งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (EC 210) ภาค 1 ปีการศึกษา 2552 Sec. 81/00

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (EC 210) ภาค 1 ปีการศึกษา 2552 Sec. 81/00"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (EC 210) ภาค 1 ปีการศึกษา 2552 Sec. 81/00
อ.ศันสนีย์ ลิ้มพงษ์ (อ.ติ๊ก) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ EC210 2/2552

2 บทที่ 6: ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการกำหนดรายได้ประชาชาติ
บทที่ 6: ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการกำหนดรายได้ประชาชาติ EC210 2/2552

3 Outline 6.1 เศรษฐศาสตร์มหภาค: ความหมาย ขอบเขต และเป้าหมาย
ตัวแปรที่สำคัญของเศรษฐกิจมหภาค เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ชนิดของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค 6.2 รายได้ประชาชาติ : ความหมาย และความสำคัญ 6.3 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (Circular Flow) EC210 2/2552

4 Outline 6.4 แนวคิดการกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติ - ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้รวม และรายจ่ายมวลรวม 6.5 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ ด้านรายได้ ด้านรายจ่าย ด้านผลผลิต (วิธีมูลค่าเพิ่ม) 6.6 ความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ทางรายได้ประชาชาติ GNP, GDP, GNP per capita, Nominal GDP และ Real GDP EC210 2/2552

5 Outline 6.7 บัญชีรายได้ประชาชาติของไทย
6.8 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากตัวเลขรายได้ประชาชาติเพื่อการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ 6.9 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความสำคัญของผลิตภาพ (Productivity) 6.10 ปัญหาของระบบเศรษฐกิจ: เงินเฟ้อ และ เงินฝืด สาเหตุและผลกระทบ EC210 2/2552

6 เศรษฐศาสตร์มหภาค vs เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับประเทศ) EC210 2/2552

7 วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคศึกษาเกี่ยวกับอะไร
คือ เศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาบทบาทของระบบเศรษฐกิจส่วนรวม โดย เน้นศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรรวมต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ, การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ, การจ้างงาน เป็นต้น ผลของการเปลี่ยนแปลงตัวแปร หรือพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ หรือภาคเศรษฐกิจต่างๆ เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจ และแนวนโยบาย (พฤติกรรมของภาครัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ) EC210 2/2552

8 ตัวอย่าง ขอบเขตเศรษฐศาสตร์มหภาค
จำนวนสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ? ปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเท่าไหร่? ผลกระทบจากราคาน้ำมันต่อระดับราคาสินค้าในประเทศ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีผลอย่างไรต่อการจ้างงานและการลงทุนในประเทศ? อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลง ผลกระทบของ FTA ต่อเศรษฐกิจไทย? EC210 2/2552

9 ข้อใดจัดเป็นการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค
ก. ราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ข. การลงทุนในประเทศลดลง ค. พฤติกรรมการบริโภคของคนร่ำรวยมีลักษณะบริโภคนิยม ง. ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น ในช่วงประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย ตอบ ข EC210 2/2552

10 วิเคราะห์ข่าวจากเว็บไซด์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง http://www.fpo.go.th
วิเคราะห์ข่าวจากเว็บไซด์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ข่าวรายวัน Macro Morning Focus อื่นๆ ในเว็บ รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวัน / รายสัปดาห์ / รายเดือน ประมาณการเศรษฐกิจไทย สรุปสถานการณ์ด้านการคลัง รายงานเศรษฐกิจต่างประเทศ (ญี่ปุ่น/ สหราชอาณาจักร/ ยุโรป / อเมริกา) การเคลื่อนย้ายเงินทุน EC210 2/2552

11 ตัวแปรที่สำคัญทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่
GDP รายได้เฉลี่ยต่อหัว อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน สวัสดิการสังคม การกระจายรายได้ EC210 2/2552

12 เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
1. การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) 3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability) 2. การจ้างงานหรือการใช้ทรัพยากรเต็มที่ (Full Employment) 4. การกระจายรายได้ (Income Distribution) EC210 2/2552

13 เป้าหมายที่หนึ่ง: การเติบโตทางเศรษฐกิจ
GDP มีอัตราการเจริญเติบโตสูง เทียบ GDP ปีนี้กับปีก่อน ดูว่า GDP ปีนี้ เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน กี่ % เติบโตอย่างมี เสถียรภาพ GDP ไม่เพิ่มขึ้น และลดลงเร็วเกินไป (ผันผวนเกินไป) การที่เศรษฐกิจมีความผันผวนมากเกินไป เป็นผลเสียต่อทั้งธุรกิจและประชาชน ที่ต้องประสบกับความไม่มั่นคง GDP Growth = GDPt - GDPt-1 ______________ GDPt-1 X 100 EC210 2/2552

14 ผลิตภัณฑ์รวม ณ ราคาคงที่ ปี 2531 (พันล้านบาท)
ที่มา: จากข้อมูลของ สศช. EC210 2/2552

15 อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ของไทย
อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในไตรมาสแรกหลังช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2542 เป็นบวกโดยตลอด โดยสูงสุดในช่วงปี 2546(2003) จนกระทั่งในปี 2551 เริ่มลดลง ในไตรมาสแรกของปี 2552 ติดลบถึงร้อยละ 7.1 EC210 2/2552

16 มูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ ปี 2551
อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี 2551 เริ่มลดลง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 จนกระทั่งติดลบถึงร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 4 EC210 2/2552

17 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ
ไทย = 4.8% จาก EC210 2/2552

18 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ปี 2551
วิกฤตการทางการเงินของโลกได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจจริงและทำให้การใช้จ่าย การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศของหลายประเทศลดลง ในไตรมาส4 ปี 2551 เศรษฐกิจโลกโดยรวมจึงเข้าสู่ภาวะหดตัว สหรัฐฯ(-0.2%) อังกฤษ (-1.0%) ญี่ปุ่น (-4.6%) กลุ่มยูโรโซน(-1.6%) สิงคโปร์ (-3.7%) เกาหลีใต้ (-3.4%) ไต้หวัน(-8.4%) จีน อินเดีย และเวียดนามก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว ;ขยายตัวร้อยละ 6.8, 4.9 และ 5.6 ตามลำดับ EC210 2/2552

19 เป้าหมายที่สอง: การจ้างงานหรือการใช้ทรัพยากรเต็มที่
ภาวะการจ้างงานเต็มที่ ใช้ทรัพยากรเต็มที่ อัตราการว่างงานต่ำ กำลังแรงงาน (Labor force) คือ คนที่ถึงวัยทำงาน สามารถทำงานและต้องการทำงานทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ ผู้ไม่มีงานทำ (Unemployment Labor) คือ แรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงาน แต่ไม่มีงานทำ Unemployment Rate = EC210 2/2552

20 Potential Output Input Output Gap
Production Process Potential Output Input Actual Output Output Gap หากทรัพยากรการผลิตไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง จะน้อยกว่าผลผลิตรวมสูงสุดที่ผลิตได้ EC210 2/2552

21 การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
2550 2549 2547 2545 2543 2541 ประชากร 65,739.96 65,280.23 65,082.46 63,460.56 62,404.68 61,173.83     อายุต่ำกว่า 15 ปี 14,695.46 14,809.30 15,749.83 15,784.16 15,953.48 16,201.48     อายุ 15 ปีขึ้นไป 51,044.50 50,470.93 49,332.63 47,676.40 46,451.33 44,972.35 กำลังแรงงาน 1/ 36,941.98 36,429.01 35,717.78 34,261.61 33,223.75 32,459.73 ผู้มีงานทำ 36,249.46 35,685.53 34,728.81 33,060.87 31,292.60 30,104.50 ผู้ว่างงาน 508.48 551.73 739.16 822.84 1,193.58 1,412.83 (อัตราการว่างงาน) 1.38 1.52 2.08 2.41 3.59 4.35 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ (หน่วยพันคน) 1/ ข้อมูลการสำรวจแรงงานปรับแนวคิดเรื่องอายุการทำงานของประชากรจาก 13 ปีขึ้นไปเป็น 15 ปีขึ้นไป EC210 2/2552

22 เป้าหมายที่สาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เสถียรภาพทางด้านราคา (ภายในประเทศ) :ระดับราคาของสินค้าและบริการ เงินเฟ้อ – การที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปของระบบเศรษฐกิจปรับตัวสูงขึ้น อำนาจในการซื้อ (Purchasing Power) ลดลง เสถียรภาพทางด้าน อัตราแลกเปลี่ยน (ภายนอกประเทศ) : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ผันผวนมากและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ช่วยทำให้สถานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพ Example: การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (Purchasing Power), การค้าและลงทุน, ค่าเงิน EC210 2/2552

23 อัตราเงินเฟ้อ (การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้า)
Source : EC210 2/2552

24 ดัชนีราคาผู้บริโภค ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ดัชนีราคาผู้บริโภค core CPI ที่ไม่รวมรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงาน EC210 2/2552

25 อัตราเงินเฟ้อ (รายไตรมาส)
EC210 2/2552

26 อัตราแลกเปลี่ยนของไทย
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย EC210 2/2552

27 เป้าหมายที่สี่ การกระจายรายได้
มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การกระจายรายได้ คือ สภาพความแตกต่างทางรายได้และความเป็นอยู่ของประชากรที่มีฐานะต่างกันในประเทศ เศรษฐกิจมีอัตราเจริญเติบโตที่สูง แต่รายได้กระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม ประชาชนได้รับสวัสดิการพื้นฐานที่ดี ระบบเศรษฐกิจที่ดี ควรจัดให้ประชาชนมีโอกาสได้รับสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สวัสดิการทางการศึกษา สวัสดิการทางการสาธารณสุข และสวัสดิการเพื่อความมั่นคงของชีวิต ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการ สวัสดิการพื้นฐานต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้กับประชาชน EC210 2/2552

28 มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP)
ลำดับที่ จังหวัด มูลค่า(ล้านบาท) % 1 กรุงเทพมหานคร 2,190,226.4 28.0 2 สมุทรปราการ 534,194.1 6.8 3 ระยอง 527,366.1 6.7 4 ชลบุรี 407,364.0 5.2 5 พระนครศรีอยุธยา 295,185.4 3.8 6 สมุทรสาคร 280,999.4 3.6 7 ปทุมธานี 175,298.0 2.2 8 ฉะเชิงเทรา 168,779.5 9 สงขลา 152,013.1 1.9 10 นครราชสีมา 134,909.6 1.7 ทั่วราชอาณาจักร 7,816,474.0 100 ลำดับที่ จังหวัด มูลค่า(ล้านบาท) % 1 แม่ฮ่องสอน 8,405.9 0.11 2 อำนาจเจริญ 10,199.0 0.13 3 มุกดาหาร 11,089.2 0.14 4 หนองบัวลำภู 13,004.3 0.17 5 สมุทรสงคราม 13,112.6 6 ระนอง 15,511.7 0.20 7 นครนายก 15,656.9 8 อุทัยธานี 16,327.8 0.21 9 ยโสธร 16,765.8 10 ตราด 18,036.7 0.23 ทั่วราชอาณาจักร 7,816,474.0 100 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ EC210 2/2552

29 ลักษณะเศรษฐกิจที่พึงปราถนา:
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ผันผวนมากและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายทุกๆข้อพร้อมกันได้หรือไม่ !!! EC210 2/2552

30 เครื่องมือ: ชนิดของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
นโยบายการเงิน (Monetary Policy) – ธ. แห่งประเทศไทย อัตราดอกเบี้ย, ปริมาณเงินในระบบ, อัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) – ภาครัฐ ภาษีและการใช้จ่ายของรัฐ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (Intl. Trade Policy) ภาษีนำเข้าและส่งออก, การให้การสนับสนุนผู้ส่งออก, การกีดกันทางการค้า, FTA EC210 2/2552

31 กลไกการทำงานของมาตรการต่างๆ ด้านนโยบายเพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจมหภาค
ภาษี ระดับราคา นโยบายการคลัง การใช้จ่ายของรัฐ อัตราดอกเบี้ย ระบบเศรษฐกิจ ผลผลิต นโยบายการเงิน ปริมาณเงิน โควต้า ภาษีการค้า นโยบายการค้า การจ้างงาน อัตราแลกเปลี่ยน EC210 2/2552

32 6.2 รายได้ประชาชาติ : ความหมาย และความสำคัญ
จุลภาค: รายได้ของบุคคลแต่ละบุคคล (Individual) ดูจาก..... คนที่มีรายได้มาก มหภาค: รายได้ของประเทศ (Country) ดูจาก..... ประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจดี Q: วัดฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ??? A: ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเงินมากเท่าใด แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ถูกผลิตออกมาและจำนวนประชากร EC210 2/2552

33 รายได้ประชาชาติ: ความหมาย
ปริมาณสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่งปี มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่งปี EC210 2/2552

34 รายได้ประชาชาติ: ความสำคัญ
ใช้เป็นตัวชี้วัดฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ (และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ) ทำให้ทราบว่าเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบรายได้ประชาชาติระหว่างปี ใช้ในการเปรียบเทียบภาวะทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ใช้ในการวัดความสำเร็จของนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ EC210 2/2552

35 รายได้ประชาชาติ ไม่นับรวมอะไรบ้าง
สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด กิจกรรมที่ไม่มีรายงาน/จดบันทึก เช่น อาชีพอิสระต่างๆ กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด หวยใต้ดิน เงินโอนของรัฐและเอกชน การซื้อของใช้แล้ว เงินที่ได้จากการชำระหนี้เงินกู้เพื่อการบริโภค เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว การซื้อขายหุ้น การพนัน EC210 2/2552

36 6.3 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (Circular Flow)
แบบจำลองกระแสหมุนเวียน (Circular Flow Diagram) คือ แบบจำลองที่แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างง่ายๆ ของการหมุนเวียนของผลผลิต รายจ่าย และรายได้ของแต่ละภาคเศรษฐกิจ (Sector) ของระบบเศรษฐกิจ NOTE หน่วยเศรษฐกิจ (economic unit) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้บริโภค, ผู้ผลิต ภาคเศรษฐกิจ (economic sector) หมายรวมถึงหน่วยเศรษฐกิจที่มีบทบาทหน้าที่ และเป้าหมายที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน EC210 2/2552

37 ภาคเศรษฐกิจ (Economic Sector) ประกอบด้วย
ภาคครัวเรือน (Household Sector) เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต: ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ (Business Sector) ทำการผลิตสินค้าและบริการ ภาครัฐบาล (Government Sector) ทำหน้าที่ให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม ภาคการเงิน (Financial Sector) ทำหน้าที่รับเงินออม และปล่อยเงินลงทุน ภาคต่างประเทศ (Foreign Sector) ทำธุรกรรมการซื้อขายระหว่างประเทศ EC210 2/2552

38 แบบจำลองกระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน & ภาคธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ,ภาคการเงิน ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ,ภาคการเงิน และภาครัฐบาล ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐบาล, ภาคการเงิน, และ ภาคต่างประเทศ EC210 2/2552

39 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน & ภาคธุรกิจ
ภาคธุรกิจ vs ภาคครัวเรือน ภาคครัวเรือน : จ่ายเงินซื้อสินค้า (C) ภาคธุรกิจ : จ่ายเงินจ้างปัจจัยการผลิต รายได้ที่ภาคครัวเรือนได้รับทั้งหมดจะถูกใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ EC210 2/2552

40 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน & ภาคธุรกิจ
รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

41 มูลค่าผลผลิตรวม = รายได้รวม = รายจ่ายรวม
กระแสหมุนเวียน: กระแสแท้จริง (Real Flow) - แสดงถึงผลผลิตและปัจจัยการผลิต (กระแสที่เป็นตัวสินค้าหรือเป็นปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้า) กระแสตัวเงิน (Money Flow) - แสดงถึงรายได้รวมและรายจ่ายรวม (กระแสที่เป็นตัวเงิน) มูลค่าผลผลิตรวม = รายได้รวม = รายจ่ายรวม EC210 2/2552

42 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ,ภาคการเงิน
Q: หากมีการรั่วไหลของกระแสหมุนเวียน เช่น ครัวเรือนมีการออมรายได้ จะส่งผลอย่างไร A: จะทำให้เศรษฐกิจหดตัว เพราะสินค้าและบริการไม่สามารถขายได้หมด แต่ ผลกระทบดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นหากการออมได้รับการชดเชยโดยมีการอัดฉีดการลงทุนเข้าสู่ระบบ ส่วนรั่วไหล หมายถึง รายได้ส่วนที่รั่วไหลออกนอกกระแสการหมุนเวียน ส่วนอัดฉีด หมายถึง รายได้ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาในกระแสหมุนเวียน EC210 2/2552

43 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ,ภาคการเงิน
รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ ภาคธุรกิจ ครัวเรือน การลงทุน เงินออม สถาบันการเงิน ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) ส่วนรั่วไหล : การออม (S) ส่วนอัดฉีด: การลงทุน (I) EC210 2/2552

