? ระเบียบ คตง.ข้อ ๖ ผู้รับตรวจมีหน้าที่รายงานระบบการควบคุมภายในอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้งภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้น ปีงบประมาณ หรือ ปีปฏิทิน (๑) ทำความเห็นว่าระบบฯมีมาตรฐานตามระเบียบนี้หรือไม่ (๒) รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อมูล สรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (ก) สภาพแวดล้อมของการควบคุม (ข) การประเมินความเสี่ยง (ค) กิจกรรมการควบคุม (ง) สารสนเทศและการสื่อสาร (จ) การติดตามประเมินผล (๓) จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในพร้อมข้อเสนอแนะและ แผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน ทำไมต้องรายงานด้วย ?

31 องค์ประกอบของ มาตรฐานการควบคุมภายใน บรรลุผลสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) 1. การดำเนินงานเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพ (Operation : O) 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 2. การรายงานทางการเงิน น่าเชื่อถือ (Financial : F) 3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications) 3. การปฏิบัติตามกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ( Compliance : C) 5. การติดตามประเมินผล (Monitoring)

32 ๑.สภาพแวดล้อม ของการควบคุม จุดที่ควรประเมิน
๑. ปรัชญาและรูปแบบการทำงานของ ผู้บริหาร (๕ ประเด็น) ความซื่อสัตย์และจริยธรรม (๗ ประเด็น) ความรู้ ทักษะและความสามารถ ของบุคลากร ( 3 ประเด็น ) โครงสร้างองค์กร (๓ ประเด็น) การมอบอำนาจและหน้าที่ความ รับผิดชอบ ( ๒ ประเด็น ) นโยบายวิธีบริหารด้านบุคลากร (๕ ประเด็น ) กลไกการติดตามการตรวจสอบ การปฏิบัติงาน ( ๒ ประเด็น ) ๘. อื่น ๆ ( โปรดระบุ ) เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการบริหารองค์กร ผู้กำกับ ดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้บุคลากรทุกระดับมีทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน โดยส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์ จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและความสำคัญของประสิทธิผลการควบคุมภายใน

33 ๒. การประเมินความเสี่ยง
จุดที่ควรประเมิน ๑. วัตถุประสงค์ระดับหน่วยรับตรวจ ( ๒ ประเด็น) ๒. วัตถุประสงค์ระดับกิจกรรม ( ๓ ประเด็น ) ๓. การระบุปัจจัยเสี่ยง ( ๒ ประเด็น ) ๔. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ๕. การกำหนดวิธีการควบคุมเพื่อ ป้องกันความเสี่ยง (๔ ประเด็น) ๖. อื่น ๆ ( โปรดระบุ ) ฝ่ายบริหารต้องให้ความสำคัญและประเมินความเสี่ยงซึ่งมีผลกระทบต่อผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกด้วยวิธีการที่เป็นระบบอย่างเพียงพอและเหมาะสม

34 ๓. กิจกรรมการควบคุม จุดที่ควรประเมิน
กิจกรรมกำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์และผลการประเมินความเสี่ยง บุคลากรทุกคนทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจกรรม กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และวงเงินอนุมัติของผู้บริหารไว้ชัดเจนและเป็น ลายลักษณ์อักษร ๔. มีมาตรการป้องกัน ดูแลรักษาทรัพย์สิน อย่างรัดกุมและเพียงพอ ๕. แบ่งแยกหน้าที่การปฏิบัติงานที่สำคัญหรือที่ เสี่ยงต่อความเสียหาย เช่น การอนุมัติ การ บันทึกบัญชี ดูแลรักษาทรัพย์สิน ๖. มีข้อกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรและ บทลงโทษ ๗. มีมาตรการติดตามและตรวจสอบให้การ ดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติ ครม. เป็นวิธีการต่างๆที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งกำหนดหรือออกแบบเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหาย ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