44 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ,ภาคการเงิน และภาครัฐบาล
รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ ครัวเรือน ภาคธุรกิจ การลงทุน เงินออม สถาบันการเงิน ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) ภาษี ภาษี ภาครัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล ส่วนรั่วไหล : การออม (S) , ภาษี (T) ส่วนอัดฉีด: การลงทุน (I), รายจ่ายรัฐบาล (G) EC210 2/2552

45 ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (ทุกภาคเศรษฐกิจ)
ภาคต่างประเทศ ครัวเรือน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล เงินออม การลงทุน ภาษี รายจ่ายของรัฐบาล มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า สินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

46 Everyone’s expenditures go somewhere
Everyone’s expenditures go somewhere. Every transaction must have two sides. EC210 2/2552

47 The Three Market Arenas
Households, firms, the government, and the rest of the world all interact in the goods-and-services, labor, and money markets. EC210 2/2552

48 ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (ทุกภาคเศรษฐกิจ)
ส่วนรั่วไหล (Leakage) รายได้ที่รั่วไหลออกนอกกระแสหมุนเวียน ได้แก่ การออม (S) ภาษี (T) การซื้อสินค้าต่างประเทศ (M) ส่วนอัดฉีด (Injection) รายได้ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาในกระแสหมุนเวียน ได้แก่ การลงทุนของภาคธุรกิจ (I) การใช้จ่ายของภาครัฐบาล (G) รายรับจากการส่งออก (X) EC210 2/2552

49 หากส่วนรั่วไหลเท่ากับส่วนอัดฉีด กระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจก็จะอยู่ในดุลยภาพ (ผลผลิต = รายได้ = รายจ่าย), e.g., การลงทุน = การออม การใช้จ่ายของรัฐ = ภาษี (งบประมาณสมดุล) การนำเข้า = การส่งออก S+T+M = I+G+X จะพบว่าส่วนที่รั่วไหลออกจากกระแสหมุนเวียน ก็จะถูกอัดฉีดกลับมาสู่กระแสหมุนเวียนทั้งหมด EC210 2/2552

50 ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (ทุกภาคเศรษฐกิจ)
ภาคต่างประเทศ ครัวเรือน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล เงินออม การลงทุน ภาษี รายจ่ายของรัฐบาล มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า สินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

51 6.5 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ
มูลค่าผลผลิตรวม = รายได้รวม = รายจ่ายรวม วิธีการคำนวณแบ่งได้เป็น: 1. การคำนวณทางผลผลิต (Product Approach) 2. การคำนวณทางรายจ่าย (Expenditure Approach) 3. การคำนวณทางรายได้ (Income Approach) EC210 2/2552

52 1. การคำนวณทางผลผลิต (Product Approach)
1.1 คำนวณจากผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมด รายได้ประชาชาติ = p1q1 +p2q2 + p3q3 +….+pnqn *** วัดด้วยมูลค่า (บาท) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องหน่วยนับ *** EC210 2/2552

53 1.2 คำนวณจากผลรวมของมูลค่าเพิ่ม (VALUE ADDED)
Q: ทำไมเราจึงใช้มูลค่าเพิ่มแทนมูลค่าสินค้าขั้นสุดท้าย? เป็นการยากที่จะแยกแยะได้ว่า สินค้าตัวใดในตลาดเป็นหรือไม่เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย หากเราพลาดไปนับสินค้าที่ไม่ใช้สินค้าขั้นสุดท้าย มูลค่าของสินค้านั้นๆ ก็จะไป ปรากฏซ้ำ อีกทีเมื่อสินค้านั้นๆ ถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอีกชนิด มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าสินค้าที่ผลิต – มูลค่าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง EC210 2/2552

54 ตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเพิ่ม
ขั้นตอนการผลิต มูลค่าสินค้า มูลค่าข้าวขั้นกลาง มูลค่าเพิ่ม ของการผลิต ชาวนาปลูกข้าว 60 โรงสี 350 290 พ่อค้าขายส่ง 500 150 พ่อค้าขายปลีก 700 200 1,610 910 EC210 2/2552

55 2. การคำนวณทางรายจ่าย (Expenditure Approach)
รายได้ประชาชาติ = C + I + G + (X-M) C = รายจ่ายในการบริโภคของเอกชน I = รายจ่ายในการลงทุนในประเทศของเอกชน G = รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐ X = มูลค่าสินค้าและบริการส่งออก M = มูลค่าสินค้าและบริการนำเข้า EC210 2/2552

56 ความสัมพันธ์ของหน่วยทางเศรษฐกิจ
ต่างประเทศ C Y ภาคครัวเรือน X M S C ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดปัจจัยการผลิต GDP ตลาดสินค้า W+R+I+P I S I ภาคการผลิต G รัฐบาล tax EC210 2/2552

57 C = รายจ่ายในการบริโภคของเอกชน
คือ รายจ่ายของผู้บริโภคเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ สินค้าคงทน/ถาวร (Durable goods) เช่น รถยนต์ Computer และ เครื่องเรือนภายในครัวเรือน สินค้าไม่คงทน (Non-durable goods) เช่น อาหาร และ เครื่องนุ่งห่ม บริการ (Services) เช่น บริการทางสาธารณสุข และ บริการทางการศึกษา *** ยกเว้น ค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย, ของที่ใช้แล้ว และเงินโอน (Transfer payment) *** EC210 2/2552

58 I = รายจ่ายในการลงทุนในประเทศของเอกชน
คือ รายจ่ายการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่จ่ายโดยภาคธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารใหม่ การก่อสร้างโรงงาน โกดังเก็บสินค้า และการสร้างที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักร การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังถือว่าเป็นสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย *** ยกเว้น การซื้อที่ดิน/บ้านเก็งกำไร, การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์, การซื้อเครื่องจักรที่ใช้แล้ว (ในประเทศ) *** EC210 2/2552

59 บวก (+): สินค้าที่ผลิตมากกว่าสินค้าที่ขายในปีนั้น
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลัง= สินค้าคงคลังปลายปี – สินค้าคงคลังต้นปี บวก (+): สินค้าที่ผลิตมากกว่าสินค้าที่ขายในปีนั้น รายจ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น e.g., ปลายปี (12) - ต้นปี (10) = +2 ลบ (-): สินค้าที่ผลิตน้อยกว่าสินค้าที่ขายในปีนั้น รายจ่ายเพื่อการลงทุนลดลง e.g., ปลายปี (6) - ต้นปี (10) = -4 EC210 2/2552

60 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ตัวอย่าง : ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 31 ธค มีสินค้าคงเหลือ 12 บาท ปี 51 ขายสินค้าได้ 98 บาท GDPผลผลิต = GDP รายจ่าย 100 98 = + 2 แสดงว่าปี 51 มีสินค้าที่ผลิตเหลืออยู่ 2 บาท จึงต้องนำไปรวมในการคิด GDP ด้านรายจ่ายด้วย ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ = +2 มูลค่าของสินค้าที่ผลิตใน 1 ปี  GDP EC210 2/2552

61 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ตัวอย่าง : ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 31 ธค มีสินค้าคงเหลือ 6 บาท ปี 51 ขายสินค้าได้ 104 บาท GDPผลผลิต = GDP รายจ่าย 100 104 = - 4 แสดงว่าปี 51 มีการนำสินค้าจากปีที่แล้วมาขาย 4 หน่วย จึงต้องหักออกในการคิด GDP ด้านรายจ่ายด้วย ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ = -4 มูลค่าของสินค้าที่ผลิตใน 1 ปี  GDP EC210 2/2552

62 G = รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐ
คือ รายจ่ายของภาครัฐทั้งในระดับ ประเทศและส่วนภูมิภาคที่มีต่อการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย รายจ่ายเพื่อการบริโภค รายจ่ายเพื่อการลงทุน *** ยกเว้น รายจ่ายเงินโอน, เงินอุดหนุน, ดอกเบี้ยชำระหนี้ *** เงินโอน (Transfer Payment) & ดอกเบี้ย: ไม่นับเพราะว่ารัฐจ่ายให้โดยไม่ได้รับสินค้าและบริการอะไรเป็นการแลกเปลี่ยนกลับมา EC210 2/2552

63 X = มูลค่าสินค้าและบริการส่งออก M = มูลค่าสินค้าและบริการนำเข้า
การส่งออกสุทธิ (Export – Import, X-M) ส่วนต่างระหว่างมูลค่าการส่งออก (ยอดขายของสินค้าและบริการที่ผลิตในไทยส่งออกไปยังต่างประเทศ) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศของชาวไทย NET EXPORT = มูลค่าสินค้าส่งออก - มูลค่าสินค้านำเข้า EC210 2/2552

64 I – IImport = Iภายในประเทศ G – GImport = Gภายในประเทศ
Export: ต้องนับรวมเพราะเป็นรายจ่ายที่ต่างประเทศ จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการในประเทศ Import: ต้องหักออกเพราะเป็นรายจ่ายเพื่อการบริโภค สินค้าและบริการที่ผลิตจากต่างประเทศ C – CImport = Cภายในประเทศ I – IImport = Iภายในประเทศ G – GImport = Gภายในประเทศ EC210 2/2552

65 ทำไมเศรษฐกิจปี 2552 จึงหดตัว
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ในไตรมาสเดียวกัน ไตรมาสแรกของปี 2552 ค่าใช้จ่ายด้านการบริโภคภาคเอกชนมีอัตราการเติบโตติดลบถึงร้อยละ 2.6 การลงทุนภาคเอกชน(Real Investment) ติดลบร้อยละ 17.7 การลงทุนของภาครัฐติดลบถึงร้อยละ 9.1 ขณะที่การใช้จ่ายบริโภคภาครัฐยังคงเป็นบวกร้อยละ 2.8 มูลค่าการส่งออกติดลบร้อยละ19.9 และมูลค่านำเข้าติดลบถึงร้อยละ 38.3 EC210 2/2552

66 มูลค่านำเข้าสินค้าและบริการ ยังคงเป็นบวกแต่มีอัตราการเติบโตลดลง
มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการมีอัตราการเติบโตเมื่อเทียบในไตรมาสเดียวกัน ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี -ปี ไตรมาสที่ 4 ติดลบร้อยละ 8 ไตรมาส 1-3 อัตราการเติบโตเป็นบวกประมาณร้อยละ และ ตามลำดับ ปี 2552 ไตรมาสแรก ติดลบถึงร้อยละ 16 มูลค่านำเข้าสินค้าและบริการ ยังคงเป็นบวกแต่มีอัตราการเติบโตลดลง -ปี 2551 ไตรมาสที่ 4 มีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ ไตรมาส 1-3 อัตราการเติบโตถึงร้อยละ และ ตามลำดับ - ปี 2552 ไตรมาสแรก ติดลบถึงร้อยละ 31 EC210 2/2552 ที่มา: จากการคำนวณ

67 ตารางแสดงมูลค่าและสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP
ไตรมาสแรกของปี พ.ศ. มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP 2541 386,268 0.54 2542 381,333 0.53 2543 465,613 0.61 2544 456,469 0.59 2545 483,131 2546 544,140 0.63 2547 595,010 0.64 2548 587,970 2549 674,323 0.66 2550 730,726 0.69 2551 795,574 0.70 2552 664,705 EC210 2/2552

68 3. การคำนวณทางรายได้ (Income Approach)
GDP = r + w + i + Profit + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา Rents (r) = เงินได้ที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สิน Wages (w) = เงินเดือน + ค่าจ้างทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐบาล Interests (i) = เงินได้ที่เกิดจากเงินทุนให้กู้ (I) Profits = ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ National Income (NI) = Rents + Wages + Interests + Profits EC210 2/2552

69 ค่าจ้าง (Wage) : เงินเดือนค่าจ้างและผลตอบแทนลูกจ้างอื่นๆในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ค่าเช่า (Rent) : ผลตอบแทนที่เอกชนได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สิน ดอกเบี้ย (Interest) : เงินได้ที่เกิดจากเงินทุนให้กู้ กำไร (Profit) : ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ ภาษีธุรกิจทางอ้อม (Indirect Business Taxes) : ภาษีต่างๆ ที่เก็บจากสินค้า เช่น ภาษีการค้า, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีศุลกากร ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) : การสึกหรอที่เกิดจากการใช้งานของปัจจัยการผลิตที่เป็นทุน มูลค่าของทุนที่ซื้อมา - มูลค่าซาก อายุการใช้งานของทุน = Depreciation EC210 2/2552

70 รายได้ประชาชาติ ไม่นับรวมอะไรบ้าง
สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด กิจกรรมที่ไม่มีรายงาน/จดบันทึก เช่น อาชีพอิสระต่างๆ กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด หวยใต้ดิน เงินโอนของรัฐและเอกชน การซื้อของใช้แล้ว เงินที่ได้จากการชำระหนี้เงินกู้เพื่อการบริโภค เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว การซื้อขายหุ้น การพนัน EC210 2/2552

71 6.6 ความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ทางรายได้ประชาชาติ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในช่วงระยะเวลา 1 ปี *** สินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ โดยไม่คำนึงถึงว่าใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต *** ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่พลเมืองของประเทศนั้นๆ ผลิตขึ้นได้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี *** สินค้าและบริการที่ผลิตด้วยปัจจัยการผลิตของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะผลิตที่ประเทศใดๆ ในโลกนี้ก็ตาม *** EC210 2/2552

72 ตัวอย่าง GDP ไทย GNP ไทย
มูลค่าของถนนที่บริษัทก่อสร้างไทยไปสร้างในลาว มูลค่าของของรถยนต์ญี่ปุ่นที่ผลิตในไทยโดยบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น รายได้ของคนงานไทยที่ไปทำงานก่อสร้างในไต้หวัน EC210 2/2552

73 GNP = GDP + เงินได้สุทธิของปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ
GNP = GDP + เงินได้สุทธิของปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ (Net Factor Income FROM ABROAD) NFIA = ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตของไทยในต่างประเทศ – ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตของต่างประเทศในไทย GNP > GDP: ต่างประเทศเอารายได้ไปจากไทยน้อยกว่าไทย ไปเอารายได้จากต่างประเทศ (NFIA = Positive) GNP < GDP : ต่างประเทศเอารายได้ไปจากไทยมากกว่าไทย ไปเอารายได้จากต่างประเทศ (NFIA = Negative) EC210 2/2552

74 สมมติว่า ไทยไปลงทุนในต่างประเทศ (ลาวเท่านั้น) มูลค่า 10000 ล้านบาท
ตัวอย่าง สมมติว่า ไทยไปลงทุนในต่างประเทศ (ลาวเท่านั้น) มูลค่า ล้านบาท คือ ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตของไทยในต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่มาลงทุนในไทย มูลค่า ล้านบาท คือ ผลตอบแทนปัจจัยการผลิตของต่างประเทศในไทย GNP < GDP: ต่างประเทศเอารายได้ไปจากไทยมากกว่าไทย ไปเอารายได้จากต่างประเทศ (NFIA = Negative) EC210 2/2552

75 GDP (GNP) per capita รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP Per Capita)
Example: ในปี 2008 ประเทศมี GDP = 1,000 บาท และมีประชากร = 4 คน GDP per capita = 1,000/4 = 250 บาท EC210 2/2552

76 ที่มา : ดร. ชลจิต วรวังโส (สถาบันนโยบายเศรษฐกิจการคลัง)
3066 (1996) 3,212 (2006) ที่มา : ดร. ชลจิต วรวังโส (สถาบันนโยบายเศรษฐกิจการคลัง) EC210 2/2552

77 (millions of US dollars)
Country GDP (millions of US dollars) Population GDP per capita (US dollars) U.S.A. 11,667,515 293,507,000 39,752.08 Japan 4,623,398 127,764,000 36,187.02 Germany 2,714,418 82,631,000 32,849.87 China 1,649,329 1,296,500,000 1,272.14 Thailand 163,491 62,387,000 2,620.59 Malaysia 117,776 25,209,000 4,671.98 Singapore 106,818 4,335,000 24,640.83 Vietnam 45,210 82,162,000 550.25 รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2550 ของไทย เท่ากับ 124,831 บาทต่อคนต่อปี EC210 2/2552

78 เศรษฐกิจไทยและเกาหลีใต้
GDP in Billion US $ รายได้ต่อประชากร US$ เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ไทย ไทย ที่มา : ดร. ชลจิต วรวังโส (สถาบันนโยบายเศรษฐกิจการคลัง) EC210 2/2552

79 Nominal GDP & Real GDP GDP = p1q1 +p2q2 + p3q3 +….+pnqn
ในการคำนวน GDP เราใช้ราคาของสินค้าชนิดนั้นๆ (current market price) คูณกับปริมาณของสินค้าชนิดนั้นๆ GDP = p1q1 +p2q2 + p3q3 +….+pnqn การเพิ่มของ GDP มาได้จาก 2 สาเหตุ 1. ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 2. ราคาเพิ่มสูงขึ้น EC210 2/2552

80 Case 1 ปริมาณผลผลิตเพิ่ม Case 2 ปริมาณผลผลิตลดลง
Year Price Quantity Nominal GDP 2040 10 12 120 2041 14 140 16 160 2042 18 180 30 8 240 EC210 2/2552

81 การดูค่า GDP จากวิธีข้างต้นจึงเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าผลผลิตที่แท้จริงของประเทศ เพิ่มสูงขึ้น คงที่ หรือ ลดลง เราจึงต้องพยายามแยก GDP ที่นับเฉพาะแค่ผลการเปลี่ยนแปลงในปริมาณสินค้า (Real GDP) ออกจาก GDP ที่นับทั้งผลจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในราคาและปริมาณ (Nominal GDP) วิธีคิดก็คือการนำเอาราคาของปีใดปีหนึ่งมาเป็นฐาน แล้วพยายามคิดมูลค่าของ GDP ของปีอื่นๆโดยใช้ราคาของปีฐานเป็นหลัก EC210 2/2552

82 Case 2 ปริมาณผลผลิตลดลง 100 80 Real 120 160 240 Case 3
(ใช้ปี 2040 เป็นปีฐาน) Year Price Quantity Nominal GDP (2040) Real 2040 10 12 120 2041 16 160 100 2042 30 8 240 80 EC210 2/2552

83 นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ความรู้ข้างต้นเพื่อหาดัชนีราคา (Price Index)
Nominal และ Real GDP GDP ที่คำนวณโดยใช้ ราคาปัจจุบัน เรียกว่า Nominal GDP GDP ที่คำนวณโดยใช้ ราคาปีฐาน เรียกว่า Real GDP นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ความรู้ข้างต้นเพื่อหาดัชนีราคา (Price Index) EC210 2/2552

84 ดัชนีราคา (Price Index):
= Nomial GDP/Real GDP Note: Variable-weight price index Other Methods: Fixed-weight price index Consumer price index GDP Deflator = มูลค่าปัจจุบันของสินค้าและบริการ ณ. ราคาปัจจุบัน มูลค่าปัจจุบันของสินค้าและบริการ ณ. ราคาปีฐาน EC210 2/2552

85 ราคาของปี 2041 สูงกว่าราคาของปี 2540 เท่ากับ 60%
ปี 2040: Deflator = 120/120=1 ราคาของปีฐาน ปี 2041: Deflator = 160/100=1.6 ราคาของปี 2041 สูงกว่าราคาของปี 2540 เท่ากับ 60% ปี 2042 : Deflator = 240/80=3 ราคาของปี 2042 สูงกว่าราคาของปี 2540 เท่ากับ 200% EC210 2/2552

86 ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศไทย (พันล้านบาท)
Source : Bank of Thailand EC210 2/2552

87 การคำนวณรายได้ประเภทอื่นๆ (FYI only!)
NNP (Net National Product) National Income (NI) Personal Income (PI) Disposable Income (DI) (ดูรายละเอียดในหนังสือหน้า 95-98) EC210 2/2552

88 EC210 2/2552

89 6.7 บัญชีรายได้ประชาชาติของไทย
การบริโภคของภาคเอกชน (Private consumption) จัดว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ GDP หากดูตามสัดส่วนของภาคการผลิตต่างๆ จะเห็นได้ว่าภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing sector) นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน EC210 2/2552

90 6.8 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากตัวเลขรายได้ประชาชาติเพื่อการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ
ข้อมูลรายได้ประชาชาติสามารถมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เช่น GDP ช่วยให้เราทราบถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ GDP แสดงให้เห็นการขยายตัว (หดตัว) ทางเศรษฐกิจ GDP คำนวนทางด้านรายจ่ายมวลรวมทำให้ทราบถึงแบบแผนการใช้จ่ายในประเทศ GDP คำนวนทางด้านรายได้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของผลตอบแทนต่อปัจจัยการผลิต GDP แสดงให้เห็นถึงการผลิตในภาคต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของประเทศ EC210 2/2552

91 GDP ไม่สามารถนับรวมมูลค่าของสินค้าบางประเภทที่ผลิตที่ขึ้นในประเทศ
แม้ว่าตัวเลข GDP จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยบอกถึงความมั่งคั่งและทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งซึ่งตัวเลข GDP ไม่สามารถวัดได้ GDP ไม่สามารถนับรวมมูลค่าของสินค้าบางประเภทที่ผลิตที่ขึ้นในประเทศ GDP ไม่สามารถบอกได้ถึงการกระจายรายได้ของประเทศ GDP ไม่สามารถวัดได้ถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ GDP ไม่ได้บอกถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม GDP ไม่สามารถวัดความสุขของมนุษย์ได้ EC210 2/2552

92 GDP ไม่สามารถบอกได้ถึงการกระจายรายได้ของประเทศ
5 95 50 นาย ข นาย ก 100 GDP ประเทศ B ประเทศ A EC210 2/2552

93 มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP)
ลำดับที่ จังหวัด มูลค่า(ล้านบาท) % 1 กรุงเทพมหานคร 2,190,226.4 28.0 2 สมุทรปราการ 534,194.1 6.8 3 ระยอง 527,366.1 6.7 4 ชลบุรี 407,364.0 5.2 5 พระนครศรีอยุธยา 295,185.4 3.8 6 สมุทรสาคร 280,999.4 3.6 7 ปทุมธานี 175,298.0 2.2 8 ฉะเชิงเทรา 168,779.5 9 สงขลา 152,013.1 1.9 10 นครราชสีมา 134,909.6 1.7 ทั่วราชอาณาจักร 7,816,474.0 100 ลำดับที่ จังหวัด มูลค่า(ล้านบาท) % 1 แม่ฮ่องสอน 8,405.9 0.11 2 อำนาจเจริญ 10,199.0 0.13 3 มุกดาหาร 11,089.2 0.14 4 หนองบัวลำภู 13,004.3 0.17 5 สมุทรสงคราม 13,112.6 6 ระนอง 15,511.7 0.20 7 นครนายก 15,656.9 8 อุทัยธานี 16,327.8 0.21 9 ยโสธร 16,765.8 10 ตราด 18,036.7 0.23 ทั่วราชอาณาจักร 7,816,474.0 100 EC210 2/2552

94 GDPไม่สามารถวัดความสุขของมนุษย์ได้
รายได้ประชาชาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ เวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน (leisure) ของบุคคล GDP51 = 500 ล้านบาท GDP54 = 1,000 ล้านบาท ทำงาน 8 ชั่วโมง / วัน ทำงาน 20 ชั่วโมง/วัน EC210 2/2552

95 6.9 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความสำคัญของผลิตภาพ (Productivity)
การเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มขึ้นของ GDP GDP Growth = GDPt – GDPt-1 GDPt-1 GDPt : รายได้ประชาชาติของปีปัจจุบัน GDPt-1 : รายได้ประชาชาติของปีก่อน X 100 EC210 2/2552

96 การเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย คือ
การเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต: เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากรประเทศ การนำทรัพยากรธรรมชาติใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการผลิต การพัฒนาคุณภาพของปัจจัยการผลิต (ใช้ปัจจัยเท่าเดิม แต่ผลิตได้มากขึ้น): คือ การพัฒนาผลิตภาพนั่นเอง ผลิตภาพ (Productivity) คือ ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยปัจจัยการผลิต Productivity = Output Input ผลิตภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกำหนดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (อย่างยั่งยืน) ของประเทศ การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ สามารถเกิดได้จากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี และ การพัฒนาความรู้ความสามารถในการผลิตสินค้าอื่นๆ EC210 2/2552

97 www. ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Productivity Index) ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory) ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังต่อการส่งสินค้า (Inventory Ratio Index) EC210 2/2552

98 6.10 ปัญหาของระบบเศรษฐกิจ: เงินเฟ้อ และ เงินฝืด สาเหตุและผลกระทบ
ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน "เงินเฟ้อ" หมายความว่า "ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไปทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า" "เงินฝืด" หมายความว่า "ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก" ปัจจุบันในทางเศรษฐศาสตร์ เงินเฟ้อ หรือ Inflation จะมีความหมายอีกความหมายหนึ่งนั่นคือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา (Price Index) ซึ่งหมายถึงภาวะสินค้าราคาแพงขึ้น EC210 2/2552

99 สาเหตุของเงินเฟ้อ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ (Demand – pull inflation)
เกิดจากการที่อุปสงค์มวลรวมมีมากกว่าอุปทานมวลรวม ณ ระดับราคาที่เป็นอยู่ จะมีผลทําให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น อาจเนื่องมาจาก ความต้องการใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น  การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น GDP เพิ่ม ก็จะเกิดปัญหา เงินเฟ้อตามมาได้ ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แรงผลักดันด้านต้นทุน (Cost – push inflation) เกิดจากการผลักดันของต้นทุนการผลิต (ทางด้าน Supply) การเรียกร้องขึ้นค่าแรงของคนงาน ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ หรือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ EC210 2/2552

100 ผลกระทบของเงินเฟ้อ ผลกระทบต่อผู้ที่มีรายได้คงที่ / คนกินเงินเดือน
ค่าของหน่วยเงินตราจะลดลง ทำให้อำนาจการซื้อต่ำลง ผลกระทบตอบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ ทำให้ภาระหนี้ที่แท้จริงลดต่ำลง ลูกหนี้ : ได้รับผลดี (เหมือนคืนเงินมูลค่าน้อยลง) เจ้าหนี้ : ต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กับ เงินเฟ้อให้ดี ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ / ผู้ผลิต หากราคาสินค้าสูงขึ้น มากกว่า ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผปก.จะได้กำไร EC210 2/2552

101 ผลกระทบของเงินเฟ้อ ผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่งเสริมให้การใช้ทรัพยากรไม่เกิดประโยชน์ เช่น การเก็งกำไร ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจนำเงินออกนอกประเทศ ทำให้ ภาครัฐ จำเป็นต้องแทรกแซงกลไกตลาด เช่น การกำหนดราคาขั้นสูง EC210 2/2552

102 บทที่ 7: บทบาทของภาครัฐบาล และนโยบายการคลัง
บทที่ 7: บทบาทของภาครัฐบาล และนโยบายการคลัง EC210 2/2552

103 Outline 7.1 ความนำ: เหตุผลที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ
7.2 ความหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง 7.3 เครื่องมือของนโยบายการคลัง งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล (Government expenditure) งบประมาณรายรับของรัฐบาล (Governmentt revenue) หนี้สาธารณะ (Public debt) EC210 2/2552

104 Outline 7.4 ประเภทของนโยบายการคลัง จำแนกตามลักษณะการทำงานของนโยบาย
นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ (Non-Discretionary Policy or Built-In Stabilizer) นโยบายการคลังแบบตั้งใจ หรือ แบบดุลพินิจ (Discretionary Policy) จำแนกไปตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy) EC210 2/2552

105 22 ม.ค.2552: คลังเล็งเก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง-มรดก
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมพิจารณาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง แต่การเก็บภาษีดังกล่าวจะต้องสร้างความเป็นธรรม มีการกำหนดโครงสร้างจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม ส.ส.ทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล เห็นตรงกัน ค้านกฎหมายภาษีที่ดิน-มรดก “พิเชษฐ” ปัดขวาง แต่ให้ศึกษาให้ดี หวั่นภาษีมรดกทำครอบครัวแตกแยก ลูกทอดทิ้งบุพการี เหตุเลี่ยงภาษีโอนก่อนตาย อ้างหลายประเทศ (อังกฤษ/ญี่ปุ่น) กำลังยกเลิก EC210 2/2552

106 7.1 ความนำ: เหตุผลที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าการทำงานของตลาดนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรแทรกแซง ยกเว้นในกรณีที่การทำงานของตลาดโดยธรรมชาติ ไม่สามารถทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นที่ต้องการของสังคม ความล้มเหลวของตลาด (Market Failure) อำนาจผูกขาด (monopoly power) สินค้าสาธารณะ (public goods) ผลกระทบภายนอก (externalities) EC210 2/2552

107 วัตถุประสงค์ในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจของภาครัฐ
นอกจากปัญหาความล้มเหลวของตลาด (Market Failure) รัฐบาลยังมีบทบาทสำคัญในด้านอื่นๆ และมีวัตถุประสงค์อื่นในการแทรกแซง เพื่อการจัดสรรทรัพยากรใหม่ (Reallocation of resources) เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (Economic stability) เพื่อสนับสนุนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth) เพื่อสนับสนุนให้มีการจ้างงานเต็มที่ (Full employment) เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องรายได้แก่ประชาชน (Equal distribution of income) เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Quality of life and environment) EC210 2/2552

108 สภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจขยายตัว (Expansion or Boom)
GDP เพิ่มขึ้น เงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ยที่สูง เศรษฐกิจถดถอย (Contraction or Recession) GDP ลดลง การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น, เงินฝืด EC210 2/2552

109 ความสัมพันธ์ของนโยบายต่างๆ กับระบบเศรษฐกิจ
ภาษี ระดับราคา นโยบายการคลัง การใช้จ่ายของรัฐ ระบบเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย ผลผลิต นโยบายการเงิน ปริมาณเงิน โควต้า ภาษีการค้า นโยบายการค้า การจ้างงาน อัตราแลกเปลี่ยน EC210 2/2552

110 7.2 ความหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) นโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้และรายจ่ายของรัฐเป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวทางเป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ครัวเรือน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล เงินออม การลงทุน ภาษี รายจ่ายของรัฐบาล สินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

111 เป้าหมายที่สำคัญของนโยบายการคลัง
1. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3. การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม EC210 2/2552

112 เป้าหมายที่ 1 การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเพิ่มขึ้นของ GDP (สินค้าและบริการหรือผลผลิตมวลรวม) อย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับที่เหมาะสม Example: เมื่อเกิดเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย แก้ไขโดย เพิ่มการใช้จ่ายหรือใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ลดภาษีเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนให้เพิ่มขึ้น EC210 2/2552

113 เป้าหมายที่ 2 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภายในประเทศ – ป้องกันมิให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็วและผันผวนเกินไป, ป้องกันมิให้เกิดการว่างงานในอัตราที่สูง Example: ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดการใช้จ่ายหรือใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล เพิ่มภาษีเพื่อลดการบริโภค ภายนอกประเทศ – ดูแลดุลการค้า ดุลการชำระเงิน เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เหมาะสม Example: ปัญหาการขาดดุลการค้า การใช้มาตรการภาษี (เช่น ภาษีศุลกากร) ที่ช่วยส่งเสริมการส่งออกและลดการนำเข้า EC210 2/2552

114 เป้าหมายที่ 3 การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
กระจายความเจริญไปสู่ประชาชนอย่างยุติธรรม และลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน Example: การจัดสรรงบประมาณสู่ชนบท การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า, ภาษีมรดก, ภาษีที่ดิน EC210 2/2552

115 GOVERNMENT; ARE YOU OK? EC210 2/2552

116 7.3 เครื่องมือของนโยบายการคลัง
งบประมาณแผ่นดิน แผนการเงินของรัฐบาล ประกอบด้วยประมาณการรายได้และรายจ่าย รวมทั้งการจัดหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามประมาณการรายจ่ายในช่วงระยะเวลา 1 ปี (ปีงบประมาณ 2551 เริ่ม 1 ต.ค ก.ย. 2551) ลักษณะของการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเกินดุล (Budget Surplus) รายได้ > รายจ่าย ออม (เงินคงคลัง) งบประมาณสมดุล (Balance Budget) รายได้ = รายจ่าย งบประมาณขาดดุล (Budget Deficit) รายได้ < รายจ่าย กู้ยืม (ก่อหนี้สาธารณะ) เราไม่ใช่คำว่า “รายรับ” เพราะ รายรับทั้งหมด = รายได้ + เงินกู้ + เงินคงคลัง EC210 2/2552

117 เครื่องมือของนโยบายการคลังประกอบด้วย
งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล (Gov’t expenditure) การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือลงทุนของรัฐบาล และรายจ่ายเงินโอนของรัฐบาล งบประมาณรายได้ของรัฐบาล (Gov’t revenue) การเก็บภาษีรูปแบบต่างๆ และการขายสินทรัพย์หรือบริการของรัฐบาล หนี้สาธารณะ (Public debt) การกู้เงินของรัฐบาล EC210 2/2552

118 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
ออก พันธบัตรกู้เงินในประเทศ 8 แสนล้าน ขึ้นภาษีสรรพสามิต นำกำไรจากหวยบนดิน 17,000 ล้านบาท มาใช้ และเตรียมฟื้นฟูกิจการหวยบนดิน แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 รัฐวางแผนอะไรบ้างนะ ตัดงบกระทรวง ตัดโบนัสข้าราชการ ก่อหนี้ต่างประเทศ(เบื้องต้น 7 หมื่นล้าน ) EC210 2/2552