35 ๔. สารสนเทศและ จุดที่ควรประเมิน การสื่อสาร
มีระบบสารสนเทศและสายการรายงานสำหรับการบริหารและตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ๒. จัดทำและรวบรวมข้อมูล งานการเงิน การ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติ ครม. ไว้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ๓. จัดเก็บข้อมูล /เอกสารการจ่ายเงินและการ บันทึกบัญชีไว้ครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นหมวดหมู่ ๔. รายงานข้อมูลที่จำเป็นทั้งจากภายในและ ภายนอกให้ผู้บริหารทุกระดับ ๕. มีระบบติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอก อย่างพอเพียง เชื่อถือได้ และทันกาล ๖. สื่อสารชัดเจนให้ทุกคนทราบและเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ปัญหา จุดอ่อน ที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข ๗. มีกลไก ช่องทางให้บุคลากรสามารถเสนอ ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการ ดำเนินงานขององค์กร ๘. รับฟังและพิจารณาข้อร้องเรียนจากภายนอก ส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการกำหนด กลยุทธ์ ประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมการควบคุม ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอ เหมาะสม เชื่อถือได้ และสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรอื่น ๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา

36 ๕.การติดตามประเมินผล จุดที่ควรประเมิน
๑. เปรียบเทียบแผนและผลการดำเนินงานและ รายงานให้ผู้กำกับดูแลทราบเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ๒. กรณีผลไม่เป็นตามแผนมีการดำเนินการแก้ไข ๓. มีการติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน ๔. มีการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบ การควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ๕. มีการประเมินผลความเพียงพอและประสิทธิผล ของการควบคุมภายในและประเมินการบรรลุตาม วัตถุประสงค์ขององค์กรในลักษณะการประเมิน CSA และ/หรือประเมินอย่างเป็นอิสระอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ๖. มีการรายงานผลการประเมินและรายงานการ ตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในโดยตรง ๗. ติดตามผลการแก้ไข ข้อบกพร่องที่พบจากการ ประเมินและการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน ๘.กำหนดให้ผู้บริหารต้องรายงานต่อผู้กำกับดูแลใน กรณีที่มีการทุจริตหรือสงสัย ว่าทุจริต ไม่ปฏิบัติ ตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ครม. ที่อาจมี ผลกระทบต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ฝ่ายบริหารมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีการปฏิบัติตาม ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผล ในระหว่างการปฏิบัติงาน และเป็นรายครั้ง อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่กำหนดหรือออกแบบไว้เพียงพอ เหมาะสม มีประสิทธิผลหรือต้องปรับปรุง

37 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ความสัมพันธ์ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กับหน่วยรับตรวจ ประธานรัฐสภา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาตรฐานการควบคุมภายในและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน ให้หน่วยรับตรวจนำไปปฏิบัติ ม.15 (3) (ก) มาตรการป้องกันหรือควบคุมความเสียหายให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติในกรณีที่เห็นว่าอาจเกิดความเสียหาย ม.15(3) (ข) มาตรฐานการจัดทำและแบบการรายงานจัดทำและแบบการรายงานที่จำเป็นให้หน่วยงานรับตรวจจัดทำ ม.15 (3)(ค) มาตรการอื่นๆ ที่เห็นสมควร ม.15(3) (ง) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่เกี่ยวข้อง - กรณีหน่วยรับตรวจมีเจตนาหรือปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณหรือตามข้อเสนอแนะของ คตง.มีอำนาจเสนอข้อสังเกตและพฤติการณ์ของหน่วยรับตรวจต่อประธานรัฐสภา เพื่อแจ้งไปยังคณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐสภา ม.16 หน่วยรับตรวจ คณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่าย วางระบบควบคุมภายในและตรวจสอบภายใน - จัดส่งรายงานตาม ม.15 (3) (ค) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ที่มา:

38 ยึดหลักธรรมาภิบาล

39 10 องค์ประกอบของ หลักธรรมาภิบาล 8.หลักนิติธรรม 9.หลัก 7.หลักการ
(Rule of Law) 9.หลัก ความเสมอภาค (Equity) 7.หลักการ กระจายอำนาจ (Decentralization) 10.หลักมุ่งเน้น ฉันทามติ (Consensus Oriented) 6.หลัก การมีส่วนร่วม (Participation) 3.หลัก การตอบสนอง (Responsiveness) 2.หลัก ประสิทธิภาพ (Efficiency) 4.หลักภาระ รับผิดชอบ (Accountability) 5.หลัก ความโปร่งใส (Transparency) 1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) 10 องค์ประกอบของ หลักธรรมาภิบาล