119 2 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
ตารางแสดง รายได้ รายจ่าย และรายการทางการเงินอื่นๆ ของรัฐบาล ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ รายการ(ล้านบาท) 2 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2547 2548 2549 2550 2551 2552 รายได้ 503,757 523,082 559,249 605,923 630,670 559,886 รายจ่าย 548,134 589,423 706,097 715,544 790,179 920,933 ดุลเงินในงบประมาณ -44,377 -66,341 -146,848 -109,621 -159,509 -361,047 ดุลเงินนอกงบประมาณ 16,241 2,672 8,975 -43,494 -23,734 -29,117 ดุลเงินสด -28,136 -63,669 -137,873 -153,115 -183,243 -390,164 การชดเชยดุลเงินสด 28,136 63,669 137,873 153,115 183,243 390,164 กู้ยืมในประเทศสุทธิ -53,296 -36,015 68,318 107,246 102,658 220,369 - ธนาคารแห่งประเทศไทย 5,942 -11,872 701 2,077 -30,397 -3,998 - สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน -62,782 -23,235 9,374 39,740 -51,897 95,171 - สถาบันการเงินอื่น 5,901 10,262 40,081 48,997 91,815 120,248 - อื่น ๆ -2,357 -11,170 18,162 16,432 93,137 8,948 กู้ยืมต่างประเทศสุทธิ -11,770 -10,786 -11,483 -21,903 -7,713 -8,908 พันธบัตรรัฐบาลสำหรับ FIDF และสถาบันการเงิน 30,000 30,300 41,039 17,000 -2,384 ให้กู้แก่ FIDF และสถาบันการเงิน -30,000 -30,300 -41,039 -17,000 2,384 การใช้เงินคงคลัง 93,202 110,470 81,038 67,772 88,298 178,703 EC210 2/2552

120 ฐานะการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2539 - 2552
หน่วย: พันล้านบาท 1,951,700 รายจ่าย 850,026 1,604,640 781,520 รายได้ 68,506 - จากแผนภาพข้างต้น จะเห็นว่ารัฐบาลพยายามจัดทำงบประมาณแบบสมดุล คือ ใช้จ่ายเท่ากับที่หารายได้มา - ในปีงบประมาณ 2548 นี้ แม้ว่าจะมีการตั้งงบประมาณที่สมดุลเมื่อต้นปี แต่การที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บภาษี ทำให้เรามีดุลงบประมาณเกินดุลเป็นปีแรก -347,061 ดุลงบประมาณ EC210 2/2552

121 1. งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล (Gov’t expenditure)
รายจ่ายรัฐบาลสามารถจำแนกออกได้เป็น รายจ่ายเพื่อการลงทุน (Investment Expenditure - Gk) รายจ่ายเพื่อการบริโภคหรือรายจ่ายประจำ (Consumption Expenditure - Gc) รายจ่ายเงินโอน (Transfer Expenditure - R) เงินให้เปล่าที่รัฐบาลให้กับบุคคลหรือหน่วยงานโดยที่ไม่ได้ผลตอบแทนในการผลิต เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ เงินสงเคราะห์ต่างๆ EC210 2/2552

122 มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจรอบแรก(งบกลางปี 2551) จำนวน(ล้านบาท)
โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ 18,970 โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน 11,409 โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเกษตรกร 2,000 โครงการถนนปลอดฝุ่น 1,500 โครงการจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้แก่ประชาชนรายได้น้อย 1,000 โครงการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก 760 โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม 500 โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ 325 โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษา ไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 19,000 โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน 15,200 โครงการสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ 9,000 โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน 6,900 โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3,000 โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 1,808 โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย 1,096 เงินสำรองจ่ายฉุกเฉิน 2,391 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,140 รวมเป็นวงเงิน 114,999 EC210 2/2552

123 2. งบประมาณรายได้ของรัฐบาล (Gov’t revenue)
รายได้ของรัฐบาลสามารถจำแนกออกได้เป็น รายได้จากการเก็บภาษี (Tax revenue) ภาษีเงินได้ประเภทต่างๆ, ภาษีศุลกากร, ภาษีสรรพสามิตร รายได้ที่มิใช่ภาษี (Non-Tax revenue) รายได้จากค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆ, รายได้จากการขายหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ EC210 2/2552

124 ประมาณการรายรับ ปี 2551 EC210 2/2552

125 ประเภทของภาษี ภาษีทางตรง (Direct tax) ภาษีทางอ้อม (Indirect tax)
ภาษีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้แบกรับภาระของภาษีนั้นทั้งหมดโดยไม่สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีมรดก ภาษีทางอ้อม (Indirect tax) ภาษีที่ผู้ที่ผู้เสียภาษีไม่ต้องแบกรับภาระของภาษีนั้นทั้งหมด โดยสามารถผลักภาระภาษีทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ไปยังผู้อื่นได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีศุลกากร, ภาษีสรรพสามิต EC210 2/2552

126 โครงสร้างอัตราภาษี ฐานภาษี : สิ่งที่รองรับการคำนวณภาษี ได้แก่
ลักษณะความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงในอัตราภาษีกับฐานภาษี ฐานภาษี : สิ่งที่รองรับการคำนวณภาษี ได้แก่ ฐานจากรายได้ : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล ฐานจากการบริโภค: ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสารมิตร ฐานจากการค้าระหว่างประเทศ: ภาษีการนำเข้าและส่งออก EC210 2/2552

127 อัตราภาษี 1. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive tax rate):
อัตราภาษีเพิ่มเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. อัตราภาษีแบบคงที่ (Proportional tax rate): อัตราภาษีคงที่เมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) , ภาษีเงินได้นิติบุคคล (30%) 3. อัตราภาษีแบบถดถอย (Regressive tax rate): อัตราภาษีลดลงเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น EC210 2/2552

128 ตัวอย่างการคิดภาษีแต่ละรูปแบบ
EC210 2/2552

129 โครงสร้างภาษีแบบก้าวหน้า (คิดอัตราเดียวกันทั้งฐานภาษี)
อัตราภาษี รายได้ จำนวนภาษี 0-1000 10% 1000 100 (1000 x 0.10) 12% 2000 240 (2000 x 0.12) 15% 3000 450 (3000 x 0.15) เมื่อฐานภาษีเพิ่ม อัตราภาษีจะเพิ่มตามไปด้วย EC210 2/2552

130 โครงสร้างภาษีแบบก้าวหน้า (คิดแบบขั้นบันได)
ฐานภาษี อัตราภาษี รายได้ จำนวนภาษี 0-1000 10% 1000 100 12% 2000 =220 15% 3000 = 370 EC210 2/2552

131 โครงสร้างภาษีแบบคงที่
ฐานภาษี อัตราภาษี รายได้ จำนวนภาษี 0-1000 10% 1000 100 2000 200 3000 300 เมื่อฐานภาษีเพิ่ม อัตราภาษีจะคงที่ EC210 2/2552

132 โครงสร้างภาษีแบบถดถอย (คิดอัตราเดียวกันทั้งฐานภาษี)
อัตราภาษี รายได้ จำนวนภาษี 0-1000 15% 1000 150 (1000 x 0.15) 12% 2000 240 (2000 x 0.12) 10% 3000 300 (3000 x 0.10) เมื่อฐานภาษีเพิ่ม อัตราภาษีจะลดลง EC210 2/2552

133 ตัวอย่างลักษณะการเก็บภาษีที่เทียบเคียง โครงสร้างภาษีแบบถดถอย (ข้อสังเกตเพิ่มเติม)
เมื่อผู้ผลิตถูกเก็บภาษีต่อหน่วย (ไม่ได้คิดตามมูลค่าของสินค้า) เช่น การเก็บภาษีต่อหน่วย ชิ้นละ 100 บาท หากสินค้าราคา 1000 บาท .... เท่ากับการเก็บภาษี 10% ของมูลค่า หากสินค้าราคา 5000 บาท .... เท่ากับการเก็บภาษี 2% ของมูลค่า ผลที่เกิดจากการเก็บภาษีแบบนี้.... ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะซื้อของราคาสูง คุณภาพดี ?? EC210 2/2552

134 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีดังนี้ เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ แต่ละขั้น อัตราภาษี ร้อยละ ภาษีแต่ละขั้น ภาษีสะสม สูงสุดของขั้น ,000 150,000 ได้รับยกเว้น - 150, ,000 350,000 10 35,000 500, ,000,000 500,000 20 100,000 135,000 1,000, ,000,000 3,000,000 30 900,000 1,035,000 4,000,001 บาทขึ้นไป 37 ที่มา หมายเหตุ :- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ ) EC210 2/2552

135 วิธีการคำนวณรายได้สุทธิ (หาทางทำให้รายได้สุทธิลดลง)
รายได้สุทธิ = รายได้ทุกทาง – ค่าใช้จ่าย 40% (ไม่เกิน 60,000) – ลดหย่อนต่างๆ ได้แก่ 1. หักลดหย่อนคู่สมรส---> คู่สมรสมีเงินได้, คู่สมรสไม่มีเงินได้ 2. หักลดหย่อนบุตร ---> มีบุตรกี่คน, บุตรที่ได้เรียน, บุตรที่ไม่ได้เรียน 3. หักลดหย่อนบิดามาราดา (ลูกกตัญญู) บิดามารดาไม่มีรายได้ 4. เงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับข้าราชการ) 5. ทำประกันชีวิต (Max 100,000บ.) 6. ค่าลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย (ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านไม่เกิน 200,000 บาท) 7. LTF 8. RMF และยังมีวิธีอื่นอีก เช่น เงินบริจาค EC210 2/2552

136 ประเภทภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ฐานภาษี อัตราภาษี
ภาษีเงินได้บุคคธรรมดา บุคคลธรรมดา และ เทียบเท่า เงินได้ 8 ประเภท เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า อัตราก้าวหน้า (5%-37%) ภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคล กำไรสุทธิ อัตราคงที่ (30% คิดจากกำไรสุทธิ) ภาษีสรรพสารมิตร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (ผู้ผลิต) ราคาหรือปริมาณสินค้า อัตราภาษีตามมูลค่าสินค้า หรือตามปริมาณ ภาษีศุลกากร ผู้นำเข้าส่งออก ราคาประเมินสินค้าที่นำเข้าและส่งออก อัตราอากรขาเข้าและขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ รายรับจากการขายสินค้า (7%) EC210 2/2552

137 3. หนี้สาธารณะ (Public debt)
รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมในกรณีที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ (งบประมาณขาดดุล – Budget deficit) วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลชั่วคราว เพื่อใช้ในการลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ หนี้ระยะสั้น ตั๋วเงินคลัง (กู้จากแบงค์ชาติ) แก้ปัญหาสภาพคล่อง หนี้ระยะยาว พันธบัตรรัฐบาล กู้เพื่อการลงทุน EC210 2/2552

138 Rangsit Sapan mai Pranang-klao Bang Yai Dual rail track Lat phrao
Prannok-Samut Prakarn Sapan mai-Bang wah Inner ring road Sapan mai Bang Yai-Rachaburana Bangbamru-Bangkapi Rangsit-Mahachai Pranang-klao Bang Yai Talingchan-Suvarnabhumi Dual rail track Lat phrao Bangbamru Talingchan Bangkapi Prannok Ladkrabang Bang Khae Onnut Rachaburana Underground EC210 2/2552 Samrong Sky train

139 สัดส่วนหนี้สาธารณะ 37% 3.4 ล้านล้านบาท
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551 37% DEBT/GDP 3.7 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2552 DEBT/GDP 40.9% EC210 2/2552

140 ความเสี่ยงทางการคลัง
ครม.อนุมัติวงเงินกู้ 270,000 ล้านบาท โดยวงเงินกู้ 70,000 ล้านบาท จากสถาบันการเงินต่างประเทศ เพื่อนำเงินไปฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มทุนให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยกู้ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม อสังหาริมทรัพย์ ส่งออก ที่ขาดสภาพคล่องในปัจจุบัน ค้ำประกันให้แก่ผู้ส่งออกและรายย่อย และเพื่อการลงทุนในโครงการภาครัฐที่มีกรอบดำเนินงานไม่เกิน 36 เดือน วงเงินกู้อีก 200,000 ล้านบาท เป็นการกู้เงินระยะสั้นจากธนาคารในประเทศและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยกำหนดเวลากู้ 3 ปี สำรองไว้ให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินของรัฐกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง กระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินเต็มจำนวนหรือบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนการค้ำประกัน และเพื่อให้ภาระการค้ำประกันอยู่ในกรอบเพดานแต่ละปี EC210 2/2552

141 Source and effect of debt
แหล่งที่มาของเงินกู้ จากภายในประเทศ พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง จากต่างประเทศ อาจต้องตอบแทนประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศผู้ให้กู้ในลักษณะดอกเบี้ย หรือ การยอมทำตามข้อบังคับอื่นๆ Example: กู้จาก IMF ผลกระทบของการก่อหนี้สาธารณะ ต่อการจัดสรรทรัพยากร ต่อภาวะตลาดเงินและการลงทุน ต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐ ต่อการกระจายรายได้ ต่ออุปสงค์มวลรวมและเสถียรภาพราคา EC210 2/2552

142 7.4 ประเภทของนโยบายการคลัง
มีวิธีการจำแนกได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1. จำแนกตามลักษณะการทำงานของนโยบาย 1.1 นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ (Non-Discretionary Policy or Built-in Stabilizer) 1.2 นโยบายการคลังแบบตั้งใจหรือ แบบดุลพินิจ(Discretionary Policy) 2. จำแนกตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข 2.1 นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) 2.2 นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy) EC210 2/2552

143 1. จำแนกตามลักษณะการทำงานของนโยบาย
1.1 นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ (Non-Discretionary Policy or Built-In Stabilizer) สามารถปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจได้โดยอัตโนมัติโดยที่รัฐบาลไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ภาษีเงินได้ ที่เก็บในอัตราก้าวหน้า เงินโอนและเงินช่วยเหลือ EC210 2/2552

144 เศรษฐกิจขยายตัว เศรษฐกิจหดตัว EC210 2/2552
ภาษีเงินได้ที่เก็บในอัตราก้าวหน้า ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงถูกเก็บภาษีรายได้ที่อัตราสูงขึ้น เงินโอนและเงินช่วยเหลือ มีประชาชนเดือดร้อนลดลง รัฐบาลจึงลดการช่วยเหลือผ่านเงินโอน เศรษฐกิจหดตัว ประชาชนมีรายได้ลดลง จึงถูกเก็บภาษีรายได้ที่อัตราลดลง มีประชาชนเดือดร้อนเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงเพิ่มการช่วยเหลือผ่านเงินโอน EC210 2/2552

145 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs)
หลักเกณฑ์/เงื่อนไข ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อม จากร้อยละ 30 เหลือ ต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท     -ร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท ต้องเป็นกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป     -ร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 ที่มา EC210 2/2552

146 1.2 นโยบายการคลังแบบตั้งใจ หรือ ดุลยพินิจ (Discretionary Policy)
ในกรณีที่เศรษฐกิจมีความผันผวนมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน รัฐจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังแบบตั้งใจ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี (T) การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาล (G) EC210 2/2552

147 การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี (T)
อัตราภาษีสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีรายได้เพื่อการบริโภคลดลง GDP = C + I + G + (X-M) อัตราภาษีลดลงทำให้ประชาชนมีรายได้เพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น GDP = C + I + G + (X-M) EC210 2/2552

148 การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาล (G)
การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายจ่ายรวมไปซื้อสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น GDP = C + I + G + (X-M) การลดการใช้จ่ายของรัฐบาลจะส่งผลให้รายได้ประชาชาติลดลง EC210 2/2552

149 2. จำแนกไปตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข
2.1 นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) ใช้ในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดการว่างงาน การลดอัตราภาษี (T) และ(หรือ) การเพิ่มการใช้จ่ายรัฐบาล (G) เป็นการใช้งบประมาณแบบขาดดุล เพื่อยกระดับรายจ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจ EC210 2/2552

150 GDP = C + I + G + (X-M) GDP = C + I + G + (X-M) การลดภาษีรายได้ (T)
EC210 2/2552

151 2.2 นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy)
ในกรณีที่ต้องการให้เศรษฐกิจชะลอการขยายตัวเพื่อแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มอัตราภาษี (T) และ(หรือ) การลดการใช้จ่ายรัฐบาล (G) เป็นการตั้งงบประมาณเกินดุล เพื่อลดความต้องการใช้จ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ EC210 2/2552

152 GDP = C + I + G + (X-M) GDP = C + I + G + (X-M) การเพิ่มภาษีรายได้ (T)
EC210 2/2552

153 ข้อด้อยของนโยบายการคลังแบบตั้งใจ (นโยบายการคลังแบบขยายตัว & หดตัว)
ความล่าช้าของระบบการทำงาน (Response Lag) ความไม่คล่องตัวในการยกเลิกมาตรการที่ใช้ในการแก้ปัญหา (Reversibility) การคาดคะเนของครัวเรือน เหตุผลทางการเมือง EC210 2/2552

154 บทที่ 8: บทบาทของการเงินและนโยบายการเงิน
บทที่ 8: บทบาทของการเงินและนโยบายการเงิน EC210 2/2552

155 Outline 8.1 ความหมาย หน้าที่ และประเภทของเงิน
8.2 หน้าที่และโครงสร้างของตลาดการเงิน (Financial Market) และความแตกต่างระหว่างตลาดเงิน (Money Market) และตลาดทุน (Capital Market) 8.3 การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 8.4 การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดเงิน อุปสงค์เงิน (Money Demand) อุปทานเงิน (Money Supply) ดุลยภาพของตลาดเงิน (Money Market Equilibrium) EC210 2/2552

156 Outline 8.5 ความหมายและบทบาทนโยบายการเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ความหมายของนโยบายการเงิน และเครื่องมือทางการเงิน ประเภทของนโยบายการเงิน แบบขยายตัว (Expansionary Policy) แบบหดตัว (Contractionary Policy) บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยกับเศรษฐกิจไทย EC210 2/2552

157 8.1 ความหมาย หน้าที่ และประเภทของเงิน
EC210 2/2552

158 ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter system)
นำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง (ใช้ในสังคมหรือระบบเศรษฐกิจยุคต้นๆ ที่ไม่ซับซ้อน) ปัญหาความยากลำบากในการแลกเปลี่ยน คู่ค้าต้องเกิดความต้องการในสินค้าที่อีกฝ่ายมีพร้อมๆ กัน(Double Coincidence of Wants!!!) EC210 2/2552

159 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน & ภาคธุรกิจ
สินค้าและบริการ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) EC210 2/2552

160 ความหมายของเงิน (What is Money?)
เงินคือสิ่งใดๆ ที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการรวมทั้งใช้เพื่อการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เงิน หมายถึง อำนาจซื้อ (Purchasing Power) ที่จะซื้อสินค้าหรือบริการที่เราต้องการจะนำมาบำบัดความต้องการของเรา ในทางกฏหมาย เงิน คือ สิ่งที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย EC210 2/2552

161 ระบบเศรษฐกิจแบบปิด: ภาคครัวเรือน & ภาคธุรกิจ
รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

162 หน้าที่ของเงิน (Functions of Money)
สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) หน่วยวัดมูลค่า (Unit of account) ตัวเก็บรักษามูลค่า (Store of value) มาตราฐานการชำระหนี้ ภายหน้า (Standard of deferred payments) EC210 2/2552

163 ประเภทของเงิน เงินที่เป็นสิ่งของ (Commodity money) เงินเหรียญ (Coins)
เงินกระดาษ (Paper money) เงินฝากกระแสรายวัน (Demand deposits) EC210 2/2552

164 เกร็ดความรู้ ในปัจจุบัน รัฐบาล หรือธนาคารกลาง จะมีสิทธิออกธนบัตรได้แต่เพียงผู้เดียว และเป็นสิ่งที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเท่านั้น เงินกระดาษ หรือธนบัตรในประเทศไทย จะต้องมีเงินสำรองระหว่างประเทศ (reserves assets) เช่น ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ต่างประเทศ ฯลฯ รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนธนบัตรที่ออกใช้ และหลักทรัพย์ต่างประเทศจะต้องมีอายุไถ่ถอนได้ไม่เกินสามปี EC210 2/2552

165 ประเภทของเงิน (ต่อ) สิ่งที่ใกล้เคียงเงิน (Near money): พันธบัตร, ตั๋วเงิน สิ่งทดแทนเงิน (Money substitutes): บัตรเครดิต EC210 2/2552

166 8.2 หน้าที่และโครงสร้างของตลาดการเงิน และความแตกต่างระหว่างตลาดเงิน และตลาดทุน
EC210 2/2552

167 ตลาดการเงิน (Financial Market)
มีหน้าที่สำคัญทางเศรษฐกิจในการเป็นช่องทางช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งผ่านเงินหรือโอนเงิน จาก ผู้ที่มีเงินออม (รายได้ > รายจ่าย) ไปยังผู้ที่อยากกู้เงิน (รายได้ < รายจ่าย) ตลาดการเงิน (Financial Market) – Direct finance ตลาดพันธบัตร (Bond market) ตลาดหลักทรัพย์ (Stock market) EC210 2/2552

168 ตัวกลางในการระดมเงินทุน
Financial Intermediaries – Indirect finance ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางทางการเงินเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ได้แก่ ธนาคารพานิชย์ (Banks) บริษัทประกันภัย (Non-bank: Insurance Companies ) สถาบันการเงินอื่นๆ (Other financial companies) EC210 2/2552

169 การลงทุน+ใช้จ่าย ตัวกลางในการระดมเงินทุน (Financial Intermediaries)
Indirect finance ตัวกลางในการระดมเงินทุน (Financial Intermediaries) เงิน เงิน เงิน ผู้มีเงินออม (Lender) ผู้กู้ (Borrower) เงิน ตลาดการเงิน (Financial Market) เงิน Direct finance การลงทุน+ใช้จ่าย EC210 2/2552

170 ความแตกต่างระหว่างตลาดเงิน และตลาดทุน
โครงสร้างตลาดการเงิน แบ่งตามระยะเวลาของตราสารหนี้ ตลาดเงิน (Money Market) ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี การซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วเงินคลัง ตลาดทุน (Capital Market) ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและให้สินเชื่อระยะยาว ได้แก่ เงินฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เช่น หุ้นสามัญ (Common stocks) พันธบัตรระยะยาว (Long-term bonds) EC210 2/2552

171 แหล่งความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเงินและตลาดทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย EC210 2/2552

172 ความสำคัญของตลาดการเงิน
ก่อให้เกิดการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาอัตราการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ช่วยปรับสภาวะทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการในกรณีที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงินที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้มาตราฐานในการครองชีพของทุกคนในสังคมนั้นๆ ดีขึ้น EC210 2/2552

173 8.3 การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์
EC210 2/2552

174 กระบวนการสร้างเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์
เงินฝากครั้งแรก (Primary deposits) เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากครั้งต่อไป (Derivative deposits) เงินฝากที่เกิดจากการให้ลูกค้าของธ.พาณิชย์กู้ยืม ก่อนที่ธ.พาณิชย์จะปล่อยกู้เงินได้ จะต้องสำรองเงินสดไว้ตามอัตราส่วนที่ธนาคารกลางกำหนด อัตราส่วนร้อยละ (%) ของเงินฝากนี้ เรียกว่า อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Required reserve ratio) EC210 2/2552

175 ศัพท์ที่ควรรู้ เงินสดสำรองตามกฎหมาย (Required reserve)
จำนวนเงินสดที่ธ.พาณิชย์ต้องสำรองไว้ เมื่อเทียบกับเงินฝากกระแสรายวัน เงินสดสำรองส่วนเกิน (Excess reserve) จำนวนเงินสดที่เหลือทั้งสิ้นหลังจากหักเงินสดสำรองตามกฎหมายออกแล้ว เงินสดสำรองทั้งสิ้น = เงินสดสำรองตามกฎหมาย + เงินสดสำรองส่วนเกิน EC210 2/2552

176 Example: สมมติให้ นาย ก. นำเงินสด 1,000 บาท ไปฝากที่ธนาคาร A โดย ธปท
ธนาคาร A ต้องสำรองเงินสดตามกฎหมายเป็นจำนวน 100 = (1,000 x 0.1) บาท และให้กู้ได้ 900 บาท ถ้านาย ข. กู้เงิน 900 บาทจากธนาคาร A แล้วนำไปฝากที่ธนาคาร B แล้วธนาคาร B จะต้องสำรองเงินสดตามกฎหมายเป็นจำนวนเท่าไร ??? 90 = (900 x 0.1) 810 = (900 – 90) EC210 2/2552

177 Assumptions (การคำนวณการสร้างเงินฝาก):
1. ธนาคารไม่เก็บสำรองอื่นๆ นอกจากเงินสดสำรองตามกฎหมาย 2. ประชาชนต้องฝากเงินกับธนาคารทั้งหมด ไม่มีการถอนเงินฝากขั้นต้น 3. ธนาคารต้องให้กู้ยืมเงินสดสำรองส่วนเกินทั้งหมด EC210 2/2552

178 กระบวนการสร้างเงินฝาก
ธนาคาร เงินฝาก เงินสดสำรองตามกฏหมาย เงินสดสำรองส่วนเกิน เงินให้กู้ A 1,000 100 900 B 90 810 C 81 729 D 72.9 656.1 E 65.61 590.49 รวม 10,000 9,000 EC210 2/2552

179 Example: จะเกิดอะไรขึ้น หากธปท
ธนาคาร A ต้องสำรองเงินสดตามกฎหมายเป็นจำนวน 200 = (2,000 x 0.2) บาท และให้กู้ได้ 800 บาท ถ้านาย ข. กู้เงิน 800 บาทจากธนาคาร A แล้วนำไปฝากที่ธนาคาร B แล้วธนาคาร B จะต้องสำรองเงินสดตามกฎหมายเป็นจำนวนเท่าไร ??? 160 = (800 x 0.2) 640 = (800 – 160) EC210 2/2552

180 กระบวนการสร้างเงินฝาก
ธนาคาร เงินฝาก เงินสดสำรองตามกฏหมาย เงินสดสำรองส่วนเกิน เงินให้กู้ A 1,000 200 800 B 160 640 C รวม 5,000 4,000 เงินฝากทั้งหมด จะลดลง หากอัตราสำรองเงินสดตามกฎหมายเพิ่มขึ้น EC210 2/2552

181 คลิปโฆษณา... เงินกำลังจะหมุนไป กำลังจะหมุนไป
Visit: EC210 2/2552

182 8.5 ความหมายและบทบาทนโยบายการเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
EC210 2/2552

183 นโยบายการเงิน (Monetary Policy)
การดูแลและจัดการปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ***ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)*** เป้าหมายที่สำคัญของนโยบายการเงิน 1. การสร้างความเจริญเติบโตและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. การรักษาเสถียรภาพทางราคา 3. การรักษาเสถียรภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ 4. การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม EC210 2/2552

184 บทบาทของธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
1. ออกธนบัตรให้มีปริมาณที่เหมาะสม ( ควบคุมปริมาณเงิน) 2. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล 3. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ 4. กำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ 5. รักษาเสถียรภาพภายใน (ระดับราคา) และเสถียรภาพภายนอกประเทศ (อัตราแลกเปลี่ยน, ดูแลและควบคุมการไหลเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ) 6. บริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ EC210 2/2552

185 เครื่องมือของนโยบายทางการเงิน
1. การควบคุมด้านปริมาณเงิน (Quantitative Control) 2. การควบคุมด้านคุณภาพ (Qualitative Control) 3. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) EC210 2/2552

186 1. การควบคุมด้านปริมาณเงิน (Quantitative Control)
อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Legal Reserve Requirement) การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองทำให้ ธ. พาณิชย์ต้องขายหลักทรัพย์ของตนออกไปหรือเรียกเงินกู้คืน ทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง การลดอัตราเงินสดสำรองทำให้ ธ. พาณิชย์มีเงินสดสำลองส่วนเกิน ทำให้ ธ. พาณิชย์ปล่อยกู้ได้มากขึ้น ดังนั้นปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น EC210 2/2552

187 กระบวนการสร้างเงินฝาก ตัวอย่างเงินสดสำรองตามกม. = 10%
ธนาคาร เงินฝาก เงินสดสำรองตามกฏหมาย เงินสดสำรองส่วนเกิน เงินให้กู้ A 1,000 100 900 B 90 810 C 81 729 D 72.9 656.1 E 65.61 590.49 รวม 10,000 9,000 EC210 2/2552

188 ประชาชนได้รับเงินคืน
การซื้อขายหลักทรัพย์ของรัฐบาลในตลาด (Open-Market Operations: OMO) ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ (เช่น พันธบัตร) จะส่งผลทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์จะส่งผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น ขายหลักทรัพย์ ประชาชนนำเงินมาซื้อ ซื้อหลักทรัพย์ ประชาชนได้รับเงินคืน ประชาชนมีทางเลือกสำหรับเงิน คือ ถือไว้กับมือ / ฝากธนาคาร / ลงทุน / ซื้อพันธบัตร...... EC210 2/2552

189 อัตราธนาคารหรืออัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)
อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจาก ธ. พาณิชย์ (โดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน) การให้กู้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่งกู้ยืมแหล่งสุดท้าย (Lender of last resort) เมื่อมีความจำเป็นภายในระยะเวลาสั้นๆ Example: ธ. พาณิชย์อาจกู้เงินจากธนาคารกลางในกรณีที่ มีเงินสดสำรองไม่เพียงพอ (เช่น คนมาถอนเงินมากกะทันหัน) หากต้องการเพิ่มปริมาณเงินก็จะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน หากต้องการลดปริมาณเงินก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ที่ใช้ในปัจจุบัน เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย EC210 2/2552

190 ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ณ วันที่ 14 ม.ค คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ร้อยละ 0.75 ต่อปี จากร้อยละ 2.75 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยมีผลทันที ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่มา หมายเหตุ -ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือหลักในการส่งสัญญาณนโยบายการเงิน ในปัจจุบันใช้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (RP 1 วัน) - การกู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Market) เป็นการเพิ่ม/ลดปริมาณเงินในระบบได้โดยทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรือที่เรียกว่า ตลาด Repo ซึ่งจะใช้พันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral) ในการกู้ยืม EC210 2/2552

191 2. การควบคุมด้านคุณภาพ (Qualitative Control)
การกำหนดเงื่อนไขในการให้สินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมและเพื่อให้ก่อให้เกิดการกระจายสินเชื่อไปยังสาขาเศรษฐกิจที่ต้องส่งเสริม Example: การควบคุมการให้สินเชื่อเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ การควบคุมการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภค การควบคุมการให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง เป็นต้น EC210 2/2552

192 3. การควบคุมโดยตรง (Direct Control)
เป็นการบังคับให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นจะใช้เมื่อเห็นว่า การควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อทางด้านปริมาณและคุณภาพไม่ได้ผลหรือได้ผลแต่ไม่ทันการณ์ เช่น ปัญหาบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ ประชาชนมีพฤติกรรมการก่อหนี้มากขึ้น เกิดปัญหา NPL ดังนั้น จึงออกคำสั่ง โดยตรง ในเงื่อนไขการถือบัตรว่า ผู้ถือบัตรจะต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า บาท เป็นต้น EC210 2/2552

193 นโยบายการเงิน EC210 2/2552

194 8.4 การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดเงิน
EC210 2/2552

195 อุปสงค์เงิน (Money Demand): Md
ปริมาณเงินที่ประชาชนทั้งหมดที่ประชาชนต้องการถือไว้ในมือในขณะใดขณะหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับอุปสงค์เงิน ความสัมพันธ์เป็นในลักษณะผกผันหรือตรงกันข้าม (-) Opportunity cost of holding money อัตราดอกเบี้ย (i) Move along the curve Md ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

196 ทำไม มนุษย์ต้องถือเงินไว้กับตัว ??
มนุษย์ถือเงิน เพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำวัน ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร เช่น ฝากธนาคารรับดอกเบี้ย, ซื้อพันธบัตรรัฐบาล EC210 2/2552

197 ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เส้นอุปสงค์เงินเคลื่อนที่
อัตราดอกเบี้ย (i) Shifts the money demand curve ระดับรายได้ ระดับราคา (ดอกเบี้ย) Md2 Md1 ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

198 อุปทานของเงิน (Money supply): Ms
ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่ง โดยธนาคารกลางเป็นผู้กำหนดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ นิยามของปริมาณเงิน ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) M1 = เหรียญกษาปณ์ + ธนบัตร + เงินฝากกระแสรายวัน ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (M2) M2 = M1 + เงินฝากออมทรัพย์และประจำ ปริมาณเงินในความหมายกว้างมาก (M3) M3 = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน EC210 2/2552

199 อัตราดอกเบี้ย (i) Ms 3 แสนล้านบาท ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

200 ดุลยภาพของตลาดเงิน (Money Market Equilibrium)
Ms จุดที่อุปสงค์ของเงิน (Md) เท่ากับ อุปทานของเงิน (Ms) อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ (i*) i2 i* i1 Md 3 แสนล้านบาท ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

201 ธนาคารกลางเข้ามาควบคุมนโยบายการเงินโดยการควบคุมปริมาณเงิน (Money Supply)
การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน money supply shift ขวา/ซ้าย ดุลยภาพตลาดเงินเปลี่ยน (อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ (i*)เปลี่ยน) ผู้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการถือเงิน / การออม / การลงทุน ระบบเศรษฐกิจเกิดการปรับเปลี่ยน จะอธิบายละเอียดอีกครั้ง ในหัวข้อถัดไป EC210 2/2552