40 นโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของสพฐ.
1. ด้านบริหาร  ให้ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง/สพป./สพม./สศษ. แจ้งสถานศึกษานำไปปฏิบัติ  สนับสนุน ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงาน มุ่งมั่น พยายาม ริเริ่มในการสร้างความโปร่งใสในองค์กร 2. ด้านการให้บริการที่โปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบ  มีมาตรฐานการให้บริการ  เผยแพร่มาตรฐานการให้บริการผ่านช่องทางต่าง ๆ  สำรวจความพึงพอใจและรับฟังความคิดเห็น  นำผลมาประเมิน เพื่อปรับปรุงอย่างเป็นระบบ 3. ด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร  เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรฐาน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ฯ  มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร  มีการประสานงานแจ้งข้อมูลการจัดสรรงบประมาณ หรือการแจ้งเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานทราบและปฏิบัติ

41 นโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของ สพฐ.(ต่อ )
4. ด้านการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์  มีหน่วยงานและช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ มีการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โปร่งใสและเป็นธรรม แจ้งผลการดำเนินการให้ทราบ 5. ด้านการตรวจสอบและควบคุมภายใน กำหนดให้มีกลไกการตรวจสอบและควบคุมภายใน ที่ดำเนินการตรวจสอบมากกว่าเรื่องการเงินและบัญชี มีการนำผลการตรวจสอบและควบคุมภายใน มาปรับปรุงการทำงาน

42 ☼ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ ☼ ประกาศ สพฐ.เรื่องการกระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาของเลขาธิการกพฐ.ไปยัง คณะกรรมการ สพท. และสถานศึกษา กระจายอำนาจ 4 ด้าน ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารทั่วไป

43 การบริหารและการจัดการศึกษา โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
(School – Based Management) เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ได้รับความสนใจ เพราะ เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๙ ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง

44 การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
ตบช.ที่ ๑ มีการบริหารและจัดการศึกษา รองรับการกระจายอำนาจ ตบช.ที่ ๒ มีการบริหารเชิงกลยุทธ์และใช้ หลักการมีส่วนร่วม ตบช.ที่ ๓ มีคณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมพัฒนาสถานศึกษา ตัวบ่งชี้มาตรฐาน การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน ตบช.ที่ ๔ มีรูปแบบการบริหารที่มุ่ง ผลสัมฤทธิ์ของงาน ตบช.ที่ ๕ มีการตรวจสอบและถ่วงดุล ตบช.ที่ ๖ มีการใช้ผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ พัฒนายกระดับคุณภาพ

45 มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๕ มาตรฐาน ๑๑ ตัวบ่งชี้
มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๕ มาตรฐาน ๑๑ ตัวบ่งชี้ มฐ.ที่ ๑ สพท.บริหารจัดการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และ พัฒนาระบบการจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหาร การจัดการภาครัฐ ( PMQA ) มฐ.ที่ ๒ สพท.ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ จนบรรลุเป้าหมายและส่งผลผลดีต่อการพัฒนาสถานศึกษา มฐ.ที่ ๓ สพท.มีการกำกับ ดูแล ส่งเสริม สนับสนุนช่วยเหลือ และพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความเข้มแข็ง มฐ.ที่ ๔ สพท.บริหารอัตรากำลังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ การจัดการศึกษาพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่การเป็นมืออาชีพ มฐ.ที่ ๕ สพท.สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือใน การจัดการศึกษา

46 ความเสี่ยง ทางการศึกษา

47 ความเสี่ยงต่อคุณภาพการศึกษา

48 ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ด้านคุณภาพการจัดการศึกษา  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาหลักค่าเฉลี่ย ไม่เป็นที่น่าพอใจและมีแนวโน้มลดลงทุกปี ด้านโอกาสทางการศึกษา  เด็กออกกลางคัน ร้อยละ 0.25  เด็กตกหล่น ร้อยละ 4.52  นร.ที่ไม่เรียนต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 6.55 ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ  การกระจายอำนาจพบว่าการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม (ที่มา : สรุปจากแผนปฏิบัติการ 2555 สพฐ.)