202 Ms1 Ms2 Md i*1 อัตราดอกเบี้ย (i) i*2 3 แสน 4 แสน ปริมาณเงิน (M)
Money supply increases อัตราดอกเบี้ย (i) Ms1 Ms2 i*1 i*2 Md 3 แสน 4 แสน ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

203 Ms3 Ms1 Md i*1 อัตราดอกเบี้ย (i) i*3 2 แสน 3 แสน ปริมาณเงิน (M)
Money supply decreases อัตราดอกเบี้ย (i) Ms3 Ms1 i*3 i*1 Md 2 แสน 3 แสน ปริมาณเงิน (M) EC210 2/2552

204 ประเภทของนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหรือขยายตัว (Easy of Expansionary Monetary Policy) ใช้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจซบเซาและเกิดภาวะเงินฝืด i M Investment Y Note: M=Monetary Policy, i = interest rate, Y = Output EC210 2/2552

205 ธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์ ลดอัตราเงินสดสำรอง ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
เครื่องมือที่ใช้ ธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์ ลดอัตราเงินสดสำรอง ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ผลของการใช้เครื่องมือดังกล่าว ทำให้ปริมาณเงิน (Money supply) เพิ่มขึ้น EC210 2/2552

206 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
EC210 2/2552

207 นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือหดตัว (Restrictive or Contractionary Monetary Policy)
ใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจขยายตัวมากเกินไปและเกิดภาวะเงินเฟ้อ i M Investment Y Note: M=Monetary Policy, i = interest rate, Y = Output EC210 2/2552

208 ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง
เครื่องมือที่ใช้ ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง เพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ผลของการใช้เครื่องมือดังกล่าว ทำให้ปริมาณเงิน (Money supply) ลดลง EC210 2/2552

209 ทบทวนด้วยตัวเอง นโยบายการคลังและนโยบายการเงินใดบ้างที่เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ นโยบายการคลังแบบขยายตัว.... นโยบายการเงินแบบขยายตัว.... นโยบายการคลังและนโยบายการเงินใดบ้างที่เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายการคลังแบบหดตัว.... นโยบายการเงินแบบหดตัว... EC210 2/2552

210 วิเคราะห์ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก สู่ ปี 2570
ดูเพิ่มเติมได้จาก เว็บ รายงานประชุมประจำปี 2552 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในระยะแผนพัฒนาฉบับที่ 11 เอกสารการประชุม เรื่อง "จากวิสัยทัศน์ สู่แผนฯ 11“ EC210 2/2552

211 เอกสารการประชุม เรื่อง จากวิสัยทัศน์ 2570...สู่แผนฯ 11
ความท้าทายหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก : โอกาสของประเทศไทย เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกของเศรษฐกิจไทย ภาวะโลกร้อน : รู้วิกฤติ สร้างโอกาสการพัฒนา สถาปัตยกรรมทางสังคม : ทางเลือกใหม่ของคนไทย สัญญาประชาคมใหม่ : พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล EC210 2/2552

212 วิกฤติเศรษฐกิจการเงินของโลก
ผลพวงจากปัญหาฟองสบู่ในเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา EC210 2/2552

213 EC210 2/2552

214 รูปแบบการแทรกแซงโดยรัฐของประเทศต่างๆ
แนวทางแรก การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) แนวทางที่สอง การอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินโดยธนาคารกลาง การปล่อยสินเชื่อ การเข้าถือหุ้นในกิจการสถาบันการเงินที่มีปัญหาโดยตรง การรับซื้อทรัพย์สินที่มีปัญหาในระบบการเงิน การปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลกลางเพื่อใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ แนวทางที่สาม การดำเนินมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา EC210 2/2552

215 EC210 2/2552

216 EC210 2/2552

217 EC210 2/2552

218 EC210 2/2552

219 EC210 2/2552

220 EC210 2/2552

221 EC210 2/2552

222 บทที่ 9: บทบาทของเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระบบเศรษฐกิจ
บทที่ 9: บทบาทของเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระบบเศรษฐกิจ EC210 2/2552

223 หัวข้อการบรรยาย 9.1 ความสำคัญของการค้าต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจ
9.2 บัญชีดุลการชำระเงิน - องค์ประกอบ และความสำคัญ 9.3 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ - ความหมาย และความสำคัญ - ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน - นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนชนิดต่างๆ 9.4 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ - การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ - การเปิดเสรีและการรวมกลุ่มทางการค้าระหว่างประเทศ - การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ของไทย EC210 2/2552

224 ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (ทุกภาคเศรษฐกิจ)
ภาคต่างประเทศ ครัวเรือน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล เงินออม การลงทุน ภาษี รายจ่ายของรัฐบาล มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า สินค้าและบริการ ปัจจัยการผลิต (แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ) รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ รายได้ (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) EC210 2/2552

225 กลไกการทำงานของมาตรการต่างๆ ด้านนโยบายเพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจมหภาค
ภาษี ระดับราคา นโยบายการคลัง การใช้จ่ายของรัฐ ระบบเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย ผลผลิต นโยบายการเงิน ปริมาณเงิน โควต้า ภาษีการค้า นโยบายการค้า การจ้างงาน อัตราแลกเปลี่ยน EC210 2/2552

226 9.1 ความสำคัญของการค้าต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจ
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ comparative advantage ทำให้เกิดการค้าได้อย่างไร ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ EC210 2/2552

227 สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
ต้นทุนการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เพราะ มีทรัพยากรตั้งต้นไม่เท่ากัน มีเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกัน ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) EC210 2/2552

228 ความได้เปรียบทางการค้า
ความได้เปรียบทางการค้า มี 2 แบบ ความได้เปรียบเชิงสัมบูรณ์ (Absolute Advantage) ต้นทุนในการผลิตสินค้า ต่ำกว่ากันอย่างชัดเจน คอมพิวเตอร์ ข้าว จีน 12 5 สหรัฐอเมริกา 10 20 ตัวเลขสะท้อนต้นทุน ต่อหน่วยของการผลิต EC210 2/2552

229 ความได้เปรียบทางการค้า
2. ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสินค้าหลายชนิดแล้ว ประเทศหนึ่งได้เปรียบในสินค้าใดมากกว่ากัน หรือ เสียเปรียบในสินค้าใดน้อยกว่ากัน คอมพิวเตอร์ ข้าว จีน 8 5 สหรัฐอเมริกา 10 20 ตัวเลขสะท้อนต้นทุน ต่อหน่วยของการผลิต คำถาม : หากประเทศหนึ่งๆ ผลิตสินค้าได้ถูกกว่า อีกประเทศหนึ่งในทุกๆสินค้า จะไม่เกิดการค้าขายระหว่างสองประเทศ จริงหรือไม่ EC210 2/2552

230 ความได้เปรียบทางการค้า
คอมพิวเตอร์ ข้าว จีน 8 5 สหรัฐอเมริกา 10 20 คำตอบ... ไม่จริง จากตัวอย่าง... จีนจะเลือกผลิตข้าว และปล่อยให้สหรัฐผลิตคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันแล้ว ... จะดีขึ้นสำหรับทั้งคู่ (ดีกว่าต่างคนต่างผลิตเอง) ลองพิสูจน์ด้วยตัวอย่างง่ายๆ !!! EC210 2/2552

231 8 5 คอมพิวเตอร์ ข้าว จีน สหรัฐอเมริกา 10 20
สมมติให้ทั้งคู่มีทรัพยากรในการผลิต เท่ากับ 100 หน่วย จีนผลิตข้าวได้ 20 หน่วย สหรัฐผลิตคอมพิวเตอร์ได้ 10 หน่วย เอามาแลกกัน (สมมติราคาซื้อขายแลกเปลี่ยน เท่ากับ ข้าว 1 หน่วย : คอมพิวเตอร์ 1 หน่วย) จีนเอาข้าว 5 หน่วย แลกกันคอมพิวเตอร์ได้ 5 หน่วย สุดท้าย... จีน มี (ข้าว, คอมพิวเตอร์) = (15, 5) ... สหรัฐ มี (ข้าว, คอมพิวเตอร์) = (5, 5) ซึ่งเป็นไปไม่ได้หากให้ ต่างคนต่างผลิต จีนต้องใช้ทรัพยากร = (15x5)+ (5x8) = 115 สหรัฐต้องใช้ทรัพยากร = (5x20) + (5x10) = 150 EC210 2/2552

232 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
1. การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น การแบ่งงานกันทำตามความถนัด (Specialization) การประหยัดจากขนาด (Economies of scale) ทำให้ ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ประชาชนสามารถเลือกบริโภคสินค้าที่มีราคาถูกลง 3. ประชาชนมีโอกาสเลือกสินค้าบริโภคมากขึ้น 4. เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ EC210 2/2552

233 แนวโน้มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม BRICs
บราซิล ผู้ผลิตสินค้าเกษตร, พลังงานชีวภาพ , อุตสาหกรรมน้ำมันนอกชายฝั่งทะเล รัสเซีย ผู้ผลิตพลังงานและอุตสาหกรรมเหล็ก อินเดีย ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ , อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ จีน อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมเครื่องใช้ภายในบ้าน, อุปกรณ์โทรคมนาคมสื่อสาร แล้ว ประเทศไทย เรามีขีดความสามารถในอุตสาหกรรมใด EC210 2/2552

234 9.2 บัญชีดุลการชำระเงิน - องค์ประกอบ และความสำคัญ
9.2 บัญชีดุลการชำระเงิน องค์ประกอบ และความสำคัญ บัญชีเดินสะพัด (Current Account) บัญชีทุนและการเงิน (Capital and Financial Account) บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account) EC210 2/2552

235 ความหมายของบัญชีดุลการชำระเงิน
บัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of Payment: BOPs) หมายถึง รายงานสถิติที่ได้จากการรวบรวมรายการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างเป็นระบบ ระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศหนึ่ง กับผู้มีถิ่นฐานของประเทศอื่นๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง : ความหมายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หมายเหตุ ปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบจัดทำบัญชีดังกล่าว คือธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ที่มีถิ่นฐาน หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยในอาณาเขตของประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินหกเดือน หรือถาวร EC210 2/2552

236 องค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงิน
(Balance of Payment) บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account) 1 บัญชีเดินสะพัด (Current Account) -บัญชีดุลการค้า บัญชีดุลบริการ บัญชีดุลรายได้ บัญชีดุลเงินโอน 2 บัญชีทุนเคลื่อนย้าย * (Capital and Financial Account) บัญชีทุน บัญชีการเงิน ทองคำ สิทธิพิเศษถอนเงิน (SDRs) เงินตราต่างประเทศ ฐานทุนสำรอง * ปัจจุบันในรายงานจะแสดงรายการ เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ (Net Capital movement) EC210 2/2552

237 1 บัญชีเดินสะพัด (Current Account)
คือ ผลสุทธิของรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในบัญชีต่อไปนี้ บัญชีดุลการค้า (Trade Account) บัญชีดุลบริการ (Service Account) บัญชีดุลรายได้ (Income Account) บัญชีดุลเงินโอน (Transfer Payment) บัญชีเดินสะพัด = ดุลการค้า + ดุลบริการ + ดุลรายได้ + เงินโอนและเงินบริจาค ในปัจจุบัน รายงานเศรษฐกิจ จะประกอบด้วย ดุลการค้า (1), ดุลบริการและบริจาค (2+3+4) EC210 2/2552

238 รายละเอียดของ บัญชีเดินสะพัด
บัญชีดุลการค้า (Trade Account) คือ การบันทึกรายการนำเข้าและส่งออก “สินค้า” ของประเทศ มูลค่าสินค้าส่งออก > มูลค่าของสินค้านำเข้า  ดุลการค้าเกินดุล มูลค่าสินค้าส่งออก < มูลค่าของสินค้านำเข้า  ดุลการค้าขาดดุล บัญชีดุลบริการ (Service Account) คือ การบันทึกรายการรับ และให้บริการทางด้าน การขนส่ง การท่องเที่ยว การบริการของรัฐ และบริการอื่นๆ มูลค่าบริการส่งออก > มูลค่าของบริการนำเข้า  ดุลบริการเกินดุล มูลค่าบริการส่งออก < มูลค่าของบริการนำเข้า  ดุลบริการขาดดุล EC210 2/2552

239 รายละเอียดของ บัญชีเดินสะพัด (ต่อ)
บัญชีดุลรายได้ (Income Account) การบันทึกรายการรายรับจากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ และรายรับจากการลงทุน (ลงทุนโดยตรง/ลงทุนในหลักทรัพย์) และ รายจ่ายในส่วนของทุนและหนี้สิน เช่น การจ่ายเงินปันผลและดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ บัญชีดุลเงินโอนและเงินบริจาค (Transfer Payment) การบันทึกรายการให้เปล่าที่เป็นตัวเงินและสิ่งของโดยภาครัฐและเอกชน เช่น การโอนเงินให้ญาติในต่างประเทศ การให้ทุนการศึกษาทุนวิจัย EC210 2/2552

240 2549 p 2550 p ดุลการค้า 994.5 11,571.8 สินค้าออก 127,941.3 150,048.1
หน่วย ล้านดอลล่าร์ สรอ. 2549 p 2550 p ดุลการค้า 994.5 11,571.8 สินค้าออก 127,941.3 150,048.1 สินค้าอุตสาหกรรม 113,121.8 134,378.3 สินค้าเกษตร 10,242.0 11,852.5 สินค้าประมง 2,226.7 2,472.5 สินค้าออกอื่นๆ 4,131.3 3,394.5 สินค้าเข้า -126,946.8 -138,476.3 น้ำมัน -25,049.4 -25,725.2 อุปโภคบริโภค -9,656.3 -10,985.9 วัตถุดิบ -52,183.1 -60,028.4 สินค้าทุน -34,091.9 -35,825.0 อื่นๆ -7,563.1 -8,017.8 ดุลบริการและบริจาค 5/ 1,180 4,193 ดุลบัญชีเดินสะพัด 2,174 15,765 EC210 2/2552

241 สถานการณ์ต่อไปนี้ กระทบดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างไร (ในองค์ประกอบใด)
บริษัทไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปต่างประเทศ 400 ล้านบาท บริษัทไทยนำเข้าเครื่องจักรสำหรับใช้ในโรงงาน 600 ล้านบาท คนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวที่เกาหลี 200 ล้านบาท ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย 5000 ล้านบาท การส่งออกสินค้า >>> ดุลการค้า เพิ่มขึ้น 400 ล้านบาท การนำเข้าสินค้า >>> ดุลการค้า ลดลง 600 ล้านบาท การนำเข้าบริการ >>> ดุลบริการ ลดลง 200 ล้านบาท การส่งออกบริการ >>> ดุลบริการ เพิ่มขึ้น 5000 ล้านบาท EC210 2/2552

242 สถานการณ์ต่อไปนี้ กระทบดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างไร (ในองค์ประกอบใด)
คนไทยดำเนินกิจการร้านสปาในออสเตรเลีย 100 ล้านบาท ชาวต่างชาตินำเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ได้รับเงินปันผลกลับประเทศ 250 ล้านบาท รัฐบาลไทยบริจาคข้าวสารให้พม่าจากเหตุการณ์พายุ 50 ล้านบาท รายรับจากการไปลงทุนในต่างประเทศ >>> ดุลรายได้ เพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท รายจ่ายในส่วนทุนจากต่างประเทศ >>> ดุลรายได้ ลดลง 250 ล้านบาท บริจาคให้ต่างประเทศ >>> ดุลเงินโอนและเงินบริจาค ลดลง 50 ล้านบาท EC210 2/2552

243 2 บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital and Financial Account)
คือ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ (Assets) และหนี้สิน (Liabilities) ระหว่างผู้ที่มีถิ่นฐานในประเทศกับผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ประกอบด้วย บัญชีทุน (Capital account) บัญชีการเงิน (Financial account) ปัจจุบันในรายงานจะแสดงรายการ เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ (Net Capital movement) ซึ่งมีการแยกตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนแต่ละภาคส่วน เช่น ภาครัฐบาล ภาคธนาคาร ภาคเอกชน เป็นต้น EC210 2/2552

244 รายละเอียดของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย
1) บัญชีทุน (Capital Account) หมายถึง รายรับและรายจ่ายที่เกิดจากธุรกรรมเคลื่อนย้ายเงินทุน (Capital transfer) ทั้งในรูปตัวเงินและในรูปที่มิใช่ตัวเงิน ได้แก่ - การโอนย้ายเงินทุนที่เกิดจากการซื้อขายสินทรัพย์ถาวร - การโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวร - การยกเลิกหนี้สินโดยเจ้าหนี้ EC210 2/2552

245 รายละเอียดของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (ต่อ)
2) บัญชีการเงิน (Financial Account) หมายถึง ธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย - การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) - การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) - การลงทุนอื่นๆ (Other Investment) EC210 2/2552

246 Foreign Direct investment
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย EC210 2/2552

247 สถานการณ์ต่อไปนี้กระทบทำให้บัญชีทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุล หรือ เกินดุล (หากเริ่มต้น บัญชีทุนเคลื่อนย้ายสมดุล) นักลงทุนญี่ปุ่นส่งเงินเข้ามาลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล 200 ล้านบาท นักลงทุนยุโรป ย้ายเงินทุนโดยขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย 150 ล้านบาทเนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน ธนาคารพาณิชย์ไทย ส่งเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระเงินคืนแก่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 500 ล้านบาท รัฐบาลไทยกู้กองทุนมิยาซาวา เพื่อก่อสร้างถนน 6000 ล้านบาท EC210 2/2552

248 3 บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account)
คือ ยอดแสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณทุนสำรองเงินตรา/สินทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองหรือควบคุมโดยธนาคารกลางและสามารถนำมาใช้ประโยชน์เมื่อจำเป็น ประกอบด้วย ทองคำ (Monetary Gold) สิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights: SDRs) สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Net IMF Account) สินทรัพย์ในรูปเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange) EC210 2/2552

249 บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (ต่อ)
บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ แสดงถึง การเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินระหว่างประเทศโดยรวมของประเทศ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นทุนหนุนหลังการออกพันธบัตร รักษาสภาพคล่องการชำระหนี้ระหว่างประเทศ EC210 2/2552

250 ความสัมพันธ์ระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับ ทุนสำรองระหว่างประเทศ
บัญชีการชำระเงิน กองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศ $ $ เงินตราต่างประเทศไหลเข้ากองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อมีการ ส่งออก เงินตราต่างประเทศไหลออกจาก กองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อมีการ นำเข้า EC210 2/2552

251 บัญชีดุลการชำระเงินเกินดุล (Surplus)/ขาดดุล (Deficit)
การเปลี่ยนแปลงในบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ มีมูลค่าเท่ากับผลรวมของดุลบัญชีอื่นๆ: บัญชีเดินสะพัด + บัญชีทุนและการเงิน < 0 => ดุลการชำระเงินขาดดุล บัญชีเดินสะพัด + บัญชีทุนและการเงิน > 0 => ดุลการชำระเงินเกินดุล บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ =บัญชีเดินสะพัด+ บัญชีทุนและการเงิน EC210 2/2552

252 บัญชีดุลการชำระเงินของไทย ปี 2549 - 2550
2549 p 2550 p ดุลการค้า 994.5 11,571.8 สินค้าออก (F.O.B.) 127,941.3 150,048.1 สินค้าเข้า (C.I.F.) 126,946.8 138,476.3 ดุลบริการและบริจาค 1,180 4,193 ดุลบัญชีเดินสะพัด 2,174 15,765 เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ 5,719 -2,980 จำนวนไม่ประจักษ์ 4,849 4,318 ดุลการชำระเงิน 12,742 17,102 Source: Bank of Thailand หน่วย ล้านดอลล่าร์ สรอ. EC210 2/2552

253 International Reserves
 (ล้านบาท) 2551 2550 2549 2548 2547 2546 ทองคำ 81,909.07 75,321.93 61,035.21 56,384.00 45,578.03 42,394.00 สิทธิพิเศษถอนเงิน 4,581.15 6.49 31.70 70.09 72.50 11.90 สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ 7,416.30 3,740.16 5,171.12 7,713.89 6,462.94 4,414.40 สินทรัพย์ต่างประเทศ 3,780,012.75 2,869,743.29 2,348,228.44 2,072,094.86 1,894,361.04 1,621,849.30 รวม 3,873,919.29 2,948,811.88 2,414,466.48 2,136,262.86 1,946,474.53 1,668,669.60 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย Q: ดุลการชำระเงินที่เกินดุล มีผลต่อ เงินสำรองระหว่างประเทศอย่างไร ? (พิจารณาปี 2549 และ 2550) EC210 2/2552

254 ความสำคัญของการจัดทำบัญชีดุลการชำระเงิน
เป็นรายการที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น GDP, การจ้างงาน, เงินเฟ้อ, อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ, อัตราดอกเบี้ยในประเทศ เป็นตัวแปรที่เอกชนใช้คาดคะเนการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ ใช้อธิบายผลกระทบของการค้าและเศรษฐกิจ เพื่อทราบถึงระดับทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เพื่อทราบทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินตราสกุลต่างประเทศในระยะเวลาหนึ่งๆ คาดคะเนศักยภาพของตลาดในประเทศ คาดคะเนค่าเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศ และอื่นๆ EC210 2/2552

255 Cumulative Current Account Balance from 1980 till 2008.
Source: IMF EC210 2/2552

256 9.3 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
- ความหมาย และความสำคัญ - ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน - นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนชนิดต่างๆ EC210 2/2552

257 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) หมายถึง ราคาของเงินสกุลต่างประเทศเมื่อเทียบกับเงินสกุลของประเทศ เช่น จำนวนบาทต่อหนึ่งดอลลาร์ =32 บาทต่อ 1 US$ หากเรามองว่า “เงินตราต่างประเทศ” คือ “สินค้า” อัตราแลกเปลี่ยน ก็คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วยนั่นเอง เช่น มองว่า มีเงินบาทอยู่ อยากได้เงินดอลล่าร์ 1 เหรียญ มาเก็บไว้ เงินดอลล่าร์ราคา 32 บาท ต่อ 1 เหรียญ ถ้า ราคาเปลี่ยนเป็น 35 บาทต่อ1เหรียญ ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์แพงขึ้น เหลือ 30 บาท ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์ถูกลง เป็นต้น EC210 2/2552

258 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างๆ ณ วันที่ 13 กันยายน 2552 ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย EC210 2/2552

259 มองมุม ไทย แลกเงินดอลล่าร์
เดิม อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ = 32 บาทต่อเหรียญ (เราเอาเงินบาทไปแลกดอลล่าร์) CASE 1 อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 35 บาทต่อเหรียญ >>> ใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อไปซื้อดอลล่าร์ >> เงินดอลล่าร์แพงขึ้น CASE 2 อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อเหรียญ >>> ใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อไปซื้อดอลล่าร์ >> เงินดอลล่าร์ถูกลง เช่น มองว่า มีเงินบาทอยู่ อยากได้เงินดอลล่าร์ 1 เหรียญ มาเก็บไว้ เงินดอลล่าร์ราคา 32 บาท ต่อ 1 เหรียญ ถ้า ราคาเปลี่ยนเป็น 35 บาทต่อ1เหรียญ ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์แพงขึ้น เหลือ 30 บาท ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์ถูกลง เป็นต้น EC210 2/2552

260 มองมุม ดอลล่าร์ แลกเงินไทย
เดิม อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ = 32 บาทต่อเหรียญ (เงินไทย = 1/32 = ดอลล่าร์ต่อบาท) CASE 1 อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 35 บาทต่อเหรียญ (เงินไทย = 1/35 = ดอลล่าร์ต่อบาท) เงินบาทถูกลงในสายตาคนต่างชาติ >>> เงินบาทอ่อนค่า = เงินดอลล่าร์แข็งค่า CASE 2 อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อเหรียญ (เงินไทย = 1/30 = ดอลล่าร์ต่อบาท) เงินบาทแพงขึ้นในสายตาคนต่างชาติ >>> เงินบาทแข็งค่า = เงินดอลล่าร์อ่อนค่า เช่น มองว่า มีเงินบาทอยู่ อยากได้เงินดอลล่าร์ 1 เหรียญ มาเก็บไว้ เงินดอลล่าร์ราคา 32 บาท ต่อ 1 เหรียญ ถ้า ราคาเปลี่ยนเป็น 35 บาทต่อ1เหรียญ ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์แพงขึ้น เหลือ 30 บาท ก็แสดงว่า เงินดอลล่าร์ถูกลง เป็นต้น EC210 2/2552

261 กรณี อัตราแลกเปลี่ยน กับการซื้อ skin food
จะไปช๊อปปิ้งที่เกาหลี อัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลกับราคาที่ได้อย่างไร ? กรณี อัตราแลกเปลี่ยน = บาทต่อวอน (หรือ 28 บาทต่อ 1000 วอน) เบสองุ่น ราคา = x 8900 = บาท กรณี อัตราแลกเปลี่ยน = 0.03 บาทต่อวอน (หรือ 30 บาทต่อ 1000 วอน) เบสองุ่น ราคา = 0.03 x 8900 = 267 บาท ค่าเงินบาทอ่อนค่า ดังนั้น เราต้องซื้อของนอกแพงขึ้น ราคา วอน EC210 2/2552

262 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
ความสำคัญ: การค้าระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่างๆ เพื่อใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลโดยตรงต่อการนำเข้าและส่งออก ซึ่งมีผลกระทบต่อดุลการค้าและดุลการชำระเงิน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ EC210 2/2552

263 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนของไทย (บาทต่อ ดอลล่าร์สหรัฐ) 2551 2550 2549 2548 2547 2546 อัตราแลกเปลี่ยน (ณ สิ้นงวด) 34.9 33.7 36.0 41.0 39.1 39.6 ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นๆลงๆ มีผลกับต่อการค้าขาย (นำเข้า / ส่งออก) อย่างไร ?? ลองนึกเล่นๆ .... ถ้าเราจะไปเรียนต่อ ต้องสอบ TOEFL ค่าสอบคิดเป็นเงิน 160 ดอลล่าร์สหรัฐ .... ถ้าเราจะส่งกางเกงเล ไปขายที่สหรัฐ กางเกงเล ราคาในไทยตัวละ 100 บาท EC210 2/2552

264 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น (ราคาเงินตราต่างประเทศแพงขึ้น) ค่าของสกุลเงินในประเทศลดลง (depreciation) เช่น ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจาก 40 ฿/$ เป็น 42 ฿/$ เช่น ถ้าเดิมเคยสมัครสอบ TOEFL 160$ = 160 x 40 บาท กลายเป็นว่า ต้องจ่ายแพงขึ้นเป็น 160 x 42 (แพงขึ้นอีก 320 บาท) ทั้งๆที่ราคาในต่างประเทศไม่ได้เปลี่ยน ดังนั้น ค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผลทำให้ ราคาการนำเข้า (แพงขึ้น) คิดเป็นเงินบาท คำถาม... แล้ว กรณีเราจะส่งกางเกงเล ไปขาย หล่ะ ?? กางเกงเล ตัวละ 100 บาท ถ้าไปขายเป็นเงินดอลล่าร์ เดิม คือ 100/40 = 2.5 เหรียญ แต่พอไปขายหลังค่าเงินเปลี่ยน ถ้าขายราคา 2.5 เหรียญ เท่าเดิม เราจะได้เงินบาทมากขึ้น =2.5 x 42 = 105 บาท (หรือขาย 100 บาทเท่าเดิม จะขายได้ถูกลงในสายตาต่างชาติ) EC210 2/2552

265 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนลดลง (ราคาเงินตราต่างประเทศถูกลง) ค่าของสกุลเงินในประเทศเพิ่มขึ้น (appreciation) เช่น ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นจาก 40 ฿/$ เป็น 38 ฿/$ เช่น ถ้าเดิมเคยซื้อน้ำหอม 50 $ = 50 x 40 บาท กลายเป็นว่า ต้องจ่ายถูกลงเป็น 50 x 38 อีก (ถูกลงไป 100 บาท) ทั้งๆที่ราคาในต่างประเทศไม่ได้เปลี่ยน ดังนั้น ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งทำให้ ราคาการนำเข้า (ถูกลง) คิดเป็นเงินบาท คำถาม... แล้ว กรณีเราจะส่งข้าวไปขาย หล่ะ ?? EC210 2/2552

266 โดยสรุป อัตราแลกเปลี่ยน ราคาการส่งออก (คิดเป็นเงิน $) ราคาการนำเข้า
(คิดเป็นเงินบาท) 40 บาทต่อ $ - 42 บาทต่อ $ (เงินบาทอ่อนค่า / เงินดอล แพงขึ้น) ถูกลงในสายตาต่างชาติ คนไทยจ่ายแพงขึ้น 38 บาทต่อ $ (ค่าเงินบาทแข็งขึ้น/ เงินดอล ถูกลง) แพงขึ้นในสายตาต่างชาติ คนไทยจ่ายถูกลง EC210 2/2552

267 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
แรงผลักของอุปสงค์ และอุปทานเงินตราต่างประเทศ >>> ดุลยภาพตลาด ตัวกำหนดอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ คือ ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินตราต่างประเทศไหลออกจากประเทศ เช่น การนำเข้าสินค้า การที่เงินทุนไหลออกจากประเทศ การโอนเงินไปช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ ตัวกำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศ คือ ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินตราต่างประเทศ ไหลเข้า ประเทศ การส่งออกสินค้า การลงทุนทางตรง การได้รับเงินบริจาคหรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ EC210 2/2552

268 อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/$1) Supply of Foreign Exchange 50 บาท = $1 40 บาท = $1 30 บาท = $1 Demand of Foreign Exchange Q* = 1 พันล้านดอลล่าร์ ปริมาณเงินตราต่างประเทศ ($) EC210 2/2552

269 สถานการณ์ต่อไปนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยน
นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้ทยอยขายหุ้น และนำเงินกลับประเทศ ประเทศเร่งผลักดันขยายตัวการส่งออกกุ้งแช่แข็งไปยังสหรัฐ เงินทุนไหลออกนอกประเทศ >>> Demand for $ เพิ่มขึ้น >>> Shift ขวา >>> อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น >>> ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งออกมากขึ้น >>> เงิน $ ไหลเข้าประเทศ >>> Supply for $ เพิ่มขึ้น >>> Shift ขวา >>> อัตราแลกเปลี่ยนลดลง >>> ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น EC210 2/2552

270 เงินทุนไหลออกนอกประเทศ >>> Demand for $ เพิ่มขึ้น >>> Shift ขวา >>> อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น >>> ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/$1) Supply of Foreign Exchange 50 บาท = $1 40 บาท = $1 30 บาท = $1 Demand of Foreign Exchange Q* = 1 พันล้านดอลล่าร์ ปริมาณเงินตราต่างประเทศ ($) EC210 2/2552

271 วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
ผลกระทบต่อดุลการค้า ผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้า ผลกระทบต่อราคาสินค้า ผลกระทบต่อดุลการชำระเงิน ผลกระทบต่อการผลิต ผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ ผลกระทบต่อหนี้ต่างประเทศ EC210 2/2552

272 กรณี มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น (Depreciation)
Case กรณีช่วงวิกฤตปี 2540 (ค่าเงินเปลี่ยนจากจาก 25 บาทเป็น 40 บาทต่อ $) เงินบาทอ่อนค่า สินค้าไทยในสายตาคนต่างชาติถูกลง การส่งออกเพิ่มขึ้น สินค้าต่างชาติในสายตาคนไทยแพงขึ้น การนำเข้าลดลง EC210 2/2552

273 ส่งออก > นำเข้า ดุลการชำระเงินดีขึ้น (เพิ่มสูงขึ้น)
ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น การผลิตในประเทศเพิ่มสูงขึ้น แต่การผลิตที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น การจ้างงานในประเทศสูงขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น มูลค่าของหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น (จำนวนเงินบาทที่ต้องใช้ชำระหนี้จะเพิ่มขึ้น) EC210 2/2552

274 กรณี มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนลดลง (Appreciation)
ช่วงปีที่ผ่านมา มีข่าวค่าเงินบาทแข็งค่า เงินบาทแข็งค่า สินค้าไทยในสายตาคนต่างชาติแพงขึ้น การส่งออกลดลง สินค้าต่างชาติในสายตาคนไทยถูกลง การนำเข้าเพิ่มขึ้น EC210 2/2552

275 ส่งออก < นำเข้า ดุลการชำระเงินแย่ลง (ลดลง)
ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง การผลิตในประเทศลดลง การผลิตที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศมีต้นทุนลดลง การจ้างงานในประเทศลดลง รายได้ประชาชาติลดลง มูลค่าของหนี้ต่างประเทศลดลง (จำนวนเงินบาทที่ต้องใช้ชำระหนี้จะลดลง) EC210 2/2552

276 วัฎจักรของการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
สถานการณ์เปลี่ยนแปลง Demand / Supply for $ อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง ราคาสินค้านำเข้า / ส่งออกเปลี่ยน (จากผลของค่าเงิน) การนำเข้า / ส่งออกได้รับผลกระทบ EC210 2/2552

277 นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนชนิดต่างๆ
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate System) คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดเสรี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate System) คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่อัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดโดยธนาคารกลาง EC210 2/2552