49 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสอบ O-net : ชั้น ม. 6
กลุ่มสาระฯ ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554 เพิ่ม/ลด ภาษาไทย 42.61 41.88 สังคมศึกษาฯ 46.51 33.39 - 3.12 ภาษาอังกฤษ 19.22 21.80  + 1.58 คณิตศาสตร์ 14.99 22.73  +7.74 วิทยาศาสตร์ 30.90 27.90 - 3.00 สุขศึกษา/พละฯ 62.86 54.61 - 8.25 ศิลปะ 32.62 28.54 - 4.08 การงานอาชีพฯ 43.69 48.72  + 5.03 ที่มา : สรุปจาก นสพ.มติชน , 24 มี.ค.55

50 ความเสี่ยง : คะแนน 5 วิชาลดลง
กรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง : ผลโอเน็ต ต่ำ 5 วิชา ความเสี่ยง : คะแนน 5 วิชาลดลง วัตถุประสงค์/เป้าหมาย : สพฐ.ต้องการให้คะแนนสอบสูงขึ้น ( ปี กศ. 54 เข้าสอบ 397,889 คน ) วิเคราะห์ความเสี่ยง : เกิดความเสียหายสูง /ผลกระทบมาก ระบุปัจจัยเสี่ยง : หาต้นเหตุ / สาเหตุ เกิดจากปัจจัยภายในหรือภายนอก ข้อค้นพบ : ปัจจัยภายใน/ภายนอก (จากผู้ที่เกี่ยวข้อง) 1. เด็กอาจไม่ตั้งใจทำข้อสอบ เนื่องจากสอบรับตรง เข้ามหาวิทยาลัยได้ก่อนสอบ โอเน็ต 2. กระบวนการออกข้อสอบยังมีปัญหาและไม่ได้มาตรฐาน 3. นักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบ ที่ออกโดย สทศ. มีสาเหตุ - เด็กไทยเรียนไม่รู้เรื่อง - การเรียนการสอนไม่ดี - ข้อสอบโอเน็ตมีปัญหา 4. อาจเป็นเพราะเปลี่ยนรูปแบบข้อสอบจาก ปรนัย 4 ตัวเลือก เป็น 5 ตัวเลือก

51 ภารหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

52 ความมุ่งหมายและหลักการ
มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข “ ดี เก่ง มีความสุข”

53 มาตรฐานและการประกันคุณภาพ
มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกัน คุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “ ระบบการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริม สนับสนุน ให้ระบบประกันคุณภาพบรรลุตามมาตรฐาน”

54 หมวด ๘ ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (มาตรา ๕๘-๖๒)
มาตรา ๕๘ ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศให้จัดการศึกษา ดังนี้ (๑) (๒)

55 มาตรา ๖๒ ให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา แนวทางการศึกษาและคุณภาพมาตรฐานการศึกษาโดยหน่วยงานภายในและหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบภายนอก หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบ ติดตามและการประเมิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ๑.ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ๒. ความเชื่อถือรายงานทางการเงิน ๓. ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ”

56 ปัจจัยความสำเร็จของการศึกษา
ปัจจัยเชิงระบบ Context Input Process Output

57 สรุป งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
- ได้รับจัดสรร ,230,016,900 บาท - กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ,000,000 บาท สำหรับคนพิการ รวม ,380,016,900 บาท 6 ผลผลิต ( 217,035,520,900 ) 8 โครงการ ( 56,194,496,000 ) จำแนกตามงบรายจ่าย ปี 2555 1) งบบุคลากร ,972,784, บาท 2) งบดำเนินงาน ,004,287, บาท 3) งบลงทุน ,925,538, บาท 4) งบเงินอุดหนุน ,846,146, บาท 5) งบรายจ่ายอื่น ,260, บาท (ที่มา : สรุปจากแผนปฏิบัติการ 2555 สพฐ.)

58 ยุทธศาสตร์และชุดโครงการสำคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทโดยมุ่งเน้นเป้าหมายคือ นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากร ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การปฏิรูปครูเพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครู ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ยุทธศาสตร์และชุดโครงการสำคัญ (Flagship) ระดับกระทรวง ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับ อาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับ ตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การสนับสนุนการพัฒนาเพื่อสร้าง ทุนปัญญาของชาติ ๗ ยุทธศาสตร์ ๓๘ โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากร มนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

59 คุณภาพ ผู้เรียน ดี เก่ง มีความ สุข ความเสี่ยง : ผลไม่เป็นตามมาตรฐาน
มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดี มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาของ สพท. คุณภาพ ผู้เรียน เก่ง มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการแนะแนว มีความ สุข มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาตรฐาน SBM มาตรฐานการควบคุมภายใน ฯ ล ฯ (สมมาต , ๒๕๕๔)

60 สวัสดีครับ “ ความสำเร็จของการควบคุมภายใน
เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจของทุกคนในองค์กร “ สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt ชื่อ – ชื่อสกุล นายสมมาต คำวัจนัง รอง ผอ. สพป. สมุทรสาคร การศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google