278 วิธีการควบคุมให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่
1. การใช้กองทุนสำรองระหว่างประเทศ (Use of reserves) - เกิด Excess demand for $ => ธนาคารกลางนำ $ ออกขาย - เกิด Excess supply of $ => ธนาคารกลางนำ $ กลับเข้ากองทุน 2. นโยบายการค้า - ควบคุมการนำเข้า (เช่น การตั้งกำแพงภาษี) เพื่อแก้ไขการชำระเงินขาดดุล - ส่งเสริมการส่งออก 3. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ - รัฐบาลกำหนดให้ผู้ส่งออกนำเงินตราต่างประเทศมาขายให้กับรัฐบาล และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรอุปทานของเงินตราต่างประเทศให้กับผู้นำเข้า EC210 2/2552

279 เงินทุนไหลออกนอกประเทศ >>> Demand for $ เพิ่มขึ้น >>> Shift ขวา >>> อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น >>> ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แต่ ต้องการควบคุมค่าเงินบาท อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/$1) Supply of Foreign Exchange 50 บาท = $1 40 บาท = $1 Excess demand 30 บาท = $1 Demand of Foreign Exchange Q* = 1 พันล้านดอลล่าร์ ปริมาณเงินตราต่างประเทศ ($) EC210 2/2552

280 9.4 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
- การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ - การเปิดเสรีและการรวมกลุ่มทางการค้าระหว่างประเทศ - การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ของไทย EC210 2/2552

281 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Trade Policy) หรือ การกีดกันทางการค้า นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) การรวมกลุ่มทางการค้าระหว่างประเทศ การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ของไทย EC210 2/2552

282 การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
การกีดกันเชิงปริมาณ (Quota) เช่น การกำหนดโควตาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ มาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นภาษี (Tariff Barriers) เช่น การตั้งกำแพงภาษี มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) เช่น การอุดหนุนสินค้าในประเทศ การกำหนดมาตรฐาน/มาตรการต่างๆ EC210 2/2552

283 องค์กรและการรวมกลุ่มทางการค้าระหว่างประเทศ
GATT/WTO ASEAN AFTA APEC NAFTA European Union (EU) EC210 2/2552

284 Trade Liberalization Regional Bilateral JTC FTA Multilateral
Unilateral JTC FTA EC210 2/2552

285 นโยบายการค้าเสรี การค้าเสรี คือ การค้าที่ปราศจากอุปสรรคการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า หลักพื้นฐานของนโยบายการค้าเสรี การแบ่งงานกันทำ (Specialization) การไม่เก็บภาษีเพื่อกีดกันการค้าจากประเทศอื่นๆ การให้สิทธิทางการค้าที่เท่าเทียมกันกับทุกประเทศ EC210 2/2552

286 นโยบายการค้าเสรี (ต่อ)
ประโยชน์ของนโยบายการค้าเสรี ประเทศต่างๆมีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ผู้บริโภคมีโอกาสซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อด้อยของนโยบายการค้าเสรี ผู้ผลิตรายเล็กในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่ได้ ข้อจำกัดของประเทศกำลังพัฒนา เคยมีคำถามข้อสอบเก่า ว่า... นโยบายการค้าเสรีเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ถูกหรือผิด EC210 2/2552

287 การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ของไทย
สาเหตุของการเปิดเสรีทางการค้า ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเปิดเสรีทางการค้า ผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า การเปิดเสรีทางการค้าของไทยกับจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศอื่นๆ EC210 2/2552

288 การรวมกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ ระดับพหุภาคี Multilateral Level
WTO EC210 2/2552

289 GATT Birth of Multilateral Institution 1January 1995 Start of WTO
Uruguay Round (Geneva) Uruguay Round (Geneva) Tokyo Round (Geneva) Kennedy Round (Geneva) GATT Dillon Round (Geneva) 1956 Geneva Round Birth of Multilateral System ครั้งทื่ 1 เริ่มที่ Havana Conference1948 – จบที่ Geneva (17 August 1948) The multilateral trading system came into being with the birth of the General Agreement on Tariffs and Trade in For almost 50 years, GATT was both a treaty and an international organization. The treaty still exists as the main multilateral agreement on trade in goods ครั้งทื่ 2 ที่ Annecy, France. ครั้งที่ 3 ที่ Torquay, UK ครั้งที่ 4 ที่ GVA ครั้งที่ 5 Dillon round : Douglas Dillon (Under Sec of State under the President Eisenhower, and Treasury Secretary under President Kenedy)took office during the round in January 1961 ครั้งที่ 6 kenedy round: The Kenedy Round was named after the US President who had died the previous year. The President Kenedy had secured the 1962 USTrade Expansion Act which authorized the US gove. To negotiate tariff cuts of up to 50%, a key factor allowing the talks to take place. Who proposed to launch the round ครั้งที่ 7 Tokyo Round ครั้งที่ 8 Uruguay Round, ที่ Punta Del Este, the Uruguay resort) มีการประชุม stock taking ที่ Montreal, Canada, จบที่ Marrakesh, Morocco. April 1994 Since the establishment of GATT, countries got together to decide among themselves mostly on tariff. Year Place/name Subject covered Countries Average tariff reduction for industrial goods (per cent) Geneva Tariffs Annecy Tariffs Torquay Tariffs Geneva Tariffs Geneva(Dillon Round) Tariffs Geneva (Kennedy Round) Triffs and anti-dumping measures 62 35 Geneva (Tokyo Round) Tariffs, non-tariff measures, “framework” agreements Geneva (Uruguay Round) Tariffs, non-tariff measures, rules, services, intellectual property, dispute settlement, textiles, agriculture, creation of WTO, etc April 1994: Marrakesh, Morocco (Uruguay Round agreements signed) . In 1995 GATT, the institution, was replaced by the WTO, by the Marrakesh Agreement . That is the beginning of the new chapter of multilateral system which the WTO as an organization. 1. การประชุมครั้งแรกของ WTO คือที่ สิงคโปร์ กำหนดให้เจรจาเพื่อจัดทำความตกลง 4 เรื่อง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า, การลงทุน,Government procurement, competition policy (การแข่งขันทางการค้า) 4 เรื่องนี้ กลายมาเป็น time bomb ในการประชุมครั้งหลัง 2. Geneva ประเทศสวิส 3. Seattle ประเทศสหรัฐฯ โดยที่นี้ เป็ฯความพยายามที่จะเปิดการเจรจารอบใหม่ แต่ก็มีการประท้วงชนิดรุนแรง สาเหตุที่มีการพูดกันคือ การประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาดของ สหรัฐฯ ทั้งในห้องประชุม และ นอกห้องประชุม 4. จนในที่สุด WTO เปิดการประชุมได้ที่การประชุมครับงที่ 4 ที่เมือง โดฮา ประเทศกาตาร์ เดือน พ.ย มีมติให้เริ่มการเจรจารอบใหม่ เรียกว่า การเจรจารอบโดฮา หรือ Doha Development Agenda โดยวางเป้าหมายให้ปิดรอบการเจรจาในวันที่ 1 มกราคม 2548/2003 (หรือสิ้นปี 2547) 5. Cancun ประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นการประชุมภายหลังที่ dead line ได้เลยไป ก็หวังให้มีการจัดทำ modality การเจรจาที่กำหนดที่ Doha ให้ได้ในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงกลายเป็นการ stock taking สาเหตุสำคัญมากจากเรื่อง - Singapore Issues, เรื่องการอุดหนุนการส่งออกฝ้าย กลุ่มประเทศแอฟริกาเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกการอุดหนุนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ, หลายประเทศความไม่โปร่งใสในการเจรจา (หลายประเทศไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Green Room) 1951 Torquay Round 1949 Annecy Round 30 June Start of GATT 1948 Geneva Round EC210 2/2552

290 Most - favoured Nation ภาษีนำเข้า 5% WTO members 5% 0% 5% 5%
ยกเว้นกรณีที่ทำ FTA ระหว่างกัน ซึ่ง WTO ให้ข้อยกเว้นไว้ ใน Article 24 5% 5% EC210 2/2552

291 ความตกลงที่เกี่ยวกับระเบียบกระบวนการด้านการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อศุลกากร ความตกลงว่าด้วยกฏเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ความตกลงว่าด้วยระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า กลุ่มความตกลงที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัย(Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางด้านเทคนิคต่อการค้า (Technical Barrier to Trade: TBT) กลุ่มความตกลงที่เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน ความตกลงว่าด้วยการมาตรการปกป้อง (Safeguards) ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการต่อต้านการอุดหนุน อื่นๆ ความตกลงเรื่องมาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Trade-Related Investment Measures: TRIMs) ความตกลงเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) VAL กำหนดให้หน่วยงานศุลกากรของประเทศสมาชิกต้องปรับเปลี่ยนระบบการประเมินราคาให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ซึ่งความตกลงนี้ อาศัยหลักการของ ราคาที่ได้ชำระจริงหรือราคาที่จะต้องชำระ” (price actually paid or payable) โดยมีความตั้งใจที่จะให้มีระบบการประเมินราคาศุลกากรที่ยุติธรรม เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ระบบการประเมินราคาของแต่ละประเทศมีความโปร่งใส ผู้นำเข้าสามารถคาดการณ์ต้นทุนด้านภาษีได้ และจะส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ได้ กำหนดวิธีการประเมินอากรให้ชัดเจน แบ่งเป็น 6 วิธีตามลำดับ Transaction value, identical products, similar products, value on the basis, adjusted value, computed value, fallback RO: IL กำหนดวิธีดำเนินการในการออกใบอนุญาตนำเข้าให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติตาม โดยกำหนดระยะเวลาแน่นอนที่หน่วยงานของรัฐจะต้องออกใบอนุญาต เพื่อมิให้เกิดกรณีถ่วงเวลาการนำเข้า โดยกำหนดให้การออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ จะต้องพิจารณาให้เห็นชอบต่อการยื่นขอที่ถูกต้องโดยทันที หรือไม่เกิน 10 วันทำการ สำหรับการออกใบอนุญาตแบบไม่อัตโนมัติ จะต้องดำเนินการโดยไม่บิดเบือนการค้า และออกใบอนุญาตภายใน 30 วันทำการ เมื่อได้รับคำร้อง ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบก่อนส่งออก (preshipment inspection) กำหนดหลักเกณฑ์ให้ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐในการทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก โดยเฉพาะในด้านราคา ปริมาณ และคุณภาพของสินค้า และให้ใช้มาตรการดังกล่าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีความโปร่งใส EC210 2/2552

292 การเจรจาการค้าระหว่างประเทศระดับทวิภาคีBilateral Level
โลกมีแนวโน้มทำเขตการค้าเสรีมากขึ้น 70% เป็น Bilateral FTAs WTO ได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ และได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำ FTA ของประเทศต่างๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 1999 (2543) การประชุม WTO ที่ Seattle ล้มเหลว ประเทศสมาชิกเริ่มหันไปให้ความสนใจการทำ FTA เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแข่งขันกันเปิดเสรี ในปี 2003 (2546) WTO รายงานว่ามีการทำ FTA ที่แจ้งต่อ WTO รวม 215 ฉบับ (สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เริ่มเจรจา FTA ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเจรจา จึงยังไม่มีการแจ้งต่อ WTO) และในจำนวน 215 ความตกลงเป็นความตกลง 2 ฝ่าย หรือ Bilateral Agreement กว่าร้อยละ 70 ปัจจุบันโลกมีการทำความตกลง FTA ถึง 300 ฉบับ แล้ว Source : WTO EC210 2/2552

293 การเจรจา FTA ของประเทศคู่ค้า/คู่แข่ง
สหรัฐฯ - เจรจาเสร็จแล้วกับ สิงคโปร์ ชิลี ออสเตรเลีย จอร์แดน เกาหลี บาห์เรน โอมาน NAFTA Andean DR-FTA เป็นต้น กำลังเจรจา กับ มาเลเซีย และ UAE ญี่ปุ่น เจรจาเสร็จแล้วกับ สิงคโปร์ เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย - กำลังเจรจากับ อาเซียน ชิลี กลุ่มGCC - เริ่มเจรจากับ เวียดนาม เกาหลี ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ จีน เจรจาเสร็จแล้วกับ อาเซียน (เฉพาะสินค้า ) มาเลเซีย - เจรจาเสร็จแล้วกับ จีน (เฉพาะสินค้า ) ญี่ปุ่น - กำลังเจรจา กับ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และ อินเดีย EC210 2/2552

294 FTA 8 ประเทศ และ 2 กลุ่มเศรษฐกิจ
USA Japan China EFTA India Bahrain ASEAN BIMST-EC Peru BIMSTEC (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฎาน) EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตล์) Australia New Zealand Total trade with Thailand 43.8% Include AFTA 62.5% = future initiative ? EC210 2/2552

295 เรื่องที่สำคัญในการเจรจา FTA
การค้าสินค้าเกษตร การค้าสินค้าอุตสาหกรรม กฎแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการทางศุลกากร การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคคล การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การแข่งขัน การรับรองมาตรฐานร่วมกัน ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางการค้า Economic Cooperation การระงับข้อพิพาทAD&CVD, Safeguard ดูข้อมูลเพิ่มเติม : EC210 2/2552

296 ตัวอย่างโจทย์ ทบทวนความรู้
EC210 2/2552

297 สินค้า และโครงสร้างตลาดใดต่อไปนี้ ข้อใดแสดงถึงความสัมพันธ์ ไม่ถูกต้อง
ก. ข้าวเปลือก : ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ข. ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ : ตลาดผู้ขายน้อยราย ค. น้ำดื่มบรรจุขวด : ตลาดผู้ขายน้อยราย ง. บริการการขนส่งทางรถไฟ : ตลาดผูกขาด ตอบ ค EC210 2/2552

298 ข้อใดต่อไปนี้ แสดงคู่ความสัมพันธ์ “เครื่องมือ: นโยบายเศรษฐกิจมหภาค” ที่ถูก
ก. การลดอัตราภาษี : นโยบายการคลังแบบขยายตัว ข. การขายหลักทรัพย์ของรัฐบาล : นโยบายการคลังแบบหดตัว ค. การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย : นโยบายการเงินแบบหดตัว ง. การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า : นโยบายการค้าแบบขยายตัว ตอบ ง EC210 2/2552

299 ข้อความใด ถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับบัญชีรายได้ประชาชาติ
ก. รายได้ประชาชาติ เป็นมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ประเทศผลิตได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ข. วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ สามารถคำนวณได้สองวิธี คือด้านรายได้ และด้านรายจ่าย ค. ประเทศที่มีรายได้ประชาชาติสูง จะมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงกว่าประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่ำ ง. รายได้ประชาชาติไม่สามารถบอกการกระจายรายได้ของคนในสังคมได้ ตอบ ง EC210 2/2552

300 “การล้มละลายของบริษัท เลท์แมน บราเธอร์ส จำกัด สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และการขาดสภาพคล่องของ AIG จะมีผลต่อรายได้ประชาชาติของสหรัฐอเมริกา” จากเหตุการณ์ดังกล่าว สมมติให้การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาลดลง และมูลค่าทรัพย์สินของคนอเมริกันลดลง 3 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ และถ้าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าลำดับหนึ่งของไทย จากสถานการณ์ข้างต้น จงตอบคำถามต่อไปนี้ (ก) ไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงินอย่างไร จงยกตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้ดุลการชำระเงินของไทยเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ข้างต้นมา 2 กรณี (15 คะแนน) (ข) จากเหตุการณ์ที่ท่านยกขึ้นมาในข้อ (ก) จะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไร จงอธิบายพร้อมวาดรูป (10 คะแนน) EC210 2/2552

301 โจทย์เรื่อง “ตลาด” หากในขณะนี้ บริษัท เทน้ำเทท่า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทขายน้ำแร่ (สมมติให้น้ำแร่ เป็นสินค้าที่อยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์) สามารถทำกำไรได้เกินปกติ (excess profit) จงอธิบายว่าในระยะยาว อุตสาหกรรมขายน้ำแร่นี้จะเป็นอย่างไร และสุดท้ายแล้ว บริษัท เทน้ำเทท่า จำกัด จะยังคงสามารถอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ได้หรือไม่ EC210 2/2552

302 โจทย์เรื่อง “นโยบายการคลัง”
ในปัจจุบันประเทศไทย ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อติดลบกันหลายเดือน หากท่านได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านจะใช้มาตรการใดมาแก้ไขปัญหา และมาตรการนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร เพราะเหตุใด จงยกตัวอย่างมา 1 มาตรการ EC210 2/2552

303 โจทย์เรื่อง “การเงิน”
คุณเห็นด้วยหรือไม่ กับคำกล่าวที่ว่า “เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวนั้น เราจะต้องออมมากขึ้น” จงอธิบาย EC210 2/2552

304 โจทย์เรื่อง “นโยบายการค้า”
การที่ม๊อบเสื้อเหลืองปิดสนามบินนานาชาติแห่งประเทศไทย จะส่งผลต่อบัญชีดุลการชำระเงินของไทยอย่างไร เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ EC210 2/2552


ดาวน์โหลด ppt เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (EC 210) ภาค 1 ปีการศึกษา 2552 Sec. 81/00

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google